ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 10/ราชวงษปกรณ์/ภาคที่ 3

จาก วิกิซอร์ซ
ภาคที่ ๓ พงษาดารเมืองน่าน
ตอนที่ ๑ ว่าด้วยเมืองน่านมาขึ้นกรุง ฯ

เจ้าอัตถวรปัญโญท่านได้ครองเมืองแทนเจ้าตนเปนน้าแล้ว อยู่มาได้ปี ๑ เถิงปีเบิกสัน จุลศักราชได้ ๑๑๕๐ ตัว เดือน ๙ ลง ๑๓ ค่ำ ท่านก็พาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้นั้นหั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์ก็มีพระมหากรุณายกตั้งเจ้าอัตถวรปัญโญหื้อได้เปนเจ้ากินเมืองน่าน แล้วก็ตั้งเจ้าสมณะตนเปน น้าอันเปนน้องพระยามงคลวรยศนั้น หื้อเปนเจ้าพระยาหอน่าหั้นแล

เจ้าอัตถวรปัญโญ ท่านได้รับเปนเจ้าเมืองน่านแล้ว ก็ทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้าเสียแล้ว ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยขึ้นมาหั้นแล เถิงเดือนยี่ขึ้น ๙ ค่ำท่านก็ขึ้นมาเถิงเมืองงั่ว ก็ยั้งอยู่ที่นั้นหั้นก่อนแล เมื่อนั้นเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายก็ลงไปต้อนรับเอาท่านขึ้นมาฮอดเมืองน่านวันเดือนยี่ลง ๖ ค่ำวันนั้น ท่านก็ยั้งอยู่ทรงตนข้างหัวมุงฝ่ายเหนือที่นั้นแล้ว ท่านก็ให้สร้างยังพระพุทธรูปเจ้าทันใจองค์ ๑ ฮอดวันเดือนลงค่ำก็นิมนต์พระสังฆเจ้ามากระทำการภิเศกอบรมในคืนค่ำเดือนยี่ลงเก้าค่ำเวลาเช้าก็ใส่บาตรกินทานหั้นแล ท่านก็เสด็จขึ้นมาสถิตย์สำราญในโรงไชยบ้านติ๊ดบุญเรืองหั้นแล วันนั้นยามกองงายแล

เถิงเดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำวันอังคาร ท่านก็ยกเอาครอบครัวทั้งท้าวขุนไพร่ไทยหนีจากบ้านติ๊ดนั้นลงไปตั้งอยู่เมืองงั่ววันนั้นแล เมื่อนั้นท่านก็

๑๗
ปงอาชญาแก่เจ้านายท้าวขุนทั้งหลายมีเจ้าพระเมืองแก้วแลนายจายแก้วนายดวงพิมพ์เปนประธาน แลท้าวขุนทั้ง หลายหื้อเกาะกุมไพร่ไทยทั้งหลายหื้ออยู่รักษาเวียงเก่าไว้หื้อเปนหัวเมืองฝ่ายเหนือตามกาลก่อนหั้นแล

เถิงจุลศักราช ๑๑๕๑ ตัวปีกัดเล้าเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำท่านก็ลุกเมืองงั่ว ขึ้นมาบ้านติ๊ดบุญเรืองเดือนยี่ออก ๙ ค่ำ ก็มา ฮอดบ้านติ๊ดหั้นแล ในกาลก่อนนั้น บ้านเมืองน่านที่นี้ก็เปนอันเปล่าห่างสาบสูญเสีย โจรผู้ร้ายก็มาหักม้างเทยังยอดมหาเจดีย์เจ้าแช่แห้ง เอาเกิ้งลงเสียสันนั้น อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญท่านก็มาเล็งหันพุทธุปบาทสาสนาดูเปนที่มัวหมองต่ำช้าสันนั้น

ในศักราชได้ ๑๑๕๑ ตัวหนึ่งสิ่งเดียว เดือนยี่ขึ้น ๑๔ ค่ำ ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนรัฐบาลบ่าวไพร่ทั้งหลายขึ้นเมือแผ้วถางยังวัดหลวงแช่แห้งบริเวณข่วงมหาธาตุเจ้าหั้นแล เถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ ยามกองงายแรกตั้งก่อประตูโขงหั้นก่อน เถิงเดือนยี่ลง ๔ ค่ำ ก็แล้วบริบวรณ์หั้นแล เดือนยี่ลง ๑๑ ค่ำได้ตั้งคาดคจามหาธาตุเจ้าขึ้นเถิงยามกองแลงก็แล้วในวันเดียวหั้นแล แล้วท่านก็เอาแกนเหล็กอันเก่านั้นลงมาแปงเสียใหม่ต่อแกนเก่าขึ้นแถมศอก ๑ หั้นแล เถิงเดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำวันอังคารทูตเช้า เอาแกนเหล็กยอดพระธาตุขึ้นตั้งใหม่ติดต่อวันนั้นแล แล้วท่านก็ได้ชุมนุมมายังช่างเครื่องทั้งหลายมาสร้างแปงเกิ้งใหม่ใส่แถม ๒ ใบเกิ้งเก่ามี ๗ ใบ รวมเข้ากันมี ๙ ใบ แล้วจิงแต่งสร้างแปงยังรูปหงษ์ตัว ๑ งามนัก หื้อคาบเกิ้งขึ้นต่าง เถิงวันเดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำก็ได้นิมนต์พระสังฆเจ้าทั้งหลายรวมมี ๗๓ ตน สามเณรมี ๑๑๔ ตนมารับประทานแลเทศนาธรรม ท่านก็พร้อมด้วยเจ้านายไพร่ไทยทั้งหลายใส่บาตรกินทานในวันเดือน ๓ เพ็งเม็งวัน พุฒนั้นยามเที่ยงวัน จิงจักชักรูปหงษ์คาบเกิ้งขึ้นกางยังมหาธาตุเจ้าแล้วบริบวรณ์หั้นแล ในวันเดือน ๓ เพ็งในเดือนนั้นก็ได้ พุทธาภิเศกอบรมยังมหาธาตุเจ้าหั้นแล เถิงวันเดือน ๓ ขึ้นค่ำ ๑ ท่านก็ซ้ำใส่บาตรกินทานแถมหั้นแล ในวันเดือน ๓ เพ็งนั้น ยามเมื่อเอาเกิ้งกางนั้นเทพทิพเจ้าก็หื้อหันยังอัจฉริยอัศจรรย์มี ๗ ประการก็ปรากฎมียามนั้น อนึ่งก็ได้หันคิชฌราชาคือว่า พระยาแร้ง ๔ ตัวก็มาแอบร่อนอยู่ที่มหาธาตุเจ้าหั้นแล หื้อคนทั้งหลายได้รู้หันสู่คนสู่คนหั้นแล อนึ่งคือได้ยินเสียงเหมือนดัง เสียงนกยูงบินมาแต่ทิศก้ำใต้นั้น แต่เล็งดูแท้พอยบ่หัน อนึ่งคือได้หันยังงูตัว ๑ ตามแห่งพระยาเจ้าเข้าไปที่ข่วงบริเวณแห่งมหาธาตุเจ้าแล้วก็กลับหายไปหั้นแล อนึ่งในขณะเมื่อชักรูปหงษ์คาบเกิ้งขึ้นนั้น อันว่ากลีบฟ้าแลเมฆทั้งหลายก็กลับหายไปเสี้ยง ใต้พื้นฟ้าอากาศภายบนก็ใสสว่างบริสุทธิมากนักยามนั้นแล อนึ่งเล่าดาวยังฟ้าก็ปรากฎหื้อหันแก่คนทั้งหลายเมื่อเที่ยงวันนั้นแล อนึ่งฝนก็ตกลงมาหันเม็ดอยู่แท้เหมือนจักถูกตนคนทั้งหลายเหมือนจักขยุ้มถือเอาได้นั้นแท้ ก็พอยบ่จับถูกตนคนทั้งหลายสักคน ตกลงมาบ่ขาดสายนานได้ ๒ วันจิงหายแล มี ๖ ประการแล เจ้าหลวงอัตถวรปัญโญครั้นว่าท่านได้หันอัจฉริยทั้ง หลายอันบ่ห่อนได้หันในกาลเมื่อก่อนสักเทือะสันนั้น ท่านก็บังเกิดปิติโสมนัศชมชื่นยินดีหาประมาณบ่ได้ มากนักหั้นแล ครั้นว่าแล้วบริบวรณ์แล้ว ท่านก็มีราชอาชญานิมนต์ยังมหาครูบาเจ้าวัดลองหาดตนชื่อว่าอริยวงษามาอยู่เมตตาปฏิบัติวัดหลวงภูเพียงแช่แห้งที่นั้นหั้นแล ๚

ทีนี้จักกล่าวฝ่ายพระยายองก่อนแล ในเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๙ ตัวนั้น ท่านก็ได้เข้าใจผิดบ่รำเพิงเถิงบ้านเมืองแห่งตน ลวดได้พร้อมใจกับด้วยพระยาแพร่ฟื้นฟันเจ้าหมวยหวานเชียงแสน ในศักราชนั้นสิ่งเดียวเดือนยี่ขึ้น ๖ ค่ำ ม่านก็ยก ทัพลงมาเถิงบ้านกุ่มเมืองเชียงรายทางบ้านดายท่าแพร่หั้นแล ยามนั้นพระยาเชียงของพระยาเชียงรายแลพระยาน่าน ก็ยกครอบครัวไพร่ไทยหนีลงมาเปนข้าใต้เสี้ยงหั้นแล ดังตัวพระยายองก็บ่ลงมา ก็เอาครอบครัวไพร่ไทยแห่งตนข้ามของหนีไปตั้งอยู่เมืองหลวงภูคาที่นั้นแล

ครั้นว่ากองทัพม่านเข้ามาเถิงเวียงเชียงแสนดังนั้น เจ้านาขวาเมืองเชียงแสนก็เอาครอบครัวไพร่ไทยคืนออกมาตั้งอยู่ เมืองเชียงแสนกับด้วยโปม่านทั้งหลายดังเก่าหั้นแล ยามนั้นโปม่านทัพทั้งหลายก็บ่ยกทัพไปรบกับด้วยพระยายองเทือะ เหตุว่าม่านโปทัพทั้งหลายรำเพิงว่าพระยายองนี้หากเปนข้าพระมหากระษัตริย์เจ้าแต่เดิมมาดาย อนึ่งลูกมันก็อยู่ในสำนักพระ มหากระษัตริย์เจ้าแล ฮอยมันบ่แพ้ท่านกลับตามท่านซะแด ผิแลมิเปนสันนั้นมันก็ยังจักคืนมาเปนข้ามหากระษัตริย์ดังเก่าซะแด ว่าอันโปม่านทัพทั้งหลายก็ยั้งรอฟังดูหั้นแล พระยายองก็บ่ออกมาเท่าห้างทัพอยู่ท่ารบม่านสิ่งเดียว

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๒ ตัว ปีกดเสร็จ ม่านก็ยกเอากองทัพเข้ามารบเอาพระยายอง พระยายองก็แตกพ่าย เข้าไปทางเมืองหลวงพระบาง ว่าจะเข้าไปเมืองแถงว่าสันนั้น เมื่อนั้นม่านก็ตามทวยเข้าไปก็ลวดได้ตัวพระยายองนั้นแล้ว ม่านก็เอาลงไปเมืองอังวะบ่ทันฮอด ก็ลวดไปตายเสียกลางทางหั้นแล ดังไพร่ไทยทั้งหลายแห่งพระยายองก็เอากันแตกพ่ายเข้ามาเมืองน่าน มีพระยาศรีแลราชปราบโลก ท้าวหาญทั้งหลายมาเปนแก่ก็เข้ามาเมืองน่าน มีคน ๕๘๕ ครัวก็เข้าตั้งบ่ม้างมาฮอดเมืองน่าน ในศักราชนั้นเดือน ๑๑ ลง ๑๓ ค่ำนั้นก็มาอยู่ในเมืองน่านที่นี้ทั้งมวลแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๓ ตัว ปีลวงไก๊เดือน ๗ ออก ๖ ค่ำ พระยาเชียงของก็ยกเอาครอบครัวไพร่ไทยทั้งหลายเมืองเชียงของทั้งมวลออกมาจากเมืองแก่นท้าวก็เข้ามาทางเมืองด่านซ้าย ก็มาในเมืองน่านที่นี้เสี้ยงทั้งมวลแล รวมคนครัวมี ๕๐๕ ครัวแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๔ ตัว ปีเต่าไจ๊ เดือน ๘ ลง ๘ ค่ำ วันอาทิตย์ยามแถจักใกล้รุ่งเที่ยงวันอาชญาเจ้าหลวงตนชื่ออัตถวรปัญโญเปนประธานแลเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายทั้งมวล พร้อมกันสร้างแปงก่อยังพระเจดีย์เจ้ายังวัดนาลาบ เมืองงั่ว แรกก่อตั้งวันนั้นแล ในพระเจดีย์เจ้าหลังนี้ อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญท่านหากตั้งสร้างเอาใหม่ด้วย คำสัจอธิฐานของท่านแล บ่ใช่เปนธาตุเก่าบ่มีแล เถิงเดือน ๓ เพ็งเม็งวันพุฒ ท่านได้ฉลองทานแลกระทำพุทธาภิเศ กอบรมยังพระเจดียธาตุเจ้าวันนั้นแล

ในศักราชสิ่งเดียวนี้ อาชญาเจ้าหลวงแลเจ้าพระยามงคลวรยศแลเจ้าอุปราชาหอน่า แลเจ้านายทั้งมวลมีท้าวหาญไพร่ ไทยเปนบริวารมีคน ๒๐๐ ยกคืนเมือเวียงเก่า เถิงวันเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำวันอาทิตย์ก็เมือฮอดบ้านติ๊ดบุญเรืองที่นั้นวันนั้นแล ท่านก็พาเอาหน่อขัติยวงษ์เจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายหนภายในมีเจ้าอารามาธิบดีวัดศรีบุญเรืองที่นั้นเปนเค้า พร้อมกันก่อแรกสร้างเสาวิหาร แลฝาพนักใส่สตายบริบูรณ์ แล้วอยู่ที่นั้นหั้นก่อนแล เมื่อนั้นอาชญาเจ้าหลวงแลครูบาเจ้าวัดแช่แห้งที่นั้นแล องค์พระพุทธรูปเจ้านั้นก็เปนอันชักแห้งแตกไปสันนั้น ท่านก็พาเอาเจ้านายไพร่ไทยทั้งหลายภายในหมายมีครูบาวัดแช่แห้งเปนเค้า ก็พร้อมกันสร้างขันสีใส่สตาย แลทามุกรักใส่น้ำเกลี้ยงดีงามแล้ว แล้วก็ติดคำบริบวรณ์แล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๕ ตัวปีกาเป๋า เดือน ๙ ทุติยขึ้น ๑๑ ค่ำเม็งวันพฤหัศบดีไทยกาบยี่ยามรุ่งเมื่อคืนนั้น ไม้มหาจำลงอันเปนมูลจำหงาย อันสำหรับหมายกับภูเพียงแช่แห้งแต่เมื่อพระสัพพัญญูมาฐาปนาไว้เกษาธาตุหั้น อันพระมหาอนันตเถรเจ้าเอาธาตุพระพุทธเจ้ามาห้อยนั้น ก็หักโค่นแต่เค้าลงมาพาดตีนมหาธาตุตั้งแต่หม้อคว่ำลงมาจับกาบสามก็แตกมางไปสามกาบ ลงมาจับแท่นสี่เล้มตั้งปากขันหลวงนั้นก็แตกพังลง ถูกใส่ปากขันหลวง ก็ปลดพังลงมา จับแท่นบัลลังก์ถ้วน ๒ ลงมาถูกใส่แท่นบัลลังก์หลวงตั้งธรณีอันถ้วนตน ก็แตกพังลงแล อนึ่งวิหารน้อยที่สถิตย์สำราญพระเจ้าทันใจห้องน่าก็ลงฟาดตีใส่ก็โค่นด้านหลุพังไปเสี้ยง เท่าเว้นไว้ที่พระเจ้าอยู่นั้นแล

ในจุลศักราชสิ่งเดียวนั้นเดือนยี่ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันเสาร์ฤกษ์ ๒ ตัวยามกองงาย อาชญาหลวงเจ้าอัตถวรปัญโญ ท่านเอานายท้าวขุนไพร่ไทยลุกแต่เมืองงั่วขึ้นมาแผ้วบ้านพ้อปากน้ำสาที่นั้นแล้ว เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำวันเสาร์ ฤกษ์ ๒๐ ตัว ยามทูตเช้า ก็ได้แรกตั้งเวียงไม้ลำแป้นไม้แก่นหื้อเปนเวียงบ้านพ้อปากน้ำสาที่นั้นแลเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๖ ตัวปีกาบยี่ เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำวันพุฒฤกษ์ ๔ ตัวยามเที่ยงวัน ท่านก็ยกเอาครอบครัวแลท้าวขุนไพร่ไทยทั้งมวลเข้าอยู่เวียงพ้อปากน้ำสาที่นั้นวันนั้นแล ครั้นท่านได้ขึ้นมาอยู่เวียงพ้อที่นั้นแล้ว ก็มาคิดร่ำสร้างแปงยังฝายน้ำสานั้นแล ดังฝายน้ำสาแลทุ่งนาที่นั้นอันห่างร้างสูญเสียแต่เมื่อเช่นลาวก้อนก้อมเข้ามากวาดเอาชาว เมืองน่านหนี ตั้งแต่นั้นมานานได้ ๒๑ ปีแล้ว แล้วท่านก็มาคิดร่ำสร้างแปงหื้อเปนฝายมั่นคงเปนทุ่งนาดีมาดังเก่าเรา นั้นแล

ในศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ได้ยกกองทัพขึ้นรบแม่รัวะเมืองเชียงแสนกับด้วยพระยาแพร่แล

จุลศักราชตัวเดียวนี้ เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนบ่าวไพร่ยกจากเวียงพ้อขึ้นมาอยู่ภูเพียงแช่แห้งที่นั้นแล้ว ท่านก็พร้อมกับด้วยพระสังฆเจ้าทั้งหลาย หมายมีครูบาเจ้าวัดหลวงแช่แห้งที่นั้นเปนเค้า ได้พากันปฏิสังขรณ์สร้างแปงยังพระมหาชินธาตุเจ้าอันไม้จำโรงหากโค่นด้านลงทุบตีนั้น ตั้งก่อแรกสร้างทำการนั้นตั้งแต่วันเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำนั้นไป นานได้ ๖ วัน ก็แล้วบริบวรณ์ดีงามมาตั้งแต่เก่านั้นแล ดังวิหารพระทันใจเจ้าแลลำต้ายบังเวียงที่ใดหลุต่ำด่ำเสียนั้น ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยแลพระสังฆเจ้าทั้งหลายมวลสร้างแปงใหม่เสร็จบริบวรณ์สู่อันหั้นแล เถิงเดือน ๖ เพ็งเม็งวันพฤหัศบดี ท่านก็ได้กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองยังพระธาตุเจ้าแล กระทำบุญหื้อทานวันนั้นเปนห้อง ๑ ก่อนแลอยู่มาเถิงเดือน ๗ ลง ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญท่านก็ยกเอายังครอบครัวไพร่ไทยลุกจากบ้านเมืองงั่วขึ้นมา ท่านก็เบิกบายฉลองยังวัดศรีบุญเรืองเปนมหาพอยอันใหญ่หั้นแล

อยู่มาเถิงเดือน ๘ เพ็งตกปีใหม่แล้ว ศักราชได้ ๑๑๕๗ ตัวปีกาเม้า อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ท่านก็ซ้ำเบิกบายฉลองพุทธาภิเศกพระพุทธรูปองค์หลวงแช่แห้งหั้นแถมครั้ง ๑ แล ในศักราชนั้นสิ่งเดียวเดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ก็ได้พร้อมกับด้วยเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยก่อแรกสร้างปราสาทหอธรรมที่วัดกลางเวียงเมืองสาหั้นแล รวมสูงตั้งตีนธรณีขึ้นเถิงยอดมี ๙ วา ๑ ศอกแล้ว ท่านก็ได้ประจุยังธาตุอรหันตาเจ้าไว้ในที่นั้นมี ๒๐ องค์ กับพุทธรูปเจ้าองค์ ๑ เถิงวันเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำเม็งวันอังคารยามกองแลงท่านก็ได้ขึ้นกางฉัตรแล เมื่อท่านยกจากเมืองงั่วขึ้นมาตั้งอยู่เวียงสาวันนั้น ท่านก็ได้หื้อเจ้าตนเปนน้าคือเจ้ามงคลวรยศแลนายอริยะอยู่บ้านเมืองงั่วที่นั้น

ในจุลศักราชได้ ๑๑๕๗ ตัวนั้น มาฮอดเถิงเดือน ๙ หั้น ก็มาบังเกิดยังเหตุการณ์ในเมืองงั่วที่นั้น ด้วยเทพสังหรแสร้ง อาเภทเปนเปรตเปนยักษ์เวทนามากวนกวีบุบตียังตุ๊ะพระในวัดหลวงเมืองงั่วที่นั้นทั้งชาวบ้านก็บุบตีก็บอกกล่าวแล เขียนหนังสือมาซัดขว้างหื้อว่าเปนรุกขเทวดาอยู่รักษายังพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง พระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งนั้น เปนที่สัพพัญญูเจ้าแลอรหันตาเจ้าทั้งหลายเอาธาตุเจ้ามาฐาปนาตั้งไว้ เราท่านได้สร้างไว้แต่ก่อนก็ปลดพังเสียสูทั้งหลายบ่สร้างบ่แปง ต่อนี้ไปหื้อสูได้สร้างแปงหื้อดีเหมือนเก่า ครั้นสูบ่สร้างบ่แปงยังพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งที่นั้นหื้อรุ่งเรืองดีงามเหมือนดังเก่านั้น ตูก็ควรกวีกระทำหื้อเปนอันตรายบ่ยั้งแล สูสร้างแปงหื้อรุ่งเรืองดีงามเหมือนเก่าดังอันตูทั้งหลายก็บ่ทุบตีกวนกวีแล ว่าอัน เมื่อนั้นเจ้าพระยามงคลวรยศตนเปนน้านั้น ท่านก็แต่งใช้ขึ้นมาไหว้สาเจ้าอัตถวรปัญโญตนเปนหลานที่เมืองพ้อด้วยเหตุการณ์ทั้งหลายนั้นสู่ประการหั้นแล เมื่อนั้นอาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ท่านก็จิงได้ปงหื้อพระยามงคลวรยศตนเปนน้าแลนายอริยแลพระสังฆเจ้าทั้งหลาย แลท้าวขุนไพร่ไทยในเมืองงั่วที่ นั้นขึ้นไปสร้างแปงยังพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งหั้นแล

