งานแปล:แรงงานรับจ้างและทุน/บทที่ 7

จาก วิกิซอร์ซ
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แรงงานรับจ้างและทุน (ค.ศ. 1847) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย ฟรีดริช เอ็งเงิลส์, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
บทที่ 7: กฎทั่วไปซึ่งกำหนดการขึ้นลงของค่าจ้างและกำไร
Chapter 7
THE GENERAL LAW THAT DETERMINES THE RISE AND FALL OF WAGES AND PROFITS
บทที่ 7
กฎทั่วไปซึ่งกำหนดการขึ้นลงของค่าจ้างและกำไร

We have said: "Wages are not a share of the worker in the commodities produced by him. Wages are that part of already existing commodities with which the capitalist buys a certain amount of productive labor-power." But the capitalist must replace these wages out of the price for which he sells the product made by the worker; he must so replace it that, as a rule, there remains to him a surplus above the cost of production expended by him, that is, he must get a profit. เราได้กล่าวว่า "ค่าจ้างไม่ได้เป็นหุ้นส่วนของคนทำงานในโภคภัณฑ์ที่เขาผลิตเอง ค่าจ้างเป็นส่วนหนึ่งของโภคภัณฑ์ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว ที่นายทุนใช้เพื่อซื้อพลังแรงงานในการผลิตในปริมาณหนึ่ง" แต่นายทุนจำต้องทดแทนค่าจ้างด้วยราคาของที่เขาขายซึ่งคนทำงานเป็นคนผลิต เขาจึงต้องทดแทนมันโดยมีกฎว่าจะต้องมีส่วนเกินที่เหลือเหนือต้นทุนการผลิตที่เขาจ่ายไป นั่นคือเขาต้องได้กำไร
The selling price of the commodities produced by the worker is divided, from the point of view of the capitalist, into three parts:
First, the replacement of the price of the raw materials advanced by him, in addition to the replacement of the wear and tear of the tools, machines, and other instruments of labor likewise advanced by him;
second, the replacement of the wages advanced; and
third, the surplus leftover -- i.e., the profit of the capitalist.
ราคาขายของโภคภัณฑ์ที่คนทำงานผลิตนั้นถูกแบ่งส่วนเป็นสามส่วนจากมุมมองของนายทุน
ส่วนแรก คือส่วนที่นำมาทดแทนราคาของวัตถุดิบที่เขาซื้อ และค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ใช้แรงงานซึ่งเขาต้องจ่ายเช่นกัน
ส่วนที่สอง คือส่วนที่นำมาทดแทนค่าจ้างที่ต้องจ่าย และ
ส่วนที่สาม คือส่วนเกินที่เหลือ นั่นคือกำไรของนายทุน
While the first part merely replaces previously existing values, it is evident that the replacement of the wages and the surplus (the profit of capital) are as a whole taken out of the new value, which is produced by the labor of the worker and added to the raw materials. And in this sense we can view wages as well as profit, for the purpose of comparing them with each other, as shares in the product of the worker. ในขณะที่ส่วนแรกเป็นเพียงการทดแทนมูลค่าที่มีอยู่ก่อนแล้ว การทดแทนค่าจ้างและส่วนเกิน (กำไรของทุน) โดยรวมนั้นชัดเจนว่าเอามาจากมูลค่าใหม่ ซึ่งผลิตมาจากแรงงานของคนทำงานและซึ่งเพิ่มให้กับวัตถุดิบ และในแง่นี้เราสามารถมองทั้งค่าจ้างและกำไร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างทั้งสอง ว่าเป็นส่วนแบ่งในผลผลิตของคนทำงาน
Real wages may remain the same, they may even rise, nevertheless the relative wages may fall. Let us suppose, for instance, that all means of subsistence have fallen 2/3rds in price, while the day's wages have fallen but 1/3rd -- for example, from three to two shillings. Although the worker can now get a greater amount of commodities with these two shillings than he formerly did with three shillings, yet his wages have decreased in proportion to the gain of the capitalist. The profit of the capitalist -- the manufacturer's for instance -- has increased one shilling, which means that for a smaller amount of exchange values, which he pays to the worker, the latter must produce a greater amount of exchange values than