ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 2/อธิบายประกอบ

จาก วิกิซอร์ซ

พงศาวดารเมืองถลาง, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์

[แก้ไข]
  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 — ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2347[1]
  • วันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา สัปตศก จ.ศ. 1247 — ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2428[1]

พงศาวดารเมืองไทรบุรีฯ, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์

[แก้ไข]

ผู้ครองไทรบุรี

[แก้ไข]

ลำดับผู้ครองไทรบุรี ตามที่ปรากฏในพงศาวดารนี้ มีดังนี้

  1. พระองคมหาวังษาที่ 1 — ได้แก่ เมอรง มาฮาวังซา (Merong Mahawangsa), หนังสือรายปีเกอดะห์ เรียก "Márong Máháwángsá"[2]
  2. พระองค์มหาโพธิสัตว์ที่ 1, บุตรของพระองคมหาวังษาที่ 1 — หนังสือรายปีเกอดะห์ เรียก "Rájá Máhá Podisat"[3]
  3. พระศรีมหาวังษา, บุตรของพระองค์มหาโพธิสัตว์ที่ 1 — หนังสือรายปีเกอดะห์ เรียก "Rájá Sri Máháwángsá"[4]
  4. พระศรีมหาอินทรวังษา, บุตรของพระศรีมหาวังษา — หนังสือรายปีเกอดะห์ เรียก "Wong Maha Prit Durya"[5] และว่า ได้พระสมัญญาว่า "Rájá Bersiyong" แปลว่า "ราชาผู้มีงา" (tusked Rájá) เพราะพระทนต์ (เขี้ยว) งอกยาว หลังจากเสวยโลหิตมนุษย์,[6] เอกสารอื่นเรียก "Seri Maha Inderawangsa"
  5. พระองค์มหายาดดาหรา, บุตรของพระศรีมหาอินทรวังษา — หนังสือรายปีเกอดะห์ ว่า "Wong Maha Prit Durya" เป็นพระนามของพระศรีมหาอินทรวังษา[5]
  6. พระองค์มหาโพธิสัตว์ที่ 2, บุตรของพระองค์มหายาดดาหรา
  7. พระองค์มหาวังษาที่ 2 หรือ สุลต่านมูนฟานซะ, บุตรของพระองค์มหาโพธิสัตว์ที่ 2 — ได้แก่ สุลต่านมุดซัฟฟาร์ ชะฮ์ ที่ 1 (Mudzaffar Shah I)
  8. ตนกูมูอัดลำซะ หรือ สุลต่านมูอัดลำซะ, บุตรของสุลต่านมูนฟานซะ — ได้แก่ สุลต่านมูอัดซัม ชะฮ์ (Mu'adzam Shah)
