คำพิพากษาฯ คดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8/ส่วนที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
  • คำแถลงการณ์ด้วยวาจาที่ศาลฎีกา. โดยอธิบดีกรมอัยยการ
  • ทางจำเลยให้ชวเลขบันทึกไว้แล้วถอดความเสนอศาลฎีกา.

คำแถลงของพนักงานอัยยการ โจทก์
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗


คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๙๗, ๑๕๔, ๖๓, ๖๔, ๗๐ และ ๗๑ ฐานสมคบกันประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กล่าวคือ ระหว่างวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙ และวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามได้สมคบกับพวกซึ่งยังหลบหนีอยู่และจับตัวไม่ได้ คิดตระเตรียมปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น และจำเลยทั้งสามนี้ได้ช่วยกันปกปิดการกระทำดั่งกล่าว ไม่นำความไปร้องเรียนต่อเจ้าพนักงาน เหตุเกิดที่ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ต่อมา เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เวลากลางวัน จำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ กับพวกที่ยังหลบหนีอยู่ สมคบกันใช้อาวุธปืนยิงประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กระสุนปืนถูกพระนลาตทะลุออกเบื้องหลังพระเศียรขณะที่บรรทมอยู่บนพระที่ เสด็จสวรรคตในทันที ต่อมาในวันนั้นเอง นานชิต สิงหเสรี จำเลยที่ ๒ ได้เพทุบายเอาปลอกกระสุนปืน ๑ ปลอกส่งให้เจ้าหน้าที่ อ้างว่า เป็นปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงจากปืนกระบอกที่วางพลางไว้ข้างพระกรเบื้องซ้าย เหตุเกิดที่พระที่นั่งบรมพิมาน ตำบลพระบรมมหาราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร จำเลยให้การร่วมกันว่า ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และจำเลยแถลงเหตุที่ถูกกล่าวหานี้ว่า ได้มีบุคคลบางจำพวกฉวยโอกาสเอากรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเล่นเป็นเกมการเมืองเพื่อทำลายบุคคลอื่น อาทิ นายปรีดี พนมยงค์, เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช และนายเฉลียว ประทุมรส จำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ นั้น แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ก็พลอยเป็นเครื่องทำลายของบุคคลพวกนั้นไปด้วย ในท้ายที่สุด จำเลยขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง

ศาลอาญาได้พิจารณาคดีนี้แล้วพิพากษาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคตโดยถูกผู้ร้ายลอบปลงพระชนม์ นายชิต สิงหเสรี จำเลยที่ ๒ ได้รู้เห็นร่วมมือกับผู้ร้ายรายนี้ด้วย มีความผิดตามมาตรา ๕๗ ตอน ๒ ให้ลงโทษประหารชีวิต ส่วนความผิดตามมาตรา ๑๕๔ ในข้อหาว่า สับเปลี่ยนปลอกกระสุนปืนของกลาง และกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานั้น ศาลฟังว่า สมจริงตามข้อกล่าวหา แต่เป็นความผิดเกลื่อนกลืนในความผิดฐานประทุษร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่แยกกระทงลงโทษ ส่วนนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยที่ ๓ นั้น ศาลชั้นต้นฟังว่า คดีไม่มีหลักฐานจะกระทำความผิด จึงพิพากษาให้ปล่อยตัวไป

ทั้งโจทก์และจำเลยได้อุทธรณ์คดีนี้ต่อมา โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า คดีมีหลักฐานพอฟังได้ว่า นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยที่ ๓ กระทำความผิด ขอให้ลงโทษ ส่วนนายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ว่า เขาไม่ได้กระทำความผิด ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไป ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาว่า คดีมีหลักฐานฟังได้ว่า นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ ๒ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องของโจทก์ จึงพิพากษาให้ลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น ส่วนนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า หลักฐานยังไม่พอฟังว่า ได้กระทำความผิด จึงพิพากษายกฟ้องให้ปล่อยตัวนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ไป

โจทก์ได้ฎีกาคดีนี้ต่อมาเฉพาะเกี่ยวกับนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษทั้งสองคนนั้นเล่า ก็ได้ฎีกาขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง

จริงอยู่ แม้ตามฎีกาของโจทก์จะได้กล่าวอ้างเฉพาะปัญหานายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ว่า ได้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งมีประเด็นที่จะกราบเรียนต่อศาลนี้เพียงสั้น ๆ ก็ตาม แต่โดยที่คดีนี้เป็นคดีสำคัญ กรณีที่เกิดคดีนี้ขึ้นเป็นเรื่องสลับซับซ้อน พูดยาก เพื่อให้ศาลได้เห็นการดำเนินคดีและข้อเท็จจริงในคดีนี้ที่โจทก์ได้นำสืบพอสมควร โจทก์จะขอประทานกราบเรียนที่มาของเรื่องนี้เท่าที่โจทก์นำสืบแต่เพียงสังเขป

โจทก์นำสืบเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น ปรากฏตามการพิจารณาซึ่งโจทก์นำสืบว่า พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อพระชนม์พรรษาได้ ๓ เดือน ก็โดยเสด็จสมเด็จพระราชบิดาไปประทับที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วต่อไปได้ไปประทับที่ประเทศอเมริกา ครั้นเมื่อพระชัณษาได้ ๓ ปี ก็ได้เสด็จกลับมายังประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคต ครั้น พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็ได้เสด็จยังประเทศยุโรปพร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระพี่นาง และสมเด็จพระอนุชา ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ในประเทศสวิสส์ ได้ทรงศึกษาวิชา ณ ที่นั้น ครั้นเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จึงได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาลและโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ครั้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ประทับ ณ ตำหนักสวนจิตรลดาฯ ประทับอยู่ ๒ เดือนก็เสด็จกลับเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงศึกษาวิชานิติศาสตร์ และทรงบรรลุพระราชนิติภาวะเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ต่อมา ก็เสด็จกลับมายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ประทับที่พระที่นั่งบรมพิมาน จนกระทั่งเกิดเหตุเรื่องนี้