before. The share of capitals in proportion to the share of labor has risen. The distribution of social wealth between capital and labor has become still more unequal. The capitalist commands a greater amount of labor with the same capital. The power of the capitalist class over the working class has grown, the social position of the worker has become worse, has been forced down still another degree below that of the capitalist. ค่าจ้างจริงอาจคงเท่าเดิม หรือแม้แต่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามค่าจ้างสัมพัทธ์ก็จะลดลง หากเราสมมุติว่าปัจจัยดำรงชีพทั้งหมดนั้นราคาลดลงสองในสาม ในขณะที่ค่าจ้างลดลงหนึ่งในสาม เช่นจากสามชิลลิง เหลือสองชิลลิง ถึงแม้ว่าคนทำงานจะได้รับโภคภัณฑ์ด้วยเงินสองชิลลิงในปริมาณที่มากกว่าที่เคยได้ด้วยสามชิลลิงจากเมื่อก่อน แต่ค่าจ้างของเขากลับลดลงเมื่อเทียบกับกำไรของนายทุน กำไรของนายทุนเช่นเจ้าของโรงงานได้เพิ่มขึ้นมาหนึ่งชิลลิง นั่นแปลว่าด้วยมูลค่าแลกเปลี่ยนซึ่งเขาจ่ายให้คนทำงานที่น้อยลง คนทำงานจะต้องผลิตมูลค่าแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนแบ่งของทุนเทียบสัดส่วนกับส่วนแบ่งของแรงงานนั้นเพิ่มขึ้น การกระจายความมั่งคั่งทางสังคมระหว่างทุนและแรงงานมีความไม่เท่าเทียมกว่าเดิม นายทุนควบคุมแรงงานจำนวนมากขึ้นด้วยทุนปริมาณเท่าเดิม อำนาจของนายทุนเหนือชนชั้นแรงงานได้เติบโตขึ้น ตำแหน่งทางสังคมของคนทำงานได้ย่ำแย่ลง ได้ถูกบังคับให้ต่ำลงกว่าเดิมไปอีกระดับหนึ่งจากตำแหน่งของนายทุน
What, then is the general law that determines the rise and fall of wages and profit in their reciprocal relation? แล้วอะไรคือกฎทั่วไปที่กำหนดการขึ้นและลงของค่าจ้างและกำไรในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันพวกมันหรือ
They stand in inverse proportion to each other. The share of (profit) increases in the same proportion in which the share of labor (wages) falls, and vice versa. Profit rises in the same degree in which wages fall; it falls in the same degree in which wages rise. พวกมันเกี่ยวกันเป็นอัตราส่วนผกผัน ส่วนแบ่งของกำไรเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันที่ส่วนแบ่งของค่าจ้างแรงงานลดลง และเช่นเดียวกันในทางกลับกัน กำไรเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกันที่ค่าจ้างลดลง และมันลดลงในระดับเดียวกันที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้น
It might perhaps be argued that the capitalist class can gain by an advantageous exchange of his products with other capitalists, by a rise in the demand for his commodities, whether in consequence of the opening up of new markets, or in consequence of temporarily increased demands in the old market, and so on; that the profit of the capitalist, therefore, may be multiplied by taking advantage of other capitalists, independently of the rise and fall of wages, of the exchange value of labor-power; or that the profit of the capitalist may also rise through improvements in the instruments of labor, new applications of the forces of nature, and so on. มันอาจถกเถียงกันได้ว่าชนชั้นนายทุนสามารถเพิ่มกำไรได้ผ่านการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างได้เปรียบกับนายทุนคนอื่น ผ่านการสร้างอุปสงค์ของโภคภัณฑ์ของเขา ไม่ว่าจะด้วยการเปิดตลาดใหม่ ๆ หรือการเพิ่มอุปสงค์ชั่วคราวในตลาดเก่า และอื่น ๆ ว่ากำไรของนายทุนนั้นจึงอาจเพิ่มขึ้นผ่านความได้เปรียบเหนือนายทุนคนอื่น ซึ่งเป็นอิสระจากการขึ้นและลงของค่าจ้าง ของมูลค่าแลกเปลี่ยนของพลังแรงงาน หรือว่ากำไรของนายทุนยังอาจเพิ่มขึ้นผ่านการพัฒนาอุปกรณ์ใช้แรงงาน การประยุกต์ใช้แบบใหม่ ๆ ของอำนาจต่าง ๆ ในธรรมชาติ และอื่น ๆ
