ข้ามไปเนื้อหา

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๗/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๑๗/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ




อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนี้

๑. คณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

๑.๑ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
๑.๒ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
๑.๓ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
๑.๔ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
๑.๕ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร
๑.๖ พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต
๑.๗ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
๑.๘ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
๑.๙ พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
๑.๑๐ พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์
๑.๑๑ พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ ร.น.
๑.๑๒ พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์
๑.๑๓ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
๑.๑๔ พลเอก อุทิศ สุนทร

๒. ให้คณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๒.๑ พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
๒.๒ พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ เสนอ ตามจำนวนที่เห็นสมควร
๒.๓ นำรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ แต่ต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน เสนอต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๑๖/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๑๘/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"