  9. ตนกูมหะมัดซะ หรือ สุลต่านมหะมัดซะ, บุตรของสุลต่านมูอัดลำซะ — ได้แก่ สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ (Muhammad Shah)
  10. ตนกูมันโลซะ หรือ สุลต่านมันโลซะ, บุตรของสุลต่านมหะมัดซะ — ได้แก่ สุลต่านมุซซิล ชะฮ์ (Muzzil Shah)
  11. ตนกูมหะมุดซะ หรือ สุลต่านมหะมุดซะ, บุตรของสุลต่านมันโลซะ — ได้แก่ สุลต่านมะฮ์มุด ชะฮ์ ที่ 1 (Mahmud Shah I)
  12. ตนกูสุไลยมันซะ หรือ สุลต่านสุไลยมันซะ, บุตรของสุลต่านมหะมุดซะ — ได้แก่ สุลต่านซูไลมัน ชะฮ์ ที่ 2 (Sulaiman Shah II)
  13. ตนกูรายาอุดินมหะมัดซะ หรือ สุลต่านรายาอุดินมหะมัดซะ, บุตรของตนกูสุไลยมันซะ — ได้แก่ สุลต่านรีจาลุดดิน มูฮัมมัด ชะฮ์ (Rijaluddin Muhammad Shah)
  14. ตนกูมหัยยิตดินมันโซร์ซะ หรือ สุลต่านมหัยยิตดินมันโซร์ซะ, บุตรของสุลต่านรายาอุดินมหะมัดซะ — ได้แก่ สุลต่านมุฮ์ยิดดิน มันซูร์ ชะฮ์ (Muhyiddin Mansur Shah)
  15. ตนกูลิยาอุดินมัดรำซะ หรือ สุลต่านลิยาอุดินมัดรำซะ, บุตรของตนกูมหัยยิตดินมันโซร์ซะ — ได้แก่ สุลต่านซียาอุดดิน มูการ์รัม ชะฮ์ (Ziyauddin Mukarram Shah)
  16. ตนกูอะตาอินลามหะมัดซะ หรือ สุลต่านอะตาอินลามหะมัดซะ, บุตรของตนกูลิยาอุดินมัดรำซะ — ได้แก่ สุลต่านอาเตาละฮ์ มูฮัมมัด ชะฮ์ (Ataullah Muhammad Shah)
  17. ตนกูอะมัดตายุดินมัดรำซะ หรือ สุลต่านอะมัดตายุดินมัดรำซะ, น้องชายของสุลต่านอะตาอินลามหะมัดซะ — ได้แก่ สุลต่านอะฮ์มัด ตาจุดดิน ฮาลิม ชะฮ์ ที่ 1 (Ahmad Tajuddin Halim Shah I)
  18. ตนกูมหะมัดยิหวา หรือ สุลต่านมหะมัดยิหวากัยนันอาดิลินมูอัดลำซะ, บุตรของสุลต่านอะตาอินลามหะมัดซะ — ได้แก่ ตุนกูมูฮัมมัด จีวา ที่ 2 (Tunku Muhammad Jiwa II), เมื่อได้ครองไทรบุรีแล้ว เรียก สุลต่านมูฮัมมัด จีวา ไซนัล อาดิลิน มูอัดซัม ชะฮ์ (Muhammad Jiwa Zainal Adilin Mu'adzam Shah)
  19. ตนกูอัปดลลา หรือ สุลต่านอัปดลลามัดรำซะ, บุตรของสุลต่านมหะมัดยิหวาฯ — ได้แก่ ตุนกูอับดุลละฮ์ (Tunku Abdullah), เมื่อได้ครองไทรบุรีแล้ว เรียก สุลต่านอับดุลละฮ์ มูการ์รัม ชะฮ์ (Abdullah Mukarram Shah)

