ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 19 (พิมพ์ครั้งที่ 1)/เรื่องที่ 3

จาก วิกิซอร์ซ
เรื่อง เซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์
ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลก่อน
ที่ตำบลหัววาน
เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๘๖๘ (ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑)

สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม (คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์นี้ คนทั้งหลายย่อมทราบกันดีว่า พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์ ทรงใฝ่พระราชหฤทัยอย่างยิ่งในเรื่องสูรยุปราคา อันได้ทรงคำนวณไว้ว่า จะปรากฎขึ้นในวันที่ ๑๘ สิงหาคม และโดยที่เส้นสูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุดณะตำบลหัววาน เปนหมู่บ้านอยู่ในพระราชอาณาเขตรสยามทางฝั่งทเลตวันออกของแหลมมลายูตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) ๑๑ องศา ๓๘ ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) ๙๙ องศา ๓๙ ลิปดาทิศตวันออก อยู่เกือบชิดเชิงเขาหลวงสูง ๔๒๓๖ ฟิต อันเปนที่บนพื้นโลกซึ่งอุปราคาจะปรากฎหมดดวงนานที่สุดด้วย พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยจะเสด็จพระราชดำเนิรไปยังที่นั้น และทรงเลือกสรรค์สถานที่ประทับในที่ใกล้แถบนั้นเพื่อทอดพระเนตรสิ่งอันจะได้ปรากฎขึ้นในโลกนี้ จึงเสด็จพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลลอองธุลีพระบาท มุขมาตยมนตรี โดยเสด็จเปนพระราชบริพาร เสด็จพระราชดำเนิรยังหัววานในต้นเดือนสิงหาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ประทับ (ค่ายหลวง) ที่ริมฝั่งทเลลงไปทางทิศใต้ ๒–๓ ไมล์ ตรงเส้นสูนย์แห่งวิถีดวงอาทิตย์ และทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งพวกตรวจการวิทยาศาสตร์อันได้จัดส่งมาจากกรุงปารีศมาเฝ้ายังที่นั้นเพื่อดูอุปราคาให้ใกล้ที่สุดและซึ่งอุปราคาจะจับอยู่นานที่สุดด้วย

สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามยังทรงพระกรุณาเอื้อเฟื้อแนะนำนายอัลบาสเตอร์ ผู้รั้งตำแหน่งกงสุลของพระนางเจ้ากรุงเครต บริเตนประจำกรุงสยาม ว่า บางที ท่านเซอร์แฮรีออด ผู้ว่าราชการสเตรต์สเสต็ลเมน์ต จะรู้สึกเต็มใจถือเอาโอกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ในรวางที่ไม่สู้ห่างไกลจากเมืองสิงคโปร์นัก มาเฝ้าที่ตำบลหัววาน จะได้ดูอุปราคาได้เหมาะที่สุด และกระทำความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการด้วย แลยังทรงพระกรุณามีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า มีพระราชประสงค์ใคร่ทรงพบปะเซอร์แฮรีออด แลจะทรงต้อนรับเพื่อให้ได้รับความศุขสมแก่เกียรติยศทุกอย่าง ก็ในขณะนั้น มีเรื่องที่เซอร์แฮรีออดจะต้องไปพบกับรายาเมืองปาหังและเมืองตรังกานูทางฝ่ายตวันออกแหลมมลายูอยู่ด้วย ครั้นทราบว่า ถ้ายืดระยะทางของตนยาวออกไปอิกหน่อย ก็สามารถดูอุปราคาได้ชัดเจน และได้เฝ้ากระทำความคุ้นเคยกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการกรุงสยาม เซอร์แฮรีออดจึงตอบไปยังกงสุลทันทีขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ท่านรู้สึกเปนเกียรติยศในการที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญนี้ยิ่งนัก จะขึ้นไปเฝ้าตามพระราชประสงค์