โจทก์ใคร่ขอประทานกราบเรียนเกี่ยวกับจำเลยว่า ในขณะนั้น มีฐานะอย่างไร ปรากฏว่า นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ รับราชการเป็นราชเลขานุการในพระองค์ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประจำราชสำนัก มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการในพระองค์และพิทักษ์รักษาพระองค์ นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ได้ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ คือ ก่อนสวรรคตหนึ่งเดือนเศษ นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ ๒ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยที่ ๓ เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทมจนเสด็จสวรรคต มีบุคคลอยู่สองคนที่โจทก์จำเป็นจะต้องกราบเรียน ณ ที่นี้ ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าในฟ้องของโจทก์ได้กล่าวไว้แล้วว่า จำเลยทั้งสามได้สมคบกับพวกที่ยังหลบหนีอยู่และจับตัวไม่ได้ และนอกจากนั้น ในการดำเนินการพิจารณาของศาล โจทก์ก็ได้นำสืบเกี่ยวพันไปถึงบุคคลดั่งกล่าว ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้ จำเป็นที่โจทก์จะต้องกราบเรียนไว้ด้วยว่า อยู่ในฐานะเช่นไรในขณะนั้น บุคคลทั้งสองนี้ คือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นรัฐบุรุษอาวุโส และต่อมา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันเสด็จสวรรคต ส่วนอีกคนหนึ่ง คือ เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เดิมรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ ออกจากราชการเพราะป่วย เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖ กลับเข้ารับราชการเป็นราชองครักษ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ซึ่งขณะนั้น นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อเป็นราชองครักษ์ ก็ประจำอยู่กับนายปรีดี พนมยงค์ ครั้นเมื่อเสด็จกลับ ก็ยังคงเป็นราชองครักษ์อยู่ ภายหลังสวรรคตแล้ว ๓ วัน เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ก็พ้นจากตำแหน่งราชองครักษ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้น นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ก่อนที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์ได้นำสืบไว้ในศาลชั้นต้นเกี่ยวกับพระที่นั่งบรมพิมาน คือ ที่เกิดเหตุ พระที่นั่งบรมพิมานนี้ เจ้าหน้าที่ได้จัดทำหุ่นจำลองและแผนผังบริเวณพระที่นั่งไว้ ซึ่งโจทก์ได้เสนอไว้ที่ศาลชั้นต้นแล้ว และเมื่อการพิจารณาของศาลชั้นต้นเสร็จแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ได้เคยเรียกให้โจทก์ส่งแผนผังพระที่นั่งบรมพิมานและหุ่นจำลองเหล่านี้เพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งขณะนี้ หุ่นจำลองและแผนผังบริเวณพระที่นั่งบรมพิมานนั้น ศาลอุทธรณ์สั่งให้เก็บไว้ที่กรมอัยยการ ซึ่งโจทก์พร้อมที่จะนำเสนอถ้าศาลฎีกาพึงประสงค์

ศาล: จะนำมาเมื่อไร?

อัยยการ: สุดแล้วแต่ศาลจะพึงประสงค์ โจทก์พร้อมทันทีที่จะนำมา

ศาล: เมื่อแถลงเสร็จแล้ว ขอให้เอามา เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการพิจารณา วันนี้ทันไหม?

อัยยการ: การที่จะนำสิ่งเหล่านี้มานั้น พนักงานอัยยการไม่มีกำลัง จะต้องบอกตำรวจให้จัดเจ้าหน้าที่มาช่วย เพราะเป็นของใหญ่ และจะต้องประคับประคองขึ้นมา แต่ในการแถลงของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จะกล่าวถึงสถานที่นั้นให้น้อยที่สุด เพราะประเด็นสำคัญของโจทก์เกี่ยวพันเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น

เกี่ยวกับพระที่นั่งก็ดี หรือเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณนั้นก็ดี โจทก์ได้นำสืบไว้โดยละเอียด หากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้เคยไปเดินเผชิญสืบดูสถานที่ทั้งสองแห่งนั้นแล้ว ดังมีปรากฏชัดเจนในสำนวนอยู่แล้ว และตามที่โจทก์ได้กราบเรียนไว้แล้วว่า ประเด็นของโจทก์เกี่ยวพันอยู่ที่นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ เป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น โจทก์จะเว้นไม่กล่าวรายละเอียดถึงบริเวณพระที่นั่งโดยตลอด