รายามุดาไทรบุรี

[แก้ไข]
  • รายามุดา — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "ราจามูดา" (ra'ja mu'da) แปลว่า "รัชทายาท" (heir to the throne),[7] ผู้เป็นรายามุดาไทรบุรี ตามที่ปรากฏในพงศาวดารนี้ มีดังนี้
    • ตนกูมะหมุดซะ, น้องชายของสุลต่านมูอัดลำซะ
    • ตนกูลิยาอุดิน, น้องชายของสุลต่านอัปดลลามัดรำซะ — ได้แก่ ตุนกูซียาอุดดิน (Tunku Ziyauddin)

บุคคลอื่น ๆ

[แก้ไข]
  • เจ้าเมืองอาเจ — ได้แก่ สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา (Iskandar Muda) แห่งอาเจะฮ์ (Aceh)
  • ตนกูมหะมัดซะ, บุตรของสุลต่านมูนฟานซะ
  • ตนกูสุไลยมานซะ, ผู้ครองปูเลาลังกาวี, น้องชายของสุลต่านมูอัดลำซะ, บุตรของสุลต่านมูนฟานซะ

สถานที่

[แก้ไข]
  • กวาลามุดา — ได้แก่ เขตกัวลามูดา (Kuala Muda) ในปัจจุบัน
  • กอตาสตา — ได้แก่ โกตาเซอตาร์ (Kota Setar)
  • กายัง, เมือง
  • เกดะใหม่, คลอง — ได้แก่ ซูไงเกอดะฮ์ (Sungai Kedah)
  • โคตาโอร์กวาลามุดา — อาจได้แก่ โกตากัวลามูดา (Kota Kuala Muda)
  • นาคอ, เมือง
  • นางกาวี, เกาะ — อีกชื่อหนึ่งของปูเลาลังกาวี, ดู ปูเลาลังกาวี
  • นาสา, บ้าน, อยู่ในเมืองปลิศ
  • ปลิศ, เมือง — ได้แก่ เปรัก (Perak)
  • ปุเลาลิบง — ได้แก่ เกาะลิบงในประเทศไทยปัจจุบัน, ภาษามลายูเรียก "ปูเลาลีบง" (Pulau Libong) แปลว่า "เกาะหลาวชะโอน" ("ปูเลา" แปลว่า "เกาะ", "ลีบง" แปลว่า "ต้นหลาวชะโอน")
  • ปูเลาปินัง — ได้แก่ เกาะปีนัง, ภาษามลายูเรียก "ปูเลาปีนัง" (Pulau Pinang) แปลว่า "เกาะหมาก" ("ปูเลา" แปลว่า "เกาะ", "ปีนัง" แปลว่า "ต้นหมาก")
  • ปูเลาลังกาวี — ได้แก่ เกาะลังกาวี, ภาษามลายูเรียก "ปูเลาลังกาวี" (Pulau Langkawi) แปลว่า "เกาะลังกาวี" ("ปูเลา" แปลว่า "เกาะ")
  • โรม, เมือง — หนังสือรายปีเกอดะห์ เรียก "Rúm"[2] และอธิบายว่า เป็น "จักรวรรดิเติร์ก หรือจักรวรรดิของชาวเซลจุค" (Turkish Empire or that of the Seljuks)[8] ดังนั้น จึงได้แก่ เมืองหรุ่ม (Rûm)
  • ลังกาซูก — อาจเป็นการพิมพ์ผิด, หนังสือรายปีเกอดะห์ ว่า "Lánkásuká",[9] คือ ลังกาซูกา (Langkasuka), เอกสารไทยบางฉบับเรียก "ลังกาสุกะ"
  • สปูเตะ
  • สะรูดำ — อาจได้แก่ เซอร์ดัง (Serdang)
  • หมาก, เกาะ — ดู ปูเลาปินัง
  • อมัดกวาลามุดา — อาจเป็นแห่งเดียวกับกวาลามุดา, ดู กวาลามุดา
  • อาแจ, เมือง — ได้แก่ รัฐอาเจะฮ์ (Aceh)

อื่น ๆ

[แก้ไข]
  • บาระหุม — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "มัรฮุม" (mar'hum) แปลว่า "ผู้ล่วงลับแล้ว, ผู้วายชนม์แล้ว (มักใช้แก่กษัตริย์)" ["the late, the deceased (usually of kings)"],[10] มาจากภาษาอาหรับว่า "มัรฮูม" (مرحوم) มีความหมายอย่างเดียวกัน
  • สาสนามหะมัด — ได้แก่ ศาสนาอิสลาม

พงศาวดารเมืองตรังกานูฯ, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์

[แก้ไข]