การที่เซอร์แฮรีออดจะไปหัววานครั้งนี้ มีเวลาที่จะจัดเตรียมตรวจการวิทยาศาสตร์ในสิ่งที่จะปรากฎขึ้นในโลกเนื่องด้วยอุปราคานี้น้อยนัก ได้อาศรัยความช่วยเหลือของนายพันตรี แมกแนร์ นายช่างประจำเมือง (โคโลเนียล อินชิเนียร์) จึงจัดหาได้เครื่องมือต่าง ๆ เท่าที่พอจะหาได้ โดยตั้งใจว่า จะไม่ให้เสียโอกาศที่จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เปนประโยชน์

ครั้นถึงวันที่ ๑๒ สิงหาคม เวลาค่ำ ท่านเจ้าเมืองลงเรือ "ไปโห" เปนเรือราชการประจำหัวเมืองประเทศราช ออกจากเมืองสิงคโปร์ พร้อมด้วยนายพันตรี แมกแนร์ กรมทหารปืนใหญ่หลวง นายร้อยเอก มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง นาย ห.ฟ. เปลา เลขานุการส่วนตัว และนายร้อยโท ช.ท. คัมมินส์ นายทหารคนสนิท คุณหญิงออร์ดได้ตามท่านเจ้าเมืองมาด้วย ตั้งแต่ออกจากเมืองสิงคโปร์มาแล้ว ไม่มีคลื่นลม นับว่า ได้เดิรทางมาสดวก ในคืนวันที่ ๑๕ สิงหาคม เรือกลไฟท่านเจ้าเมืองขึ้นไปถึงได้ทอดสมอใต้หัววานลงมาประมาณ ๔๕ ไมล์ เช้าวันรุ่งขึ้นจึงเลื่อนขึ้นไปที่ตำบลหัววาน พบเรือหลวง (ฝรั่งเศส) สารถิ์ และเรือเฟรลอง เรือหลวงสยามอิมเพรกนะบล (ยงยศอโยชฌิยา) เรือสยามสับปอรเตอร์ (สยามูปสดัมภ์) เรือเจ้าพญา (ลำนี้ไม่ใช่เรือหลวง เปนเรือค้าขายของพระยาพิณสณฑ์ เจ้าสัวยิ้ม) เรือพระที่นั่ง (อรรคราชวรเดช) เรือปืนขนาดเล็ก และเรืออื่น ๆ อิกหลายลำ เรือหลวง (อังกฤษ) สเตลไลต์ในบังคับบัญชาของนายนาวาเอก เอดีย์ และเรือกราสหอปเปอร์ในบังคับบัญชาของนายเรือเอก ฟิลปอต ก็ได้มาถึงในเช้ารุ่งขึ้น นายนาวาเอก เอดีย์ ซึ่งเดินทางจะไปเมืองฮ่องกง ได้รับคำชักชวนของท่านเจ้าเมือง จึงแปรทางมา ประสงค์ให้มีเรือรบอังกฤษมาอยู่ด้วยในโอกาศนั้น เพื่อชักธงแสดงความยินดียิงสลุตตอบ

สถานที่ซึ่งสร้างไว้เปนที่พักอาศรัยเปนที่อยู่ริมหาดตอนหนึ่งซึ่งเปนที่ป่าไม้อยู่ก่อน มาแผ้วโก่นโค่นสร้างในคราวนี้ แล้วปลูกพลับพลาแลทำเนียบเปนอันมากสำหรับข้าราชการต่าง ๆ ในราชสำนักแลแขกเมืองชาวยุโรปพักอาศรัย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประทับในค่ายหลวง ตำหนักที่ประทับทำด้วยไม้ชั่วคราว เปนตำหนัก ๓ ชั้น ด้วยธรรมเนียมไทย ผู้มีศักดิ์ต่ำจะอยู่ในที่สูงกว่าไม่ได้ หรือในส่วนพระเจ้าแผ่นดิน จะอยู่ในที่เสมอกันกับใคร ๆ ก็ไม่ได้ ทำเนียบแห่งอื่นปลูกเปนเรือนชั้นเดียว แต่ยกพื้นในประดนสูงพ้นจากพื้นดินสัก ๓ ฟิตทุกหลัง ทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้างใบตาลแห้งบ้างตามนิยมของประเทศ ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อยล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็น และในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้และบริวารเปนอันมาก