โจทก์ได้นำสืบเกี่ยวพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น นับตั้งแต่ได้เสด็จกลับมาเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เสด็จประพาสในส่วนภูมิภาคหลายแห่ง อาทิเช่น ประพาสจังหวัดชลบุรีเพื่อทอดพระเนตรการใช้อาวุธของพลพรรคเสรีไทย, เสด็จที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ, เสด็จอำเภอปากเกร็ด จังหวัดปทุมธานี และเสด็จที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เฉพาะที่เสด็จที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร นั้น กรมหมื่นพิทยาลาภฯ คือ พระองค์เจ้าธานีนิวัติในขณะนั้น ได้โดยเสด็จด้วย ได้ทรงรับสั่งเป็นพยานว่า รู้สึกว่า ทรงพอพระทัยมากในการที่ได้เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร แม้ว่าจะไม่สู้ทรงสบายนัก อุตส่าห์เสด็จไป ทรงรับสั่งว่า เมื่อเตรียมการไว้แล้วก็ต้องไป เมื่อเสด็จผ่านอาณาประชาชน ก็ทรงปราศรัยซักถามถึงการทำมาหากิน ถามถึงความอยู่เย็นเป็นสุข ตลอดจนการโจรผู้ร้ายว่า มีมากเพียงใด หรือได้รับความเดือดร้อนประการใดบ้าง เวลาที่ราษฎรถวายสิ่งของ ก็พระราชทานเงินที่เรียกว่า "เงินก้นถุง" ทั้งกำชับผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า ข้าหลวงประจำจังหวัด ให้ช่วยเหลือทุกข์ร้อนของราษฎรซึ่งได้รับความเดือดร้อน นอกจากนั้น ยังได้เสด็จประพาสวัดบางแห่ง เช่น วัดบวรนิเวศน์ และวัดพระเชตุพน ซึ่งปรากฏว่า ทุกคราวที่เสด็จ ได้มีอาณาประชาชนมาเฝ้าแหนอยู่เนืองแน่น ในตอนสุดท้าย ได้เสด็จประพาสสำเพ็ง ในการเสด็จประพาสสำเพ็งนี้ โจทก์ขอกราบเรียนเล่าเรื่องสักเล็กน้อย คือ ตามทางการพิจารณาที่โจทก์นำสืบ ในการที่จะเสด็จสำเพ็งนั้น รัฐบาลในสมัยนั้นเกรงว่า จะเป็นการผิดพระราชประเพณี ก็ได้ให้มหาวงศ์ เชาวนะกวี ซึ่งได้มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลในคดีนี้ และเป็นผู้ที่ถวายพระอักษรในหลวงในพระองค์นั้น ให้ไปทูลถามกรมหมื่นพิทยลาภฯ ซึ่งในขณะนั้น คือ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ว่า การที่ในหลวงจะเสด็จสำเพ็งเป็นการผิดพระราชประเพณีหรือไม่ พระองค์เจ้าธานีนิวัติในสมัยนั้นรับสั่งว่า ท่านทรงจำได้ว่า รัชกาลที่ ๕ ก็เคยเสด็จ และดูเหมือนรัชกาลที่ ๖ ก็ได้เคยเสด็จ จึงเชื่อว่า ไม่เป็นการผิดพระราชประเฑพณี และผลที่สุด ก็ได้เสด็จประพาสสำเพ็ง ในการเสด็จประพาสสำเพ็งนั้น รู้สึกว่า เป็นที่พอใจของพวกที่อยู่ในสำเพ็งเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนต่างด้าว มีชาวจีนและชาวแขกเป็นอาทิ ชาวจีนนั้น ปรากฏว่า บางคนกวาดเอาผงที่พระบาทเหยียบผ่านไปในขณะเวลาเสด็จนั้นเก็บเอาไว้เป็นที่เคารพสักการะของเขา

ส่วนในด้านพระพุทธศาสนา โจทก์ได้นำสืบว่า พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานเงินบำรุงวัดเป็นจำนวนมาก และสำหรับศาสนาอื่น พระองค์ท่านก็ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น อย่างว่า ได้เสด็จประพาสสุเหร่าอิสลามิกที่สพานเจริญพาศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ปรากฏว่า พระองค์ท่านทรงสนพระทัยในทางพุทธศาสนา ได้ทรงศึกษาหลักธรรม และตั้งพระทัยไว้ว่า จะเสด็จกลับผ่านไปทางอเมริกาและยุโรปในวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ และเมื่อทรงสำเร็จจากการศึกษาและเสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทรงผนวช ถึงกับทรงรับสั่งให้สมเด็จพระสังฆราชบันทึกที่มาของการทรงผนวชนี้ไว้ด้วย

ส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการบ้านเมืองนั้น โจทก์ได้นำสืบว่า พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมต่าง ๆ เข้าเฝ้า ซึ่งในการเข้าเฝ้านั้น มีพลโท พระศิลปศาสตราคม สมุหราชองครักษ์ เฝ้าอยู่ด้วย ปรากฏจากการพิจารณาว่า พระองค์ทรงห่วงใยถึงการครองชีพของประชาชนพลเมืองทั้งหลาย โดยได้ทรงซักไซ้บรรดาข้าราชการที่เฝ้าอยู่เกี่ยวกับเรื่องนี้

โจทก์ได้นำสืบโดยโจทก์ระลึกว่า ในคดีฆาตกรรมนั้น โดยปกติแล้ว มักจะมีสาเหตุ ดังนั้น โจทก์จึงได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบว่า มีสาเหตุอย่างไรในกรณีนี้ แต่ก่อนที่โจทก์จะกราบเรียนต่อไป ใคร่ขอประทานกราบเรียนว่า ในเรื่องสาเหตุนี้ โดยปกติ ในการฆาตกรรมแล้ว เป็นที่เข้าใจกันว่า ต้องเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เพราะเหตุว่าอยู่ดี ๆ จะมีคนฆ่ากันนั้นย่อมไม่มีเป็นแน่ อย่างน้อยที่สุด จะต้องมีสาเหตุเกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่สาเหตุที่เกิดมาก่อนนั้น ที่ไม่ปรากฏแก่วงการศาล ก็เพราะว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนค้นคว้าไปไม่ถึง ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เหตุเหล่านั้นอาจจะมืดมิดซ่อนเร้นจนไม่สามารถจะสืบสวนค้นคว้าได้ ดังเช่น เผอิญผู้ตายกับผู้ร้ายมีเรื่องโกรธเคืองกันโดยเฉพาะ และทะเลาะเบาะแว้งกันเฉพาะตัวโดยไม่มีใครรู้ ต่อมา เกิดฆ่ากันขึ้นโดยสาเหตุนั้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ บางทีก็ไม่มีทางสืบได้ว่า สาเหตุเป็นอย่างไร แต่โดยปกติแล้ว เป็นที่เข้าใจกันว่า จะต้องมีสาเหตุ ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องนำสืบหลายประการด้วยกัน แต่ถึงแม้ว่าจะนำสืบเท่าที่ปรากฏในศาลแล้วก็ดี แต่ก็อาจจะมีสิ่งซ่อนเร้นลี้ลับดั่งกล่าวมาแล้วก็ได้