บุคคล

[แก้ไข]
  • เซอเยมบรุก — ได้แก่ เซอร์เจมส์ บรูก (Sir James Brooke)
  • ตนกูกาเด, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูดุรมาน หรือ ตนกูดุระมาน, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูนิ, บุตรหญิงของตนกูแยนา — ได้แก่ เติงกู นิก (Tengku Nik)
  • ตนกูเดาโหด, บุตรของตนกูอามัด — ได้แก่ ตุนกู ดาอุด (Tunku Daud)
  • ตนกูบุหลัน, ภริยาของตุวันซาเอ็ดอาลีประสา — ได้แก่ ?
  • ตนกูบุหวัน, ภริยาของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูบาระเฮม, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูปะสา, บุตรหญิงของตนกูแยนา — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "ตวนกู/ตุงกู/เติงกู" (tuanku/tungku/tengku) เป็นคำเรียกเจ้า (ชายหรือหญิง)[11] ส่วน "บะซาร์/เบอซาร์" (bsar/besar) แปลว่า ใหญ่,[12] "ตนกูปะสา" จึงอาจแปลได้ว่า "ท่านหญิงใหญ่" ซึ่งอาจได้แก่ เติงกู เบอซาร์ อับบัส (Tengku Besar Abbas)
  • ตนกูแยนา, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ตุนกู ไซนัล (Tunku Zainal)
  • ตนกูมังโซ, บุตรของตนกูแยนา — ได้แก่ เติงกู มันโซร์ (Tengku Mansor), ชื่ออื่นว่า ตุนกู มันซูร์ ที่ 2 (Tunku Mansur II) หรือ สุลต่านมันซูร์ ชะฮ์ ที่ 2 (Sultan Mansur Shah II)
  • ตนกูมะติเมาะจิ, บุตรหญิงของตนกูแยนา — ได้แก่ ?
  • ตนกูมะหมัด, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูมะมุด, บุตรของตนกูอามัด — ได้แก่ ?
  • ตนกูละเมาะปลู, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูลีปอ, บุตรหญิงของตนกูอามัด — ได้แก่ ?
  • ตนกูสมะแอ, บุตรของตนกูแยนา — ได้แก่ เติงกู อิสมาอิล (Tengku Ismail)
  • ตนกูสะเปีย, บุตรของตนกูลีปอ — ได้แก่ ?
  • ตนกูอับดุลมาน, บุตรของตนกูแยนา — ได้แก่ ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน (Tunku Abdul Rahman)
  • ตนกูอามัด, บุตรของตนกูแยนา — ได้แก่ ตุนกู อะฮ์มัด (Tunku Ahmad)
  • ตนกูอิตำ, บุตรของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตนกูอุมา, บุตรของตนกูอามัด — ได้แก่ ตุนกู โอมาร์ (Tunku Omar)
  • ตุวันซาเอ็ดอาลีประสา, พี่ของตุวันมาโซ — ได้แก่ ?
  • ตุวันมาโซ — ได้แก่ ตวน มันซูร์ (Tuan Mansur)
  • บาระหุม — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "มัรฮุม" (mar'hum) แปลว่า "ผู้ล่วงลับแล้ว, ผู้วายชนม์แล้ว (มักใช้แก่กษัตริย์)" ["the late, the deceased (usually of kings)"],[10] มาจากภาษาอาหรับว่า "มัรฮูม" (مرحوم) มีความหมายอย่างเดียวกัน
    • บาระหุมยางตะ, ชื่อเมื่อล่วงลับแล้วของตุวันมาโซ — ตรงกับภาษามลายูว่า "มัรฮุม จังกุต" (Marhum Janggut), เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "จังกต" (jang'got) แปลว่า "หนวด" (beard),[13] พงศาวดารนี้ว่า ชื่อนี้ได้มาเพราะไว้หนวด
  • มะหมัด, เจ้าเมืองตรังกานู — ได้แก่ ?
  • มาโซ — ดู ตุวันมาโซ
  • รายามุดา — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "ราจามูดา" (ra'ja mu'da) แปลว่า "รัชทายาท" (heir to the throne),[7]
  • สุลต่านมะหะมุด, บุตรของตนกูลีปอ — ได้แก่ ?
  • หลวงโกชาอิศหาก — ได้แก่ หลวงโกชาอิศหาก (หลี)
  • อับดุลมาน — ดู ตนกูอับดุลมาน
  • อามัด — ดู ตนกูอามัด

สถานที่

[แก้ไข]
  • กลันตัน, เมือง — ได้แก่ เกอลันตัน (Kelantan) ปัจจุบันเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย
  • กุนเตียน, เมือง — ได้แก่ ?
  • เกาะ, เมือง — ได้แก่ ?
  • ตรังกานู, เมือง ได้แก่ เตอเริงกานู (Terengganu) ปัจจุบันเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย
  • ยะโฮ, เมือง — ได้แก่ โจโฮร์ (Johor) ปัจจุบันเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย
  • ลิงา, เมือง — ได้แก่ ลิงกา (Lingga) เมืองในประเทศมาเลเซีย
  • สมปัก, เมือง — ได้แก่ ?
  • สะระวะ, เมือง — ได้แก่ ซาราวัก (Sarawak) ปัจจุบันเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย
  • สิงคา, เมือง — อาจได้แก่ สิงคโปร์

วันที่

[แก้ไข]
  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก จ.ศ. 1239 — ตรงกับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2420[14]

พงศาวดารเมืองกลันตันฯ, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์

[แก้ไข]