ท่านเจ้าเมืองกับคณะที่มาด้วยมีนายพันตรี แมกแนร์ นายร้อยเอก มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง นายร้อยโท คัมมิน์ส นายทหารคนสนิท นายนาวาเอก เอดีย์ นายเรือเอก ออสโบน กับนายทหารราชนาวีอังกฤษอื่น ๆ อิกหลายนาย ขึ้นบกเวลาเช้าวันที่ ๑๗ นั้น มีทหารกองปืนใหญ่สนามซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มาจากกรุงเทพฯ ตั้งยิงสลุตรับ นายอัลบาสเตอร์ ผู้รั้งกงสุลของพระนางเจ้ากรุงเครตบริเตนประจำกรุงเทพฯ กับคณะพวกกงสุลและข้าราชการสยามบางคนก็พากันมาต้อนรับพาไปยังที่พักของท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกระลาโหม (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ช่วงบุนนาค) หรืออย่างที่เรียกกันว่า อรรคมหาเสนาบดี ตามธรรมเนียมของชาวสยาม แขกเมืองต้องไปหาเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศก่อน ภายหลังจึงไปเยี่ยมอรรคมหาเสนาบดี ถ้าผู้นั้นมียศศักดิ์เพียงพอกัน ก็จะได้นำขึ้นเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน แต่โดยเหตุที่เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมขุนวรจักร ฯลฯ) พักอยู่ห่างจากที่พักกระลาโหมไปไกล และด้วยความเอื้อเฟื้อของท่านกระลาโหม ท่านได้จัดการต้อนรับเซอร์แฮรีออดเสียพร้อมกันทั้งสองท่านในเวลาเดียวณะบ้านที่พักของท่านสมุหพระกระลาโหม

ท่านกระลาโหมผู้นี้มีอายุประมาณ ๕๕ ปี (ตามความจริง ๖๐ ปี) รูปทรงออกจะเตี้ย ดวงตาคม มีสง่า อุปนิไสยใจคอของท่านผู้นี้ เซอร์ยอนเบาริงได้พรรณนาไว้ในหนังสือเรื่องที่เซอร์ยอนเบาริงเปนราชทูตมากรุงสยามเมื่อ (ค.ศ.) ๑๘๕๕ ซึ่งว่า

"อัธยาศรัยในส่วนตัวของท่านอรรคมหาเสนาบดีนั้นน่าชมมาก ท่านเปนคนสำคัญที่สุดของคฤหบดีสกุลมหาศาลในพระราชอาณาจักร เปนคนสำคัญที่ยกย่องพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ขึ้นครองราชสมบัติ ป้องกันความมุ่งหมายของพระราชบุตรในรัชกาลก่อนมิให้สำเร็จได้ จึงได้ทรงพระกรุณาตั้งแต่งให้เปนอรรคมหาเสนาบดี ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าหลายครั้งหลายหนว่า ถ้าทางดำเนินการของข้าพเจ้าเปนไปเพื่อช่วยราษฎรให้หลุดพ้นจากความกดขี่บีบคั้นและให้ประเทศพ้นจากการผูกขาดปิดประตูค้าแล้ว ท่านจะร่วมมือทำการด้วยข้าพเจ้า และถ้าข้าพเจ้าทำการไปสำเร็จ ชื่อเสียงของข้าพเจ้าก็จักปรากฎไปตลอดยุคกาล ท่านได้แสดงข้อเสียหายต่าง ๆ ให้ข้าพเจ้าฟัง มิได้ปกปิดอย่างไร และมักกล่าวด้วยวาจาไพเราะเฉียบขาด ถ้าท่านเปนผู้มั่นคงต่อน่าที่จริงแล้ว ท่านก็เปนผู้ที่รักชาติ์อย่างเอก และมีปัญญาสว่างอย่างยิ่ง อันจะได้เคยพบปะในโลกภาคบูรพทิศนี้" คำ ของเซอร์ยอนเบาริงนี้จะกล่าวให้ถูกต้องยิ่งกว่าได้โดยยาก

