คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๖/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๑๖/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย




เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เกิดความสมดุล เข้มแข็ง และมั่นคง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ขึ้น เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ (กรอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. องค์ประกอบ

๑.๑ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานอนุกรรมการ
๑.๒ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานอนุกรรมการ
๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๔ ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๕ ปลัดกระทรวงพลังงานหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๖ ปลัดกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๗ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๘ ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๙ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๑๐ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๑๑ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๑๒ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุกรรมการและเลขานุการ
๑.๑๔ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย อนุกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่

๒.๑ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้มีความสอด คล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งละ ความสมดุลของภาคการเกษตรที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งมิติด้านความมั่นคงอาหาร และพลังงาน ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) (๒) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (๓) การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมให้มีการผลิตได้มาตรฐานและมูลค่า เพิ่ม (๔) การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modem farming) และ (๕) การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เสนอคณะกรรมการ กรอ.
๒.๒ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
๒.๓ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ กรอ. มอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๑๕/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๑๗/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"