ในเรื่องสาเหตุนี้ โจทก์ได้นำสืบถึงพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงพระปรีชาเฉียบแหลม ซึ่งในข้อที่ทรงพระปรีชาเฉียบแหลมนี้ บางที่อาจจะเป็นข้อที่น่าคิดว่า การเป็นคนฉลาดนั้นอาจจะเป็นสาเหตุให้ถูกทำร้ายทีเดียวหรือ ซึ่งกรณีนั้นจะต้องแล้วแต่เหตุการณ์แวดล้อมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายไป คนที่ฉลาด ถ้าไปอยู่กับคนที่มีจิตใจไม่ชอบคนฉลาดบางคน หรือไปอยู่ในหมู่คนที่มีจิตใจอิจฉาริษยา ก็อาจจะมีใจอาฆาตมาดร้าย จนเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายชีวิตกันก็ได้ ย่อมจะเป็นไปได้ประการหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้น โจทก์จึงได้นำสืบไปถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงพระปรีชาเฉียบแหลมนี้ ปรากฏว่า พระองค์ท่านทรงมีความเมตตาอารีรักข้าราชการบริพาร และมีน้ำพระทัยเยือกเย็น จะกริ้วใครก็ยาก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ปรากฏว่า ได้เคยทรงกริ้วครั้งหนึ่งเรื่องรถยนต์ คือ มีเรื่องดังนี้ มีอยู่วันหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จวิทยาศรม เจ้าหน้าที่มากราบทูลว่า ไม่มีรถ สมเด็จพระราชชนนีก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นว่า ไม่มีรถจะไปวิทยาศรม พระองค์ท่านก็รับสั่งว่า จะต้องมี รถไปไหนหมด ครั้นแล้ว พระองค์ท่านก็เสด็จลงมาจัดการในเรื่องรถ ได้ความว่า รถคันหนึ่งนำไปซ่อม ส่วนอีกคันหนึ่งนำไปให้นายปรีดี พนมยงค์ ใช้ พระองค์ทรงกริ้วในตอนนั้น ถึงกับรับสั่งว่า "รถของฉันมี เอาไปให้คนอื่นใช้หมด ถ้าทำเนียบท่าช้างไฟไหม้ มิต้องเอาวังของฉันให้อยู่หรือ?" ปรากฏชัด ๆ เช่นนี้ ในเรื่องรถนี้ เมื่อรู้ถึงนายควง อภัยวงส์ ซึ่งขณะนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์ ก็เข้ามาในวังและได้นำรถสำหรับใช้ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ามาถวายให้ทรงใช้ และปรากฏจากคำให้การของนายควง อภัยวงศ์ ต่อไปว่า "ไม่ได้สอบถามต่อไปว่า ทำไมจึงเอารถไปให้คนนั้นคนนี้ใช้ ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุว่า ไม่ต้องการจะรื้อฟื้นเรื่องขึ้นมาพูด"

นอกจากนั้น ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทย มีอยู่คราวหนึ่ง ได้เสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล นายปรีดี พนมยงค์ ได้เป็นแขกโดยเสด็จไปด้วย ปรากฏตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า พระองค์ทรงไม่พอพระทัยครั้งหนึ่ง โดยนายปรีดี พนมยงค์ เอารถจี๊ปไปใช้โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต

อีกประการหนึ่งที่โจทก์นำสืบ ก็คือ การพ้นจากตำแหน่งของนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ในการพ้นจากตำแหน่งของนายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ นั้น โจทก์ได้นำสืบว่า นายเฉลียว ปทุมรส ได้แสดงอาการเป็นทำนองแสดงไม่คารวะต่อพระองค์ท่าน อาทิเช่น นั่งไขว่ห้างบนรถยนต์เข้าไปในพระที่นั่งบรมพิมาน, เวลาถวายหนังสือ ก็สรวมแว่นตาดำ, เวลาจะขึ้นถวายหนังสือ ก็สูบบุหรี่, เวลาถวายหนังสือที่จะทรงพระอักษร ก็ยืนถวาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ โจทก์ได้นำสืบเป็นทำนองว่า พระองค์ท่านไม่พอพระราชหฤทัย ผลที่สุด จึงให้นายเฉลียว ปทุมรส พ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งได้ทรงรับสั่งถามนายปรีดี พนมยงค์ ในเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ขัดขวางพระราชประสงค์นั้น เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ก็ได้เป็นสมาชิกพฤฒสภา

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการพ้นจากตำแหน่งของนายนเรศธิรักษ์ ซึ่งเดิมทีเดียว เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก และตอนหลังเป็นเลขานุการสำนักพระราชวัง และในที่สุด พ้นจากตำแหน่งไปเป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรีในสมัยที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่

ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ต่อไปว่า ได้เคยรับสั่งให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าเฝ้า และมีพระราชกระแสร์รับสั่งตักเตือนว่า รุนแรงนักหรือ เกรงว่าจะไปเที่ยวอภิปรายเสียดสีเขาในสภาแล้วเป็นภัยแก่ตัวเอง และก็ได้รับสั่งกำชับว่า ให้รักษาตัวไว้ให้ดี อย่าให้รุนแรงเกินไปนัก เพราะปรากฏว่า ได้ยกมือไม่ไว้วางใจรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายของนายปรีดี พนมยงค์

สาเหตุอีกประการหนึ่งซึ่งโจทก์ได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องทรงรับสั่งว่า จะสละราชสมบัตินั้น ในเรื่องนี้ ตามทางพิจารณา ปรากฏว่า ได้เคยรับสั่งกับ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งไปเฝ้า ว่า ท่านจะสละราชสมบัติ จะให้น้องครองราชสมบัติแทน ส่วนพระมหากษัตริย์เองจะไปสมัครเป็นผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี มาทำงานร่วมกันในระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ แต่เมื่อรับสั่งแล้ว ก็รับสั่งว่า "เบอร์นาร์ดชอว์นะ" ซึ่ง ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เข้าใจว่า เคยมีนิยายของเบอร์นาร์ดชอว์เป็นทำนองนี้ และเข้าใจว่า รับสั่งทำนองล้อเล่นกับ ม.ร.ว.สุมนชาติฯ แต่ในเรื่องทรงสละราชสมบัตินั้น จะปรากฏต่อไปในการพิจารณาว่า เรื่องกระจัดกระจายแพร่หลาย ซึ่งคนไม่รู้ความจริงถึงการรับสั่งว่า เอามาจากนิยายของเบอร์นาร์ดชอว์ ก็จะเข้าใจว่า พระองค์ท่านจะทรงสละราชสมบัติเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นจริง ๆ

