ข้ามไปเนื้อหา

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๙/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๑๙/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย




เพื่อให้การดำเนินงานด้านกฎหมาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรอบคอบ และให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย” โดยมีองค์ประกอบ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. องค์ประกอบ

๑.๑ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
๑.๒ พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
๑.๓ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
๑.๔ พลเอก ณัทกร เกิดสุขผล ที่ปรึกษาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
๑.๕ อัยการสูงสุด กรรมการ
๑.๖ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
๑.๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
๑.๘ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
๑.๙ เจ้ากรมพระธรรมนูญ กรรมการ
๑.๑๐ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
๑.๑๑ ผู้อำนวยการสำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ
๑.๑๒ นายเทพ อิงคสิทธิ์ กรรมการ
๑.๑๓ นายสุนทร สิทธิเวชวิจิต กรรมการ
๑.๑๔ นายอดุลย์ ขันทอง กรรมการ
๑.๑๕ พลโท เยาวดนัย ภู่เจริญยศ กรรมการและเลขานุการ
๑.๑๖ พันเอก กฤษณะ วโรภาษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑.๑๗ นายวีรพันธ์ พวงเพชร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่

๒.๑ พิจารณากลั่นกรองเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๒ พิจารณาเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานหรือแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ของส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ หรือการจัดทำระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๓ เชิญบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดข้องด้านกฎหมายของส่วนราชการ และหน่วยต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของส่วนราชการ และส่วนราชการต่าง ๆ มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็นรวมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
๒.๕ ดำเนินการอื่นใดตามที่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเบิกจ่ายจากกองบัญชาการกองทัพบก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๑๘/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๒๐/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"