ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 18/อธิบายประกอบ

จาก วิกิซอร์ซ

คำนำ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ[แก้ไข]

ใน คำนำ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

รายงานการค้าขายในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์[แก้ไข]

รายงานการค้าขายในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ นี้ ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เป็นบทที่ชื่อ "Report on the trade of Siam written in 1678" อยู่ในหนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน (John Anderson) พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1890[1] ผู้ใดแปลเป็นภาษาไทยไม่ปรากฏ

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • กบิลพัสดุ์ — เอกสารนี้ว่า เป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองเมกกะ, ดู เมกกะ
  • กฤษณา — ต้นฉบับว่า "Sandall"[2] ซึ่งหมายถึง ไม้จันทน์
  • กวาง — ต้นฉบับว่า "Anteloopes"[3] ซึ่งหมายถึง แอนทิโลป (สัตว์มีเขาในวงศ์โคกระบือ)
  • กึงตั๋ง, เมือง — ต้นฉบับว่า "Canton"[4] ซึ่งสามารถหมายถึง (1) มณฑลกว่างตง ประเทศจีน หรือ (2) เมืองกว่างโจว ในมณฑลกว่างตง ประเทศจีน ("กว่างตง" เป็นสำเนียงจีนกลาง, "กึงตั๋ง" ตามเอกสารนี้ เป็นสำเนียงจีนฮกเกี้ยน)
  • เกลือสินเธาว์ — ต้นฉบับว่า "Salt Peter"[5] ซึ่งหมายถึง ดินประสิว
  • แกนดี — ต้นฉบับว่า "Candy"[6] ซึ่งอาจหมายถึง กัณฑี หน่วยชั่งตวงวัด
  • โกแปง (ไม่รู้ว่าอะไร) ทองคำ — หมายความว่า ในถ้อยคำ "โกแปงทองคำ" นั้น ผู้แปลไม่ทราบว่า "โกแปง" คืออะไร, ทั้งนี้ ต้นฉบับว่า "Gold Copangs"[7] และ แพทริก เคลลี (Patrick Kelly) อธิบายว่า "The Gold Coins of Japan are Itchebos, Copangs or Cobans, and Obans; these are flat pieces of gold of an oblong shape, rounded at both ends, bearing various flowers and letters in relief."[8] ("เหรียญทองของญี่ปุ่น มี Itchebo, Copang หรือ Coban, และ Oban พวกนี้เป็นแผ่นทองแบนทรงรียาว หัวท้ายมน มีรูปดอกไม้และอักษรต่าง ๆ พิมพ์นูนอยู่"), เพราะฉะนั้น "Copang" จึงน่าจะหมายถึง เหรียญประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น
  • เข้า — คือ "ข้าว" (เขียนแบบเก่า)
  • คอร์แมนเดล — ต้นฉบับว่า "Cormandell"[3] ซึ่งอาจหมายถึง (1) ชายฝั่งคอโรแมนเดล (Coromandel Coast) ในอนุทวีปอินเดีย หรือ (2) เขตคอโรแมนเดล (Coromendel Area) ในประเทศอินเดีย
  • เครื่องเหล็กเปนกะทะแลอื่น ๆ — ต้นฉบับว่า "Iron Panns called Jauches"[3] ("กระทะเหล็กที่เรียก Jauches")
  • เชรูน — อักษรโรมันว่า "Cheroon"[4]
  • ซีอาเรเบีย — ต้นฉบับว่า "C Arabia"[5] ซึ่งอาจหมายถึง (1) ประเทศซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia), (2) อาระเบียตอนกลาง (Central Arabia) คือ ตอนกลางของคาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula), หรือ (3) คาราเบีย (Carabia) เมืองโบราณในแมซีโดเนีย (Macedonia)
  • ญวน, เมือง — ได้แก่ ประเทศเวียดนาม, ส่วนต้นฉบับใช้ว่า "Cochin China"[4]
  • ตั้งเกีย, เมือง — ได้แก่ ภูมิภาคที่เวียดนามเรียกว่า "ดงกิญ" (Đông Kinh) แปลว่า "กรุงบูรพา", ส่วนต้นฉบับว่า "Tunqueene"[4]
  • ตาดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่า เป็น "ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ",[9] ส่วนต้นฉบับใช้ว่า "Tartar"[4] ซึ่งหมายถึง คนที่อยู่ในภูมิภาคทาร์ทารี (Tartary) เป็นต้นว่า เติร์ก, มองโกล, แมนจู ฯลฯ
  • ตีมอร์, เมือง — ต้นฉบับว่า "Tymoor"[2]
  • เตอกี, เมือง — ต้นฉบับว่า "Turkey",[5] อาจได้แก่ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน
  • นนทบุรี, เมือง — ต้นฉบับว่า "City Indicah"[5]
  • น้ำตาล — ต้นฉบับว่า "Jaggarah"[4] ซึ่ง ธีระวัฒน์ แสนคำ[10] ว่า หมายถึง น้ำตาลโตนด
  • เนื้อไม้ — ต้นฉบับว่า "Agulah wood" หรือ "Agula wood"[5] ซึ่งหมายถึง ไม้กฤษณา
  • บริษัทอินเดียทิศตวันออก — ได้แก่ บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company)
  • บันตัม, เมือง — ได้แก่ Banten เมืองในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน
  • เบงคอล, เมือง — ต้นฉบับว่า "Bengall",[5] อาจได้แก่ ภูมิภาคเบงกอล (Bengal) ในปัจจุบัน
  • ปะโกดาส์, หน่วยเงิน — ต้นฉบับว่า "Pagodas"[6] ซึ่งอาจหมายถึง ปโกฏา หน่วยเงินอินเดีย
  • ผ้าต่าง ๆ (ใน หน้า 15) — ต้นฉบับว่า "Callicoes"[11] ซึ่งหมายถึง ผ้าดิบ
  • แฟรสเสล, หน่วยเงิน — ต้นฉบับว่า "ffrassell"[5]
  • มะเกา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Macaw",[4] ได้แก่ มาเก๊า ปัจจุบันเป็นเขตในประเทศจีน
  • เมกกะ, เมือง — ต้นฉบับว่า "Meccah",[5] อาจได้แก่ มักกะฮ์ เมืองในประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • เมดีนา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Medina",[5] อาจได้แก่ มะดีนะฮ์ เมืองในประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • เมตชเลปะตัน, เมือง — ต้นฉบับว่า "Metchlepatan"[2]
  • โมกา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Mocah"[5]
  • ยอชไวต์, พ่อค้า — ได้แก่ จอร์จ ไวต์ (George White)
  • โรเบอตปาเกอ — อักษรโรมันว่า "Robert Parker"
  • วิชเยนทร — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งได้บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • สุรัต, เมือง — ต้นฉบับว่า "Suratt",[3] อาจได้แก่ สุรัต (Surat) เมืองในประเทศอินเดีย
  • เหล็ก น้ำตาล ไม้ซุง (ใน หน้า 6) — คงตก "ข้าว" ไปอย่างหนึ่ง เพราะต้นฉบับว่า "Iron: Rice: Jaggarah: Tymber"[4]
  • ออกพระศรีมโนราช, ขุนนางอยุธยาชาวเปอร์เซีย — ต้นฉบับว่า "Vphra Synnoratt"[5]
  • ออกยาพิชิต, ขุนนางนครศรีธรรมราช — ต้นฉบับว่า "Ocha Pecheet"[6]
  • ออกยาศรีพิพัฒน์, ขุนนางอยุธยา — ต้นฉบับว่า "Vphrah Sivepott"[7]
  • อังกฤษเกี่ยวข้องกับกรุงสยามครั้งโบราณ, ชื่อหนังสือ — ได้แก่ หนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน ดังระบุข้างต้น
  • เอ้หมึง, เมือง — ต้นฉบับว่า "Amoy",[4] ได้แก่ เซี่ยเหมิน (จีนฮกเกี้ยนเรียก "เอ้หมึง") เมืองในประเทศจีน
  • ฮินดูสตาน, เมือง — ต้นฉบับว่า "Indostan",[5] อาจได้แก่ "ฮินดูสตัน" (Hindustan) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ชาวอิหร่านใช้เรียกประเทศอินเดียหรืออนุทวีปอินเดีย
  • ไฮโดรบัด, เมือง — ต้นฉบับว่า "Hydrobad",[5] อาจได้แก่ ไฮเดอราบาด (Hyderabad) เมืองในประเทศอินเดีย

