คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๘/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๑๘/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ




เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้กำหนดให้นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ และใช้เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวทันนานาอารยประเทศ โดยให้มีการผนึก กำลังกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๑. องค์ประกอบ

๑.๑ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ รองประธานกรรมการ
๑.๓ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
๑.๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
๑.๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
๑.๖ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
๑.๗ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑.๘ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑.๙ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑.๑๐ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑.๑๑ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ และเลขานุการ
๑.๑๓ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ
๑.๑๔ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่

๒.๑ กำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
๒.๒ ผลักดันให้มีการนำกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ
๒.๓ อนุมัติแผนงาน โครงการ และวงเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒.๔ กำกับ ดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๒.๕ ติดตาม ศึกษา และวิเคราะห์ ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดยองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาคการผลิตและบริการ การค้าการลงทุน การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
๒.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำ งานเพื่อสนับสนุนการดำ เนินงานหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมอบหมาย
๒.๗ ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามนี้
๒.๘ ประสานหรือมอบหมายให้คณะกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่เห็นสมควร เพื่อให้การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศบรรลุผลตามเป้าหมาย
๒.๙ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๑๗/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๑๙/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"