ท่านกระลาโหมได้รับตำแหน่งบริบูรณ์ล่วงมา ๑๓ ปีนับตั้งแต่เวลาที่เซอร์ยอนเบาริงได้เขียนเรื่องที่อ้างนี้ ก็ต้องถือว่า ท่านเปนผู้รักชาติ์อย่างสูงและเรืองปัญญา ท่านมีอำนาจสิทธิ์ขาดเพราะเปนที่ถูกพระอัธยาศรัยของพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงจัดทำสิ่งไรก่อนที่ท่านลงความเห็นพ้องด้วย ท่านก็ได้รักษาราชการบ้านเมืองอย่างพอดีพองามและด้วยความปรีชาสามารถ คอยเอาใจใส่ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งสิ้นที่เปนไปในประเทศอื่น ๆ โดยเลอียด ท่านเปนผู้ผูกพันรักใคร่ชาวอังกฤษอย่างประจักษ์แจ้ง พูดภาษานั้นได้คล่องแคล่วมาก มีกิริยามารยาตรสุภาพ และตรงไปมาในที่ออกความเห็นของท่าน และแสดงวิริยะยอดยิ่งในเรื่องทำกิจธุระของมหาชน

ท่านกระลาโหม เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ออกมาต้อนรับท่านเจ้าเมืองกับพวกในคณะณะปากทางจะเข้าไปบริเวณบ้านและนำเข้าไปในบ้าน จัดหาที่นั่งให้พวกที่มาเลี้ยงน้ำชาและเครื่องดื่ม ท่านเสนาบดีกับผู้ว่าราชการได้สนทนากันอยู่นาน รวางนั้น ตระเตรียมการที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จออกรับเจ้าเมืองกับพวกที่มาจากเมืองสิงคโปร์ มิศเตอร์ อัลบาสเตอร์ ผู้แทนกงสุล เปนผู้พูดภาษาไทยได้คล่องนั้น เปนล่าม แต่โดยมาก ท่านกระลาโหมตอบเซอร์แฮรีออดโดยไม่ต้องให้นายอัลบาสเตอร์ช่วย เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศนั้นได้เข้าสนทนาด้วยน้อย เรื่องที่สนทนาหารือกันเลยไปถึงเรื่องอาวุธปืน ท่านกระลาโหมนำเอาตัวอย่างปืนสไนเดอร์ ปืนมอนต์สตอม และปืนที่บันจุท้ายอย่างใหม่อื่น ๆ ออกมา แสดงให้เห็นว่า ตัวท่านเองเปนผู้ชำนาญในเรื่องกลไกของอาวุธเหล่านั้นได้ดี

ในตอนนี้ เปนครั้งแรกที่เราได้สังเกตเห็นการถือธรรมเนียมอย่างเคร่งครัดของชาวสยามในเรื่องผู้ที่มียศต่ำกว่าจะยืนอยู่ต่อหน้าผู้ที่มียศสูงกว่าไม่ได้ เพราะผู้น้อยทั้งหมดนั่งหรือหมอบอยู่กับพื้น และคนใช้ เมื่อถือถาดน้ำเครื่องดื่มเข้ามาเลี้ยง ต้องเขยิบเลื่อนไปบนพื้นด้วยเข่า (คลานเข่า) เปนการแปลกอยู่ที่ได้เห็นกริยาอาการของชาวสยามเปลี่ยนได้ทันที เวลาเมื่ออยู่ภายนอกยังไม่ทราบว่า ท่านผู้ใดอยู่ข้างใน ก็เดินไปมากันตามสบายใจ แต่พอเห็นท่านกระลาโหมเข้า พวกผู้น้อยก็ยอบตัวลงท่าคุกเข่าทันที ประสานมือไว้ตรงหน้า และก้มหน้าลงกับพื้น หมอบอยู่ตามบรรดาศักดิ์ของตนนิ่งอยู่ ต่อเมื่อท่านพูดด้วย จึงตอบด้วยความเคารพและกราบกรานเช่นเดียวกัน แม้เมื่อจะออกไปโดยธรรมดา ต้องลุกขึ้นเดิน จะยืดตัวให้ตรงก็ไม่ได้ ต้องระวังตัวให้ยอบอยู่เสมอ