เมื่อนั้นเถิงเดือนยี่ เจ้าพระยามงคลวรยศตนเปนน้าก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายแลพระสังฆเจ้าทั้งหลายในเมืองงั่วที่นั้นทั้งมวล ก่อแรกสร้างแปงหั้นแล ท่านสร้างแปงยังพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งที่นั้นนานได้ ๕ เดือนก็ แล้วบริบวรณ์หั้นแล ๚

เถิงเดือน ๖ ลง ๘ ค่ำ วันอังคาร อาชญาเจ้าอัตถวรปัญโญ ท่านก็เสด็จลงไปต่างฉัตรพระชินธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง วันนั้นแล้วก็ลวดกระทำพุทธาภิเศกเบิกบาฉลองวันนั้น ครั้นว่าสร้างพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งที่นั้นแล้ว เทพสังหรก็ อันตรธานกลับหายไปวันนั้นแล ๚

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๕๙ ตัว ปีเมิงไซ้ อาชญาเจ้าอัตถวรปัญโญก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายก่อแรกสร้าง ก่อเสาพระวิหารหลวงวัดบุญยืนเวียงสาที่นั้นในวันเดือน ๙ ออก ๕ ค่ำเม็งวันเสาร์
๑๘
ไทยกดซง้า ยามทูตซ้าย จุลศักราช ๑๑๕๙ ตัว ปีเมิงไซ้หั้นแล จุลศักราช ๑๑๖๐ ตัวปีเบิกซง้านั้นก็ยั้งอยู่สร้างวัดบุญยืนที่นั้น ท่านก็หื้อหมื่นสัพช่างเปนสล่าตัดไม้วิหารหลังนั้นแล

เถิงจุลศักราช ๑๑๖๑ ตัว ปีกัดเม็ด เดือน ๖ ลง ๒ ค่ำท่านก็ขับเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยได้กำลัง ๔๙๖๓ คน นอก นี้มีเจ้านายท้าวขุน ๔๓๔ คน รวมด้วยกันมีคน ๕๓๙๗ คน ก็ยกเข้าไปสร้างฝายสมุนวันเดือน ๖ ลง ๕ ค่ำ ก่อแรกลงหลักไว้ก่อนแล้ว จิงขุดเหมืองปันต่า ๓๑๒ คน รวมต่า ....รวมต่าเหมือง ๒๐๘๑ ต่าเกิ่งหั้นแล ดังฝายสมุนที่นั้นอันห่างสูญแต่เมื่อลาวก้อนก้อมเข้ามากวาดเอาเมืองน่านหนีนั้นก็เปนอันนานนักแล นานได้ ๒๑๙ ปี เจ้าหลวงอัตถวรปัญโญท่านก็มาสร้างตั้งแต่วันก่อแรกลงดับฝายนั้นมาได้ ๑๕ วัน ก็ลุแล้วบริบวรณ์วันนั้นมั่นคงดีเปนทุ่งเปนนา มาตราบเถิงบัดนี้แล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๒ ตัว ปีกดสันเดือนยี่ขึ้น ๒ ค่ำ เม็งวันอังคารยามทูตเช้า ท่านก็ขับเอาพลเข้าแผ้วถางเวียงน่านเก่านั้นแลเถิงเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำเม็งวันพุฒไทยกาบยี่ยามเที่ยงฤกษ์ได้ ๒๒ ตัวชื่อว่าสมณฤกษ์ อาชญาเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญท่านก็ได้ก่อแรกสร้างพุทธรูปเจ้าองค์ยืนยังวัดบุญยืนที่นั้น เถิงเดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำเม็งวันพุฒ ไทยเต่าไจ๊ ฤกษ์ได้ ๒๔ ตัวชื่อมหาธนฤกษ์ก็แล้วบริบวรณ์ติดคำเสี้ยง ๔๙๕๐ ใบแล

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๓ ตัวปีล่วงเล้า ท่านก็ได้ลงไปกราบพิดทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าขอขึ้นมาตั้งเวียงเก่า เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็ทรงพระกรุณาอนุญาตหื้อขึ้นมาตั้งหั้นแลในจุลศักราชนั้นสิ่งเดียว เดือนยี่ขึ้น ๑๐ ค่ำ ยามมืดตึด แผ่นดินก็ร้องครางสนั่นหวั่นไหวมากนัก แก้วอันใส่ยอดพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งนั้นก็พอสะเด็นตกลงมา ยอดพระธาตุเจ้าสุเทพเชียงใหม่ แลยอดพระธาตุเจ้าลำพูน แลยอดพระธาตุเจ้าลำปางนคร แลยอดพระธาตุเจ้าฉ้อแฮเมืองแพร่ แลขื่อพระวิหารหลวงเมืองพยาวที่พระเจ้าตนหลวงอยู่นั้นก็สะเด็นตกลงก้ำเดียวกันในขณะนั้นเสี้ยงแล ในเดือนเดียวนี้ฮอดแรม ๑๔ ค่ำ ก็ซ้ำไหวแถมทีหนึ่ง เถิงเดือน ๓ ท่านลุกเวียงสาขึ้นมานิมนต์พระ สังฆเจ้าทั้งหลายก็คาดคชาเอาแก้วขึ้นใส่แถม ที่ใดจักแหงแตกนั้น ท่านก็หยุดยาซ่อมแซมเสียหื้อดีแล้ว ท่านก็คืนลงไปเวียงสาแล้วก็ยกขึ้นมาตั้งอยู่ดอนหมากเป็ง ก็หื้อคนทั้งหลายแผ้วถางทั้งในเวียงนอกเวียงทั้งมวล เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ วันพฤหัศ บดีฤกษ์ ๘ ตัวยามเที่ยงวัน ก็ก่อแรกแปงประตูเวียงแลก่อกำแพงครั้นบริบวรณ์แล้วท่านก็ลงไปเวียงสาหั้นก่อน เถิงเดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ วันจันทร์ ท่านก็ยกเอาครอบครัวจากเวียงสาขึ้นมาตั้งอยู่ดอนไซ เถิงเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันอังคาร ฤกษ์ได้ ๒๐ ตัว ยามทูตซ้าย ท่านก็ยกครอบครัวเสด็จเข้าอยู่เวียงน่านเก่าหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๔ ตัวปีเต่าเสร็จ เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ท่านก็ยกเอารี้พลกำลังมีคน ๑๐๐๐ ขึ้น เมือรบเอาเมืองเชียงแสน

ปางเมื่อพระยายมราชเมืองใต้ เปนเจ้าแม่ทัพขึ้นมาตั้งพระยาเจ้าเวียงจันท์แลพระเจ้าเชียงใหม่แลท้าวพระยาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งมวลคนศึกทั้งมวลมีคน ๒๐๐๐๐ คน ยกกองทัพใหญ่ขึ้นเมือแวดล้อมเอาเมืองเชียงแสนบ่ได้ ก็ถอยลงมาเถิงเมือง เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำหั้นแล

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๖ ตัวปีกาบไจ๊ เดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำท่านก็ยกเอาพลมีคน ๑๐๐๐ เมืองเชียงใหม่ ๑๐๐๐ เมืองนคร ๑๐๐๐ เข้ากันเปน ๓๐๐๐ ก็ซ้ำยกขึ้นเมือกุมรบเอาเมืองเชียงแสนแถม เถิงเดือน ๙ ปฐมขึ้น ๕ ค่ำเม็งวัน อังคารเวลายามสู่แจ้ง ท่านก็ยกเอารี้พลศึกเข้าเอาเวียงเชียงแสนเข้าประตูดินขอ ได้เวียงวันนั้นแล ดังตัวเจ้ามวย หวานเจ้าเมืองเชียงแสนก็ถูกปืนตายหั้นแล ดังตัวเจ้านาขวาเชียงแสนนั้นก็แตกพ่ายหนีอยู่จอมเขาจอมแซว ไปตาม เอาก็ได้ตัวนาขวาที่นั้น กับทั้งเมียนาขวา ๒ คน ลูกนาขวา ๓ คนแล้ว ก็กวาดเอาไพร่พลคนครัวเมืองเชียงแสนมา ใส่เมืองแลนครเชียงใหม่นับเสี้ยง ครั้นล่องลงมาเมืองเชียงใหม่แล้วก็เอาตัวนาขวาลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้า ตัวนาขวาก็ไปตายเสียยังเมืองใต้ที่นั้นหั้นแล

เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้ามีความยินดี ก็ชุบเลี้ยงเจ้าหลวงอัตถวรปัญโญหื้อเปนเจ้าน่านหั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้ามีความยินดี รักเจ้าหลวงฟ้าน่านเสมอดังลูกอันเกิดเแต่อกตนนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าท่านก็ปง พระราชทานรางวัลแก่เจ้าฟ้า มีแหวนธำมรงค์ดวงปาตก ๑ วง ขันคำลูก ๑ แอบยาคำ ๒ ลูก จอกหมากคำ ๒ ลูก ซองพลูคำลูก ๑ มีดผ่าหมากด้ามคำเถียน ๑ คนโทคำลูก ๑ กระโถนคำลูก ๑ สะโต๊กเงิน ๒ ใบ เสื้อผ้าผืนดีแลเครื่องสรรพทั้งมวลมากนักแลเจ้าฟ้าหลวงครั้นว่าท่านได้พระราชทานรางวัลกับด้วยพระมหากระ ษัตริย์เจ้าแล้วก็ทูลลาขึ้นมาหั้นแล

ในศักราชเดียวนั้น เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำเม็งวันอังคาร ท่านก็เกณฑ์เอารี้พลศึกได้แล้วก็ลงทัพไชย เถิงเดือน ๔ ลง ๔ ค่ำ อาชญาเจ้าฟ้าหลวงท่านก็ ยกเอากองทัพขึ้นเมือเมืองสิบสองปันนาเชียงรุ้ง ว่าจักยกกองทัพเข้าประจญปราบเอา ว่าสันนั้น เมื่อนั้นเมืองเชียงแขงแลเมือง เชียงรุ้ง แลเมืองสิบสองปันนาทั้งมวล ก็บ่อาจจักต่อสู้รบได้สักเมือง ก็พากันเข้ามาก้มกราบน้อมกู่หัวเมือง ขอเปนข้าพระมหา กระษัตริย์เจ้ากรุงเทพ มหานครเสี้ยงกู่หัวเมืองหั้นแล ดังเมืองเชียงรุ้งนั้นท่านก็เอาตัวเจ้านามวงษ์ตนเปนน้าเจ้าเมืองเชียงรุ้ง แลท้าวพระยาในเมืองสิบสองปันนาทั้งมวล มีพระยาเมืองเชียงแขงเปนประธาน แลลูกพระยาภูคา แลเครื่องราชบรรณาการ ทั้งหลาย ลงไปถวายแทบทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงเทพมหานครหั้นแล

เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็เร่งซ้ำมีความยินดียิ่งกว่า เก่าแล้วก็ปงพระราชทานรางวัลแก่เจ้าฟ้าหลวงน่านเปนอันมากแล้ว ก็ปงพระราชทานรางวัลแก่เจ้านายท้าวพระยาหัวเมือง ฝ่ายเหนือมีเมืองเชียงรุ้งเปนต้นหั้นแล พระราชทานคืนเมือเมืองเชียงรุ้งนั้น ช้างพลาย ๒ ตัว ช้างพัง ๒ ตัว บาตรเหล็ก ๖ ลูก ใบลานเขียนธรรม ๑๒ กับ ผ้าสักหลาดแดง ๖ พับ ผ้าขาวบางมีดอก ๓ พับ ผ้ากาสา ๗ พับ ผ้าพรมนอน๓ ผืน ผ้าส่านแดง ๑ ผืน ผ้ายกน้ำคำ ๑ ผืน ผ้าก้านแย่ง ๑ ผืน ผ้ายกลคร ๑ ผืน ผ้าก้านแย่งเขียว ๑ ผืน ผ้าแต้มเทศ ๑ ผืน แก้วกระ ๒๐๐๐๐ คำปิว ๑๒๐๐๐ ใบแลพระมหากระษัตริย์เจ้าพระราชทานรางวัลแล้ว อาชญาเจ้าฟ้าหลวงน่านท่านก็พาเอาเจ้านายหัวเมืองฝ่าย เหนือเข้าทูลลาขึ้นมาหั้นแล ครั้นขึ้นมาเถิงเมืองน่านแล้ว อาชญาเจ้าฟ้าหลวงท่านก็หื้อเจ้ามหาอุปราชาตนเปนน้าแห่งท่าน แล ท้าวขุนบ่าวไพร่มีคน ๒๐๐ คุมเอาเครื่องพระราชทานแลท้าวพระยาหัวเมืองฝ่ายเหนือ คืนเมือเมืองเชียงรุ้งหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๗ ตัวปีดับเป๋าเดือน ๖ เพ็ง อาชญาเจ้าฟ้าท่านก็ยกออกจากเวียงไปตั้งอยู่ท่งช้างบี้ที่ตีนภูเพียง แช่แห้งแล้ว ท่านก็เล็งหันยังบริเวณกำแพงพระธาตุเจ้านั้น ก็เปนอันคิดซ่อม ท่านก็พร้อมด้วยเจ้านายท้าวขุนไพร่ ไทยแลพระสงฆเจ้าทั้งหลาย ก็ขุดคลายกำแพงพระธาตุเจ้าด้านใต้นั้น คลายออกแถม ๔ วา แลก่อประตูโขงด้านต วันออกแลด้านใต้แลด้านตวันตก แลประตูโขงบังเวียนแห่งพระธาตุ ๒ ประตู แลก่อขันตั้งกรวมแจ่ง แลก่อแปงซ่อม ดอกบัวคำข้างเหนือแล้วใส่ฉัตร ๗ ใบแลก่อแปงตั้งรูปเทวบุตร ๔ ตนอยู่ ๔ แจ่งหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๘ ตัวปีรวายยี่เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวันอังคารไทยเบิกไจ๊ยามเที่ยงวัน ท่านซ้ำมีอาชญา เกณฑ์เอากำลัง ๕๐๐ คน ก่อสร้างยังรูปมหานาคราชาใหญ่ ๒ ตัวยาว ๖๘ วา ตัวใหญ่แต่แผ่นดินขึ้นสูง ๔ ศอก ยอ ฉัวเลิกพังพานขึ้นสูง ๑๐ ศอก ฐาปนาตั้งไว้ ๒ ปางข้างหนทางที่อันขึ้นเมือนมัสการพระมหาธาตุเจ้านั้นแล้ว ก็ซ้ำได้ สร้างแปงยังศาลาบาตร เรียบแวดตามกำแพงภายทางในบริเวณข่วงมหาธาตุเจ้า แลได้ก่อรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ กับบริวารแลสอง แลสอง อยู่รักษาพระธาตุเจ้าทั้ง ๔ แจ่งหั้นแล เถิงเดือน ๖ เพ็งท่านก็ยาดหมายทานหั้นห้องหนึ่งก่อนแล

อยู่มาเถิงศักราชได้ ๑๑๖๙ ตัว ปีเมิงเม้าเดือน ๑๑ ขึ้นค่ำ ๑ วันอังคาร ไทยลวงเป๋า ยามก่อนงาย ทิพเจดีย์อันตั้งไว้ ในหนเหนือแห่งพระธาตุเจ้าวัดช้างก็ก่นก้านพังลงแล เถิงเดือน ๕ ลง ๖ ค่ำวันพุฒนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าหลวงท่านก็ซ้ำ ได้สร้างศาลานางยองก่อเสาดินมุงด้วยแป้นเก็ดมี ๓ ห้อง ๒ ชายหั้นแล เถิงเดือน ๖ ลง ๑๒ ค่ำเม็งวันพุฒยามเที่ยงวัน ท่านก็พาเอาศรัทธาทั้งหลายภายในแลภายนอกพร้อมกันก่อสร้างยังทัพเจดีย์ขึ้นแถมใหม่แล้ว ท่านก็ซ้ำได้ ประจุธาตุเจ้าไว้ ๑๖ ดวงก่อขึ้นสูง ๗ วา ได้ต่างฉัตร ๕ ใบไว้โขงทั้ง ๔ ด้าน เปนที่สถิตย์พระพุทธรูปเจ้า ๔ องค์ทอง หั้นแล

อยู่มาจนเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๐ ตัว ปีเบิกสีเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำเจ้าฟ้าหลวงท่านก็เสด็จลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ท่านเสด็จลงไปเถิงท่าปลาบ้านแฝกหั้นแล้ว ยามนั้นยังมีเจ้าสามเณร ๒ ตนตน ๑ ชื่อว่าอริยะ ตน ๑ ชื่อ ว่าปัญญา ลงไปสู่ท่าน้ำเวลายามเช้าท่านก็ได้หันยังไหจีนลูก ๑ ฟูปั่นแคว้นอยู่ที่วังวนปากถ้ำหั้น ก็กันลงไปเอาออก มาแล้วก็ไขดู ก็หันพระเกษาธาตุเจ้าดวง ๑ ลอยเข้ามุกดาหาร ไว้ ๔ ดวง แลธาตุพระเจ้าอารัตนเจ้ามี ๒๖๐ ดวง มี พระพิมพ์คำ ๖๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐๔ องค์ แลพระพุทธรูปแก้วมี ๔ องค์ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ ต้นดอกไม้เงินต้น ๑ น้ำต้นเงินต้น ๑ น้ำต้นคำต้น ๑ ไตลเงินลูก ๑ ไตลคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์ขาว หมอนคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์แดงแลใส่ช้างจ้อยม้าจ้อย เงิน คำมี ๖๐ สาดเงิน ๑ สาดคำ ๑ แก้วแหวนมีพร้อมทุกอัน ครั้นท่านลงไปเถิงแล้วท่านหื้อช่างเครื่องมาตีแปงยังโขงเงินใส่แล้ว แปงต้นดอกไม้เงินต้น ๑ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ บูชาไว้กับพระธาตุเจ้าแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาพระสงฆเจ้ามาฉลองฟังธรรมพุทธ าภิเศกใส่บาตรหยาดน้ำหมายทานแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาเกษาธาตุเจ้าเข้าสู่เรือเอาล่องไปเมตตาพระมหากระษัตริย์เจ้าเมือง ใต้หั้นแล

พระมหากระษัตริย์เจ้าครั้นได้ทราบรู้ยิน ยังเจ้าฟ้าพระเกษาธาตุเจ้าลงไปถวายสันนั้น ท่านก็มีความชื่นชมโสมนัศยินดีหาประมาณบ่ได้ แล้วท่านก็แต่งเฉลี่ยงคำพร้อมแลขันคำพร้อมด้วยเครื่องสงเสพ คือดุริยดนตรี มาต้อนรับเอาแล้ว ก็สงเสพแห่แหนนำเข้าไปเถิงท้องปราสาทแล้วก็กระทำสักการบูชายังพระเกษาธาตุเจ้า ด้วยเครื่องบูชาทั้งหลายต่างๆ หั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าท่านก็มีธูปเทียนขอนิมันตนายังพระเกษาธาตุเจ้าอยู่เมตตาโปรดในกรุงเทพมหานครหั้นแล แล้วท่านก็มีความยินดีกับด้วยเจ้าฟ้ายิ่งกว่าเก่า แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลสมนาคุณบุญเจ้าฟ้าเปนอันมากนักหั้นแล

เจ้าฟ้าหลวงก็มาเมี้ยนแก่ราชกิจการทั้งมวลแล้ว ท่านก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้า แล้วท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองแล้วใน เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันนั้นแลครั้นว่าท่านเสด็จขึ้นมาฮอดเมืองแล้ว ท่านจิงจักเชิญปกเตินยังเจ้านายขัติยวงษาขุนแสนขุนหมื่นรัฐประชาไพร่ไทยทั้งหลายมวล หนภายในภายนอกทั้งมวลในจังหวัดนครเมืองน่านทุกแห่ง หื้อตกแต่งสร้างยังสรรพสู่เยื่องเครื่องครัวทานแล เครื่องเล่นทั้งหลายพร้อมสู่เยื่องหื้อมีรูปสรรพรูปทั้งหลายพร้อมสู่อันแล้ว เถิงวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำท่านก็มีอาชญาแก่เจ้านาย เสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายตั้งเล่นมโหรศพ ในท้องข่วงสนามไปถาบเถิงวันเดือนเพ็งนั้นเวลาเช้า ก็จิงจักยกครัวทานทั้ง หลายมวลขึ้นไปในข่วงแก้วภูเพียงแช่แห้ง ได้นิมนต์พระสงฆเจ้าแลสามเณรมารับทานที่ในข่วงพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง รวมเส้นหัววัดมี ๑๓๙ หัววัด รวมภิกษุสงฆเจ้าทั้งหลายมี ๔๖๓ องค์ รวมสามเณรมี ๘๖๓ องค์ รวมเข้ากันมี ๑๓๒๖ องค์แล ทินนวัตถุทานหอผ้ามี ๑๓๖ หลังท่านก็ได้แปงบอกไฟขวีใหญ่บอก ๑ ใส่ดินไฟเสี้ยง ๓๔๗,๐๐๐ อัน หนป่าวอนุโมทนาทาน มีบอก ไฟขึ้นตั้งแต่ ๑๐๐๐๐ นับลงลุ่มมี ๑๔๔ บอก บอกไฟขวีน้อยแลบอกไฟกวาง บอกกงหัน บอกไฟดาว บอกไฟนก บอกไฟเทียน แลปฏิช่อธุง ทั้งมวลจักคณนาบ่ได้ มีตั้งต้นกัลปพฤกษ์สรรพทั้งมวลแล แต่บอกไฟขึ้นเจาะ ๓ วันจิงเมี้ยนบริบวรณ์แล