บุคคล

[แก้ไข]
  • กูสะริมะ — ได้แก่ ?
  • เจะหวัง — ได้แก่ ?
  • เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ — ได้แก่ ช่วง บุนนาค
  • ตนกูจี, บุตรหญิงของสนิปากแดง — ได้แก่ ?
  • ตนกูนีดอระฮัน, บุตรของตุวันปะษา — ได้แก่ ?
  • ตนกูปะษา — ตรงกับภาษามลายูว่า "ตวนกูปะซาร์" (tuanku bsar) แปลว่า "ท่านชายใหญ่", "ตวนกู" (tuanku) เป็นคำเรียกเจ้า (ชายหรือหญิง)[11] ส่วน "ปะซาร์" (bsar) แปลว่า ใหญ่,[12] เอกสารนี้เอ่ยถึง "ตนกูปะษา" สองคน คือ
  • ตนกูปูแตะ, บุตรของตุวันปะษา — ได้แก่ ตุนกู ปูเตะฮ์ (Tunku Puteh)
  • ตนกูมะเดาะ, บุตรของตุวันปะษา — ได้แก่ ?
  • ตนกูสบาสุ, บุตรของตุวันปะษา — ได้แก่ ?
  • ตนกูสุหลง หรือ หลวงสุนทรรายา, บุตรของตุวันกอตา — ได้แก่ ?
  • ตนกูหลงฮามัด — ได้แก่ ?
  • ตุวันกอตา หรือ พระยาสุนทรธิบดีศรีสุลต่านเดหวามหารายา จางวางเมืองกลันตัน, บุตรของพระยาตำมะโหงง — ได้แก่ ?
  • ตุวันตะเงาะ หรือ ตนกูตะเงาะ, บุตรของพระยาบาโหงย — ได้แก่ ?
  • ตุวันนิกากับ หรือ ตนกูศรีอินดาราประตามหามนตรี, บุตรของพระยาตำมะโหงง — ได้แก่ ?
  • ตุวันนุสู, บุตรของพระยาบ้านทะเล — ได้แก่ ?
  • ตุวันมาโซ, ผู้ครองตรังกานู — ได้แก่ ตวน มันซูร์ (Tuan Mansur)
  • ตุวันมุสู, บุตรของพระยาตำมะโหงง — ได้แก่ ?
  • ตุวันสนิปากแดง, บุตรของพระยาตำมะโหงง — ได้แก่ ตวน เซอนิก มูลุต เมอระฮ์ (Tuan Senik Mulut Merah; แปลตรงตัวว่า "ท่านเซอนิกปากแดง")
  • ตุหวันหลงมะหมัด หรือ หลงมะหมัด, บุตรของรายาทวอ — ได้แก่ ตวน ลง มูฮัมมัด (Tuan Long Muhammad)
  • ตุหวันตำมะโหงง หรือ พระยาตำมะโหงง, บุตรของตุหวันหลงมะหมัด — ได้แก่ ?
  • ตุหวันบาโหงย หรือ พระยาบาโหงย, บุตรของตุหวันหลงมะหมัด — ได้แก่ ตวน บังกุล (Tuan Banggul)
  • ตุหวันหลงษาลอ หรือ พระยาบ้านทะเล, บุตรของตุหวันหลงมะหมัด — ได้แก่ ตวน ลง เจอนัล (Tuan Long Jenal)
  • บาระหุม — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "มัรฮุม" (mar'hum) แปลว่า "ผู้ล่วงลับแล้ว, ผู้วายชนม์แล้ว (มักใช้แก่กษัตริย์)" ["the late, the deceased (usually of kings)"],[10] มาจากภาษาอาหรับว่า "มัรฮูม" (مرحوم) มีความหมายอย่างเดียวกัน
  • พระยาจางวาง — ดู ตุวันกอตา
  • พระยาไชยาท้ายน้ำ — ได้แก่ ?
  • พระยาตานี — ได้แก่ ตุวันปะษา และ ตนกูปูแตะ ตามลำดับ
  • พระยายะหริ่ง — ได้แก่ ?
  • พระยาระแงะ — ได้แก่ ?
  • พระยาศรีพิพัฒน์ — ได้แก่ แพ บุนนาค
  • พระสุนทรนุรักษ์ — อาจได้แก่ พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง)
  • พระยาเสนหามนตรี — ได้แก่ ?
  • พระยาหนองจิก — อาจได้แก่ ดาตุก เปิงกาลัน (Datuk Pengkalan)
  • รายาทวอ, เจ้าเมืองกลันตัน — ได้แก่ ลง ยูนุซ บิน ลง ซูไลมัน (Long Yunus bin Long Sulaiman)
  • รายามุดา — เชลลาแบร์ว่า ในภาษามลายู "ราจามูดา" (ra'ja mu'da) แปลว่า "รัชทายาท" (heir to the throne),[7]
  • หลวงโกชาอิศหาก — อาจได้แก่ เกิด บิลอับดุลลาห์
  • หลวงพิพิธภักดี — ได้แก่ ?
  • หลวงศรีปะตุกาอาหลี — ได้แก่ ?
  • หวันบาหยา — ได้แก่ ?
  • หวันหะนุ — ได้แก่ ?

