จะขอแต่ฎีกาเปล่า ให้เสียเงินค่าจ่ายราชการตำลึงกึ่ง ค่าฎีกาสองสลึง ถ้าจีนผู้ใดผูกปี้ปลอมรับปี้คนผูกฉ้อ จับได้ ปรับ ๑๐ ต่อเปนเงิน ๑๐ ตำลึง แต่ผู้ทำตราไปฉ้อจีนตีปี้ให้ฤๅผู้แกะตราปลอม ชำระได้เปนสัตย จะต้องรับพระราชอายา ๕๐ ปี แล้วส่งตัวเปนตพุ่นย่าช้าง ๚ ไทยมิใช่จีนสูบยาฝิ่นไว้ผมเปนจีนเพื่อจะให้พ้นจับนั้น แต่ก่อนได้ประกาศไว้ว่า ถ้ายังไม่ได้ศัก ให้เสียเงินผูกปี้ปีละ ๕ ตำลึง สามปีเปนเงิน ๑๕ ตำลึง ค่าฎีกาสามสลึง แต่ที่ศักแล้วนั้น ให้เสียแต่คนละตำลึงกึ่ง ค่าฎีกาสลึงเฟื้อง แลในปีเถาะ สับตศ๕กนั้น พวกไทยสูบยาฝิ่นไว้เปียเปนจีนนั้นคิดเกะกะเกียจโกงไปเปนอันมาก ผู้ที่ยอมเสียเงินให้ ๑๕ ตำลึงแลตำลึงกึ่งตามประกาษนั้นน้อยตัว เพราะฉะนั้น ในคราวผูกปี้ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า คนไทยสูบยาฝิ่นพวกนั้นซื่อตรงต่อพระราชบัญญัติแลความที่เสนาบดีพร้อมใจกันบังคับไปนั้น แล้วทำตามโดยง่ายไม่คิดออด ๆ แอด ๆ คิดล่วงน่าถือตัวว่ารู้เท่ารู้ทัน แลไม่ถือัตวว่าตัวเปนพวกชาวสวรรค์กินทิพยหาความศุขหารัดหาเปรียบดังคนสูบฝิ่นอื่น ๆ เปนอันมากนั้น ทรงยินดีแก่พวกนั้นที่ได้สารภาพตัวยอมไว้เปียเปนจีนแล้วเสียเงินคราวผูกปี้ตามบังคับไปเต็มตามคำประกาษในคราวผูกปี้จีนปีเถาะ สับตศ๕กนั้น แลครั้งนี้โปรดเกล้าฯ สั่งว่า พวกคนไทยที่ไว้เปียเปนจีนเพราะสูบฝิ่น ที่ได้เสียเงินเตมสิบห้าตำลึงโดยดีในครั้งก่อนแล้วนั้น ให้เสียแต่ห้าตำลึง
หน้า:Ratchakitcha Ratchakan Thi Si 2433.djvu/18
หน้าตา