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๒ ตัวปีกดซง้าเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญท่านก็เสด็จลงไปปงศพ พระมหากระษัตริย์เจ้าบรมโกษฐในเมืองกรุงเทพมหานครนั้น ได้ปงเถิงเดือนยี่ลง ๔ ค่ำยามใกล้รุ่ง ท่านก็บังเกิด ด้วยพยาธิเถิงแก่อสัญกรรมตายในเมืองใต้ที่นั้นวันนั้นแลสมเด็จเจ้าฟ้าเมื่อแต่แรกต้นพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองอังวะ ได้ปงอามิศต่อจ่าสวนหื้อท่านได้เปนพระยาน่าน แล้วท่านก็ตั้งอยู่ยังเมืองเทิงที่นั้นได้ ๓ ปี เถิงปีรวายซง้าเดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้เอาครอบครัวลูกเมียเจ้านายไพร่ไทยหนีจากเมืองเทิงที่นั้นลงมา เถิงเดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำก็มาฮอดเมืองน่าน ตั้งอยู่บ้านติ๊ดบุญเรืองที่นั้นหั้นก่อนแล ในศักราชเดียวนั้น ท่านก็ได้ลงไปหาเจ้ามงคลวรยศที่เมืองท่าปลา ขอลงมาเปนข้าเอาราชการพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล เมื่อนั้นเจ้าตนเปนน้ามีความยินดี แล้วท่านก็ลวดมอบบ้านปันเมืองหื้อเจ้าอัตถวรปัญโญได้ครอบบ้านเมืองต่อไปหั้นแล เจ้าอัตถวรปัญโญ ท่านก็กลับคืนมาอยู่บ้านติ๊ดบุญเรืองหั้นได้ปี ๑ เถิงปีเบิกสัน จุลศักราชได้ ๑๑๕๐ ตัว เดือน ๙ ลง ๑๓ ค่ำ ท่านก็ได้ลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ พระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดีด้วยเจ้าอัตถวรปัญโญลงไปกราบทูลขอเปนข้าเพิ่งสมภารเอาราชการฝ่ายใต้สันนั้น ท่านก็ยกตั้งเจ้าอัตถวรปัญโญขึ้นหื้อเปนเจ้าพระยาน่านหั้นแล ท่านได้เปนเจ้าพระยาน่านได้ ๑๗ ปี แล้วก็ได้ยกเอารี้พลศึกพร้อมกับด้วยนครเชียงใหม่ขึ้นปราบประจญเอาเมืองเชียงแสนได้แล้ว ก็เอาลงไปกราบทูลถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ พระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดีแล้วเปนอันมากแล้วก็เลื่อนยศขึ้นหื้อเปนสมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่านหั้นแล ท่านได้เปนสมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่านได้ ๕ ปี เถิงปีกดซง้าเดือนยี่ลง ๔ ค่ำยามใกล้รุ่ง ท่านก็เถิงแก่มรณไป หั้นแลสมเด็จเจ้าฟ้าท่านได้เสวยราชสมบัติเมืองน่าน ๒๒ ปีนี้ ได้เปนข้าฝ่ายใต้ เปนพระยาน่านอยู่เมืองเทิงได้ ๓ ปีนั้น เปนข้าฝ่ายเหนือ รวมท่านได้เปนเจ้าเสวยเมืองเทิงแลเมืองน่านได้ ๒๕ ปีแล ได้ ๗ เช่นชั่ววงษาแล ผิจะนับแต่เจ้าขุนฟองโพ้นมาได้ ๕๗ เช่นตนเสวยเมืองแล

ในจุลศักราชได้ ๑๑๗๒ ตัวปีกดซง้านั้นเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำเม็งวันพฤหัศบดีนั้น เจ้าพระยามหาอุปราชตนเปนน้าอยู่รักษาเมือง ภายหลังท่านก็ได้ขึ้นเมือผ่อพระเจดีย์ทิพเจ้าเขาแก้ววันนั้น ข้าหลวงชื่อพระยาจันททิพถือหนังสือตราพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ขึ้นมาตั้งเจ้าพระยามหาอุปราชตนเปนน้านั้น หื้อเปนพระยาน่านในวันนั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็เลื่อนยศขึ้นว่า สุมนเทวราช เจ้าพระยาน่าน ว่าอันหั้นแล ครั้นว่าได้รับเมืองแล้ว เถิงเดือน ๖ ลง ๓ ค่ำ ท่านก็ล่องลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ตนลูกหั้นแล เถิงเดือน ๗ ลง ๔ ค่ำ ก็เถิงกรุงเทพมหานครในวันนั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๓ ตัวปีลวงเม็ดเดือน ๗ ลง ๖ ค่ำวันปีใหม่พระมหากระษัตริย์เจ้าจิงพระราชทานหื้อแก่เจ้าหลวงสุมนเทวราช คือ มีพานพระศรีคำใบ ๑ จอกคำ ๒ ใบ ผะอบยาสูบคำ ๒ อัน ซองพลูคำอัน ๑ มีดด้ามคำอัน ๑ อุบนวดคำใบ ๑ คนโทคำลูก ๑ กะโถนคำใบ ๑ แหวนธำมรงค์ราชลูกดีพลอยเพ็ชรต้น ๑๐ กลาง ๑๐ สองวง พระกลดแดงดอกคำใบ ๑ ปืนลอง ชนเครือคำบอก ๑ ปืนลองชนต้นเรียบ ๒ บอก ต้นกลม ๓ บอก ผ้ายกไหมคำหลวงสังเวียนผืน ๑ ผ้านุ่งยกไหมคำ ๔ ผืน ผ้าโพก ริ้วทองผืน ๑ เสื้อจีบเอวภู่ตราดอกคำผืน ๑ แพรขาวผุดดอกคำผืน ๑ มุ้งแพร ๒ หลัง สโต๊กเงิน ๒ ใบ มีสันนี้แลอาชญาเจ้าหลวงครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการแล้วก็กราบทูลลาขึ้นมาเถิงเมืองน่าน เดือน ๙ ทุติย ขึ้น ๗ ค่ำวันนั้นแล

ในศักราชเดียวนั้น เดือน ๖ ลง ๑๒ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงสุมนเทวราชท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาทั้งหลายขึ้นเมือตีเอาเมืองล้าเมืองพง ก็ได้ยกรี้พลปงทัพไชยอยู่ท่าขี้เหล็กแล้ว ท่านจิงมีอาชญาสั่งหื้อเสนาอามาตย์ปูกวิหารหลวงด้านใต้ลุนหลังหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๔ ตัวเดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำเม็งวันเสาร์ เสนาอามาตย์ทั้งหลายอันอยู่ภายหลัง ก็พร้อมกับไพร่ไทยทั้งมวลปูกวิหารหลวงด้านใต้วันนั้นแล

ในศักราชเดียวนี้ เดือน ๓ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็กวาดเอาคนครัวเมืองล้า เมืองพง เชียงแขง เมืองหลวงภูคา ลงมาไว้เมืองน่าน มีคน ๖๐๐๐ คนหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๕ ตัวปีกาเล้า อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ล่าถอยกองทัพกลับลงมาเถิงเมืองน่านเดือน ๘ หั้นแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๑๒ ก็นำเอาท้าวพระยาหัวเมืองลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานครเมืองใต้หั้นแล ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการทั้งมวลแล้ว ท่านก็กราบทูลลาพาเอาเจ้านายหัวเมืองขึ้นมาเถิงเมืองในเดือน ๔ หั้นแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๖ เพ็ง ท่านก็กระทำเบิกบายฉลองทานอุโบสถวัดช่างคำด้านเหนือ เปนมหาทานอันใหญ่หลวงหั้นแลเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๖ ตัวปีกาบเสร็จเดือน ๘ เพ็ง อาชญาเจ้าหลวงท่านก็กระทำเบิกบายฉลองยังพระมหาทิพเจดีย์เขาแก้วเปนมหาพอยอันใหญ่แล กับทั้งวิหารเขาแก้วนั้น ก็ฉลองพร้อมเดียวกันแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๔ ลง ๓ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ยกเอากำลังคน ๑๐๐๐๐ คนไปตั้งตำหนักโทงพืนต๋องไปขุดเหมืองหลวงแลตั้งฝายแล เถิงเดือน ๔ นั้นลง ๕ ค่ำเม็งวันเสาร์ ไทยเต่าซง้าฤกษ์ ๘ ตัวชื่อว่าราชายามกองแลง ก่อแรกขุดเหมืองแลตีฝายสมุนวันนั้นแล รวมต่าเหมืองมี ๙๒๓๒ ต่า ปากเหมืองกว้าง ๒๔ วา ๑ ศอก เถิงเดือน ๕ ลง ๑๒ ค่ำก็แล้วบริบวรณ์หั้นแล เถิงเดือน ๕ ลง ๑๔ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จเข้ามาเวียงวันนั้นหั้นแล

เถิงศักราชได้ ๑๑๗๗ ตัวปีดับไก๊ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เล็งหันฝายหลวงสมุนบ่มั่นขัน เถิงเดือน ๗ ขึ้นค่ำ ๑ ท่านก็เอากำลังเข้าตีฝายสมุนแถมในวันนั้น เดือน ๗ ขึ้น ๗ ค่ำ ตีวันนั้นเถิงเดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำก็แล้วบริบวรณ์หั้นแล เถิงเดือน ๗ ลง ๑๔ ค่ำท่านก็เสด็จเข้าเวียงมาในวันนั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๘ ตัวปีรวายไจ๊เดือน ๙ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เจ้าพระยาจางวางขวาตนเปนพี่ท่านก็อนิจกรรมในวันนั้นแล เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ เจ้าพระยาจางวางซ้ายตนเปนพี่ท่านก็ซ้ำอนิจกรรมแถมในศักราชเดียวกันหั้นแล

ในศักราชเดียวกันนั้นหมอคล้องช้างชื่อน้อยคันธาไปคล้องช้างก็ได้ช้างเผือกพลาย ๑ ตัว สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว งายาว ๑ คืบ ๓ นิ้ว ที่ในแขวงเมืองงิม นำเข้ามาเถิงตำหนักท่านขี่เล่นในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายออกไปต้อนรับเอาพระยาช้างเผือกในวันนั้น เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอังคารนั้น ท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาแห่เอาพระยาช้างเผือกมาสู่เวียงในยามแถจักใกล้สู่เที่ยงวันท่านก็มีหื้อระวังรักษาอบรมกันเฝ้าไว้ตำหนักหลวงข่วงสนามหั้นก่อนแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายลูกหลานแลพระยาหัวเมืองเชียงของ เชียงแขงภูคาเมืองหลวง กุมเอาพระยาช้างเผือกลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าปราสาททอง ในกรุงเทพมหานครวันนั้นแล

เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดี แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลหื้อแก่เจ้าหลวงสุมนเทวราช มีเงินใต้ ๒ ชั่งแลสรรพสิ่งของทั้งหลายมวลเปนอันมากหั้นแล ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการทั้งหลายแล้ว ท่านก็กราบทูลลาขึ้นมาหั้นแล ท่านขึ้นมาเถิงเมืองพิไชยหั้นแล

ในกาลเมื่อลุนหลังท่านเอาช้างเผือกลงไปเมืองใต้นั้น หมอคล้องช้างก็ซ้ำได้ช้างแดงแถมตัว ๑ ก็เอามาสู่เวียงในศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัว ปีเมิงเป๋า เดือน ๙ ปฐมขึ้น ๑๓ ค่ำหั้นแล เถิงเดือน ๙ ทุติยะขึ้น ๑๑ ค่ำ เจ้าพระยารัตนะหัวเมืองแก้วแลเจ้าราชวงษ์คุมเอาช้างแดงลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็สรรเสริญยกยอยังบุญคุณเจ้าหลวงมากนักหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองในเดือน ๑๐ ลง ๔ ค่ำหั้นแล ครั้นว่าท่านขึ้นมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็มีอาชญาแก่ท้าวพระยาเสนาอามาตย์หื้อแปงหอเทวดาไว้ที่ป่าแดดเมืองงิมที่ได้ช้างเผือกนั้นให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าอย่าหื้อคนทั้งหลายได้ทำปาณาติบาตแก่สัตว์ทั้งหลายในแขวงป่าที่นั้นหั้นแล
ตอนที่ ๒
ว่าด้วยย้ายเมืองน่าน

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๙ ทุติยลง ๑๐ ค่ำวันเสาร์ยามทูตเช้า น้ำน่านนองท่วมเวียงวันนั้น ปราการเวียงแลวัดวาอารามหอเรือนก็หลุไหลโปดพังไปเปนอันมากนักหั้นแล อาชญาเจ้าสุมนเทวราชท่านก็มาเล็งหันยังเวียงเก่านั้นเปนอันจ้อมแคบ ด้านวันออกแม่น้ำก็ขวักโปดพังเข้ามาเปนอันมากสันนั้น ท่านก็มีอาชญาแก่ท้าวพระยาขัติยวงษ์เสนาอามาตย์ทั้งหลาย หื้อพิจารณาหาที่เปนไชยภูมิควรจักย้ายไปตั้งหื้อเปนเวียงนั้นจิงหันยังดงพระเนตรช้างมีทิศหนเหนือไกลเวียงเก่า ๓๖ เส้น ไกลน้ำน่าน ๒๐ เส้น ก็เปนที่ไชยภูมิตั้งหื้อเปนมหานครเวียงใหญ่หั้นแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ ท่านก็ยกเอาพลนิกายเสนาโยธาไปเลียบเล็งดู หันสถานที่นั้นก็ควรตั้งหื้อเปนมหานครไชยภูมิแล้ว อาชญาเจ้าหลวงท่านก็หื้อคนทั้งหลายแผ้วถางที่นั้น เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำเม็งวันศุกร ท่านก็พาเอาท้าวพระยาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายขึ้นไปตั้งอยู่ตำหนักดงพระเนตรช้างที่นั้น เถิงเดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำแผ้วถางบริบวรณ์ เถิงเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำเม็งวันเสาร์ ไทยเบิกสันฤกษ์ ๒ ตัวชื่อมหาธนฤกษ์ อยู่ในตารก ๗ ยามทูตช่างแรกปลูกประตูเวียงแลตั้งลำ ๓ ด้านตวันออกมี ๙๔๐ ต่าขุดคือด้านตวันตกมี ๗๒๘ ต่า ด้านใต้มี ๓๙๓ ต่า ด้านเหนือมี ๖๗๗ ต่า ปากคือกว้าง ๕ ศอก ท้องคือกว้าง ๔ ศอก ฦก ๙ ศอก รวมต่าเวียงทั้ง ๔ ด้านเข้ากันมี ๓๐๓๘ ต่า ท่านสร้างแปงก็แล้วบริบวรณ์ในเดือน ๖ หั้นแล เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๖ ตัวปีกาบเสร็จเดือน ๘ เพ็ง อาชญาเจ้าหลวงท่านก็กระทำเบิกบายฉลองยังพระมหาทิพ เจดีย์เขาแก้วเปนมหาพอยอันใหญ่แล กับทั้งวิหารเขาแก้วนั้น ก็ฉลองพร้อมเดียวกันแลเถิงเดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำวันสงกรานต์ล่อง อาชญาเจ้าหลวงก็เสด็จขึ้นเมือตกที่ใหม่เสียก่อน

เถิงศักราชได้ ๑๑๘๐ ตัวปีเบิกยี่เดือน ๗ เพ็ง ท่านก็เบิกบายฉลองพระวิหารหลวงด้านใต้แลพระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงแลหอธรรมเปนมหาทานอันใหญ่หั้นแล ในศักราชเดียวนี้ท่านก็มีอาชญาหื้อสร้างแปงวัดวาอารามหอเรียนเสียก่อนหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๑ ตัวปีกัดเม้าเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำเม็งวันอังคารฤกษ์ ๑๐ ตัวชื่อมหาธนะยามแถจักใกล้วัน อาชญาเจ้าหลวงสุมนเทวราชท่านก็ยกเอาครอบครัวทั้งมวลเสด็จเข้าสู่เวียงในวันนั้นหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๒ ตัวปีกดสีเดือน ๘ ขึ้น ๓ ค่ำพระยาวันวันเสาร์อาชญาเจ้าหลวงก็ทรงพระราชกรุณาตั้งแสนหลวงหื้อเปนพระยา ๔ ตน ขุนทั้ง ๘ แลขุนจเร ๑๒ คนไว้หื้อปฤกษากิจราชการเหนือสนามหั้นแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ หมอคล้องช้างก็ได้ช้างแดงแถมพลาย ๑ เอาเข้ามาถวายเถิงราชสำนักในวันนั้น อาชญาเจ้าหลวงท่านก็หื้อระวังรักษาไว้ตำหนักข่วงสนามหลวงหั้นแล เถิงเดือน ๖ ลง ๖ ค่ำอาชญาเจ้าหลวงท่านก็เกณฑ์หื้อเจ้ามหาอุปราชาแลเจ้านายท้าวขุน คุมเอาช้างแดงลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าในเมืองกรุงเทพมหานครวันนั้นหั้นแล

ในจุลศักราชสิ่งเดียวนี้เดือนเจียงลง ๑๐ ค่ำเม็งวันเสาร์ อาชญาเจ้าหลวงท่านจิงอาชญาหื้อเสนาอามาตย์ปลูกเสามิ่งเมืองเล่มตวันตก กับหลักช้างเผือกไว้ยังข่วงสนามหลวงหั้นแล เถิงเดือนเจียงขึ้น ๑๓ ค่ำ ปลูกเสามิ่งเจนเมืองเล่มหนเหนือวันนั้นหั้นแลในศักราชเดียวนี้ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็มาเล็งหันยังพระวิหารหลวงแช่แห้งเปนอันหลุต่ำคร่ำเสียแล้ว ท่านก็ได้พาเอาขัติยวงษาเสนาอามาตย์กระทำหยดยาสร้างแปงภายบนมีแปแลแป้นแนบ ภายลุนได้ก่อฝาพนักแวดรอบพระวิหารแลเลิก สร้างติดตอมยังพระพุทธรูปเจ้าองค์หลวง ทารักติดคำใหม่นั้นแล บ่เท่าแต่นั้นท่านก็ได้สร้างแปงฉัตรหลวง ๔ ใบ กระทำแล้ว ด้วยไม้แก่น มุงด้วยแป้น หุ้มด้วยแผ่นทองแดง เสี้ยงทองแดงหนัก ๑๒๐,๐๐๐ แล ต้องด้วยลายดอกประดับด้วยแก้ว แลใส่รักหางติดด้วยสุวรรณคำแดง แลติดด้วยข่ายใบไรแลหล่อมะเด็งหลวง ๒ ลูก ลูก ๑ เสี้ยงทอง ๑๗๐,๐๐๐ ลูกหนึ่งเสี้ยงทองหนัก ๑๓๐,๐๐๐ แลปลูกหอมะเด็ง ๒ หลังไว้วันตกวันออกหั้นแล

เถิงเดือน ๖ เพ็งเม็งวันอาทิตย์ ท่านก็พร้อมกับด้วยอรรคมเหษีแลหน่อขัติยวงษาแลเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งภายในแลภายนอกในจังหวัดนครน่านทั้งมวล กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองถวายหื้อเปนทานไว้กับพระพุทธสาสนาบูชาพระมหาธาตุเจ้าหั้นแล บ่เท่าแต่นั้นท่านก่อคน ๓ คนแม่ลูก ชาย ๒ หญิง ๑ ไว้กับพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งที่นั้นตราบเมี้ยน ๕๐๐๐ พรรษาวันนั้นหั้นแล ดังพระสงฆเจ้าได้นิมนต์มารับไทยทานในสมัยนั้น เส้นหัววัดมี ๑๖๕ หัววัด เจ้าภิกษุมี ๓๗๙ องค์ เณรมี ๗๔๙ องค์แล

เถิงเดือน ๖ ลง ๖ ค่ำเม็งวันศุกร แผ่นดินไหวในวันนั้น ยอดมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งก็หักลงห้อยอยู่แล ในเดือน ๖ ลง ๑๓ ค่ำ ๒๐อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เกณฑ์เอากำลังมีคน ๑๐๐๐ ยกไปตีฝายสมุนแลห้วยร้องทั้งมวลหื้อน้ำเข้ามาเถิงเวียงนั้นแลฯ

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๓ ตัว ปีลวงไซ้เดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำ เมืองสิบสองปันนาเมืองเชียงรุ้ง มีราชบรรณาการคือ ม้า ๔ ตัวเงิน ๗๒๐๐ บาท ผ้าไหมม่าน ๓ ผืน แพรแดง ๑ ฮำ ชกินเขียว ๑ ฮำ แพรแฮ้ ๑ ฮำ เกียนแดง ๒ ผืน เกียนดอก ๑ ผืน แลราชสาสนแต่งหื้อพระยาอารินทร์แลราชาปัญญาราชาคำลือเปนราชบุตรกับไพร่เข้ากัน ๒๓ คนนำเอาลงมาถวาย เถิงสำนักอาชญาเจ้าหลวงสุมนเทวราช ขอซื้อช้างพลาย ๖ ตัว เปนช้างมงคลทูลขวัญเจ้าฟ้าอังวะองค์ใหม่ ว่าสันนั้นอาชญาเจ้าหลวงว่าจักขายหื้อยังบ่ได้เทือะ เมื่อนั้นท่านจิงใช้หื้อหมื่นนรัตถือหนังสือลงไปแจ้งราชการพระมหากระษัตริย์เจ้าหั้นแล พระมหากระษัตริย์จิงโปรดว่า ดังเมืองพกึ่งก็หากเปนเมืองราชไมตรีกับกรุงศรีอโยทธยาแล ให้พระยาน่านขายให้ตามประสงค์แห่งเขาเทือะโปรดประการนี้ อาชญาเจ้าหลวงท่านได้แจ้งแล้ว จิงมีอาชญาปงแก่เสนาอามาตย์ตรวจจัดหาเอาช้างพลายในเมืองน่านตัวหูดีหางดี หมดปลอด ขายหื้อพระยาอารินทร์ ๖ ตัว เปนค่า ๑๑,๕๗๐ เงินลางหั้นแล

ในศักราชเดียวนี้เดือน ๙ ลง ๖ ค่ำ เม็งวันพฤหัศบดี ไทยลวงเม็ดชื่อปุพพภัททะ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็มาเล็งหันยังวรพุทธสาสนาหนภายในยังบ่มีสมเด็จราชครูตนเปนใหญ่จักสั่งสอนแก่คณะสงฆ์บ่ได้ท่านก็พุทธวรสาสนาหม่นหมองไป ท่านก็ได้คิดสร้างแปงยังสรรพวัตถุทั้งหลายมวลพร้อมแล เถิงเดือน ๙ ลง ๖ ค่ำวันนั้น อดีตพุทธสาสนาก็ล่วงไปได้ ๒๓๖๔ พระวษาปาย ๒ เดือน ๒๑ วัน อนาคตจักมาภายยัง ๒๖๓๕ พระวษาปาย ๙ เดือน ๙ วัน เหตุนั้นอาชญาเจ้าหลวงท่านจิงจักหัดสงฆ์ยกยอยังมหากุลุปฏิเจ้าวัดพระยาวัดตนชื่อทิพวงษาเปนมหาสังฆราชา หื้อมีสาสติอนุสาสติโอวาทานุสาสนีแก่คณะสงฆ์ ๙ วงษ์นันทรัฐบุรีที่นี้วันนั้นแล พระสงฆเจ้าทั้งหลายท่านได้นิมนต์มารับทานครั้งนั้นวันนั้นมี ๕๓ หัววัด คณะสงฆ์มี ๑๒๓ พระองค์ สามเณรมี ๑๘๖ ตนแล