สถานที่

[แก้ไข]
  • ปาหัง, เมือง — ได้แก่ ปะหัง (Pahang) ปัจจุบันเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย
  • ลิงา, เมือง — ได้แก่ ลิงกา (Lingga) เมืองในประเทศมาเลเซีย
  • สลง, บ้าน; แขวงเมืองตรังกานู — ได้แก่ ?
  • สาย, เมือง — อาจได้แก่ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปัจจุบัน
  • หนองจิก, เมือง — ได้แก่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปัจจุบัน

วันที่

[แก้ไข]
  • วันจันทร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด โทศก จ.ศ. 1202 — ตรงกับวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2383[15]
  • วันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1231 — ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2412[16]
  • วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2385[17]
  • วันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2385[17]
  • วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 อุตราษาฒ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 ว่า ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2385 และว่า วันพุธดังกล่าวควรเป็นขึ้น 6 ค่ำ ส่วนขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 อุตราษาฒ เป็นวันจันทร์[17]
  • วันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2385[18]
  • วันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1231 — ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2412[19]
  • วันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2385[20]
  • วันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เอกศก จ.ศ. 1201 — ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2382[15]
  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1231ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 ว่า ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 และว่า วันพฤหัสบดีดังกล่าวควรเป็นขึ้น 3 ค่ำ ส่วนขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 เป็นวันพุธ[16]
  • วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 ว่า ในปีจอ จ.ศ. 1200 วันศุกร์ เดือน 4 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ ส่วนขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันพุธ และระบุว่า วันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จ.ศ. 1200 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2381 ส่วนวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จ.ศ. 1200 ตรงกับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2381[21]
  • วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก จ.ศ. 1239 — ตรงกับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2420[22]
  • วันเสาร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 อุตราษาฒ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1231 — ตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2412[19]
  • วันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู ตรีศก จ.ศ. 1203ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 ว่า ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2384 และว่า วันเสาร์ดังกล่าวควรเป็นขึ้น 13 ค่ำ ส่วนขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เป็นวันพฤหัสบดี[20]
  • วันเสาร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 อุตราษาฒ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2385[17]
  • วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1204 — ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2385[23]
  • วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เอกศก จ.ศ. 1201 — ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2382[21]
  • วันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ตรีศก จ.ศ. 1203ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 ว่า ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2384 และว่า วันอาทิตย์ดังกล่าวควรเป็นขึ้น 14 ค่ำ ส่วนขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 เป็นวันศุกร์[24]
  • วันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรีศก จ.ศ. 1203 — ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2384[20]
  • วันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน เอกศก จ.ศ. 1201 — ตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2382[15]
  • วันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1231 — ตรงกับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2412[16]

เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. 1.0 1.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 216)
  2. 2.0 2.1 Low (1849, p. 3)
  3. Low (1849, p. 165)
  4. Low (1849, p. 253)
  5. 5.0 5.1 Low (1849, p. 259)
  6. Low (1849, pp. 263–263)
  7. 7.0 7.1 7.2 Shellabear (1912, p. 106)
  8. Low (1849, p. 10)
  9. Low (1849, p. 9)
  10. 10.0 10.1 10.2 Shellabear (1912, p. 82)
  11. 11.0 11.1 Shellabear (1912, p. 143)
  12. 12.0 12.1 Shellabear (1912, p. 19)
  13. Shellabear (1912, p. 54)
  14. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 414)
  15. 15.0 15.1 15.2 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 392)
  16. 16.0 16.1 16.2 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 398)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 396)
  18. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 395)
  19. 19.0 19.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 399)
  20. 20.0 20.1 20.2 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 394)
  21. 21.0 21.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 391)
  22. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 340)
  23. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 397)
  24. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 6 (2545, น. 393)

รายการอ้างอิง

[แก้ไข]