นอกจานี้ ปรากฏตามคำหลวงเชวงศักดิ์สงคราม วึ่งในการพิจารณาได้เรียกชื่อเป็นสองชื่อ ชื่อหนึ่ง คือ พ.อ. ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม และอีกชื่อหนึ่ง ในบางตอนก็เรียกว่า หลวงเชวงศักดิ์สงคราม หลวงเชวงศักดิ์สงครามกล่าว่า นายปรีดีฯ หาว่า การเล่นการเมืองในขณะนั้นมีพระมหากษัตริย์เข้าเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้อธิบายความต่อไปว่า เพราะพวกประชาธิปัตย์เลื่อมใสพระมหากษัตริย์ คือ ในขณะนั้น การเมืองย่อมเป็นที่รู้กันทำนองแบ่งออกเป็นสองพรรค คือ มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน และมีพรรคสนับสนุน คือ พรรคสหชีพและแนวรัฐธรรมนูญซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้มีอำนาจอยู่ในพรรคนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ปรากฏว่า มีพวกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้แก่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายควง อภัยวงศ์ ได้เคยเข้าเฝ้าใกล้ชิด ทั้งได้ปรากฏว่า นายควง อภัยวงศ์ ได้นำเสด็จประพาสสำเพ็งในระหว่างชมต่างด้าวอีกด้วย ซึ่งทั้งนี้ นายควง อภัยวงศ์ กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร

มีสาเหตุอีกประการหนึ่งซึ่งโจทก์ได้นำสืบถึงการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เรื่องนี้ปรากฏว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๘ มีพระราชประสงค์จะตั้งกรมพระชัยนาทนเรนทร และพระองค์เจ้าธารีนิวัติ ซึ่งบัดนี้ เป็นกรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒยากร แล้วเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่นายปรีดี พนมยงค์ ประสงค์จะตั้งพระนางรำไพพรรณีกับคนอื่น ในเรื่องนี้ โจทก์ขอประทานกราบเรียนย่อ ๆ ว่า จากทางการพิจารณาได้ความประการใด คือ ในการที่จะตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นนั้น ก็เพราะเหตุที่ว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๘ จะเสด็จประเทศอเมริกาและยุโรป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจะต้องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ไม่ตรงกันกับในหลวงรัชกาลที่ ๘ ดั่งกล่าวย่อ ๆ มาเมื่อกี้นี้ ก่อนวันสวรรคตหนึ่งวัน นายวงศ์ เชาวนะกวี ได้ไปที่ทำเนียบท่าช้างซึ่งเป็นที่ที่นายปรีดี พนมยงค์ พำนักอยู่ นายปรีดี พนมยงค์ ถามว่า "รู้ไหมเรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์?" นายวงศ์ เชาวนะกวี บอกว่า "ไม่ทราบ" นายปรีดี พนมยงค์ ก็เล่าให้ฟังตามนัยนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น นายวงศ์ เชาวนะกวี บอกว่า สังเกตดูว่า นายปรีดี พนมยงค์ โกรธมาก ถึงกับได้ปรากฏถ้อยคำแรง ๆ กล่าวออกมาว่า "ต่อไปนี้ จะไม่โปรเต๊กโทรน" ซึ่งแปลความหมายในภาษาไทยว่า "ต่อไปนี้ จะไม่ป้องกันราชบัลลังก์" นายวงศ์ เชาวนะกวี ทราบเช่นนั้น วันนั้นเอง ก็ได้มาที่พระที่นั่งบรมพิมาน คือ มาในวันที่ ๘ (สวรรคตวันที่ ๙) เมื่อเข้ามาถึง เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ทรงประชวรอยู่ ก็ไม่กล้ากราบทูลว่าอย่างไร แต่ได้กราบทูลต่อสมเด็จพระราชชนนีให้ทรงทราบไว้ ซึ่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระราชชนนีก็ได้พระราชทานพระราชกระแสเป็นพยานรับรองคำของนายวงศ์ เชาวนะกวี นี้

โจทก์ได้นำพลตำเรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เข้าสืบว่า ในครั้งนั้น ได้พบกับนายจิตตะเสน ปัญจะ ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองร่วมกันมากับนายปรีดี พนมยงค์ และนายเฉลีว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ นี้ ในครั้งนั้น นายจิตตะเสน ปัญจะ ได้บอกว่า ในหลวงเล่นการเมือง