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๔ ตัวปีเต่าซง้า เดือน ๓ ลง ๖ ค่ำอาชญาเจ้าหลวงจิงเกณฑ์เจ้าราชวงษ์เมืองเชียงของ เปนแก่ แลสุรโยธา ๓๐๐ คน คุมเอาช้าง ๖ ตัวช่วยพระยาอารินรักษาช้างส่งขึ้นเมือเถิงเมืองเหนือ เพื่อกลัวแต่อามิศข้าศึกมายาสูรกระทำร้ายหื้อเปนอันตรายหั้นแล

ในศักราชเดียวนี้ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็บังเกิดศรัทธาอันโปรดยิ่งแล้ว เถิงเดือน ๖ ลง ๖ ค่ำท่านก็ได้หล่อองค์พระพุทธรูปเจ้าองค์ ๑ เสี้ยงทอง ๗๕,๐๐๐ ไว้กับวัดสถารสกลางเวียงหั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๕ ตัวปีกาเม็ด อาชญาเจ้าหลวงสุมนเทวราช ท่านก็ปงอาชญาหื้อเสนาอามาตย์เกณฑ์คนตัดไม้จัดมาสร้างราชนิเวศน์โรงหลวง ดังเสามงคล ๒ เล่มท่านก็หื้อไปเอาไม้สักยังปูแท่นแก้วที่แขวนสม้าที่นั้น เถิงเดือน ๖ ลง ๑๓ ค่ำเม็งวันเสาร์ ไทยเมิงเป๋า ฤกษ์ ๘ ตัวยามก่อนงายแรกปลูกเสามงคลวันนั้นแล เถิงเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำเม็งวันศุกร ฤกษ์ ๘ ตัวยามกองแลง อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จขึ้นสถิตย์อยู่ราชนิเวศน์วันนั้นแลฯเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัวปีกาบสันเดือน ๕ ลง ๕ ค่ำ ท่านก็หื้อป่อคุ้มแก้วด้านลางยาว ๗๙ วา ลางขวางมี ๗๐ วาแล

เถิงเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ อุบาทว์เหตุเกิดมียังเมืองบ่อ คือน้ำแม่มางไหลอยู่พอยแห้งขาดบ่ไหลในวันนั้น ยามแถใกล้เที่ยงวันนั้นหั้นแล เถิงยามกองแลงจิงไหลไปตามปรกติหั้นแล

เถิงเดือน ๖ ท้องตราพระราชสีห์น้อยขึ้นมาว่า กระษัตริย์บิดาเถิงสวรรคต ให้พระยาน่านได้ไปปลงพระบรมศพมหากระษัตริย์เจ้าในเมืองกรุงศรีอยุทธยา ว่าสันนั้น เมื่อนั้นอาชญาเจ้าหลวงท่านก็จัดแจงแต่งเครื่องบรรณาการแลขัติยวงษาเจ้านายท้าวขุน แล้วก็ยกจากเวียงลงไปในเดือน ๖ แรม ๕ ค่ำหั้นแล เถิงเดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ท่านก็ลงไปเถิงกรุงเทพมหานครหั้นแล เถิงเดือน ๗ ลง ๑๓ ค่ำ ท่านก็บังเกิดพยาธิลงท้องแลรากเปนอันนัก เถิงเดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำเม็งวันอาทิตย์ยามกองแลง ก็เถิงแก่อสัญกรรมตายวันนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์ตนเปนลูกก็มีโปรดให้ปลงศพ ทำเสียในวัดแจ้งเมืองใต้นั้นเดือน ๙ ลง ๗ ค่ำหั้นแล

เจ้าหลวงสุมนเทวราชอายุได้ ๖๐ ปีได้เปนพระยาน่านแล ท่านได้เสวยเมือง ๑๔ ปี อายุได้ ๗๔ ปี ท่านก็เถิงแก่กรรมไปสู่ปรโลกวันนั้นแลได้ ๘ เช่นวงษาแล ผิจะนับแต่เจ้าขุนฟองโพ้นมาก็ได้ ๕๘ เช่นตนเสวยเมืองแล ในเมื่อท่านอนิจกรรมไปนั้นตกปีใหม่แล้ว เปนจุลศักราช ๑๑๘๗ ตัวแล้วแล ในเมื่อลุนหลังท่านก็เสด็จลงไปเมืองใต้ใกล้จะตกปีใหม่นั้นบังเกิดลมใหญ่ลุกทิศตวันตกมาพึศเพิงกลัวยิ่งนัก พัดต้นไม้แลหอเรือนคนทั้งหลายหักก่นก้านเปนอันมาก อนึ่งเหื่อพระเจ้าวัดช่างคำองค์หลวงแลพระเจ้าที่อุโบสถ ก็ออกอันยอดพระธาตุภูเพียงแช่แห้งก็คดไปทางตวันออกแจ่งใต้หั้นแล

เถิงเดือน ๙ ลง ๙ ค่ำ จุลศักราชได้ ๑๑๘๗ ตัวปีดับเล้า พระมหากระษัตริย์จิงตั้งเจ้าราชวงษ์ตนชื่อมหายศ ตนเปนบุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เปนพระยาน่านแทนหั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็พระราชทานเครื่องยศหื้อเหมือนดังพระยาน่านตนเก่าหั้นแล

เจ้าหลวงมหายศครั้นว่าได้รับพระราชทานเครื่องยศเปนเจ้าพระยาน่านแล้ว ก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้าขึ้นมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็มายั้งพักอยู่ตำหนักดอนไชยเวียงเก่าที่นั้น เถิงเดือน ๑๑ ลง ๘ ค่ำ ท่านก็เสด็จขึ้นสถิตย์อยู่ในมงคลนิเวศน์ที่เก่าท่านก่อน ในจุลศักราช ๑๑๘๗ ตัวปีดับเล้า เดือน ๖ ลง ๔ ค่ำเม็งวันเสาร์ยามทูตซ้าย มหาขัติยราชวงษาเสนาอามาตย์ทั้งหลาย ก็อาราธนาเชิญท่านขึ้นสถิตย์สำราญในราชนิเวศน์โรงหลวง แทนเจ้าสุมนเทวราชสร้างไว้นั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๘ ตัวปีรวายเสร็จเดือน ๖ ลง ๖ ค่ำท้องตราพระราชสีห์เรียงลำดับหัวเมืองเมืองพิไชยส่งขึ้น เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัวปีกาบสันเดือน ๕ ลง ๕ ค่ำ ท่านก็หื้อป่อคุ้มแก้วด้านลางยาว ๗๙ วา ลางขวางมี ๗๐ วาแล มาเถิงเมืองน่าน ว่าเจ้าอนุเวียงคิดขบถต่อพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หื้อพระยาน่านได้เกณฑ์กองทัพ ๕๐๐๐ คน ไว้จักยกเข้าไปตีเอาเมืองจันทบุรีอยู่มาเถิงเดือน ๖ ลง ๑๔ ค่ำ ข้าหลวงชื่อแผงสด้านถือท้องตราขึ้นมาเร่ง ยกทัพไปตีเอาเวียงจันทบุรีให้ทัน พร้อมกับ เมืองเชียงใหม่ ลำพูน นคร เมืองแพร่ ว่าสันนี้

เถิงเดือน ๖ ลง ๔ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงมหายศจิงเกณฑ์หื้อเจ้าราชวงษ์เปนแม่ทัพน่า คุมกำลังคน ๑๐๐๐ คน ยกออกจากเวียงไปตั้งเมืองโต่งเกณฑ์หื้อเจ้าพระเมืองแก้วคุมกำลังคน ๕๐๐ คน ยกไปทางน้ำปาด หื้อบังคับกองทัพนครเชียงใหม่ลำพูน ดังอาชญาเจ้าหลวงยกกำลังคน ๓๕๐๐ คนออกไปยั้งเอาไชยที่ตำหนักดอนไชยในวันอังคารเดือน ๗ ลง ๑๑ ค่ำ ยามกองแลง จุลศักราชได้ ๑๑๘๘ ตัวปีรวายเสร็จนั้นแล เถิงวันศุกร์เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงมหายุวราชก็ยกรี้พลศึกออกไปตั้งเมืองโต่ง ไปเถิงเมืองพานพร้าวในเดือน ๙ ลง ๕ ค่ำหั้นแล ดังกระษัตริย์เจ้าวังน่าแล ไทยลาวหัวเมืองทั้งมวลก็ไปอยู่เมืองพานพร้าวหั้นนับเสี้ยงแล

ดังเจ้าอนุเวียงจันท์แลบ้านเมืองไพร่พลทั้งมวล รู้ว่าทัพใหญ่ เมืองใต้ยกเข้าไปสันนั้น ก็แตกตื่นกระจัดกระจายหนี ดังเจ้าอนุก็ลงเรือไปออกท่าสีดาแล้ว ก็หนีเข้าไปเมืองพวนหั้นแล

มหากระษัตริย์วังน่าจิงมีอาชญาหื้อกองทัพหัวเมืองทั้งมวลข้ามไปตั้งอยู่เมืองจันท์แล้ว หื้อไปกวาดเอาครอบครัวพวกพระยาสุปากเพียวแลครัวเมืองเวียงจันท์ ซึ่งอันจะแตกตื่นไปลี้อยู่ขอกบ้านแคมเมืองนั้น มาหื้อได้นับเสี้ยงหั้นแล ครั้นว่ากองทัพหัวเมืองทั้งหลายไปกวาดเอามาได้แล้วก็เอาไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าวังน่าหั้นแล้ว ก็ส่งไปเมืองใต้หั้นแล ดังเมืองน่านได้คนครัวมาถวาย ๑๒๐๐ ครัว ดังพระยาราชสุภาวดีท่านขึ้นมาทางเมืองปาจิณ เถิงเมืองบาสัก มาเถิงเวียงพานพร้าว เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ มหากระษัตริย์เจ้าวังน่าก็เสด็จลงไปเมืองใต้หั้นแล ในเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๒ ค่ำ พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพพระราชทานคนครัวเมืองจันท์หื้ออาชญาเจ้าหลวงเมืองน่าน ๔๓๘ คนหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ เลิกยกทัพขึ้นมาเมืองจันท์พานพร้าว มาเถิงเมืองน่านเดือนเจียงลง ๑๓ ค่ำหั้นเซิงลาวเมืองหล่มเมืองเลย แก่นท้าวนำปูนรำจำ พยองน้ำปาดก็แตกตื่นเข้ามาเมืองน่าน มาพึ่งอาชญาเจ้าหลวงน่านหั้นแลเราท่านก็มาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่พึ่งสมภารเจ้าหลวงน่านที่นี้แล ยังแต่เมืองหลวงพระบางบ่เข้ามาเทือะ

เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็บ่ไว้วางใจได้ เหตุด่านต่อแดนเมืองพวนอันหนึ่ง ดังเจ้าอนุเวียงจันท์ก็บ่ได้ตัวเทือะ จิงมีท้องตราขึ้นมาว่าหื้อพระยาพิไชยคุมกำลังคน ๕๐๐ คน ยกขึ้นเมืออยู่รักษาเมืองหลวงพระบาง แลมีตราโปรดขึ้นมาเมืองน่าน ว่าหื้อพระยาน่านเกณฑ์คนไปอยู่รั้งฟังราชการในเมืองหลวงพระบางอย่าให้ขาด มีโปรดประการนั้น ฯ

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัวเมิงไก๊เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงก็หื้อแสนศิริสงครามคุมคน ๖๐ ไปอยู่รั้งฟัง ราชการเมืองหลวงพระบางกับพระยาก่อนหั้นแลเถิงเดือน ๖ ลง ๑๐ ค่ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ์ถือตราขึ้นมาว่า เร่งจัดเอาคนครัวลาวซึ่งอันขึ้นมาพึ่งอยู่ยังเมืองน่าน อาญาเจ้าหลวงก็เกณฑ์ขัติยท้าวขุนไพร่ ๑๔๔ คนคุมคนครัวลาวส่งไปทางเมืองแพร่ ในศักราช ๑๑๙๐ ตัว ปีเบิกไจ๊เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำนั้นแล เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำพระยาพิไชยรณฤทธิ์เลิกจากเมืองน่านไปทางเมืองแพร่แล ดังพระยาเชียงของตนเถ้าก็เถิงอนิจกรรมในพรรษานั้น เดือน ๑๑ ลง ๑๒ ค่ำหม่อมน้อยแต่งหื้อราชาศรีวิไชยแลท้าวปราการไชย นำราชบรรณาการลงมาเถิงเมืองน่าน

เถิงเดือน ๑๒ ลง ๔ ค่ำ หลวงไชยยศข้าหลวงถือตราขึ้นมาว่าหื้อเมืองน่านเกณฑ์กองทัพไปเมืองหลวงพระบาง เถิงเดือนเจียงลง ๑๓ ค่ำอาชญาเจ้าหลวงมหายศก็เกณฑ์หื้อเจ้าพระเมืองราชาพระยาแสน คุมคน ๖๕๐ คนยกไปรักษาเมืองหลวงพระบาง เถิงเดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำท่านซ้ำเกณฑ์เจ้าพระเมืองไชยราชาพระแขงคุมคน ๖๔๐ คน ยกไปเมืองหลวงพระบาง แถมเถิงเดือนยี่ลง ๑๑ ค่ำ หื้อแสนกันธนัญไชยแสนจิตมโนคุมคน ๓๐๐ ไปฟังราชการฝ่ายเมืองเวียงจันท์ ไปตั้งอยู่ปากลายอยู่กับพระลับแล ตัวแสนจิตมโนลงไปเมืองเวียงจันทร์ เถิงท่านพระยาราชสุภาวดี แสนจิตมโนก็แจ้งการกลับขึ้นมาตั้งอยู่สาม หมื่นเมืองเฟืองกวาดเอาต้อนเอาครอบครัวที่นั้น อาชญาเจ้าหลวงได้รู้แจ้งว่า แสนจิตมโนขึ้นมาตั้งอยู่สามหมื่นหนองแก้วหาดเดือย ท่านจิงเกณฑ์เจ้าสุริยคุมคน ๓๐๐ ยกไปทวยหาแสนจิตมโน เดือน ๔ ลง ๑๑ ค่ำเจ้าสุริยไปเถิงแสนจิตมโนแล้วก็พร้อมกันกวาดเอาคนครัวเวียงจันท์ ซึ่งอันแตกขึ้นมาตั้งอยู่สามหมื่นเมืองเฟืองหนองแก้วหาดเดือยได้ ๓๐๐๐ ครัว ส่งเข้ามาหาพระลับแลอันตั้งอยู่ปากลาย

ดังพระยาพิไชยรณฤทธิ์ก็ให้พระมหาสงครามลงมาอยู่ปากลายที่นั้น พระมหาสงครามก็แบ่งคนครัวให้เจ้าสุริย ๑๗๐ คน ปันให้แสนธนัญไชย ๖๑ คนหั้นแล

ดังพระยาพิไชยรณฤทธิ์อยู่เมืองหลวงพระบาง ก็รู้ข่าวว่าเจ้าอนุเวียงจันท์เอาตัวลี้อยู่ในแขวงเมืองพรวน จิงแต่งหื้อพระยาแสนกับพระยาลับแล คุมคน ๑๗๐ คนยกเข้าไปเสาะสืบ ก็รู้เปนแน่แล้ว ก็ยกเข้าไปจับเอาก็ได้ตัวเจ้าอนุกับนางคำปองได้ ในเดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำเวลากลางคืน ก็คุมเอาตัวเจ้าอนุแลนางคำปองลงไปเถิงพระยาราชสุภาวดียังเมืองเวียงจันท์แล้ว พระยาราชสุภาวดีก็พระราชทานคนครัวหื้อพระยาแสน ๓๐ คนเปนความชอบหั้นแล

เถิงศักราชได้ ๑๑๙๑ ตัวปีกัดเป๋าเดือน ๑๒ ลง ๑๓ ค่ำวันเสาร์ยามทูตซ้าย อาชญาเจ้าหลวงมหายศก็พาเอาขัติยราชวงษาลงไปพิดทูลเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้า ท่านก็ทูลตั้งเจ้ามหาวงษ์ พระเมืองไชยตนเปนน้า หื้อเปนเจ้ามหาอุปราชาฮ่อ ตั้งนายหนานรามเสนบุตรพระยาเชียงของ หื้อเปนพระยาเชียงของ ตั้งพระยาเชียงแขง ตั้งพระยาเมืองหลวง พระยาภูคาครั้งนั้นแล้ว ท่านก็กลับคืนมาเมืองดังพระยาเชียงของก็ขึ้นเมืออยู่เมืองเชียงของที่นั้นแลอยู่มาพระยาเชียงของรามเสนก็ใช้ไปขันปันลูกสาวหื้อเจ้าราชวงษ์เมืองเชียงใหม่ เจ้าหลวงมหายศได้รู้จิงเอาลูกสาว พระยาเชียงของชื่อพิมพาผู้อัน ท่านจักเอาไปหื้อเชียงใหม่นั้นเอามาเปนลูก ดังพระยาเชียงของได้เข้ามาอยู่เมืองน่านเสี้ยงไป ๒ พระยา เถิงถ้วน ๓ เจ้ารามเสนนี้ก็ไปขันปันลูกสาวหื้อเจ้าต่างประเทศเมือ เช่นพระยาศรีวิไชยนั้นก็ไปขันปันหลานสาวหื้อเจ้า เมืองเวียงจันท์ เช่นพระยาอริยะเถ้านั้นก็ว่าจักคิดหื้อลูกไปสืบสัญไชยไมตรีเมืองหลวงพระบาง จนได้หมายไว้มีสิ้นแล

ดังเจ้าหลวงมหายศท่านได้เสวยราชสมบัติเปนเจ้านครเมืองน่านได้ ๑๐ ปี เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๙๗ ตัวปีดับเม็ด ท่านได้ลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ก็ลวดได้บังเกิดด้วยพยาธิอันหนักแล้ว ท่านก็เถิงแก่อสัญกรรมไปในเมืองใต้ที่นั้นวันนั้นแล ได้ ๙ ชั่วเช่นวงษาแลผิจักนับแต่เจ้าขุนฟองมา ก็ได้ ๕๙ เช่นตนกินเมืองแล ฯ

จุลศักราชได้ ๑๑๙๘ ตัวปีรวายสันเดือนเจียงขึ้น ๘ ค่ำวันอังคารยามทูตเช้า เจ้าอชิตวงษาบุตรเจ้าสุมนเทวราชตนเปนราชวงษ์นั้นก็ได้ลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ท่านลงไปถึงเมืองใต้ เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ เถิงเดือนขึ้น ๑๐ ค่ำ พระมหากระษัตริย์เจ้ามีพระมหากรุณาโปรดตั้งเจ้าราชวงษ์บุตรเจ้าสุมน นั้นหื้อเปนพระยาน่านหั้นแล

เจ้าอชิตวงษ์ครั้นว่าได้รับสัญญาบัตรเปนพระยาน่านแล้ว ท่านก็กราบทูลลาขึ้นมาเถิงเดือน ๖ ลง ๑๒ ค่ำ ท่านก็มายั้งพักอยู่ตำหนักไชยเวียงเก่าหั้นแล เถิงเดือน ๗ ออก ๑๒ ค่ำ ท่านก็บวชเปนสามเณร เถิงเดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอังคารยามกองงาย กระทำพุทธาภิเศกทานแล เดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำเพ็งนั้นจันทคหแล เดือน ๗ ลงค่ำ ๑ ก็เปนจุลศักราช ๑๑๙๙ ตัวปีเมิงเล้า ในวันนั้นยามกองงาย ท่านก็เสด็จจากตำหนักเวียงเก่า เข้าไปสถิตย์อยู่โรงหลวงใหม่วันนั้นแล

เถิงเดือน ๗ ลง ๑๒ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงอชิตวงษ์ท่านก็เสด็จขึ้นเมือแช่แห้งต่อแกนธาตุเจ้า แต่เดิมเช่นเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญสร้างมี ๑๒ ศอก ท่านก็พร้อมเพรียงกับด้วยเจ้านายท้าวพระยาสังฆเจ้าทั้งหลายคาดคจาขึ้นเอายอดมหาธาตุเจ้าอันคดไปทางวันออกแจ่งใต้นั้นลงมาแปงต่อหื้อยาวแถม ๔ ศอก เปน ๑๖ ศอก ฉัตรแลเกิ้งเดิมมี ๙ ใบ ท่านก็สร้างแปงใส่แถม ๒ ใบ คือใบเค้าแลใบปลาย รวมทั้งอันเก่าเปน ๑๑ ใบ อยู่มาเถิงเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำนั้น ท่านก็พร้อมกับด้วยหน่อขัติยวงษาแลเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย ขึ้นไปกระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองทำบุญหื้อทานเปนมหาพอยหั้นแล เถิงเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำท่านก็เสด็จเข้าเวียงหั้นแล

เจ้าอชิตวงษ์เมื่อท่านได้ลงไปรับสัญญาบัตรได้เปนเจ้าพระยาน่านขึ้นมานั้น ก็ได้ติดด้วยพยาธิขึ้นมาแล เถิงเมื่อท่านได้มาอยู่เสวยเมืองแล้ว พยาธิก็พอทุเลาสักหน่อย ท่านก็เสด็จขึ้นเมือภูเพียงแช่แห้งสร้างต่อยอดพระธาตุเจ้าบริบวรณ์แล้ว ท่านก็ได้ทำบุญหื้อทานบริบวรณ์ดีงามแล้ว เถิงวันเดือน ๙ ลง ๙ ค่ำ ท่านก็เสด็จ เข้ามาเวียงหั้นแล ตั้งแต่วัน ๙ ค่ำนั้นท่านก็บังเกิดพยาธิอันหนักไป คือพองตั้งแต่ตีนไปเถิงท้อง เอาหมอทั้งหลายมายาก็บ่หาย เถิงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๒ ค่ำยามเที่ยงขึ้น ท่านก็เถิงแก่อสัญกรรมตายไปสู่โลกภายน่าวันนั้นแล ท่านเสวยเมืองได้ ๗ เดือนก็เถิงแก่กรรมแล เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๐๐ ตัวปีเบิกเสร็จ จึงได้กระทำเลิกทรากส่งสักการท่านแล เรียกว่าได้ ๑๐ เช่นชั่ววงษาแล ผิจักนับแต่เจ้าขุนฟองมาก็ได้ ๖๐ เช่นกินเมืองแล