เรื่องราวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์[แก้ไข]

เรื่องราวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ นี้ ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เป็นบทที่ชื่อ "Phaulkon chief minister of Siam" อยู่ในหนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน (John Anderson) พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1890[12] ผู้ใดแปลเป็นภาษาไทยไม่ปรากฏ

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • กิมป์เฟอ — ต้นฉบับว่า "Kæmfer"[13] ซึ่งอาจหมายถึง เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) แพทย์ชาวเยอรมัน
  • โกโรแมนเดล, แหลม — ต้นฉบับว่า "Coromandel Coast"[14] ซึ่งอาจหมายถึง ชายฝั่งคอโรแมนเดลในอนุทวีปอินเดีย
  • คอนสะแตนต์ฟอลกอน — ดู เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • คัสโตด, หมู่บ้าน — อักษรโรมันว่า "Custode"[15]
  • เจ้ากรมพระคลังสินค้าของพระมหากระษัตริย์ — ต้นฉบับว่า "chief merchant to the king"[16]
  • เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งได้บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • เชฟโลเนียร, เกาะ — อักษรโรมันว่า "Cephalonia",[15] ได้แก่ เกาะเซฟาโลเนียในประเทศกรีซ
  • นายครัว — ต้นฉบับว่า "steward's mate"[13]
  • นายโรงเข้าแกง — ต้นฉบับว่า "innkeeper"[15] ซึ่งหมายถึง เจ้าของโรงแรม
  • นายห้าง — ต้นฉบับว่า "factor"[14] ซึ่งหมายถึง ตัวแทน (agent) โดยทั่วไป หรือตัวแทนค้าต่าง (commission agent) ก็ได้
  • ปากน้ำ — ต้นฉบับว่า "mouth of the Menam"[14] ซึ่งหมายถึง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
  • เปอเซียน, อ่าว — ได้แก่ อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf)
  • พระเจ้าเยมส์ที่ 2 — ได้แก่ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (James II of England)
  • พระเจ้าหลุยที่ 14 — ได้แก่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV of France)
  • ฟอลกอน — ดู เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • ฟรานซิสเดเวนปอต — ต้นฉบับว่า "Francis Davenport"[13] ซึ่งอาจหมายถึง คริสโตเฟอร์ แดเวินพอร์ต (Christopher Davenport) นักบวชชาวอังกฤษ ฉายา แฟรนซิสแห่งเซนต์แคลร์ (Francis of Saint Clare)
  • เมรี, เรือ — อักษรโรมันว่า "Mary"[14]
  • ยอชไวต์, พ่อค้า — ได้แก่ จอร์จ ไวต์ (George White)
  • เยนัว, ชาติ — ได้แก่ เชื้อชาติ "Genoese"[15] คือ เชื้อชาติของเมืองเจโนวา (Genoa) ประเทศอิตาลี
  • เวนิศ, เมือง — ได้แก่ เวนิส (Venice) เมืองในประเทศอิตาลี
  • อังกฤษมาเกี่ยวข้องกับกรุงสยามครั้งโบราณ, ชื่อหนังสือ — ได้แก่ หนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน ดังระบุข้างต้น
  • อิงแคลนด์ — ได้แก่ ประเทศอังกฤษ (England)
  • โฮปเวล — อักษรโรมันว่า "Hopewell"[13]

เรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย, พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี)[แก้ไข]

เรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย นี้ พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี) ระบุว่า เรียบเรียงขึ้นจากเอกสารหลายฉบับ คือ "ข้างต้นได้แปลออกจากจดหมายเหตุของบาดหลวงตาชารด์ แต่ในตอนปลายนั้นได้แปลออกจากจดหมายเหตุภาษาอิตาลีอันได้ตีพิมพ์ ณ กรุงโรมในปีคริสต์ศักราช 1689 เป็นเนื้อความเพียง 8 หน้าเท่านั้น เป็นเรื่องหายากที่สุด ครั้งนี้ นับว่า เป็นการแปลเรื่องนี้เป็นครั้งแรก แต่ก่อนยังหามีผู้แปลหรือเรียบเรียงเรื่องราชทูตสำรับนี้ไม่"[17]