อีกประการหนึ่งที่โจทก์ได้นำสืบ การติดต่อของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งในสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่มีหน้าที่ราชการอย่างไร ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นได้ทรงปรารภว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม นี้ ตั้งแต่พ้นที่หน้าที่ราชการ ก็หายหน้าหายตาไป มีพระราชประสงค์ที่จะพบ ข้อความนี้ก็ได้ติดต่อไปถึงนายสนิท โสพจน์ ซึ่งเป็นหลานสมเด็จพระราชชนนี และเป็นพี่ภรรยา พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายสนิท โสพจน์ ก็มาติดต่อกับ พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ขอให้หาทางติดต่อกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อไปเฝ้า แต่ พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ติดต่อกับพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เพื่อนัดแนะให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปเฝ้า ทำไมโจทก์จึงสืบความข้อนี้? นี่เป็นสาเหตุอันหนึ่งด้วยหรือ? ทั้งนี้ ก็โดยที่โจทก์ได้สืบต่อไปว่า สำหรับนายปรีดี พนมยงค์ กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีกรณีที่ไม่ถูกกันมาก่อน กรณีที่ไม่ถูกกันนั้นถึงขนาดที่มีความหวาดเกรงกัน ดั่งที่โจทก์ได้นำ ร.ต. อำนวย เกษโกมล มาสืบว่า สมัยหนึ่ง เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ผลที่สุด ก็ได้มีการปฏิเสธข่าวว่า ไม่ลาออก ในคราวที่มีการปฏิเสธข่าวนั้น ร.ต. อำนวย เกษโกมล ซึ่งประจำอยู่ที่ทำเนียบท่าช้าง กล่าวว่า วันนั้น ที่ท่าช้างเตรียมเรือยามฝั่งเพื่อจะหนี เพราะเกรงว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะส่งคนมาจับนายปรีดี พนมยงค์ เรือยามฝั่งที่เตรียมไว้นั้นมีเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เป็นผู้บังคับการ นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ได้มีการไม่ถูกกันระหว่างบุคคลทั้งสองคนนี้ และเมื่อมีกรณีพัวพันไปถึงว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๘ มีพระราชประสงค์ที่จะพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม สักครั้งหนึ่ง ก็อาจจะพัวพันไปถึงความสะดุ้งหวาดเกรงของนายปรีดี พนมยงค์ ก็เป็นได้

โจทก์ได้นำสืบอีกประการหนึ่งว่า ในกรณีนี้ ตามเรื่อง โจทก์เห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ใช่จู่ ๆ ก็มีการลอบปลงพระชนม์ เพราะเหตุว่าที่จะมีการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ นัก จำเป็นจะต้องมีแผนการ ซึ่งเมื่อจำเป็นจะต้องมีแผนการณ์เช่นนี้แล้ว อะไรบ้างที่เป็นแผนการ? โจทก์ได้นำสืบไว้หลายประการด้วยกัน ดั่งจะขอกราบเรียนย่อ ๆ ดั่งนี้ คือ ได้จัดให้มีการถวายปืนและลูกระเบิดเมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีเพื่อทอดพระเนตรพลพรรคเสรีไทยใช้อาวุธ ในคราวนั้น ได้มีการถวายอาวุธปืนและลูกระเบิด ทำไมโจทก์จึงนำสืบว่า เรื่องนี้อยู่ในแผนการ? ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุที่ว่า อาวุธเหล่านี้อาจทำอันตรายได้ง่าย ทั้งจะเป็นแก่ผู้อื่นและแก่ตัวผู้ใช้เองก็ตาม เช่น การใช้ลูกระเบิดนั้น ถ้าพลาดพลั้งเพียงนิดเดียว ผู้ใช้อาจเป็นอันตายถึงแก่ชีวิตได้ และการที่มีการถวายพระแสงปืน ก็มีเหตุผลดั่งจะได้กราบเรียนต่อไป คือ การจัดให้มีการถวายพระแสงปืน และจัดให้มีผู้เข้ามาหัดให้พระองค์ทรงพระแสงปืนนั้น มีเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เป็นผู้หัดด้วยคนหนึ่ง ในการที่จัดให้มีการหัดใช้พระแสงปืนนั้น โจทก์เห็นว่า เป็นทางที่จะนำไปสู่ความเข้าใจว่า เมื่อได้มีการยิงปืนในวังเสมอ ๆ เป็นนิจอยู่แล้ว ต่อไปเมื่อมีเสียงปืนเกิดขึ้น ก็ย่อมเข้าใจเป็นของธรรมดา ไม่มีใครเอาใจใส่ เพราะได้ยินเสียงปืนทุกวัน เช่นนี้เป็นต้น ทั้งปรากฏต่อไปด้วยว่า ข้าราชการในราชสำนักสมัยนั้นไม่มีการกวดขันในเรื่องเครื่องแต่งกาย คือ แต่งกายเหมือนคนทั่ว ๆ ไป คือ แต่งตัวอย่างชนิดที่เรียกว่า เวสต์ป๊อยต์ และไม่ได้ติดเครื่องหมาย ซึ่งการเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้มีคนแปลกปลอมเข้าไปในพระบรมมหาราชวังได้ง่าย ซึ่งในเรื่องนี้ โจทก์ได้เคยนำสืบถึงการมีบุคคลเข้าไปถึงพระที่นั่งบรมพิมานหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้เข้าไปถึงเชิงบันไดที่จะขึ้นไปชั้นบนห้องพระบรรทมได้ การกวดขันการเข้าออก ก็ไม่ได้ปรากฏว่า มีการตรวจบัตรหรืออะไรต่าง ๆ เลย ไม่ได้ทำกันให้ถี่ถ้วนรอบคอบ

นอกจากนั้น โจทก์ได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องแผนการณ์ถึงการประชุมปฤกษากันก่อนเกิดเหตุว่า ได้มีการประชุมปฤกษากันแค่ไหนอย่างไร ซึ่งโจทก์จะได้กราบเรียนโดยละเอียดในตอนต่อไป สำหรับในชั้นนี้ จะขอประทานกราบเรียนแต่เพียงว่า ในข้อนำสืบของโจทก์มีว่า นายปรีดี พนมยงค์, นายเฉลียว ปทุมรส, เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช และนายชิต สิงหเสนี กับอีกคนหนึ่งซึ่งพยานไม่ทราบ ได้ไปประชุมกันที่บ้านพระยาศรยุทธเสนีก่อนวันสวรรคต และได้มีข้อความทำนองที่จะมีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘

เนื่องจากโจทก์ได้กราบเรียนถึงแผนการดั่งกราบเรียนมาต่าง ๆ เหล่านี่แล้ว ต่อไปนี้ โจทก์จะได้ขอประทานกราบเรียนต่อไปเสียด้วยว่า ผู้ที่ได้เกี่ยวข้องในกรณีนี้คงจะตั้งใจว่า แผนการณ์ที่ได้ร่วมกันวางไว้นั้นจะสำเร็จได้ตามปรารถนา จึงได้มีการพูดออกมาให้ปรากฏว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๘ จะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ ๑๓ ซึ่งในข้อนี้ โจทก์ได้นำสืบว่า นายเฉลียว ปทุมรส นี้เอง ได้พูดกับ พ.อ. ประพันธ์ กุลพิจิตร ในวันงานพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภาในคืนวันที่ ๘ มิถุนายน คือ ก่อนสวรรคตหนึ่งวัน นายเฉลียว ปทุมรส ได้พูดกับ ง่าย ซึ่งในเรื่องนี้ โจทก์ได้เคยนำสืบถึงการมีบุคคลเข้าไปถึงพระที่นั่งบรมพิมานหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้เข้าไปถึงเชิงบันไดที่จะขึ้นไปชั้นบนห้องพระบรรทมได้ การกวดขันการเข้าออก ก็ไม่ได้ปรากฏว่า มีการตรวจบัตรหรืออะไรต่าง ๆ เลย ไม่ได้ทำกันให้ถี่ถ้วนรอบคอบ

นอกจากนั้น โจทก์ได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องแผนการณ์ถึงการประชุมปฤกษากันก่อนเกิดเหตุว่า ได้มีการประชุมปฤกษากันแค่ไหนอย่างไร ซึ่งโจทก์จะได้กราบเรียนโดยละเอียดในตอนต่อไป สำหรับในชั้นนี้ จะขอประทานกราบเรียนแต่เพียงว่า ในข้อนำสืบของโจทก์มีว่า นายปรีดี พนมยงค์, นายเฉลียว ปทุมรส, เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช และนายชิต สิงหเสนี กับอีกคนหนึ่งซึ่งพยานไม่ทราบ ได้ไปประชุมกันที่บ้านพระยาศรยุทธเสนีก่อนวันสวรรคต และได้มีข้อความทำนองที่จะมีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘

เนื่องจากโจทก์ได้กราบเรียนถึงแผนการดั่งกราบเรียนมาต่าง ๆ เหล่านี่แล้ว ต่อไปนี้ โจทก์จะได้ขอประทานกราบเรียนต่อไปเสียด้วยว่า ผู้ที่ได้เกี่ยวข้องในกรณีนี้คงจะตั้งใจว่า แผนการณ์ที่ได้ร่วมกันวางไว้นั้นจะสำเร็จได้ตามปรารถนา จึงได้มีการพูดออกมาให้ปรากฏว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๘ จะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ ๑๓ ซึ่งในข้อนี้ โจทก์ได้นำสืบว่า นายเฉลียว ปทุมรส นี้เอง ได้พูดกับ พ.อ. ประพันธ์ กุลพิจิตร ในวันงานพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภาในคืนวันที่ ๘ มิถุนายน คือ ก่อนสวรรคตหนึ่งวัน นายเฉลียว ปทุมรส ได้พูดกับ ดังนั้น พอราวย่ำรุ่ง สมเด็จพระราชชนนี กับนายมณี บูรณสุต หัวหน้าแผนกในกองมหาดเล็ก จึงไดนำน้ำมันละหุ่งเข้าไปถวายในหลวงรัชกาลที่ ๘ ในห้องพระบรรทม เวลานั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ยังอยู่บนพระที่ สมเด็จพระราชชนนีได้ทูลถามว่า "เมื่อคืนนี้ หลับดีไหม?" ทรงรับสั่งตอบว่า "หลับดี" เมื่อถวายน้ำมันละหุ่งเสร็จแล้ว สมเด็จพระราชชนนีรู้สึกว่า พระองค์มีพระราชประสงค์จะบรรทมต่อไป ก็เสด็จกลับออกมา ต่อมาประมาณเวลา ๗ นาฬิกาเศษ นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทม ก็เข้ามาอยู่หน้าห้องพระบรรทม แล้วต่อมา นายชิต สิงหเสนี ซึ่งในวันนั้น ไม่ได้เป็นเวรมหาดเล็ก ก็ได้มา ณ ที่นั้นด้วย ครั้นก่อน ๙ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ คือ รัชกาลปัจจุบัน เสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้าที่มุขพระที่นั่งบรมพิมาน ก็ได้เสด็จผ่านมาทางที่ซึ่งนายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน นั่งอยู่ พระองค์รับสั่งถามว่า พระอาการเป็นอย่างไร บุคคลทั้งคู่นี้ก็กราบบังคมทูลว่า ตื่นบรรทมแล้ว เข้าห้องสรงแล้ว และกลับมาบรรทมอีก แล้วต่อมาในราว ๙ นาฬิกา ก็มีเสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัดในห้องพระบรรทม และปรากฏว่า นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ ๒ ได้วิ่งไปทูลสมเด็จพระราชชนนี ซึ่งประทับอยู่ชั้นบนพระที่นั่งบรมพิมานอีกส่วนหนึ่ง ว่า "ในหลวงยิงพระองค์เอง" สมเด็จพระราชชนนีก็เสด็จตรงมายังห้องพระบรรทม โดยมีนายชิต สิงหเสนี ตามมาในทันใดนั้น และมีผู้ติดตามมาอีก เช่น พระพี่เลี้ยง เนื่อง จินตดุลย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน และนางสาวจรูญ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นข้าหลวงสมเด็จพระราชชนนี ได้วิ่งติดตามกันมาที่ห้องพระบรรทม ก็ได้มาพบในหลวงรัชกาลที่ ๘ บรรทมหงายอยู่บนพระที่ พระกรทอดทั้งสองข้าง มีปืนกระบอกหนึ่งวางอยู่ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้าย ที่พระนลาตมีรอยพระโลหิตไหล สมเด็จพระราชชนนีก็เข้าไปที่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ทรงกรรแสง และทันใดนั้น ในหลวงรัชกาลปัจจุบันก็รับสั่งให้คนไปตามหลวงนิตยฯ ในขณะนั้น ก็ปรากฏว่า นอกจากจะไปตามหลวงนิตยฯ เข้ามาแล้ว ยังได้มีการบอกกล่าวให้ผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาในพระที่นั่งบรมพิมานอีก เมื่อหลวงนิตยฯ เข้ามาแล้ว สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งถามหลวงนิตยฯ ว่า "มีหวังไหม?" หลวงนิตยฯ ตอบว่า "ไม่มีหวัง" แล้วสมเด็จพระราชชนนีจึงรับสั่งให้ทำความสะอาดบาดแผล หลวงนิตยฯ ก็จัดการทำความสะอาด ต่อมา ก็มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิเช่น นายปรีดี พนมยงค์, พระบรมวงศานุวงศ์ และพวกรัฐมนตรี เข้าไปในพระที่นั่งบรมพิมาน ได้มีการสอบถามปากคำคนบางคนและบันทึกไว้ นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า นายชิต สิงหเสนี เป็นผู้นำปลอกกระสุนปืนปลอกหนึ่งมาให้แก่เจ้าหน้าที่ อ้างว่า เป็นปลอกกระสุนปืนที่เก็บได้ข้างพระที่