เจ้าอชิตวงษ์มีบุตรชาย ๒ บุตรที่ ๑ ชื่อเจ้าพระยาวังขวาดัก บุตรที่ ๒ ชื่อเจ้าหนานสุยะแล เมียที่ ๒ ที่ ๓ บ่มีลูกแล ฯ

ในจุลศักราช ๑๒๐๐ ตัวปีเบิกเสร็จนั้นสิ่งเดียว ปลงศพเจ้าอชิตวงษ์แล้ว เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์ตนเปนบุตรแม่เจ้านางเลิศนั้นท่านก็ได้ลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ พระมหากระษัตริย์เจ้าจิงมีพระมหากรุณา โปรดตั้งเจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์หื้อเปนเจ้าพระยาน่านหั้นแล

อาชญาเจ้าหลวงมหาวงษ์ครั้นว่าได้รับสัญญาบัตรเปนเจ้าเสวยเมืองแล้วก็กราบทูลลาขึ้นมาหั้นแล

ในศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็มารำเพิงเล็งหันยังพระพุทธุปบาทสาสนาที่หลุต่ำคร่ำชรา ควรดีซ่อมสร้างขึ้นแถมใหม่ท่านก็สร้างหั้นแล ท่านสร้างวิหารวัดสถารสแลโรงวัดแลพระธาตุเจ้าวัดสถารสนั้นเปนครั้งต้นแรก แลสร้างวิหารวัดพระเกิดเปนครั้งถ้วน ๒ แล สร้างซ่อมพระวิหารพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งน้อยเปนถ้วน ๓ แล ฯเถิงจุลศักราชได้ ๑๒๐๘ ตัวปีรวายซง้าเดือน ๙ ลง ๑๑ ค่ำเม็งวันศุกร ไทยกดสี ยามแถค่ำ ท่านก็ได้พร้อมกับด้วยหมู่ขัติยวงษาเสนาอามาตย์ได้ก่อแรกสร้างจุนพระเจดีย์ ๔ หลัง เหนือปากขันหลวงมหาธาตุหลวงเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ๔ ด้าน แลซ่อมแซมพระวิหารหลวงศาลาบาตรแลบริเวณข่วงแลประตูโขงแลศาลานางป้องแล เดือน ๙ ลง ๖ ค่ำในวันนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ได้เชิญเอาแกนเหล็กขึ้นใส่ต่อก่อลูกหมากแลมารเข้าถาบต่อเต้า เถิงเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำจิงได้เอาฉัตรแลเกิ้งขึ้นใส่แปงใส่ใหม่แถม ๒ ใบ ดอกบัวเงิน ๖ ดอก ดอกบัวคำ ๖ ดอกสร้างมะเด็งน้อยห้อย ๑๐ ลูก สร้างพุทธรูปเจ้า ๓ องค์หั้นแล ในจุลศักราช ๑๒๐๘ ตัวนั้นสิ่งเดียวเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ท่านก็ได้กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองทำบุญหื้อทานเปนมหาพอยหั้นแล ลุนแต่นั้นท่านก็พร้อมด้วยหน่อขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย ซ่อมสร้างพระธาตุเจ้าท่าล้อเปนถ้วน ๕ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้ซ่อมสร้างพระวิหารวัดเจ้าช้างเผือกเปนถ้วน ๖ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระพุทธเจ้าดอนหนามเมืองบัวเปนถ้วน ๗ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้ซ่อมสร้างพระวิหารวัดปงสนุกเวียงสาเปนครั้งถ้วน ๘ แล บ่เท่าแต่นั้น พระพุทธุปบาทสาสนาวัดวาอารามที่ใดหลุต่ำคร่ำชราควรดีริร่างสร้างซ่อมนั้น ท่านก็ได้มีอาชญาปกเตีนแก่ขัติยวงษาเสนาอามาตย์แลไพร่บ้านพลเมืองทั้งมวลหื้อได้พากันริร่างสร้างสา หื้อกานกุงรุ่งเรืองยิ่งกว่าเก่าหั้นแล

เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์ตนนี้คือเปนบุตรแม่เจ้านางเลิศแลเจ้ามหาพรหมเมืองเทิงนั้นแล แม่เจ้านางเลิศเปนลูกแม่เจ้านางเทพ เปนลูกเจ้าหลวงติ๋นมหาวงษ์ ลูกมเหษีท่านเมืองเชียงใหม่นั้น เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์ตนเปนบุตรเจ้านางเลิศนี้ มเหษีท่านชื่อแม่เจ้านางยอดแลเดิมแต่เมื่อท่านบ่ได้เสวยเมืองเทือะนั้น ได้เปนเจ้าพระเมืองแล้วก็ได้เปนเจ้าหอน่า แล้วจิงได้เปนเจ้าพระยาน่านแล ท่านมีราชบุตรชาย ๓ องค์ องค์ที่ ๑ ชื่อเจ้าน้อยอินปัน ตนนี้ได้เปนราชบุตรแล้วได้เปนบุรีแล บุตรที่ ๒ ชื่อเจ้าคำเครื่อง ตนนี้ได้เปนวังขวาแล บุตรที่ ๓ ชื่อเจ้าน้อยเมืองแล เจ้าพิมพิสารเจ้าตุ้ย ตนนี้ต่างมารดา เปนลูกเจ้าหลวงมหาวงษ์เมียท่านที่ ๒ นั้นแล

เจ้าหลวงมหาวงษ์ท่านเสวยราชสมบัติเปนเจ้านครเมืองน่านได้ ๑๓ ปีเถิงปีลวงไก๊จุลศักราชได้ ๑๒๑๓ ตัวปีนั้น ท่านเถิงอสัญกรรมไปสู่โลกภายน่าแล ท่านเสี้ยงกรรมไปในเวียงเหนือเมืองน่านที่นี้แล เรียกว่าได้ ๑๑ ชั่ววงษาก่อนแล ผิจักนับตั้งแต่เจ้าขุนฟองโพ้นมา ก็ได้ ๖๑ เช่นตนกินเมืองแล

เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๑๔ ตัว เดือน ๖ ลง ๑๑ ค่ำ เจ้าบุรีรัตนเมืองแก้ว ชื่อเจ้าอนันตยศ ตนเปนบุตรเจ้าฟ้านั้น ท่านก็ได้ลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานครนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้า จิงมีพระมหากรุณาโปรดตั้งเจ้าบุรีรัตนหัวเมืองแก้วหื้อเปนเจ้าพระยามงคลวรยศ เปนเจ้านครเชียงน่านแล้ว ก็พระราชทานเครื่องยศ คือเสื้อแขบคำ ผ้านุ่งแขบคำ พระมาลาสุบหัวแล กระโถนคำ คนโทคำ พานหมากคำเครื่องในคำ ปืนชนิดดี ๑ บอก ดาบฝักคำ ๑ เถื่อน โถเงิน ๒ ใบ ทวน ๒ เล่มหั้นแล ครั้นแล้วแก่ราชกิจการทั้งมวลแล้ว ท่านก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้า แล้วก็ขึ้นมาเถิงเมืองน่านในเดือน ๙ จุลศักราชได้ ๑๒๑๕ ตัวหั้นแล

ครั้นว่าท่านขึ้นมาเถิงเมืองน่านแล้ว ท้องตราพระมหากระษัตริย์เจ้าก็ตามขึ้นมาเถิงเมืองน่าน มีโปรดเกล้าฯ ว่า หื้อเจ้าพระยาน่านได้เอารี้พลคนศึกยกขึ้นเมือเมืองสิบสองปันนา เชียงรุ้ง โดยรีบเร็วว่าสันนั้น ด้วยกองทัพใหญ่ฝ่ายใต้แล หัวเมืองทั้งหลาย คือเมืองแพร่ นคร ลำพูน เชียงใหม่ จักขึ้นเมือเอาเชียงตุง ว่าสันนั้น ฯ

ครั้นเถิงเดือนยี่ จุลศักราชได้ ๑๒๑๕ ตัว ปีกาเป๋านั้นสิ่งเดียวเจ้าพระยาน่านชื่อเจ้ามงคลวรยศนั้น ท่านก็เกณฑ์รี้พล คนศึกได้แล้วก็ยกกองทัพขึ้นเมือเมืองสิบสองปันนาโพ้นหั้นแล

ดังกองทัพใหญ่ฝ่ายใต้นั้น เสด็จเจ้ากรมหลวงวงษาเปนเจ้าแม่ทัพใหญ่ ก็ยกขึ้นมาทางเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่นั้น เจ้ามหาพรหมเชียงใหม่เปนเจ้าแม่ทัพ ดังหัวเมืองทั้งหลายก็ขึ้นเมือทางเชียงใหม่ไปเชียงตุงก็ปีเดียวเดือนเดียวที่เจ้าพระยาน่าน ขึ้นเมือเมืองเชียงรุ้งนั้นแล เจ้ามหาพรหมเชียงใหม่เปนแม่ทัพน่าขึ้นเอาเชียงตุงแล

ฝ่ายทัพเจ้าเมืองน่านครั้นขึ้นเมือเถิงสิบสองปันนาแล้ว ดังเมืองสิงสองปันนาทั้งมวลก็บ่กล้าจักรบด้วยเจ้าน่านต่อไปได้ ก็เอากันเข้ามานบน้อมเปนข้าสามิภักดิกับด้วยพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานคร เสี้ยงหั้นแล

ครั้นหัวเมืองสิบสองปันนาเชียงรุ้งยอมเปนข้าสวามิภักดิแล้ว ท่านก็แต่งแปงบ้านเมืองบ่หื้อมีเสี้ยนหนามแผ่นดินอันใดแล้ว ท่านก็ได้แต่งหื้อเจ้ามหาอุปราชเมืองเชียงรุ้งยกรี้พลกำลังขึ้นเมือตามหาสมเด็จที่เชียงตุงก็บ่ทันเถิงเสด็จเจ้าแลกองทัพ เสด็จเจ้าแลเจ้ามหาพรหมเชียง ใหม่บ่มีชนะ ก็ถอยเลิกลงมาจากเชียงตุง มหาอุปราชเชียงรุ้งขึ้นเมือก็ได้ประสบกองทัพเสด็จเจ้ากลางทางแล้ว ก็เลยรวดลวดตามเสด็จเจ้าลงมาหั้นแล กองทัพเสด็จเจ้าลงมาเถิงเมืองน่านแล้ว ก็มาตั้งพักอยู่ที่นาลินริมเวียงเหนือทางวันออกแจ่งใต้หั้นแล ฝ่ายเจ้าพระยาน่านก็เลิกเมือจากเมืองสิบสองปันนาลงมา ก็มาพร้อมเสด็จเจ้าอยู่นาลินนั้นหั้นแล

เสด็จเจ้ามาเถิงเมืองน่านแล้วก็ซ้ำเกณฑ์รี้พลคนศึกหัวเมืองทั้งหลาย คือเมืองหลวงพระบางแลหล่มเลยทั้งมวล เมืองน่าน, แพร่, นคร, ลำพูน, เชียงใหม่ ยกทัพขึ้นเมือเชียงตุงแถมหั้นแล เจ้าพระยาน่านท่านก็ได้ยกกองทัพขึ้นเมือตามเสด็จเจ้าแถม ใน จุลศักราชได้ ๑๒๑๖ ตัวเดือนยี่ข้างขึ้นนั้นหั้นแล

กองทัพใหญ่ฝ่ายใต้ทั้งมวลก็ขึ้นรบคุมเอาเมืองเชียงตุงก็บ่ได้กองทัพใหญ่ฝ่ายเหนือก็เต็งลงมาเปนอันมาก เสด็จเจ้ากรมหลวงวงษาก็บ่อาจจะต่อสู้รี้พลเชียงตุงได้ ก็แตกด้านถอยหนี ฝ่ายพระยาน่าน ก็ได้ระวังป้องกันเอาชีวิตรเสด็จเจ้า ก็ค่อยถอยตามหลังเสด็จเจ้ามาหั้นแล เจ้าพระยาน่านท่านก็ถอยจากเชียงตุงลงมาเถิงเมืองน่านเดือน ๙ จุลศักราชได้ ๑๒๑๗ ตัว ปีดับเม้านั้นหั้นแล

ครั้นว่าท่านมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็แต่งใช้ลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานคร ขอลงมาซ่อมสร้างเวียงเก่าหั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีพระมหากรุณาโปรดอนุญาตขึ้นมาหื้อซ่อมสร้างหั้นแล

ในจุลศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็กะเกณฑ์ไพร่พลคนเมืองทั้งหลายปั้นดินกี่แลแผ้วถางในเวียงเก่าให้หมดใสดีงามแล้ว เถิงเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เม็งวันอังคารยามแถจะใกล้สู่เที่ยงวัน ท่านก็ได้หื้อขัติยวงษาแลเสนาอามาตย์ทั้งหลายก่อแรกตั้งปลูกประตูไชยแลกำแพงเวียงหั้นแล

ในศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ได้หื้อเจ้าหนานมหาพรหมแลเจ้าสุยะอันเปนราชบุตรแห่งท่าน คุมเอาเจ้านายท้าวพระยาแขกเมืองสิบสองปันนา เชียงรุ้งเมืองหลวงภูคาเมืองล้าเมืองพง ลงไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องราชบรรณาการมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานครหั้นแล ในจุลศักราช ๑๒๑๘ ตัวปีนั้น เจ้า ๒ องค์พี่น้องก็ได้รั้งพรรษาอยู่เมืองใต้ก่อนหั้นแล

เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าจิงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าตั้งเจ้าหนานมหาพรหมตนพี่หื้อเปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่า โปรด หื้อเจ้าสุยะตนน้องเปนเจ้าราชวงษาหั้นแล เจ้า ๒ องค์พี่น้องครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจทั้งมวลแล้ว ก็พาเอาเจ้านายไพร่ไทยแขกเมืองทูลลามาหั้นแล เจ้า ๒ องค์พี่น้องขึ้นมาเถิงเมืองน่านเข้าเวียงวันพระยาวันนั้นหั้นแล ฯ

อยู่มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๒๑๘ ตัว เดือนยี่นั้น เจ้าพระยาน่านชื่อมงคลวรยศเมืองน่านนั้น ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยเสด็จลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานครหั้นแล

๒๒
เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าจิงมีพระมหากรุณาโปรดเลื่อนยศ เจ้ามงคลวรยศ เจ้าเมืองน่าน นั้นหื้อเปน เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน แล้วก็ปงพระราชทานเครื่องยศ คือ ทรงประพาศแลกระโจมหัวคำ แท่นแก้ว ๕ ชั้น แลเสตฉัตรขาว ๗ ใบ แลดาบหลูปคำ ทวนเขียวคำฝักเขียว ๔ เล่ม ปืนชนิดดี ๒ บอก กระโถนคำ ๑ พานหมากคำ ๑ มีดด้ามคำ ๑ มปัดตีคำ ๒ แถว รูปม้าคำ ๑ โต๊ะเงิน ๑ ใบ เบ้ายาคำ ๑

ในศักราช ๑๒๑๘ ตัว ปีรวายสีนั้นสิ่งเดียว เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอาทิตย์ ลุนหลังเจ้าชีวิตรลงไปรับสัญญาบัตรเปนเจ้าชีวิตรนั้นเจ้าราชวงษาก็ได้ยกกำลังขึ้นเมือเมืองเชียงแขงแล้วก็กวาดเอาครัวเมืองเชียงแขงลงมาเมืองน่านแล ฯ

ตอนที่ ๓
ว่าด้วยพระเจ้าน่าน (อนันตวรฤทธิเดชฯ) บำเพ็ญสาสนูปถัมภ์
แลสร้างพระไตรปิฎก

เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๑๙ ตัวปีเมิงไซ้นั้น เจ้ามหาชีวิตรท่านก็มีอาชญาหื้อแก่ท้าวพระยาเสนาอามาตย์บ้านเมืองทั้งมวล สร้างแปงหอคำแลคุ้มแก้วหั้นแล เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี ท่านได้เสวยราชสมบัติในพระนครเมืองน่าน บ้านเมืองก็ชุ่มเย็นเปนศุขเปนที่ฦๅชาปรากฎทั่วไปด้วยเดชานุภาพแห่งท่านทั่วนานาประเทศทั้งปวง คือไพร่อยู่ต่างค้าขาย อ้ายคโมยก็บ่ปรากฎได้แล ท่านได้เปนเจ้าเสวยราชสมบัติแล้วก็มาตั้งพระยาหลวงจ่าแสนราชาไชยอภัยนันทวรปัญญาวิสุทธิมงคล ปฐมอรรคมหาเสนาธิบดีหื้อเปนเค้าสนาม แลตั้งพระยาทั้ง ๔ ทั้ง ๘ แสนหลวงแสนน้อยรวมมี ๓๒ พร้อมเหนือสนามหลวงแล้ว ตั้งสุรอัยการคนใช้คนเวรทั้งหลาย บ้านเมืองก็เปนที่ครึกครื้นยิ่งใหญ่ขึ้นเหลือแต่ก่อนหั้นแล ท่านก็ซ้ำมีความรำเพิงเล็งหันยังพุทธุปบาทสาสนาเปนที่หลุต่ำคร่ำชรา เปนที่ควรดีริร่างสร้างซ่อม บ่เท่าแต่นั้น ท่านก็มีพระราชศรัทธาใคร่สร้างเขียนยังพระสธรรมเทศนา คือบาฬีแลนิบาตนิกายนิยายทั้งหลาย ไว้ค้ำจุน สาสนาพระโคดมเจ้า หื้อรุ่งเรืองไปภายน่า รำเพิงสันนี้แล้ว ในเมื่อปฐมต้นแรกนั้นก็ได้สร้างพระวิหารช่างคำ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างวิหารกู่คำ ลุนแต่นั้นก็ได้สร้างวัดมิ่งเมืองเปนถ้วน ๓ ลุนแต่นั้นก็ได้สร้างวิหารวัดนาพังเปนถ้วน ๔ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าขิงแดงเปนถ้วน ๕ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าจอมทองเมืองปงเปนถ้วน ๖ ลุนแต่นั้นก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าหนองบัวเมืองไชยพรหมเปนถ้วน ๗ ลุนแต่นั้นก็ได้สร้างพระวิหารวัดดอนไชยเมืองศรีสระเกษเปนถ้วน ๘ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารหลวงวัดภูมินทร์เปนถ้วน ๙ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าวัดพระยาภูเปนถ้วน ๑๐ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าจอมจ๊อเมืองเทิงเปนถ้วน ๑๑ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าปูตุงเมืองอินทร์เปนถ้วน ๑๒ ลุนแต่นั้นท่าน ก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าสบแวนเมืองเชียงคำเปนถ้วน ๑๓ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจ้าเบ็งสกัดเมืองปัวเปนถ้วน ๑๔ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างหอพระธรรมที่แจ่งคุ้มแก้วข้างวันออกแจ่งใต้เปนถ้วน ๑๕ ลุนแต่ นั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดม่วงใต้เปนถ้วน ๑๖ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดสวนตาลแลอุโบสถเปนถ้วน ๑๗ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างวิหารดอนเขาแก้วแลวิหารตีนดอยเขาแก้วแล เอาฉัตรแลเกิ้งขึ้นใส่ต่างยอดพระธาตุเขาแก้วเปนถ้วน ๑๘ ลุนนั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดมณเฑียรเปนถ้วน ๑๙ ลุนนั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดพันต้นถ้วน ๒๐ ลุนนั้นท่านก็ได้เอาฉัตรเกิ้งใส่ยอดพระธาตุเจ้าแช่แห้งเปนถ้วน ๒๑ ลุนแต่นั้นท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดหัวข่วงแลอุโบสถวัดช่างคำเปนถ้วน ๒๒ แล อนึ่งด้วยรศธรรมเทศนานำนั้นท่านก็หากได้ติดตามกันมาแต่ต้นแล ต่อนี้ไปจักกิตนาจาด้วยท่านได้ สร้างธรรมก่อนแล. ฯ

ในเมื่อจุลศักราช ๑๒๑๗ ตัวนั้น ท่านก็ได้เบิกของราชสมบัติออกจ้างสร้างธรรมทั้งหลายมีดังแจ้งต่อไปภายน่านี้ คือ อภิธัมมสังคิณีคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก วิภังค์คัมภีร์ ๑ มี ๑๘ ผูก ธาตุกถาคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก ปุคคลบัญญัติคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก กถาวัตถุคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก ยมกคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก มหาปัฏฐานคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก ปาราชิกกัณฑ์คัมภีร์ ๑ มี ๒๐ ผูก ปาจิตตีย์คัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก มหาวัคคคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก จุลวัคคคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก ปริวารคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก ทีฆนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก มัชฌิมนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๖ ผูก อังคุตตรนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๓ ผูก สํยุตตนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก ขุททกนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๗ ผูก ปาฐมัดต้นมี ๑๐ ผูก ปาฐมัด ๒ มี ๑๒ ผูก ปาฐมัด ๓ มี ๑๒ ผูก ปาฐมัด ๔ มี ๑๒ ผูก ปาฐมัด ๕มี๑๒ผูกปาฐมัด๖มี๘ผูกปาฐมัด๗มี๗ผูกปาฐมัด๘มี๙ผูกปาฐมัด๙มี๙ผูกเตมียคัมภีร์๑มี๓ผูกชนกคัมภีร์๑ มี ๒ ผูก สุวัณสามคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก เนมิราชคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก มโหสถคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก ภูริทัตตคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก จันทกุมาร คัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก นารทคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก วิธูรคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก ปัญจนิปาตคัมภีร์ ๑ มีมัด ๔ ปัญจนิปาตมัด ๕ ปัญจนิปาตมัด ๖ ปัญจนิปาตมัด ๙ เอกาทสนิปาตมัด ๑๑ เตรสนิปาตมัด ๑๓ ตึสนิปาตมัด ๓๐ จัดตาฬีสนิปาตมัด ๔๐ ปัญญาสนิปาตมัด ๕๐ สัต ตตินิปาตมัด ๗๐ อสีตินิปาตมัด ๘๐ เวสสันตรจริยาปิฎกคัมภีร์ ๑ มี ๑๕ ผูก ศัพท์นามมัด ๑ มี ๑๓ ผูก วตังคุลี ๑ ผูก โลก บัญญัติ ๑ ผูก สัททวิมล ๑ ผูก อานิสงษ์ประทีป ๑ ผูก จันทสุริย ๑ ผูก มหาพุทธคุณ ๑ ผูก สัจจธัมม ๑ ผูก จุลนีปันท ๑ ผูก ธัมมสุ โข๑ผูกสิรสา๑ผูกทสชาติ๑ผูกคิริมานันท๑ผูกสมุทโฆษ๑ผูกมูลต้นถัยยมัด๑มี๕ผูกสีหนาทคัมภีร์๑มี๒ผูกชนสัน ทคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก ยอดไตรปิฏก ๑ ผูก โอวาทานุสาสนี ๑ ผูก เทวทุกกคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก สิงคาลสูตรคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก ปริวาร คัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก นามตัทธิตคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก มหาวงษ์หลวงคัมภีร์ ๑ มี ๑๓ ผูก สีลชาดก ๑ ผูก มูลกัมฐาน ๑ ผูก ธัมมจักก ๑ ผูก อภิธัมมาจอง ๑ ผูก แปดหมื่นสี่พันขันธ ๑ ผูก รตนสูตร ๑ ผูก โวหารยานี ๒ ผูก ธัมม ธชัคค ๑ ผูก มูลนิพพานสูตร ๑ ผูก ศัพท์สมันตคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูกสกระวัตถุคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก ติลักขณคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก มังคลปัญหาคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก กังขาวีตรณีคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก ไตรปิฏกทั้ง ๖ คัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก วัณณวัณณนพราหมณ์คัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก จันทคาธคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก สมัยคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก โลก โกคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก พระเจ้าเลียบโลกคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก อรุณวตีคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ฎีกาอภิธัมมคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก สมันตปาสาทิกาคัมภีร์๑มี๑๖ผูกสุวัณณโมกขคัมภีร์๑มี๑๐ผูกสังขปัตตคัมภีร์๑มี๒ผูกพุทธโฆสเถรคัมภีร์๑มี๕ผูกกับ๑มี๑๒ผูก อัฏฐังคิกมัคค ๑ ผูก คิริมานนท์ ๑ ผูก ทสชาติ ๑ ผูก รวมเข้ากันมี ๘๐ กับ บูชาค่าเบ็ดมือพระสังฆเจ้าแต้มเขียนเสี้ยง ๑๙,๔๐๐ ท๊อกแล ฯ

เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๒๒ ตัวปีกดสันเดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้ปกเตีนแก่มหาขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายสร้างแปงยังมหามณฑปหลวงที่ท้องข่วงสนามหลวง แปงเปนจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตฉัตรวัตถาผ้าขาว แลห้างสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้ว ท่านก็ได้กระทำเบิกบายฉลองทาน ทำตั้งแต่เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำไปจนตลอดเถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จิงเปนที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล รวมท่านได้ตั้งขันบูชาฟังธรรมแลหื้อทานมี ๔๒๓ กันแล เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครน่าน ท่านได้สร้างธรรมแล้วหื้อทานฉลองฟังธรรมในครั้งนั้น เปนปฐมต้นแรกก่อนแล ฯเถิงจุลศักราช ๑๒๒๓ ตัวปีลวงเล้า ท่านก็ได้เบิกของราชสมบัติออก ไปจับจ่ายสร้างธรรมเทศนาต่อไปแถมมีดังแจ้ง ต่อไปนี้ คือ กัจจายนเถรคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูก เอกนิปาตอังคุตตรนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก อัฏฐกถาเอกนิปาตคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก นาถอภิธัมมคัมภีร์ ๑ มี ๑๕ ผูก ปรมัตถวิภูสนีคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูก โวหารธาตุวิภังคคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก นิสัยอังคุตตรนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก มธุรสกับ ๑ มี ๖ ผูก ปัญญา สชาติคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก โปราณสังคหะคัมภีร์ ๑ มี ๑๔ ผูก รูปสิทธิคัมภีร์ ๑ มี ๑๓ ผูก วินัยสังคหะคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูก ห้าสิบชาติคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก วิสุทธิมัค คมัด ๓ คัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก วินัยธัมมจักกคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก ฎีกาสังคหคัมภีร์ ๑ มี ๑๖ ผูก สุตตโสมคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก สุธนูคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก สีลขันธวัคคทีฆนิกายคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก มูลฏีกาสูตรคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก วิเทวันทกุมารชาดก ๑ ผูก โลกนัยคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก ทุคคตสูตรคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก ธาตุวิภังคคัมภีร์ ๑ มี ๑๑ ผูก อุเทนราชคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก มหาวัคคคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก ฎีกาปรมัตถนิสัยคัมภีร์ ๑ มี ๑๓ ผูก เจ็ดคัมภีร์กับ ๑ มี ๗ ผูก วีสติโอวาทคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก สามัญญผลคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก สิงหปกรณ์คัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก พรหมชาลสูตรคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูก พุทธวัง สคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก พุทธนิทานคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ฎีกา ๑ ผูก สัทธัมโมปรายนคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก เถยยพรหมคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก สิงคาลสูตรคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก จุลวิภังคพุทธคุณ ๑๐ ดวงคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก อุปคุตตคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก มังคลปัญหาคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก พลสังขยาคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก โลกวิทูคัมภีร์ ๑มี ๔ ผูก สรุปทสปารมีคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก โควินท์ ๑ ผูก โสทตรส ๑ ผูก มธุรสวาหินีคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก เอตทัคคคัมภีร์ ๑มี๑๓ผูกบาฬีโยชนาคัมภีร์๑มี๑๕ผูกโวหารวินัยทั้ง๕กับ๑มี๕ผูกรายงูคัมภีร์๑มี๗ผูกสุวัณณเมฆคัมภีร์๑มี๕ผูก รามเกียรดิกับ ๑ มี ๗ ผูก วุตโตไทยกับ ๑ มี ๔ ผูก สุธนคัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก กุสราชคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก ฎีกามาไลยคัมภีร์ ๑ มี ๑๒ ผูก มังคลเภทาคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก อ้อมล้อมต่อมคำคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก สิรินทคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก นิสัยพุทธมนต์คัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก มูล ธัมมจักกคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก พระชีวคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ชัมพูปติคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก สุพรหมโมกขคัมภีร์ ๑ มี ๑๐ ผูก อุปาสันติคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก ปฐมกัป ๑ มี ๑ ผูก พุทธมนต์ ๑ ผูก กำพร้าวัวทองคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ปัญหาราชสุต ๑ ผูก อานิสงสปริวาร ๑ ผูก อานิ สงสธัมมสวน ๑ ผูก ปุณณนาค ๑ ผูก จันทกินรี ๑ ผูก นรตนัตติหารคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก เสรฐีทั้ง ๕ คัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก ฎีกานโม คัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก พุทธเสนกคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ช้างพงษ์คัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ธัมมทายาทคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก ยสนธราคัมภีร์ ๑ มี ๗ ผูก โลกจักขุคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก บัวหอมคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก หมาลุยคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก สิรินันทคัมภีร์ ๑ มี ๓ ผูก สุทธสุกกรีคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก โพธิปักขิยธัมมคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก อานิสงสผูก ๑ ทุคคตกุมารคัมภีร์ ๑ มี ๑ ผูก จักขาวุธคัมภีร์ ๑ สีหนาทคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก ฎีกาธัมมจักก ๑ ผูก สิริมหามายาคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก สรทมานพ ๑ ผูก อานิสงสคำสอน ๑ ผูก สติปัฏฐานคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก เวสสัน ตรนกเค้าคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก สุวัณณหอยสังขคัมภีร์ ๑ มี ๖ ผูก สุทธาโภชนาคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก เจติยเภทาคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ฎีกามหาสมัยคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ปราภวคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก อลิน ๑ ผูก พกุล ๑ ผูก ยสนธรา ๑ ผูก มูลสิกขาคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก ปฐมภาณวาร ๑ ผูก อุณหิสวิไชย ๑ ผูก เตปทุมกุมารคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ปัญญาพลคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก ศัพท์ปฏิสังขาโย ๑ ผูก ธัมมธชัคค ๑ ผูก ฎีกามาลา ๑ ผูก สติ ปัฎฐานคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก ฎีกาพุทธาคัมภีร์ ๑ มี ๕ ผูก อุสสาพารสมัคต้นมี ๘ ผูก ปลายมี ๗ ผูก มธุรสคัมภีร์ ๑ มี ๒ ผูก จุนท สุริย๑ ผูก ท่านสร้างตั้งแต่จุลศักราช ๑๒๒๓ ปีล่วงเล้ามาเถิงนี่ก่อนแล รวมเปนคัมภีร์ ๗๒ คัมภีร์ นับเปนผูกมี ๔๕๙ ผูก นับเข้า กันเบ็ดเสร็จทั้งมวลมี ๕๓๒ ผูกแล ฯ

เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๒๔ ตัวเดือนเจียง ท่านก็มีอาชญาปกเตีนตกแต่งเจ้านายท้าวพระยาอามาตย์ไพร่ไทยสร้างแปงยังมหามณฑปหลังใหญ่ แปงจตุรมุข ๔ ด้านมี ๕ ยอดที่ท้องข่วงสนาม แลปกเตีนสร้างแปงยังสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้ว เถิงเดือนยี่ขึ้น ๒ ค่ำเม็งวันศุกร ท่านก็ได้พาเอาเจ้านายท้าวพระยาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย กระทำเบิกบายพุทธาภิเศกฉลองทานธรรมเปนมหาพอยอันใหญ่นั้นแล ตราบเถิงวันเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จิงเปนที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล ในครั้งนี้ท่านได้บูชากัณฑ์เปนคิ่นของท่านนั้นมี ๑๘๙ กัณฑ์ กัณฑ์ไหนกัณฑ์ไหนวัตถุแขวนห้อยกัณฑ์แล ๕ บาท ดอกพังฝนแสนห่ามี ๗๒ ผูกแล พระสงฆเจ้าซึ่งมารับทานในครั้งถ้วน ๒ นี้ทั่วจังหวัดนครเมืองน่านทั้งมวลแล ฯ

๒๓
เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๒๕ ตัวปีกาไก๊นั้น ท่านก็เบิกบายของพระราชทรัพย์ออกสร้างเขียนธรรมเทศนาแถมต่อไป มีดัง จักแจ้งต่อไปนี้แล คือ มหาเวส (สันตรชาดก) ฉบับไหเหล้ากับ ๑ มี ๑๓ ผูก มาลา ๒ ผูก อานิสงษ์ ๑ ผูก รวม ๑๖ ผูก มหาเวสฉบับกำแพงชั้นในกับ ๑ รวม ๑๖ ผูก มหาเวสฉบับเมืองสองกับ ๑ รวม ๑๖ ผูก มหาเวสฉบับพระยอด สร้อยกับ ๑ มี ๑๖ ผูก มหาเวสฉบับภูก่ำกับ ๑ มี ๑๖ ผูก มหาเวสฉบับพระหินปูกับ ๑ มี ๑๖ ผูก จำปาสี่ต้นคัมภีร์ ๑ มี ๔ ผูก อภัยราชคัมภีร์ ๑ มี ๘ ผูก กัมมวาจา ๔ ผูก ปิฎกทั้ง ๓ รวมมี ๔ ผูก พุทธาภิเศก ๓ ผูก กามณีจันท ๕ ผูก พิมพาขนุนงิ้ว ๕ ผูก ทุกกนิปาต ๑๐ ผูก อนาคตวงส ๕ ผูก สุวัณณชิวหา ๖ ผูก ศรีวิไชยยนตหงษ์ ๑๐ ผูก ธัมมจักก ต้น ๑ ผูก จักกวัตติคั้นคาก ๓ ผูก วิมานวัตถุ ๗ ผูก พวิลติ ๔ ผูก สมุทโฆส ๘ ผูก วินัยคัมภีร์หนึ่ง ๙ ผูก ตำนาน พระบาทพระธาตุ ๑๑ ผูก ศัพท์ปาฐ ๕ ผูก มูลฤกษ์ ๒ ผูก บัวลม ๔ ผูก วิลิมังสัง ๑๐ ผูก จตุก์กนิปาตอังคุตตรนิกาย ๑๓ ผูก มิลินทปัญหา ๑๕ ผูก ปาฬีธัมมปท ๑๔ ผูก จำปาสี่ต้นมัด ๓ มี ๑๓ ผูก ยสนธรา ๗ ผูก วัตตังคุลี ๑ ผูก จูฬธัมมปาล ๗ ผูก วิสุทธิมัคคมัดต้น ๘ ผูก วิสุทธิมัคคมัด ๒ มี ๑๑ ผูก วิสุทธิมัคคมัด ๓ มี ๑๓ ผูก มูลฎีกาสูตร ๑ ผูก ทลิททก ๑ ผูก อนุโลกสาสนา ๑ ผูก นากิตตสูตร ๑ ผูก พุทธาปทาน ๑ ผูก ปกิณณก ๕ ผูก รัฎฐทีปนี ๔ ผูก ติ ลักขณยอดธัมมปท ๕ ผูก ปิฎกจริยา ๑ ผูก พุทธาภิเศก ๒ ผูก พระเวส ๑๓ ผูก ปาฬีพระเวส ๙ ผูก อภิธัมมสังคิณี ๑๑ ผูก ปาฬีวิภังค ๑๗ ผูก ปาฐ ๑๔ ผูก ปาฬีนิทานสํยุตตนิกาย ๑๒ ผูก ปาฬีมหาวัคค ๙ ผูก ปาฬีอัตถทุกกนิปาตอังคุตตรนิกาย ๑๕ ผูก ปาฬีอัตถมหาวัคคสํยุต ตนิกาย ๑๒ ผูก ปาฬีอัตถปัญจอังคุตตรนิกาย ๑๔ ผูก ปาฬีอัตถกถาปัณณาสมัชฌิมนิกาย ๑๒ ผูก ปาฬีจัตตาฬีสนิปาต ๔ ผูก ปาฬีปัญญาสนิปาต ๓ ผูก ปาฬีสัฏฐีนิปาต ๑ ผูก จามเทวี ๕ ผูก วลยุตตเทวันท ๖ ผูก มังคลทีปนี ๑๓ ผูก วิตติอนีฎีกามหาวัคค ๙ ผูก เมตเตยยสูตร ๓ ผูก อรพิมม์ ๒ ผูก ศัพท์มหาวัคค ๑๕ ผูก ปาฬีนาถอัตถกถาอภิธัมม ๑๕ ผูก ติกกนิปาต ๑๕ ผูก ปิฎก ๔ ผูก พุทธาภิเศก ๓ ผูก โสทัตตเปกขณสูตรสุตตสังคห ๓ ผูก มตสูตร ๑ ผูก อสิวิสสูตร ๑ ผูก สุวัณณโมรา ๑ ผูก กำพร้าร้อยขอด ๑ ผูก สักกวรดาน ๗ ผูก เมตเตยยวงษ์ ๖ ผูก ปิฎกหนองควาย ๔ ผูก พระเวสปะดอนกวาง ๑๖ ผูก แปดหมื่นสี่พันขันธ์ ๑ ผูก พุทธนิทาน ๑ ผูก ทสวัตถุ ๘ ผูก ปฐมมูลมูลา ๕ ผูก สินไชยราช ๑๗ ผูก วิมานวัตถุ ๙ ผูก ยัสตีติ ๑๑ ผูก วิสาขา ๘ ผูก นันทเสน ๖ ผูก พระเวสฉบับวงกฎ ๑๖ ผูก เตสกุณา ๗ ผูก โลหนชิวหา ๑๔ ผูก สุธน ๙ ผูก โคนสูตร ๑๔ ผูก สุนันทโวหารวัมมิกสูตร ๔ ผูก ฎีกาพาหุํ ๑ ผูก อภิธรรมาจอง ๑๐ ผูก พุทธาภิเศกบารมี ๖ ผูก เปตวัตถุ ๑๘ ผูก คุรุธัมม ๑๒ ผูก สัฎฐีนิปาต ๓ ผูก โสทัต ตกี ๖ ผูก ปัญญาสนิปาต ๑๒ ผูก ทักขิณาวิภังคสูตร ๑ ผูก อังคุตตรนิกาย ๑๓ ผูก สุตตสังคหโลกวิทู ๑ ผูก วิชานสูตร ๒ ผูก จูฬ มณีสุทโธพธิรา ๒ ผูก มูลฎีกาสูตรสุญญสูตรกาฬีธาตุ ๓ ผูก เสือตายเสือนอนโลกวัตถุ ๒ ผูก ขานวุตติปุญญกิริยาสุปิน สามเณร ๓ ผูก โมคคัลลานเถรนิพพาน ๑ ผูก ศรีสุทโธทน๕ ผูก สาริปุตตนิพพาน ๑ ผูก ทัพพมัลลปุตตนิพพาน ๑ ผูก อโสกราชนิพพาน ๑ ผูก มหาอานันทนิพพาน ๑ ผูก ภยวิ นาสอุปาตสันติ ๓ ผูก นิสัยโปราณฎีกา ๑๓ ผูก นิสัยทาโมจน ๗ ผูก คิริมานันทครองวิปัสสนา ๓ ผูก มูลกัมมฐาน ๒ ผูก ราหุล สูตร ๑ ผูก ธัมมทายาทไชยปราการ ๓ ผูก ราชาภิเศกเจ้าชาลีกัณหา ๑ ผูก กัสปเถร ๑ ผูก อานิสงสผีตาย ๑ ผูก พุทธนิพพาน ๑ ผูก กวางดำมันทาตุราช ๙ ผูก กปณ ๖ ผูก พระแก้วพระจันหัวล้านเบื่อเห็ดเข้ากัน ๓๖ ผูก กัมมวาจา ๔ ผูก โยกัปปโก ๕ ผูก ปทุมกุมาร ๑ ผูก สัพพปุณณปทสังคห ๕ ผูก สัพพสูตรมนต์ทั้ง ๕ มี ๗ ผูก โวหารปธานสูตร ๙ ผูก โปราณสังคห ๑๐ ผูก ธัมม เวทีทั้งบาฬี ๗ ผูก เทวทันตสูตร ๘ ผูก วีสตินิปาต ๘ ผูก มหาวัคคนิทาน ๘ ผูก ทสวัตถุ ๘ ผูก ปรายนวัคคอัตตทันตา ๖ ผูก พัน ตกี ๘ ผูก มัชฌิมปัณณาส ๗ ผูก โลกวินัย ๑๕ ผูก มหาปธานสูตร ๑๑ ผูก ปาฬีฉักกนิปาต ๗ ผูก สัพพสูตตสังคห ๑๕ ผูก โย ชนาสัมโมหวิโนทนี ๑๖ ผูก มธุรสวาหินี ๑๐ ผูก มหาวงษ์หลวง ๒๑ ผูก พระเวสฉบับวงษา ๑๖ ผูก อภิธัมมสังคห ๕ ผูก รถวีนีต สูตร ๑๐ ผูก จักกวาฬทีปนี ๑๐ ผูก ทุกกสิกขาวินิจฉัย ๓ ผูก กฐินวินิจัย ๑ ผูก สัพพี ๑ ผูก มหานิพพาน ๑ ผูก นิสัยฎีกาสติปัฏฐาน ๑๔ ผูก เอตทัคคอังคุตตรนิกาย ๑๑ ผูก นิสัยจตุกกนิปาต ๑๕ ผูก สุตตโสม ๖ ผูก สติยสังกรี ..... ผูก นิยยาธัมโม ๗ ผูก เปตวัตถุ ๑๗ ผูก ศัพท์ขุททกสิกขา ๕ ผูก นิสัยมหาปัฏฐาน ๔ ผูก นิสัยกถนาปัฏฐาน ๔ ผูก ศัพท์อภิธัมมสังคห... ผูก ศัพท์นิ ปุณณปทสังคหะ ๑๑ ผูก นิสัยวินิจฉัย ๑๖ ผูก โปราณ ๘ ผูกอสีตินิปาต ๖ ผูก สุนันทอสังเขยย ๕ ปัญญาสนิปาต ๓ ผูก ทีฆนิกายโทส ๑ ผูก สัฏฐีนิปาต ๓ ผูก ตำนานละแวก ๑ ผูก ปาติโมกข์ ๑ ผูก นิสัย ๑๒ ผูก มหาวัคค .... ผูก วิมานวัตถุ ๖ ผูก วันตุชน ๖ ผูก สุทธาโภชน ๒ ผูก กรุณา ๙๕ ผูก สุตันต สังคห ๑๓ ผูก ติกกนิปาต ๑๕ ผูก อัตถอุปริปัณณาส ๑๑ ผูก ฎีกาอภิธัมม ๙ ผูก สฬายตนวัคคสํยุตตนิกาย ๑๘ ผูก ศัพท์สัมมตา ๑๒ ผูก สุมณเสรฐิอมิตตพันธุ ๑๑ ผูก นิสัยมูลปุคคฎีกาปัฏฐาน ๑๔ ผูก สุตตสังคห ๑๐ ผูก สารสังคห ๑๔ ผูก ศัพท์อภิธัมม สังคห ๙ ผูก โยชนาอภิธัมมสังคห ๘ ผูก สามัญญผลสูตร ๗ ผูก ปาฬีอัตถกถาขันธวัคคสังยุตตนิกาย ๔ ผูก ปาฬีอัตถ กถามหา วัคํคสังยุตํตนิกาย ๘ ผูก ปาฬีกัจจายนสันธิ ๑ ผูก ปาฬีกัจจายนาตถสมาส ๖ ผูก ปาฬีกัจจายนาตถการก ๑ ผูก ปาฬีกัจจายนา ตถตัทธิต ๓ ผูก ปาฬีนาราชธาตวังส ๑ ผูก ศรีมหามายา ๖ ผูก วิสุทธิมัคค ๑๕ ผูก นิทานวัคคสังยุตตนิกาย ๑๒ ผูก สุรุปวินิสัย คัมภีร์ ๑ มี ๙ ผูก เสรฐีทั้ง ๕ มี ๕ ผูก มังคลสูตร ๑๒ ผูก มหานิพพานสูตร ๑๓ ผูก ห้าสิบชาติ ๑๐ ผูก รถวนีตสูตร ๙ ผูก เปขณ สูตร ๑ ผูก ทินราชชาถ ๑ ผูก โสทัตตกี ๖ ผูก วิสุทธิมัคค ๑๖ ผูก มธุรส ๑๐ ผูก ปรมัตถวิภูสนี ๑๒ ผูก วินิจฉัยจูฬวัคค ๑๒ ผูก อ ตีตพุทธวงษ์ ๑๕ ผูก มณีปทีป ๑๖ ผูก พุทธนิพพาน ๑๕ ผูก ฎีกานิปาต ๑๖ ผูก มธุรสวาหินี ๑๑ ผูก ติกกนิปาต ๑๕ ผูก ทสชาติ ๑๓ ผูก นิสัยสมันตปาสาทิกา ๑๔ ผูก ศัพท์สมันตสังฆาทิเสส ๑๐ ผูก จริยาปิฎก ๒๐ ผูก พุทธวงส ๙ ผูก มูลกัมมฐาน ๒ ผูก อักข รนโม ๑ ผูก วินัยรวม ๑๑ ผูก อุทาหรณสัทททั้ง ๘ มี ๘ ผูก ปาฬีสูญญ ๑๘ ผูก โยชนาสสัททา ๑๙ ผูก ปาฬีพระสิหิงค์ ๑ ผูก นิสัยห้าสิบชาติมัด ๒ มี ๑๐ ผูก นิสัยห้าสิบชาติมัด ๓ มี ๑๐ ผูก นิสัยห้าสิบชาติมัด ๔ มี ... ผูก นิสัยห้าสิบชาติมัด ๕ มี ๑๐ ผูก นิสัยมัชฌิมนิกายมัดต้น ๑๔ ผูก นิสัยมัชฌิมนิกายมัด ๒ มี ๑๐ ผูก นิสัยวุตโตทยปาฬี ๑๖ ผูก นิสัยไทยทุติยวังสมาลินี ๑๓ ผูก นิสัยสูตรมนต์ไชย ๑๒ ผูก นิสัย ธัมมปทมัด ๑๑ มี ๑๐ ผูก นิสัยมธุรชัมพู ๑๕ ผูก นิสัยสีลวัคคทีฆนิกาย ๑๗ ผูก นิสัยพิมพาเถรี ๗ ผูก ศัพท์ปฐม ๒๒ ผูก ศัพท์ สมันตต้น ๙ ผูก ศัพท์สมันตปาสาทิกามัด ๗ มี ๘ ผูก สัตตนิปาต ๑๐ ผูก อุลกธาตุ ๖ ผูก ตำนานพระยาเจี๋ยง ๑๑ ผูก ศัพท์อักขร คันถี ๓ ผูก ศัพท์สุโพธาลังการ ๒ ผูก นิสัยสัจจสํเขป ๘ ผูก นิสัยสัททเภทจินดา ๑๓ ผูก ท่านสร้างตั้งแต่จุลศักราช ๑๒๒๕ ตัว เถิงจุลศักราช ๑๒๓๒ ตัว นานได้ ๘ ปีแล รวมท่านได้สร้างธรรมครั้งถ้วน ๓ นี้นับเปนคัมภีร์มี ๑๘๙ คัมภีร์ นับเปนผูกมี ๑๒๕๑ ผูก