But in the first place it must be admitted that the result remains the same, although brought about in an opposite manner. Profit, indeed, has not risen because wages have fallen, but wages have fallen because profit has risen. With the same amount of another man's labor the capitalist has bought a larger amount of exchange values without having paid more for the labor on that account -- i.e., the work is paid for less in proportion to the net gain which it yields to the capitalist. แต่ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่าผลลัพธ์ก็ยังคงเดิม หากแต่นำมาด้วยวิธีการตรงข้าม แน่นอนว่ากำไรไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะค่าจ้างลดลง แต่ค่าจ้างได้ลดลงเพราะกำไรได้เพิ่มขึ้น ด้วยแรงงานของบุคคลอื่นในปริมาณเท่าเดิม นายทุนได้ซื้อมูลค่าแลกเปลี่ยนในปริมาณที่มากขึ้นโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับแรงงานมากไปกว่าเดิมเลยด้วยเหตุดังกล่าว นั่นคือเงินที่จ่ายเพื่อแลกกับงานนั้นลดลงเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิซึ่งนายทุนได้มาเพิ่ม
In the second place, it must be borne in mind that, despite the fluctuations in the prices of commodities, the average price of every commodity, the proportion in which it exchanges for other commodities, is determined by its cost of production. The acts of overreaching and taking advantage of one another within the capitalist ranks necessarily equalize themselves. The improvements of machinery, the new applications of the forces of nature in the service of production, make it possible to produce in a given period of time, with the same amount of labor and capital, a larger amount of products, but in no wise a larger amount of exchange values. If by the use of the spinning-machine I can furnish twice as much yarn in an hour as before its invention -- for instance, 100 pounds instead of 50 pounds -- in the long run I receive back, in exchange for this 100 pounds no more commodities than I did before for 50; because the cost of production has fallen by 1/2, or because I can furnish double the product at the same cost. ต่อจากนั้น จะต้องคิดได้ว่า ไม่ว่าราคาของโภคภัณฑ์จะผันผวนอย่างไร ราคาเฉลี่ยของโภคภัณฑ์ทั้งหลาย ในอัตราส่วนที่แลกกับโภคภัณฑ์อื่น ๆ นั้นถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิต กิจที่ล่วงเกินและได้เปรียบระหว่างแต่ละฝ่ายภายในชนชั้นนายทุนนั้นจะต้องรักษาสมภาพด้วยตัวเองเสมอ พัฒนาการของเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้อำนาจของธรรมชาติเพื่อบริการการผลิตแบบใหม่ ๆ ทำให้สามารถผลิตผลผลิตในปริมาณมากกว่าเดิม ด้วยเวลาเท่าเดิม ด้วยแรงงานและทุนเท่าเดิมได้ แต่ก็ไม่ได้สร้างมูลค่าแลกเปลี่ยนปริมาณมากว่าเดิมแต่อย่างใด หากการใช้เครื่องทอทำให้ผมสามารถทอด้ายในปริมาณทวีคูณด้วยเวลาหนึ่งชั่วโมงเทียบกับก่อนมีสิ่งประดิษฐ์นี้ เช่นสามารถผลิตได้น้ำหนัก 100 ปอนด์เทียบกับแต่ก่อน 50 ปอนด์ ในระยะยาวผมจะได้รับกลับมาปริมาณของโภคภัณฑ์แลกกับมวล 100 ปอนด์นี้ไม่มากไปกว่าที่เคยได้จากมวล 50 ปอนด์ เพราะต้นทุนการผลิตได้ลงลดไปครึ่งหนึ่ง หรือเพราะผมสามารถผลิตผลผลิตในปริมาณสองเท่าด้วยต้นทุนเท่าเดิม
Finally, in whatsoever proportion the capitalist class, whether of one country or of the entire world-market, distribute the net revenue of production among themselves, the total amount of this net revenue always consists exclusively of the amount by which accumulated labor has been increased from the proceeds of direct labor. This whole amount, therefore, grows in the same proportion in which labor augments capital -- i.e., in the same proportion in which profit rises as compared with wages. สุดท้าย ไม่ว่าชนชั้นนายทุนจะกระจายรายได้สุทธิจากการผลิตระหว่างพวกเขาเองในอัตราส่วนเท่าใด ไม่ว่าในประเทศหนึ่งหรือทั้งตลาดโลก รายได้สุทธิทั้งหมดนี้จะประกอบขึ้นจากปริมาณของแรงงานสะสมที่เพิ่มมากขึ้นจากการกระทำของแรงงานโดยตรงเท่านั้นเสมอ ปริมาณทั้งหมดนี้จึงเติบโตในอัตราส่วนเดียวกันที่แรงงานเพิ่มพูนทุน นั่นคือในอัตราส่วนเดียวกันที่กำไรสูงขึ้นเทียบกับค่าจ้าง