คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓/๒๕๕๘

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๓/๒๕๕๘
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ




ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แถลงยุทธศาสตร์สําคัญ ๙ ด้าน เพื่อใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยในยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม จะมีการผลักดันนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้มีการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และโดยที่มาตรา ๔๒ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ บัญญัติให้ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงให้มี “คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” โดยมีองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ดังนี้

๑. องค์ประกอบ

๑.๑ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
๑.๒ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
๑.๓ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
๑.๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
๑.๕ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
๑.๖ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
๑.๗ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
๑.๘ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
๑.๙ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
๑.๑๐ พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์ กรรมการ
๑.๑๑ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
๑.๑๓ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
๑.๑๔ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
๑.๑๕ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานแต่งตั้งจํานวน ๓ คน กรรมการ
๑.๑๖ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ) กรรมการและเลขานุการ
๑.๑๗ พลเรือโท นวพล ดํารงพงศ์ เจ้ากรมส่งกําลังบํารุงทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อํานาจหน้าที่

๒.๑ กํากับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดการจัดหาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะด้านการคมนาคมและสาธารณูปโภค สําหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก มุกดาหารสงขลา สระแก้ว ตราด และหนองคาย รวมทั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรือนิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต

๒.๒ ดําเนินการเร่งรัดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดําเนินการอนุมัติหรืออนุญาตในเรื่องต่าง ๆ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษ ีรวมทั้งกําหนดมาตรการเพื่ออํานวยความสะดวกด้านอื่น ๆให้กับภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรือนิคมอุตสาหกรรมตามข้อ ๒.๑

๒.๓ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อพิจารณาหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจําเป็น

๒.๔ ดําเนินการอื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานตามคําสั่งนี้ และให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการโดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ /ตอนพิเศษ ๖๒ ง /หน้า ๔๕ / ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ .



๒/๒๕๕๘ ขึ้น ๔/๒๕๕๘

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"