เมื่อเจ้าเมืองสิงคโปร์รออยู่สักหน่อย ก็ได้รับคำบอกว่า พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกคอยต้อนรับอยู่ แล้วพวกเราก็พากันไปยังพลับพลาอันเปนพระราชวังชั่วคราว

ตรงปากทางจะเข้าไปในบริเวณพระราชฐาน มีกองทหารเกียรติยศเข้าแถวกระทำคำนับ และเมื่อเข้าไปพระราชฐาน มีเจ้าพนักงานผู้ใหญ่สองสามนายออกมารับ แล้วพร้อมกับด้วยท่านกระลาโหมและเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศและในพวกคณะได้นำหน้าเราเข้าไปยังท้องพระโรง ห้องนี้เห็นจะยาวราว ๘๐ ฟิตและกว้าง ๓๐ ฟิต เปนด้านทางตวันออกของวัง (พลับพลา) มีพระทวารสองข้าง กับทั้งมีพระทวารที่ตรงกลาง ทางด้านยาวซึ่งเปนทางที่ได้นำเราเข้าไปอิกช่องหนึ่ง เมื่อเข้าไปข้างใน เห็นท้องพระโรงทั้งหมดเต็มไปด้วย (ข้าราชการ) ชาวสยามหมอบอยู่กับพื้น มือ (ประสาน ตรงไปทางพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเสด็จประทับอยู่บนพระเก้าอี้อันตั้งอยู่บนราชบัลลังก์ยกขึ้นสูงจากพื้นราว ๓ ฟิต และใกล้ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้าไปข้างในของวัง (พลับพลา) ที่ยกพื้นกับรั้วลูกกรงทั้งเสาและผนังห้องพระโรงดาดด้วยผ้าสีแดง และทางเบื้องพระหัตถ์ขวาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน มีโต๊ะเล็กเต็มไปด้วยหีบทองและภาชนะบันจุพระศรี พระโอสถ พระสุธารส และสิ่งเครื่องราชูประโภคต่าง ๆ ทางในรวางพระทวารน่าและที่ประทับกันไว้เปนช่องว่างสำหรับแขกเมืองเฝ้า และ ๒ ข้างช่องนี้ในระยะประมาณครึ่งทาง ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสองท่านหมอบเฝ้าอยู่ ตามแบบประเพณีของพระราชฐาน ตำแหน่งที่เฝ้าของแขกเมืองอยู่ในแถวรวางข้าราชการเหล่านี้ เพราะไม่ยอมอนุญาตให้ใครเข้าใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน ยิ่งไปกว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระองค์ ด้วยประเพณีเปนฉนี้ พวกเราจึงหยุดอยู่ที่นั้น แต่พระเจ้าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดกวักพระหัตถ์ทันทีให้เซอร์แฮรีออดเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ และเมื่อพระราชทานพระราชหัดถ์มาสัมผัสแล้ว รับสั่งให้พวกของเซอร์แฮรีออดเข้าเฝ้าถวาตัวต่อไป เจ้าพนักงานผู้หนึ่ง เรียกว่า สนองพระโอษฐ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ก็ดำเนิรเรื่องกราบทูลเบิกด้วยเสียงดังถึงเรื่องราวและความประสงค์ของท่านผู้ว่าราชการที่มาเฝ้า แต่ต่อมาสักครู่ พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งว่าพอแล้ว และตรัสเปนภาษาอังกฤษว่า พระองค์ทรงพระราชหฤทัยที่ได้ทรงต้อนรับผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ และรับสั่งถึงทางพระราชไมตรีอันมีอยู่อย่างสนิทสนมในรวางประเทศของพระองค์และประเทศเครตบริเตน และมีพระราชหฤทัยหวังว่า พระราชไมตรีนี้คงถาวรอยู่สืบไป