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์จะขอประทานข้ามไป เพราะปรากฏว่า ทั้งสองศาล คือ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยต้องกันว่า เป็นกรณีลอบปลงพระชนม์ ซึ่งการลอบปลงพระชนม์นี้ จะขอกราบเรียนตามลำดับพอเป็นสังเขปว่า ได้เกิดขึ้นอย่างไร คือ ได้มีเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เข้ามาพัวพันในเรื่องนี้ด้วย นอกจากดั่งได้กราบเรียนมาแล้วว่า ผู้นี้ได้เข้าไปร่วมวางแผนการณ์ที่บ้านพระยาศรยุทธฯ แล้ว วันนั้น โจทก์มีพยายนำสืบได้ว่า เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ได้ออกจากบ้านมาในตอน ๗ โมงเศษ ๆ และรถได้แล่นผ่านประตูหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรืออีกนัยหนึ่ง ที่เรียกกันว่า "วัดพระแก้ว" มาหยุดที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ปรากฏตามคำของ ส.ต. สวัสดิ์ หรือ ซัน ประดุงสิทธิ์ คนขับรถของเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ว่า เมื่อเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ได้เข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศแล้ว สั่งให้รถนี้ไปรอที่ทำเนียบท่าช้าง ที่กระทรวงการต่างประเทศนั้น ถ้าหากศาลได้ไปถึงที่พระที่นั่งบรมพิมาน จะเห็นได้ว่า จากเฉลียงพระที่นั่งกับกระทรวงการต่างประเทศสามารถจะมองเห็นกันได้ถนัด

นอกจาก ส.ต. สวัสดิ์ หรือ ซัน ประดุงสิทธิ์ แล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีก คือ นายนพ ศศิบุตร กล่าวว่า ในเช้าวันนั้นเอง นายนพ ศศิบุตร ได้พบเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช นั่งรถคันดั่งกล่าวผ่านหน้าวัดพระแก้วบ่ายโฉมหน้าไปทางกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งได้มีผู้พบเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ก่อนได้ยินเสียงปืน ว่า ได้เข้าไปในพระที่นั่งบรมพิมาน เห็นครั้งแรกที่หน้าโรงละคร โรงละครนี้อยู่ใกล้ชิดกับพระที่นั่งบรมพิมาน ถ้าจะเข้าประตูแถลงราชกิจ และจะไปที่พระที่นั่งบรมพิมานจะต้องผ่านหน้าโรงละครนั้น ไดมีผู้พบเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช อยู่ที่หน้าโรงละคร ต่อมา หลังจากได้มีเสียงปืนดังขึ้นแล้ว นายยง อ่ำสำอาง และนายช่วง ปราณีตทอง ซึ่งทำงานสวนอยู่ที่พื้นดินแถวนั้น ได้เห็นเรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ลงมาจากพระที่นั่งบรมพิมาน เดินย้อนกลับไปทางโรงละคร คือ ย้อนกลับไปทางเก่านั่นเอง

โดยเหตุที่กรณีนี้ เท่าที่โจทก์นำสืบมาแล้ว ไม่ได้นำประจักษ์พยานเข้ามาสืบ จึงจำเป็นต้องให้วัตถุพยานหรือพยานเอกสารเข้าประกอบ ในเรื่องนี้ โจทก์ได้นำสืบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นได้เสด็จสวรรคตโดยถูกปืนบนพระที่ เพราะบริเวณนั้นไม่มีพระโลหิตอยู่ที่อื่นใดเลย และนอกจากนั้น จากคำของแพทย์ก็ปรากฏว่า มีผู้ไปพบพระบรมศพ มีปืนกระบอกหนึ่งวางอยู่ข้างพระกรซ้าย และมีผู้อ้างว่า เก็บปลอกกระสุนปืนได้ และต่อมาอีก ๓ วัน ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ได้ไปดูที่พระที่ ได้เจอหัวกระสุนฝังอยู่ในพระที่หรือที่นอนของพระองค์ท่าน ซึ่งตามทางพิสูจน์ของพยานผู้ชำนาญการพิเศษ พิสูจน์ได้ว่า ปลอกกระสุนปืนที่มีผู้อ้างว่าเก็บได้นั้นเป็นปลอกกระสุนปืนจากปืนกระบอกนั้น หัวกระสุนปืนเป็นหัวกระสุนปืนที่ผ่านปืนกระบอกนั้น หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/651หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/652หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/653หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/654หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/655หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/656หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/657หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/658หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/659หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/660หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/661หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/662หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/663หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/664หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/665หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/666หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/667หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/668หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/669หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/670หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/671หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/672หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/673หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/674