ข้ามไปเนื้อหา

เลิกทาสไนรัชกาลที่ 5/ประกาสลูกทาส

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาสลูกทาส

มีพระบรมราชโองการมารพระบันทูรสุรสิงหนาทไนพระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัว สมเด็ดพระปรมินทรมหาจุลาลงกรน์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ไห้ประกาสแก่พระราชวงสานุวงส์และข้าทูนละอองธุลีพระบาทฝ่ายทหานพลเรือนซ้ายขวาหน้าไนกำนันอำเพอรั้วแขวงและประชาราสดรทุกจังหวัดไนกรุงเทพฯ หัวเมืองฝ่ายไต้ฝ่ายเหนือบันดาผู้ที่มีข้าทาสและผู้ซึ่งเปนทาสเปนชเลยไห้รู้ทั่วกัน ด้วยซงพระราชดำหริพร้อมด้วยท่านเสนาบดีและที่ปรึกสาราชการแผ่นดินว่า ตั้งแต่บัดนี้สืบไป ไห้เจ้าเบี้ยนายเงินผู้มีทาสตั้งแต่คนหนึ่งสองคนเก้าคนสิบคนเก้าครัวสิบครัวไห้ตรวจตราดูลูกทาสของตัวซึ่งเกิดไนเรือนเบี้ยว่า มันเกิดไนปีมะโรง สัมริทธิสก ปีมะเสง เอกสก เปนต้นไป จะมีชายหยิงสักกี่คน และ้วไห้พร้อมด้วยอำเพอกับตัวทาสสักหลังสารกรมธรรม์ไว้เปนแผนกว่า อ้ายอีมีชื่อเกิดไนปีมะโรง สัมริทธิสก เปนต้นไป อายุได้เท่านั้นปี จงไห้มีไว้ทุก ๆ ฉบับสารกรมธรรม์ ถ้าลูกทาสเกิดไนเรือนเบี้ยตั้งแต่ปีมะโรง สัมริทธิสก มา ไม่มี ฤๅมีแต่ลูกทาสซึ่งเกิดไนปีเถาะ นพสก[1] ปีขาน อัถสก[2] พ้นขึ้นไป ก็ไม่ต้องสักหลังสารกรมธรรม์ไว้ อนึ่ง ตั้งแต่ปีมะโรง สัมริทธิสก ต่อไป ผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่ผู้คนค่าทาสชายหยิงมาเปนทาส ก็ไห้ตรวจตราดูอ้ายอีลูกทาสซึ่งช่วยไถ่มาไหม่ว่า จะมีลูกทาสเกิดไนปีมะโรง สัมริทธิศก เปนต้นมาบ้างหรือไม่ ถ้ามีติดมาบ้างแล้วไซ้ ก็ไห้อำเพอกำนันพร้อมกันกับตัวทาสสักหลังสารสารกรมธรรม์ไว้เปนแผนกส่วนอ้ายอีลูกทาสซึ่งติดมาว่า อ้ายอีมีชื่อนั้น อายุเท่านั้น จงทุกราย หย่าละเมินเพิกเฉยเสียเปนอันขาด ครั้นโปรดเกล้าฯ ไห้ออกพระราชบัญญัติเมื่อได จึ่งไห้เจ้าเบี้ยนายเงินแบ่งเงินไนสารกรมธรรม์มาลงเปนเงินค่าตัวส่วนลูกทาสตามพิกัดกะเสียรอายุซึ่งมีไนพระราชบัญญัติเรื่องลูกทาส มาตราที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 นั้น ต่อไปพายหน้า ตัวทาสจะวางเงินไป ๆ มา ๆ จะได้คิดราคากะเสียรอายุลูกทาสขึ้น ๆ ลด ๆ ไห้ถูกต้องกันโดยง่ายตามไนพระราชกำหนดบัญญัติไว้ไนมาตรา 3 โน้น กับอนึ่ง เจ้าเบี้ยนายเงินซึ่งมีสารกรมธรรม์ประทับตราอำเพออยู่แล้ว จะสักหลังสารกรมธรรม์แบ่งลูกทาสครั้งนี้ ห้ามหย่าไห้อำเพอเรียกเอาเงินค่าสิ่งหนึ่งสิ่งไดกับเจ้าเบี้ยนายเงินหรือตัวทาส ถ้าเจ้าเบี้ยนายเงินเอาสารกรมธรรม์มาไห้สลักหลังเมื่อได หย่าไห้อำเพอแกล้งชักช้าทำไห้เสียเวลาของผู้ที่มาทำเปนอันขาด ประกาศมานะวันพรึหัสบดี เดือนสิบ แรมสิบสามค่ำ ปีจอ ฉอศก 1236[3]


  1. พ.ส. 2410
  2. พ.ส. 2409
  3. ตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ส. 2417