เมื่อจบกระแสพระราชดำรัสแล้ว พระเจ้าแผ่นดินเสด็จลงจากพระที่นั่ง ประทับยังพระที่อิกแห่งหนึ่ง (คือ เกย) ซึ่งยกขึ้นไว้นอกพระราชสถานน่าพระทวารทางเข้า ทรงพระกรุณาฯ โปรดให้ช่างถ่ายรูปที่เราพามาด้วยทั้งกล้องถ่ายรูป[1] ครั้นเสร็จการเฝ้า ฯ แล้ว เมื่อจะกราบบังคมทูลลามา ก็มีพิธีอย่างเดียวกันกับเมื่อเข้าเฝ้า แล้วพระเจ้าแผ่นดินทรงแสดงพระราชประสงค์จะให้ท่านผู้ว่าราชการเข้าเฝ้าเปนพิเศษในตอนเย็นวันนั้นด้วย ครั้นเฝ้าแล้ว เราก็มายังทำเนียบซึ่งได้จัดเตรียมไว้สำหรับพวกเราพัก ได้พบคุณหญิง ออด และ นายเปลา ซึ่งขึ้นบกมาภายหลังเราในเวลาไม่ช้านักคอยอยู่ที่ทำเนียบแล้ว ทำเนียบที่พักนี้ยาวประมาณ ๑๔๐ ฟิต และ กว้าง ๕๐ ฟิต เปน ๒ หลังโดด หลังใหญ่มีห้องโถงอยู่กับพื้น อาจจุคนในเวลาเลี้ยงกันได้ ๔๐ หรือ ๕๐ คน และ ๒ ข้างยกพื้นขึ้นสูงประมาณ ๓ ฟิต ทำเปนห้องเล็ก ๆ เปนแถว เบ็ดเสร็จด้วยกัน ๑๒ ห้อง สำหรับเปนที่พักอาศรัยของพวกผู้ว่าราชการ มุมสุดเปนสถานที่เล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีห้องนอน ๒ ห้องและห้องแต่งตัว ๒ ห้อง มีรเบียงเปนห้องนั่งเล่นสำหรับรับแขกได้สบาย เรือนตอนนี้ตีฝาและยกพื้นด้วยไม้จริงนอกนั้นทำด้วยไม้ไผ่ซีกทั้งสิ้น เมื่อผู้ว่าราชการมาถึง พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ข้าราชการสยามกับนายเล่าพ่อยิ้ม ( ที่จริงเปนคนเดียวกัน ) ซึ่งรับน่าที่จัดอาหารเลี้ยงแขกเมือง มาคอยรับรองและแจ้งให้ท่านเจ้าเมืองทราบว่า ถ้าต้องการโต๊ะสำหรับเลี้ยงมากน้อยกี่คนสุดแล้วแต่จะเชิญมา จะได้จัดหามาให้ตามเวลาที่กำหนดไว้ และแสดงความหวังว่าคงไม่มีอะไรขาดเหลือใน การปฏิบัติเพื่อให้ท่านเจ้าเมืองและพวกได้รับความสบาย แล้วนำเอาพ่อครัวฝรั่งเศสเข้ามาให้รู้จักพร้อมด้วยชาวอิตลี ๑ คน และลูกมือชาวเมืองอิกหลายคน ซึ่งได้รับคำสั่งให้คอยระวัง ปฏิบัติความประสงค์ทุกอย่างของพวกแขกเมืองที่มา และการเลี้ยงดูได้จัดหามาเลี้ยงอย่างฟุ่มเฟือยบริบูรณ์ บรรดาของอร่อยที่อาจจะหามาถึงแถบประเทศแถวนี้ก็ได้พยายามสืบเสาะหามาจากเมืองสิงคโปร์และกรุงเทพ ฯ และการทำกับเข้าก็ทำอย่างประณีต มีทั้งเหล้าและน้ำองุ่นต่าง ๆ น้ำแขงก็บริบูรณ์ อาจจกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอิก นายนาวาเอก เอดีย์ กับนายทหารเรืออิกหลายนาย นายอัลบาศเตอร์ และนางอับาสเตอร์ นางแคมบ์เบล ภรรยาหมอในสถานกงสุลกับทั้งพวกคณะกงสุลก็ได้มาเข้าพวกด้วยอย่างสนิทสนมกับพวกเรา แท้จริงพวกที่มา ไม่มีใครได้นึกคาดว่าจะได้พบที่พักอาศรัยอันอุดมเช่นนี้ในป่าแห่งประเทศสยามเลย วันที่ล่วงไปวันนั้นเปนเวลาจัดเตรียมการที่จะดูอุปราคาในวันรุ่งขึ้น และท่านเจ้าเมืองได้รับเยี่ยมจากท่านกระหลาโหมและข้าราชการสยามผู้ใหญ่ในแผ่นดิน ในวันนั้นเมื่อเวลาค่ำประมาณ ๙ ล.ท.ท่านเจ้าเมืองกับพวกที่มาด้วยทั้งชายหญิง ทั้งหมดได้รับเชิญให้ไปที่ค่ายหลวง เมื่อไปถึงตรงทางที่จะเข้าในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดเสด็จออกมาทรงต้อนรับ และทรงพาเข้าไปในพระห้องที่เฝ้ารโหฐานแห่ง ๑ ทรงแนะนำให้รู้จักกับข้าราชการฝ่ายในและพระองค์เจ้าหญิงซึ่งยังทรงพระเยาว์