ในศักราชนั้นสิ่งเดียวเดือนเจียงข้างแรม ท่านก็มีอาชญาปกเตีนแก่หน่อขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายหื้อสร้างแปงยังมหามณฑปหลังใหญ่สูง ๘ วา จตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตวัตถาผ้าขาวที่ในท้องข่วงสนามหลวงแล สร้างแปงยังสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมบริบวรณ์แล้ว เถิงวันเดือนขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้ตั้งกระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองฟังธรรมกระทำบุญหื้อทาน ตั้งแต่วันเดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ไปจนตลอดเถิงวันเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จิงเปนที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้น เปนมหาพอยอันใหญ่หั้นแล นับเปนกัณฑ์คิ่นพระองค์ได้บูชากัณฑ์ครั้งนี้รวมมี ๓๑๖ กัณฑ์ วัตถุห้อยแขวนกัณฑ์ละ ๒ แถบรูเปีย เจ้ามหาอุปราชาบูชาเปนคิ่นท่าน ๕๐ กัณฑ์ เจ้าราชวงษ์บูชาเปนกัณฑ์คิ่น ๑๐ กัณฑ์ เจ้าสุริยบูชา ๕ กัณฑ์ เจ้าราชบุตรบูชา ๕ กัณฑ์นอกนั้นศรัทธาเจ้านายท้าวพระยาเสนาอามาตย์ก็บูชาคนละกัณฑ์ฤๅ ๒ กัณฑ์ไปแล พระสงฆเจ้าทั้งหลายซึ่งท่านได้นิมนต์มารับทานในสมัยนี้มี ๓๘๓ องค์ ท่านได้เบิกเข้าใส่บาตรกินทานในครั้งนี้สิ้นเข้าสารแปดแสนเจ็ดหมื่น ได้เบิกเปนเข้าพันก้อน เสี้ยงสองหมื่นเจ๊ดพันห้าร้อยแปงเข้าหนมเสี้ยงแสนหนึ่ง รวมทั้งเลี้ยงพระสงฆ์เมืองแพร่เสี้ยงเข้าสารล้านสามหมื่นเจ๊ดพัน นี้เปนครั้งถ้วน ๓ แล ฯ

เถิงจุลศักราช ๑๒๓๖ ตัวปีกาบเสร็จเดือน ๑๐ ลง ๓ ค่ำนั้น ท่านก็ได้เบิกเอาของราชสมบัติออกจ้างสร้างธรรมดังจักมีแจ้งต่อไปนี้ คือ พุทธานุสสติกัมมฐาน ๕ ผูก เสรฐีเปี้ยงหม้อ ๑ ผูก โอวาทาวิจรณ ๑ ผูก ฎีกามูลปัณณาสมัชฌิม นิกาย ๑๐ ผูก ธัมมรังสี ๑ ผูก เทวสีสหงส์คำ ๑ ผูก กุศลนิสัยธุรปุญญคันถี ๑ ผูก โวหารภยวินาส ๖ ผูก โวหารทิพ มนต์ ๗ ผูก โสจันทกุมาร ๕ ผูก โวหารปาฐมัด ๙ มี ๑๓ ผูก อัคครัฏฐธัมม ๙ ผูก คุรุสาสติ ๑ ผูก กยวิรติ ๑ ผูก ทุ ลลภา ๑ ผูก ปาฬีจตุกกนิปาต ๘ ผูก จันทพาณิช ๑ ผูก จูฬวิบาก ๑ ผูก โมคคัลลานนิพาน ๑ ผูก โพชฌงค์ทั้ง ๗ มี ๒ ผูก ราหุโลวาทสูตร ๑ ผูก ทุกกกุมาร ๓ ผูก ปาฬีมหาปัฏฐานมัด ๒ มี ๑๑ ผูก มหาเวสฉบับ พร้าวพันลำ ๑๕ ผูก มหาเวสฉบับฟ้าขาว ๑๕ ผูก มหาเวสฉบับข้อมือเหล็ก ๑๖ ผูก ยมกมัด ๒ มี ๑๐ ผูกแล ท่านสร้างในจุลศักราช ๑๒๓๖ ตัวนั้นทึกนี่ห่อนแลอนึ่งด้วยพระวิหารหลวงภูมินทราชากลางเวียงนครเมืองน่าน อันท่านได้ก่อแรกตั้งต้นปลูกแปงสร้างสามาตั้งแต่ศักราชได้ ๑๒๒๙ ตัว ปีเมิงเม้าเดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ เม็งวันศุกร ไทยดับเม้า ฤกษ์ได้ ๒๕ ตัวชื่อปุพพภัทร ตั้งต้นสร้างแต่นั้นมาเถิงนานได้ ๘ ปี มาเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๓๖ ตัว ปีกาบเสร็จนี้ก็เปนที่สำเร็จบริบวรณ์หั้นแล

ในศักราชนั้นสิ่งเดียวเดือนยี่ ท่านได้มีอาชญาปกเตีนแก่หน่อขัติยวงษา ท้าวพระยาเสนาอามาตย์ไพร่บ้านพลเมืองทั่วจังหวัดนครเมืองน่านทั้งมวล ให้ตกแต่งสร้างแปงสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมสู่อัน หัวเมืองต่างประเทศทั้งหลาย คือเมืองนคร,ลำพูน, เชียงใหม่, พยาว, เชียงราย, เมืองหลวงพระบาง ก็ได้แต่งใช้นำเอายังอักขรแลคาถาไปแผ่พระกุศลสู่หัวเมืองหั้นแล

ครั้นเถิงเดือน ๕ นั้น ท่านก็หื้อสร้างแปงมหามณฑปหลังใหญ่แปงเปนจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตวัตถาผ้าขาวเทศที่ท้องข่วงสนามหลวงเหมือนแต่ก่อนหั้นแล้ว ครั้นเถิงณวันเดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ ก็กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองธรรม กระทำบุญหื้อทานฟังธรรมตั้งแต่วันนั้น ไปตราบเท่าเถิงเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ หื้อแล้วหั้นเปนห้อง ๑ ก่อนแล ตั้งวัน ๙ ค่ำเถิงวัน ๑๒ ค่ำฟังฝนแสนห่า แลเถิงวัน ๑๓ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ หัวเมืองแลน่าบ้านทั้งหลายก็แห่เอาด้วยทานแลบอกไฟเข้าไป ปทักษิณแวดวัดภูมินทร์ คือตั้งฉลองวัดหลวงภูมินทราชาทั่ว เมืองทั้งหลายแลน่าบ้านทั้งมวลพร้อมกันปทักษิณแล้ว ก็แห่นำเอาพระกุศลเข้าไปถวายสมเด็จเจ้านครน่านที่ตำหนักท้องข่วงสนามสู่น่าบ้านแลหัวเมืองหั้นแลเถิงวันเดือน ๖ เพ็งนั้น ท่านก็กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองวัดหลวงภูมินทรหั้นแล เถิงวันเดือน ๖ ลงค่ำ ๑ ก็ได้โอกาศหยาดน้ำหื้อทานบริบวรณ์แล้ว น่าบ้านแลหัวเมืองทั้งหลายก็แห่เอาบอกไฟไปจุดที่ท่งตีนดอยภูเพียงแช่แห้ง บอกไฟจุดเถิง ๓ วันจิงสิ้นแล พระองค์สมเด็จเจ้านครน่านได้ทานธรรมแลฉลองวัดหลวงภูมินทราชาในครั้งนี้เปนมหาสมัยการมหาพอยอันใหญ่หนึ่งแล ท่านฉลองธรรมแลฉลองวัดในครั้งนี้นับสิ้นคัมภีร์มี ๙๔ คัมภีร์ นับเปนผูกมี ๑๐๓๖ พระสงฆเจ้าทั้งหลายท่านได้นิมนต์มารับทานในครั้งนี้ เบ็ดเสร็จทั้งมวลมี ๕๓๗ เณรนอกเมืองมี ๔๗ องค์ เณรในเมืองบ่นับได้แล รวมท่านได้เบิกเข้าของออกทอดเลี้ยงหัวเมืองหื้อทานในครั้งนี้เสี้ยงเข้าสารสองโกฏิสี่ล้านแปดแสน ปลายหมื่นสี่พันห้าร้อย พริกเสี้ยงสามแสนปลายหมื่นสี่พันยาเสี้ยงหกหมื่นสี่พันห้าร้อย ปูนเสี้ยงห้าหมื่น ปลาร้าเสี้ยงสามหมื่น ไข่ปลาหมึกเสี้ยงหกหมื่น ปลาแห้งเสี้ยงสามแสนห้าหมื่นปลายพัน หมากแข่นสามหมื่น ขิงสองหมื่นสี่พัน หอมสองหมื่น เมี่ยงเสี้ยงสามแสนสี่หมื่น หมากเสี้ยงสี่พันสี่ร้อย พลูเสี้ยงสามแสนแปดหมื่น ดินไฟหกแสนห้าหมื่น ขางเสี้ยงสี่หมื่น ดินไฟแจกหนภายในเสี้ยงแสนหนึ่ง มาดสามหมื่น ค่าดินไฟรวมเบ็ดเสร็จทั้งมวลเสี้ยงเจ๊ดแสนปลายห้าหมื่น เงินแถบเงินปี้ซึ่งท่านประทานปรายหื้อหมู่ พวกแห่บอกไฟแลห่อผ้าครัวทั้งหลายรวม ๔๘๕ แถบ รวมเปนปี้มี ๓๔๐๐ ปี้แล รวมสิ่งของทั้งมวลท่านได้สร้างแปงพระวิหารหลวงภูมินทรที่นั้น เหล็ก

๒๔
เสี้ยงสามหมื่น ทองเสี้ยงหกพันปลายหนึ่งร้อย แก้วเสี้ยงสามแสนสามหมื่นสองพัน คำปิวเสี้ยงห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อย รักเสี้ยง ๓๕ ไห ปลาย ๑๖ บอก หางเสี้ยง ๑๘ ห่อ น้ำมันสมซะทายเสี้ยง ๒๐ ไห น้ำอ้อยเสี้ยงตื้อหกแสนห้าหมื่น ปูนเสี้ยง ๒ ตื้อ สี่ล้านสามแสนสี่หมื่น จ้างช่างเลื่อยไม้เงินตราเสี้ยง ๕ ชั่ง เงินแถบเสี้ยง ๓๐๐ แถบแล พระองค์สมเด็จเจ้านครเมืองน่านท่านได้ สร้างวัดแลสร้างธรรมแล้วฉลองทานในครั้งนี้เปนถ้วน ๔ แล

เถิงจุลศักราช ๑๒๓๗ ตัวปีดับไก๊นั้น ท่านก็ได้เบิกเอาของราชสมบัติออกจ้างธรรมต่อไปแถม ดังจะแจ้งต่อไปนี้ คือ พระเวสฉบับกาลคอด ๑๖ ผูก พระเวสฉบับหลายหิน ๑๖ ผูก พระเวสฉบับพระรอย ๑๖ ผูก สาธินราชมูลกิตติกา ๒ ผูก อัตถสังขารโลก ๑ ผูก เทวดาถามปัญหา ๑ ผูก วาราสิชย ๑ ผูก สรุปวินัยคัมภีร์รัฎฐทีปนี ๙ ผูก มโหสถ ๑๓ ผูก อานิสงสสรรพทาน ๕ ผูก โสทัสสนี ๕ ผูก ปาฬีอัตถกถาปัญจอังคุตตรนิกาย ๑๔ ผูก พระเวสฉบับสีหรส ๑๖ ผูก โวหารอังคุตตรนิกาย ๘ ผูก ปาฬีมหาปัฏฐาน ๑๑ ผูก ศัพท์ปารมี ๑๒ ผูก ศัพท์ปาติโมกข์ ๙ ผูก ปาฬีจูฬวัคคมัด ต้น ๑๑ ผูก ปาฬียมกมัดต้น ๑๓ ผูก ปาฬีธาตุกถา ๕ ผูก โสทันตชาดก ๑ ผูก มุทุตาเทวตา ๑ ผูก ทุสกุมารวิไชย สูตร ๑ ผูก อานิสงสบอกไฟ ๑ ผูก ปาฬีอัตถมหาวัคคสังยุตตนิกาย ๘ ผูก พระเวสฉบับป่าเหียงแรงพี ๑๖ ผูก พระ เวสฉบับปลาไผ่แจ้ ๑๖ ผูก พระเวสฉบับแท่นแก้ว ๑๖ ผูก พระเวสฉบับแผ่นดินไหว ๑๖ ผูก พระเวสฉบับมังทา ๑๖ ผูก พระเวสฉบับเชียงทอง๑๖ ผูก พระเวสฉบับมุกมุ่นทรายมูล ๑๖ ผูก พระเวสฉบับน่านเก่า ๑๖ ผูก มิลินทปัญหา ๑๖ ผูก สมุทโฆส ๘ ผูก โว หารอภิธัมม ๙ ผูก เวทมูลคันถี ๔ ผูก สุวัณณเห็นคำ ๗ ผูก ปัญจวุฒ ๑ ผูก บารมีพ่อค้าแก้ว ๑ ผูก ภภกุมาร ๒ ผูก สังขยาโลก ๔ ผูก เทวดาถามปัญหา ๑ ผูก ศัพท์ปาจิตตีย์ ๑๐ ผูก ศัพท์จูฬวัคค ๑๗ ผูก ศัพท์ปริวาร ๙ ผูก จูฬวิภังค์ ๙ ผูก มหานิพพานหลวง ๑๐ ผูก ติโลกทีป ๕ ผูก โสทกิณี ๑ ผูก ปิฎก ๔ ผูก พุทธาภิเศก ๕ ผูก ท่านสร้างตั้งแต่ศักราช ๑๒๓๗ ปีดับไก๊นั้นมา เถิงปีกัดเม้า ได้ ๕ ปีจุลศักราช ๑๒๔๑ ตัวนี้รวมเปนกับมี ๓๔ กับ รวมเปนผูกมี ๔๓๕ ผูก รวมเงินค่าท่านได้จ้างพระสงฆเจ้าเขียนธรรมใน ครั้งนี้เสี้ยง ๖๔๕ สลึง คิดเปนเงินแถบมี ๑๘๒ แถบ ๓ สลึงแล

ในจุลศักราช ๑๒๔๑ ตัวปีกัดเม้านั้นสิ่งเดียวเดือนยี่นั้น ท่านก็ได้มีอาชญาปกเตีนแก่หน่อมหาขัติยวงษ์แลเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย สร้างแปงยังมหามณฑปหลังใหญ่ในท้องข่วงสนามหลวง แปงเปนจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตวัตถาผ้าขาว แลห้างยังสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้วเถิงณวันเดือนยี่ขึ้น ๘ ค่ำนั้น ท่านก็กระทำพุทธาภิเศกเบิกบายฉลองฟังธรรมกระทำบุญหื้อทานตั้งแต่วันนั้นไปตราบเถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จิงเปนเลิกบริบวรณ์หั้นแล ท่านฉลองทานธรรมในครั้งนี้แผ่นดินไหวในวันเดือนยี่ขึ้น ๘ ค่ำนั้นแล ไหวลุกหนเหนือมาก่อนแล ท่านหื้อทานในครั้งนี้ก็เปนมหาพอยอันหนึ่งแล เปนครั้งถ้วน ๕ แล ฯเถิงจุลศักราชได้ ๑๒๔๒ ตัวปีกดสีนั้น ท่านก็ได้เบิกของราชสมบัติออกจ้างสร้างเขียนธรรมต่อไปแถม มีดังจะแจ้งต่อ ไปนี้ คือ ปิฎกจริยา ๑๐ ผูก พระเวสฉบับเมืองหาร ๑๖ ผูก สังขาวัฒน ๕ ผูก อภิธัมมโจท ๖ ผูก พระเวสฉบับ เชียงแสน ๑๖ ผูก พุทธบารมี ๕ ผูก กามธัมม ๑ ผูก ปาฬีวิภังคอังคุตตรนิกาย ๑๓ ผูก ปาฬีธาตุกถาปกรณ ๔ ผูก ปาฬีวิภังคปกรณ ๑๗ ผูก ปาฬีปุคคลบัญญัติ ๖ ผูก โลก สถาสทิโวหาร ตำนานพระธัมม ๒ ผูก ชวนหังสชาดก ๑ ผูก กปิน ๑ ผูก ช้างสะทัน ๑ ผูก สวถกุมาร ๔ ผูก ศัพท์ตัทธิต ๓ กับ ศัพท์สูตร ๓ กับ ศัพท์การก ๓ กับ รวม ๓ กับ นั้นมี ๑๗ ผูก สำรวมธาตุ ๔ ผูก สุวัณณเห็นคำ ๑ ผูก สาลากวิริชาสูตร ๑ ผูก พระเวสหิงแก้ววิงวอน ๑๖ ผูก มงคล ทีปนีกับ ๑ วินัยทั้ง ๕ กับ ๑ เจ็ดคัมภีร์กับ ๑ สีลกถารวมกับ ๑ ปัญหาพระยาปัสเสนทิ ๑ ผูก ขันธ์ทั้ง ๕ มี ๑ ผูก ปาฬีอัตถมหาวัคคสังยุตตนิกาย ๑ ผูก พุทธาภิเศกฉบับ ๑ มี ๕ ผูก ปิฎกทั้ง ๖ มี ๖ ผูก มหาวิปาก ๔ ผูก มูลมูลี ๒ ผูก สมุทโฆส ๘ ผูก อานิสงสเข้า ๒๐ เม็ด ๑ ผูก ยอุนญาตัพพสูตร ๑ ผูก สรทมานพ ๑ ผูก ปาฬีสังคิณีปกรณ ๑๐ ผูก ปาฬีกถาวัตถุปกรณ ๗ ผูก ปาฬีศัพท์ทั้ง ๘ มี ๘ ผูก รัฏฐบารมี ๒ ผูก ปาฬียมก ๘ ผูก ปิฎกทั้ง ๓ มี ๓ ผูก อานิ สงสปิฎก ๑ ผูก ปุคคลปัญญัติ ๖ ผูก พุทธบารมี ๔ ผูก แปดหมื่นสี่พันขันธ์ ๑ ผูก กถาวัตถุ ๖ ผูก ศัพท์กรสัทท ๒ ผูก บารมี ๑ ผูก อุปาสันทิ ๑ ผูก สังยุตต ๖ ผูก จูฬวัคค ๕ ผูก ปณิธาน ๑ ผูก วินัยทั้ง ๕ มี ๕ ผูก มหาวิปาก ๑ ผูก อังคุตตรนิกาย๕ ผูก ทีฆนิกาย ๗ ผูก สังยุตตนิกาย ๑๑ ผูก สุวัณณหงสคำ ๖ ผูก ปาฬีสัททาทั้ง ๘ มี ๘ ผูก สุวัณณขางคำ ๓ ผูก สร ทมานพ ๑ ผูก นอุนญาตสัพพสูตร ๑ ผูก สเพาโทน ๑ ผูก อถาปาล ๒ ผูก จูฬวิปาก ๑ ผูก สัพพสอน ๑ ผูก สุวัณณเห็นคำ ๑ ผูก สูตรมนต์ทั้ง ๕ มี ๑ ผูก สทาวิมลา ๒ ผูก ธัมมสวน ๑ ผูก ทสปัญหา ๑ ผูก ปัญหาพระยาปัสเสนทิ ๑ ผูก อานิสงสเข้าซาวเม็ด ๑ ผูก มหามูลนิพพาน ๑ ผูก สีลกถา ๑ ผูก พระเวสฉบับมังทรา ๑๖ ผูก พระเวสฉบับมุกมุ่นทรายมูล ๑๖ ผูก พระเวสฉบับปล่าชาง ๑๖ผูกพุทธาภิเศก๒ผูกกถาวัตถุ๕ผูกเตมีย๔ผูกชนก๕ผูกเนมิราช๔ผูกมโหสถ๑๓ผูกสุวัณณสาม๔ผูกจันทกุมาร๔ ผูก มหาปัฏฐาน ๑๗ ผูก ศัพท์-อาขยาต ๔ ผูก วิภังค ๑๐ ผูก พุทธนิพพาน ๑๒ ผูก จันทสูตร ๓ ผูก สังสารวัฏสูตร ๑๑ ผูก พระ เวสฉบับกำแพงพันชั้น ๑๖ ผูก ยอดไตรปิฎก ๑ ผูก อสิวิสสูตรวิชานสูตร ๒ ผูก กัมมวาจา ๔ ผูก มหาวิปาก ๔ ผูก จูฬวัคค ๑๔ ผูก อานิสงสบอกไฟ ๑ ผูก อานิสงสพระเจ้า ๑ ผูก อานิสงสกลองไชย ๑ ผูก อานิสงสห้าพันถ้วน ๑ ผูก เสรฐีทั้ง ๕ มี ๕ ผูก นาม ศัพท์จูฬวัคค ๑๔ ผูก โคนันท ๑ ผูก สมุทโฆส ๑๒ ผูก สลากวิริชา ๑ ผูก บารมีพ่อค้าแก้ว ๑ ผูก มาไลยโปรดโลก ๑ ผูก สรุป วินัยคัมภีร์อัตถปทณี ๙ ผูก มโนรถ ๑๓ ผูก อานิสงสสัพทาน ๕ ผูก โสทัสนี ๕ ผูก ศัพท์บารมี ๑๒ ผูก ศัพท์ปาติโมกข ๙ ผูก ท่านสร้างจุลศักราชได้ ๑๒๔๒ ตัวปีกดสี มาเถิงจุลศักราช ๑๒๔๕ ตัวปีกาเม็ดนี้ นับเปนกับมี ๖๑ กับ เปนผูกมี ๒๗๑ ผูก รวมเงิน ค่าจ้างพระสงฆเจ้าสร้างเขียนเสี้ยง ๕๖ แถบปลายบี้แล ครั้นบริบวรณ์แล้วในจุลศักราช ๑๒๔๕ ตัวปีนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ซ้ำได้สร้างยังหอพระธรรมเจ้าหลัง ๑ แปงเปนมณฑปมุงด้วยแผ่นหินประดับแล้วด้วยแก้วแลหางรักติดคำ ฝากระดานภายในแต้มรูปพระบทเจ้านั่งแท่นประจิตรรจนาดีงาม ก่อกำแพงแวดแล้วก่อสารูปกุมภัณฑ์ ๒ ตัว ไหดอก ๑ ไห รูปสิงโต ๒ ตัวตั้ง เหนือกำแพงทางวันออกไว้ที่แจ่งคุ้มแก้ว ฝากวันออกแจ่งใต้หั้นแล ครั้นบริบวรณ์แล้ว ในศักราชนั้นสิ่งเดียวเดือนยี่ ท่านก็ได้มี อาชญาปกเตีนแผ่พระกุศลเถิงแก่ขัติยวงษาแลเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายสร้างแปงยังสรรพเยื่องเครื่องครัวทานทั้งหลาย แลสร้างแปงยังมหามณฑปหลังใหญ่ที่ท้องข่วงสนามหลวง มุงด้วยเสตวัตถาผ้าขาวเทศ แปงเปนจตุรมุข ๔ ด้านหั้นแล ครั้น เถิงเดือนยี่ขึ้น ๗ ค่ำ ท่านก็พาเอาเจ้านายท้าวพระยาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายแห่นำเอาพระสธรรมเจ้าลงสู่หอมณฑป หลวงที่ข่วงสนามหลวงแล้ว ก็ส่งเสพด้วยดุริยดนตรีเล่นม่วนเปนมโหสพหั้นแล ครั้นเถิงวันเดือนยี่ขึ้น ๘ ค่ำนั้น ก็ตั้งฉลองเบิก บายกระทำพุทธาภิเศกฟังธรรมไปตราบเถิงวันเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จิงเปนที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล ครั้นบริบวรณ์แล้วท่านก็นิมนต์ เอาพระสธรรมเจ้าขึ้นสู่หอมณฑปหลวงใหม่หั้นแล ท่านฉลองทานธรรมแลฉลองหอพระสธรรมเจ้าในครั้งนี้ เปนครั้งถ้วน ๖ แล