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • จิวิตา เวกเกีย, เมือง — ได้แก่ ชีวีตาเวกเกีย (Civitavecchia) เมืองในประเทศอิตาลี
  • จีโบ, มหาสังฆราช — อาจได้แก่ อัลเดราโน ชีโบ (Alderano Cybo) ดำรงตำแหน่งสมณรัฐมนตรี (Cardinal Secretary of State) แห่งสันตะสำนัก
  • เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ — ดู โฟกอง
  • ชิโบ — อาจเป็นบุคคลเดียวกับ จีโบ
  • ชีวิตเวกวียะ — ดู จิวิตา เวกเกีย
  • ชีวิตะเวกกิยะ — ดู จิวิตา เวกเกีย
  • ตาชาต, บาทหลวงและล่าม — ได้แก่ กี ตาชาร์ (Guy Tachard)
  • นน เกวริด แกว ซูอา ซูนต์ แปลว่า ไม่ได้ไถ่ถามว่าผู้ใด — จาภาษาละตินว่า "non quærit quæ sua sunt" แปลว่า "ไม่แสวงหาเพื่อตนเอง" (does not seek for oneself; seeks nothing for oneself; seeks not one's own) ส่วน พระคัมภีร์ภาษาไทย ฉบับคิงเจมส์ฯ ให้คำแปลว่า "ไม่แสวงหาประโยชน์ของตนเอง"[18]
  • บเรศต์, เมือง — ได้แก่ แบร็สต์ (Brest) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • บิชอบออฟเอลิออโปลิส — จากภาษาอังกฤษ "bishop of Heliopolis" ซึ่งหมายถึง "มุขนายกแห่งฮีลิออพอลิส" เป็นตำแหน่งสงฆ์
  • โปป — จากภาษาอังกฤษ "pope" หมายถึง พระสันตะปาปา, ในที่นี้ ได้แก่ พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 (Pope Innocent XI)
  • โปปอินนอเซนต์ที่ 11 — ดู โปป
  • พระราชวังณเมืองเวอร์ไซล์ — ได้แก่ พระราชวังแวร์ซาย (Palace of Versailles) ที่เมืองแวร์ซาย (Versailles) ในประเทศฝรั่งเศส
  • พระราชวังโปป — อาจได้แก่ พระราชวังพระสันตะปาปา (Apostolic Palace)
  • ฟอนเตนโปล, เมือง — ได้แก่ ฟงแตนโบล (Fontainebleau) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • โฟกอง — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • มหาสังฆราช — อาจได้แก่ ตำแหน่งอัครมุขนายก (archbishop)
  • มองสิเออลาลูแปร์, ราชทูตฝรั่งเศส — ได้แก่ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubère)
  • มองสิเออร์เสเบเร, ราชทูตฝรั่งเศส — ได้แก่ โกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay)
  • ไม่ได้ไถ่ถามว่าผู้ใด — ดู นน เกวริด แกว ซูอา ซูนต์
  • เยนูวา, เมือง — ได้แก่ เจโนวา (Genoa) เมืองในประเทศอิตาลี
  • รุเอ็น, เมือง — ได้แก่ รูอ็อง (Rouen) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • โรงเรียนพระเจ้าลูอิสมหาราช — ได้แก่ ลีเซ ลวี-เลอ-กร็อง (Lycée Louis-le-Grand; แปลตรงตัวว่า "โรงเรียนหลุยส์มหาราช")
  • สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งกาแลเนาวะรามหาราชาธิราช
  • สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยามหาขัติยราช — ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • สังฆราช — อาจได้แก่ ตำแหน่งมุขนายก (bishop)
  • แหลมเข็ม — ได้แก่ แหลมอะกัลลัส (Cape Agulhas; แปลตรงตัวว่า "แหลมเข็ม")
  • แหลมเคปออฟกุดโฮป — ได้แก่ แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope)
  • ออกยาวิชาเยนทร์ — ดู โฟกอง
  • อินนอเซนต์ที่ 11 — ดู โปป
  • เอลิออโปลิส — ดู เฮลิโยโปลิส์
  • เฮลิโยโปลิส์ — จากภาษาอังกฤษ "Heliopolis", ในที่นี้หมายถึง ตำแหน่งมุขนายกแห่งฮีลิออพอลิส (bishop of Heliopolis)

เชิงอรรถ[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

บรรณานุกรม[แก้ไข]