อยู่มาเถิงเดือน ๙ ขึ้น ค่ำ ๑ เม็งวันอาทิตย์ ไทยดับไก๊ จุลศักราช ๑๒๔๖ ตัวปีกาบสัน ท่านก็ได้หื้อช้างพลาย ๑ ขี้เผิ้งหนักหมื่น ๑ หัวเหล็กบ่อเมืองสาเก้าพัน ทานแก่พระมหาครูบาเจ้าไชยลังกาวัดหลวงไชยสถาน กลางเวียงพยาววันนั้นแลในจุลศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ได้เบิกเอาของราชสมบัติออกจ้างเขียนธรรมต่อไปแถมดังแจ้งต่อไปนี้ คือ ปิฏกทั้ง ๓ มี ๔ ผูก อานิสงสวิสุทธิมัคค ๑๐ ผูก นิกายทั้ง ๕ ผูกต้นผูก ๔ ผูก ๕ รวม ๓ ผูก สุวัณณชมพู ๑๒ ผูก พุทธาภิเศก ๔ ผูก เมตเตย ยสูตร ๔ ผูก มหาสมัยสูตร ๑ ผูก พระเวสฉบับหิงแก้ว ๑๖ ผูก พระเวสฉบับท่าแป้น ๑๖ ผูก พระเวสฉบับวิงวอน ๑๖ ผูก พระเวส ฉบับข่าปาน ๑๖ ผูก พระเวสฉบับจริยา ๑๖ ผูก พระเวสฉบับป่ากี่ ๑๖ ผูก พระเวสฉบับป่าซาง ๑๖ ผูก พระเวสมังทรา ๑๖ ผูก พระเวสฉบับเถ้านั่งรุ่ง ๑๖ ผูก พระเวสฉบับแท่นแก้ว พระเวสฉบับมุกมุ่นทรายมูล ๑๖ ผูก สุวัณณชมพู ๑๒ ผูก แตงเขียว ๔ ผูก คัมภีร์ ๗ ผูก สุวัณณชิวหา ๔ ผูก นารท ๓ ผูก เสรฐีทั้ง ๕ มี ๕ ผูก ท่านสร้างตั้งแต่จุลศักราชได้ ๑๒๔๖ ตัว ตราบเถิงจุลศักราช ๑๒๔๘ ตัวปีนี้ นับเปนกับ ๒๔ กับ นับเปนผูก มี ๒๐๒ ผูกแล

ในศักราชนั้นสิ่งเดียว ท่านก็ได้สร้างซ่อมยังอุโบสถวัดช่างคำหั้นก็เปนที่สำเร็จบริบวรณ์แล้วในปีนั้นสิ่งเดียว อยู่มาเถิงเดือนยี่นั้นท่านก็ได้มีอาชญาปกเตีนแก่หน่อขัติยวงษาแลเสนาอามาตย์ แลรัฐประชาทั้งหลายหื้อแปงยังมหามณฑปหลังใหญ่ที่ท้องข่วงสนามหลวง แลสรรพเยื่องเครื่องทานทั้งหลายคือเหมือนแต่ก่อนนั้นแล้ว เถิงเดือนยี่ขึ้น ๗ ค่ำ ก็ได้นิมนต์เอาพระสธรรมเจ้าลงสู่หอมณฑปหลวงที่ข่วงสนามหลวง ท่านก็ได้กระทำอบรมสง เสพด้วยดุริยดนตรี เล่นม่วนเปนมโหรสพหั้นแล เถิงวัน ๘ ค่ำ ท่านก็กระทำตั้งฉลองฟังธรรมไปตราบเถิงวัน ๑๔ ค่ำ ในวัน ๑๕ ค่ำเพ็งนั้น ก็กระทำพุทธาภิเศกฉลองยังพระอุโบสถวัดช่างคำ แลฟังพุทธาภิเศก ๖ ผูก เถิงวันเดือนยี่ลงค่ำ ๑ ก็เปนที่เสร็จแล้วบริบวรณ์หั้นแล ท่านฉลองทานธรรมแลฉลองอุโบสถในครั้งนี้ ก็เปนมหาสมัยการมหาพอยอันใหญ่หนึ่งแล ท่านทานครั้งนี้เปนถ้วน ๗ แล ท่านสร้างธรรมในครั้งนี้รวมเปนกับมี ๓๘ กับนับเปนผูกมี ๒๙๒ ผูกแล ฯ

เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ยามเมื่อท่านได้เปนเจ้ารับสัญญาบัตรแต่แรกหัวทีวันนั้น ท่านได้เปนเจ้าพระพิไชยราชาก่อน แล้วก็ได้เปนพระยารัตนหัวเมืองแก้วเปนถ้วน ๒ บ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้าพระยาบุรีรัตนแล้วบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้าพระยามงคลวรยศเจ้าพระยาหลวงน่าน แล้วอยู่มาบ่นานเท่าใด ถึงจุลศักราช ๑๒๑๘ ท่านก็ได้เปนเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่านที่นี้เปนครั้งที่ ๕ แลยาม เมื่อท่านได้เสวยราชสมบัติเป็นเจ้าพระยาน่านนั้นอายุท่านได้ ๔๒ ปีแล เมื่อท่านได้เปนเจ้าอนันต์ฯ นั้นอายุท่านได้ ๕๐ ปีแล ท่านได้เสวยราชสมบัติแล้วดังพุทธุปบาทสาสนาแลบ้านเมืองก็รุ่งเรืองเจริญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนนั้นแล

ภรรยาแห่งท่านนางที่ ๑ ชื่อว่าแม่เจ้าสุนันทา เกิดลูกได้ราชบุตร ๔ คน บุตรหญิง ๒ บุตรชายที่ ๑ ชื่อเจ้าหนานมหาพรหม ตนนี้ได้เปนเจ้าพระยามหาอุปราชาหอน่า แลบ่นานเท่าใดท่านก็ถึงแก่ อสัญกรรมไปแล บุตรชายที่ ๒ ชื่อเจ้าสุยะ ตนนี้ได้เปน เจ้าพระยาราชวงษา แล้วบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่าแทนพี่แห่งตนแล้วอยู่มาบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้าเสวยเมืองแทนพ่อแห่งตน แลบุตรชายที่ ๓ ชื่อเจ้าสาร ตนนี้ได้เปนเจ้าสุริยวงษา แล้วบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้าราชวงษ์ แต่นั้นมาบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่าแล้วก็ถึงแก่อสัญกรรมล่วงไปแล บุตรที่ ๔ ชื่อเจ้าบุญรังษีตนนี้ได้เปนเจ้าราชบุตรแล้วก็ถึงแก่อสัญกรรมล่วงไปแล บุตรหญิงที่ ๑ ชื่อเจ้าหมอกแก้ว บุตรหญิงที่ ๒ ชื่อเจ้าคำทิพ

ภรรยาถ้วน ๒ ชื่อแม่เจ้าขอดแก้ว มีราชบุตรชายชื่อเจ้าน้อยมหาพรม ตนนี้ได้เปนเจ้าราชบุตร แล้วก็ได้เปนเจ้าราชวงษ์ แล้วบ่นานเท่าใดก็ได้เปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่าแล บุตรหญิงที่ ๑ ชื่อเจ้ายอดมโนลาแล

ภรรยาที่ ๓ ชื่อเจ้าคำปิว ผู้บ่มีบุตรแล

ภรรยาที่ ๔ ชื่อเจ้าบัวเขียว เปนเชื้อเมืองแพร่ มีบุตรหญิง ๑ ชื่อนางปิวแล

ภรรยาที่ ๕ ชื่อเจ้าแว่น มีบุตรชาย ๑ หญิง ๒ หญิงที่ ๑ ชื่อเจ้าแก้วไหลมา หญิงที่ ๒ ชื่อเจ้าบุษบา บุตรชายที่ ๑ ชื่อเจ้าน้อยบุญสวรรค์แล

ภรรยาที่ ๖ ชื่อแม่เจ้าอัมรา ผู้นี้เปนหลานท่านแล้วเอาเปนเมียแล มีบุตรชาย ๑ ชื่อเจ้าน้อยฟ้าร่วนเมืองอิน บุตรหญิงที่ ๑ ชื่อเจ้าขันคำแล

ภรรยาที่ ๗ ชื่อเจ้าปาริกา เปนเชื้อเชียงของ มีราชบุตรชาย ๗ คน หญิง ๑ บุตรชายที่ ๑ ชื่อเจ้าน้อยบรม ตนนี้ได้เปนเจ้าบุรีรัตน

๒๕
บ่นานเท่าใดก็ถึงแก่อสัญกรรมไปสู่โลกภายน่าหั้นแล บุตรชายที่ ๒ ชื่อเจ้าน้อยบัวเลียว บุตรชายที่ ๓ ชื่อเจ้าหยั่งคำเขียว ตนนี้ได้เปนพระแล้วก็ตาย สักน้ำหมึกไปสู่โลกภายน่าหั้นแล บุตรชายที่ ๔ ชื่อเจ้าน้อยบัวลองป่องฟ้าบุนทนาวงษ์ บุตรชายที่ ๕ ชื่อว่าเจ้าน้อยหมอกมุงเมือง บุตรชายที่ ๖ ชื่อว่าเจ้าหนานรัตนเรืองรังษี บุตรชายที่ ๗ ชื่อว่าเจ้าน้อยสุทธนะ บุตรหญิงที่ ๑ ชื่อว่าเจ้าคำเขียว

ภรรยาที่ ๘ ชื่อว่าเจ้าสุคันธา บุตรชายที่ ๑ ชื่อเจ้าน้อยอนุรศรังษีแล บุตรหญิง ๓ ที่ ๑ ชื่อว่าเจ้าเกียงคำ หญิงที่ ๒ ชื่อว่า เจ้าหมือย หญิงที่ ๓ ชื่อว่าสาวดีแล

ภรรยาที่ ๙ แม่เจ้าแว่น เปนชาติลื้อเมืองกุสาวดี ผู้นี้บ่มีลูกแล

ภรรยาที่ ๑๐ ชื่อว่านางแก้ว เปนชาติเสนา เปนหลานพระยาหลวงมนตรี มีบุตรชาย ๑ ชื่อเจ้าหนานมหาวงษ์ บุตรหญิงชื่อนางปอก

ภรรยาที่ ๑๑ ชื่อว่านางคำแปงบ้านนาปลัง เปนชาติไพร่ มีบุตรชาย ๑ หญิง ๑ บุตรชายชื่อเจ้าน้อยนนต์ บุตรหญิงชื่อว่านางบัวแฝง ลูกนางใช้ตนหนึ่ง ชื่อเจ้าหนานมหาวงษ์ รวมราชบุตรหน่อผู้ชายทั้งมวลมี ๑๗ ตน ๑๘ ทั้งลูกนางใช้นั้นแล รวมบุตรผู้หญิงทั้งมวลมี ๑๒ แล

เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ท่านได้เสวยราชสมบัตินานได้ ๓๙ อายุได้ ๘๖ ปี ท่านก็ถึงพิราไลยไปสู่โลกภายน่าในปีล้วงเม้า จุลศักราช ๑๒๕๓ ตัว เดือน ๘ ลง ๗ ค่ำ เม็งวันศุกรไทยดับเม้าวันนั้นแลเมื่อนั้นเจ้ามหาอุปราชาท่านก็ได้แต่งหื้อเจ้านายผู้ใหญ่ผู้น้อยลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานครด้วยเจ้าอนันต์ฯ ถึงแก่พิราไลยไปสู่โลกภายน่านั้นแล ฯ

ถึงจุลศักราชได้ ๑๒๔๕ ตัว ปีเต่าสีนั้น อาญาตนเปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่าเปนเค้า แลพระยาสุนทรนุรักษ์ข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง แลเจ้าราชวงษ์เสนาอามาตย์ก็ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองหื้อตัดฟันไม้มาสร้างแปงพระเมรุนั้นแล

ในจุลศักราชนั้นสิ่งเดียว อาญาเจ้ามหาอุปราชาเปนเค้า แลเจ้าราชวงษ์ แลพระยาสุนทรข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง แลหน่อมหาขัติยราชวงษา แลเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันแล้ว ก็ชุมนุมมายังช่างไม้ทั้งหลาย หื้อสร้างแปงยังมหาปราสาทพระเมรุหลวงหลังใหญ่ที่ข่วงดอนไชยลุ่มวัดหัวเวียงหั้นแล ท่านก็ได้แต่งให้พระยาหลวงจ่าแสนราชาใช้เปนพนักงานจัดการควบคุมยังช่างไม้ทั้งหลาย สร้างแปงยังมหาปราสาทพระเมรุหลวงหลังใหญ่ แปงเปนจตุรมุขออก ๔ ด้านหลังมุงยอดภายในบนประดับแล้วไปด้วยน้ำสีต่างๆ ใส่ข้างยอดช่องฟ้าแลปวงปี บนยอดใส่เสวตรฉัตรงามดีสอาด แล้วก็แต่งแปงศาลาบาด ล้อมแง่ ๑๔ ด้านจอดติดกันมุงด้วยคา หุ้มด้วยวัตถาผ้าขาวเทศอันบริสุทธิ แปงจตุรมุข ๔ ด้านมีประตูทั้ง ๔ หับไขแล้วก็แต่งโคมไฟยายแวดหั้นแล

ถึงจุลศักราช ๑๒๕๕ ตัว เดือน ๘ ขึ้น ๖ ค่ำ ก็เชิญเอาบรมศพเจ้าอนันตฯ ลงจากหอคำราชโรงหลวง ก็กระทำสงเสพด้วยดุริยดนตรีนันทเภรีพันสอาด แต่งรูปเทวบุตร ๓๒ ตนไปก่อนน่าแทนแห่เอาศพพระเจ้าฟ้าไปสู่ปราสาทพระเมรุหลวงวันนั้นแล แล้วก็ตั้งเขาอันม่วนมโทศพอันใหญ่ ฝูงประชาไพร่สนุกใจ กระทำบุญหื้อทานไปบ่หื้อขาดหยาดน้ำอุทิศส่วนบุญ คือว่ามหาบังสกุลเปนต้นหั้นแล

ถึงวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก็ได้พร้อมกันเชิญเอาบรมศพท่านไปถวายพระเพลิงวันนั้นแล

ถึงวันเดือน ๘ ลง ๑ ค่ำนั้น หมายอาญาตนเปนเจ้ามหาอุปราชาสุวรรณฝ่ายน่าหอคำเปนเค้าแลตนเปนเจ้าราชวงษาเปนประธาน แลหน่อขัติยวงษาเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันอังคาตราธนาเอายังมหาอัฐิเจ้า เสด็จลงจากพระเมรุแล้วก็สงเสพด้วยดุริยดนตรีแห่นำเข้ามาเสี้ยงหื้อสถิตย์อยู่ในวิหารหลวงช่างคำหั้นก่อนแล้ว ก็กระทำบังสกุลพระอัฐิเจ้าทำบุญหื้อทานอยู่ในที่นั้น

ครั้นถึงเดือน ๘ ลง ๓ ค่ำ ก็พร้อมราธนาเอาพระมหาอัฐิเจ้าขึ้นสถิตย์อยู่กู่ในข่วงพระธาตุเจ้าช่างคำที่ฝากก้ำวันตกแจ่งเหนือหั้นแล

ในจุลศักราชนั้นสิ่งเดียว เดือน ๓ ลง ๙ ค่ำนั้น เจ้ามหาอุปราชาหอน่า ท่านก็ได้เสด็จลงไปทูลเกล้ามหากระษัตริย์ในกรุงเทพฯ ถวายเครื่องราชบรรณาการหั้นแล

เมื่อนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้ามหาอุปราชาหอน่า ตนเปนโอรสบุตรเจ้าอนันต์ฯ นั้นหื้อเปน เจ้านครเมืองน่าน ปรากฎทั้งพระนามว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่านหั้นแล แล้วก็ปงพระราชทานเครื่องยศแล คือ พานหมากคำ เครื่องในคำทั้งมวล กระโถนคำ คนโทคำ พระมหามาลาหมวกจิกคำ เสื้อผ้าเครื่องครัวทั้งมวลหั้นแล

ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจทั้งมวลแล้วท่านก็ กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้าขึ้นมาหั้นแล ฯ

ถึงเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำนั้น ศักราช ๑๒๕๖ ตัว ปีกาบซะง้า ท่านก็เสด็จมาถึงเมืองหั้นแล

อยู่มาจนถึงเดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ หน่อขัติยวงษาเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันมุทธาภิเศกสระสรงท่านแล้วก็พร้อมกันเชิญท่านขึ้นสถิตย์อยู่หอคำแทนเจ้าอนันตฯ ตนเปนราชาบิดาแห่งท่านนั้นแล

เช่นเจ้าอนันตฯ ถึงพิราไลยไปสู่โลกภายน่านั้น เรียกว่าได้ ๑๒ เช่นชั่วราชวงษ์ก่อนแล ผิจักนับแต่เช่นเจ้าขุนฟองก็ได้ ๖๐ เช่นกินเมืองแล้วแล

เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ท่านได้เสวยราชสมบัติแล้วก็มีตำแหน่ง ๖ ประการ คือตำแหน่งมหาดไทย ๑ ตำแหน่งยุติธรรม ๑ ตำแหน่งทหาร ๑ ตำแหน่งวัง ๑ ตำแหน่งคลัง ๑ ตำแหน่งนา ๑ หกประการนี้แลเปนเมืองประเทศราชอิก กว่าแต่ก่อนหั้นแล

เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครน่าน แต่ยามเมื่อท่านได้เปนเจ้าราชวงษ์อยู่นั้น ดังศักราชเดือนวันจำไม่ได้ ยังมีณวันหนึ่งท่านก็ได้ทั้งนิมิตรฝันว่าท่านได้หันยังพระสุริยอาทิตย์ปรากฎออกจากกลีบฟ้า เมฆภายบนหนทิศก้ำวันออก แล้วมีรัศมีใสส่องแจ้งทั่วโลกจักรวาฬว่าอันหั้นแล ครั้นอยู่มาบ่นานเท่าใดพระองค์สมเด็จพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ตนเปนราชบิดาท่านนั้นจึงจักมีพระมหากรุณาโปรดสั่งเหนือเกล้าแห่งท่านว่า แต่นี้ภายน่าหื้อเจ้าราชวงษ์ได้เปนเจ้าพนักงานซ่อมสร้างยังพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง หื้อเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนนั้นเทือะ มีโปรดประการนี้แล้ว เมื่อนั้นเจ้าราชวงษาตนชื่อเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ นี้ ท่านก็ได้รับเอาคำพระมหากรุณาพระองค์สมเด็จเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ด้วยทุกประการ.ฯ