ในขณะนี้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไม่มีพระมเหษี พระมเหษีพระองค์ก่อนได้ สิ้นพระชนม์เสียเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๒ และแม้พระเจ้าแผ่นดินจะมีบาทบริจาริกาเปนอันมาก ก็ยังไม่มีใครที่ได้ทรงยกย่องตั้งขึ้นในตำแหน่งพระมเหษี ส่วนพระราชกุมารและพระราชกุมารีมีจำนวนในรวาง ๖๐ หรือ ๗๐ พระองค์ ที่ทรงพระชนม์พรรษาแก่กว่าทั้งหมด ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี มีพระชนมายุในราว ๑๖ พรรษาทุกพระองค์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์มีพระชนมายุราว ๑๕ พรรษา ย่อมเปนที่เข้าใจกันว่า พระองค์นี้จักได้เปนผู้สืบราชสมบัติ ด้วยเวลานี้ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ แต่ก็ยังไม่แน่ทีเดียวว่าเปนเช่นนั้น เพราะในกรุงสยามแม้จะถือกันว่าพระราชโอรสผู้เปนมกุฎราชกุมารเปนทายาท ที่จะสืบพระราชวงศ์ก็ดีแต่ใช่ว่าตำแหน่งจักตกแก่พระราชโอรสพระองค์ ใหญ่เสมอไปหามิได้ พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะทรงเลือกตั้งแต่งใครเปนรัชทายาทของพระองค์ก็ได้ ถึงกระนั้นที่พระองค์จักทรงกระทำไปโดยขัดต่อความนิยม ของข้าราชการผู้เปนมุขมนตรี ก็ไม่ได้ มีตัวอย่างเช่นครั้งพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ล่วงแล้วมา ( หมายว่ารัชกาลที่ ๓ ) มีพระราชประสงค์จะให้พระราชบุตรของพระองค์เปนผู้รับราชสมบัติ แต่พวกสกุลใหญ่ของท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินทั้ง ๒ (คือ สมเด็จพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ์ ) ได้ขัดต่อการที่จะทรงตั้งแต่งนั้น และพระเจ้าแผ่นดินปัจจุบันนี้อันเปนรัชทายาทแท้ของพระราชบิดาของพระองค์ก็ได้ ( ขึ้นรับราชสมบัติ ) แทนที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อนได้ทรงมุ่งหมายไว้ โดยมิได้เกิดการจลาจลอย่างไร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เปนพระราชกุมารที่ทรงพระปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งนัก พระรูปทรงสูงแลท่วงทีกล้าหาญเกินแก่พระชนมายุ ส่วนพระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิง ๓ พระองค์ ที่มีพระชนมายุสูงกว่าก็ทรงพระโฉมศุภลักษณ์ เสียแต่เสวยหมากถ้าไม่ย้อมพระทนต์ (ให้ดำ ) ตามธรรมเนียมของชาวสยาม แล้วต้องชมว่าเปนสัตรีที่ทรงกัลยาณีเลิศลักษณทีเดียว พระกิริยามารยาตรก็น่าชมและตรัสภาษาอังกฤษได้ทุกพระองค์ แท้จริงพระราชโอรสพระราชธิดาโดยมากตรัสภาษาอังกฤษได้ เพราะพระเจ้าแผ่นดินทรงจัดหาพระพี่เลี้ยงเปนชาวอังกฤษไว้ เมื่อได้ทรงแนะนำให้ท่านเจ้าเมืองกับพวกผู้หญิงรู้จัก กับฝ่ายในแล้ว โปรดให้พวกเรานั่งลงรอบโต๊ะที่กลางห้อง พระราชทานเลี้ยงน้ำชากาแฟและขนมหวาน เมื่ออยู่ได้สักครึ่งนาฬิกาพวกเราก็ลงจากห้อง ( ซึ่งอยู่บนชั้นสูงของวัง พลับพลา ) กลับออกมายังท้องพระโรงซึ่งมีการเต้นรำ ( ระบำ ) วิธีออกจะคล้ายคลึงกับเต้นรำนัจ ( นฤตย์ ) ในอินเดีย ผู้เต้นรำเปนสัตรีรุ่น ๆ ของหลวงหลายคนแต่งตัวอย่างวิจิตร และได้รับความฝึกฝนพิเศษสำ- หรับการนี้ ดนตรีใช้เครื่องของสยาม มีขลุ่ยกลองกระจับปี่ชนิดหนึ่งอย่างกระจับปี่คีตา ( เห็นจะเปนจะเข้ ) และเครื่องดนตรีทำด้วยไม้แผ่นแบน ๆ ตีด้วยไม้เปนปุ่มเสียงดังฟังก็เพราะดี ( ระนาด ) ประมาณ ๑๑ ล.ท. พระเจ้าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโอกาศให้พวกเรากราบบังคมลากลับมา รุ่งเช้าวันที่ ๑๘ สิงหาคม เปนวันที่จะมีสุริยอุปราคา แต่ถ้ามีเมฆปรากฎก้อนหนามาทาง ทิศตวันตกเฉียงใต้ และเปนอย่างนี้เรื่อยมาไม่ขาดจน ๙ นาฬิกา ก็มีฝนตกลงมาประปรายดวงอาทิตย์ซึ่งขึ้นอยู่ถึงเวลานี้พยับมัวทีเดียว และอากาศก็ออกจะปรวนแปรมาก จนนึกกันว่ามีความหวังน้อยในที่อากาศอาจจะเปลี่ยนไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก่อนเที่ยง แต่อย่างไรก็ดี ล่วงมาประมาณนาฬิกา ๑ ก็มีลมพัดมาทางทิศตวันตกเฉียงใต้แรงขึ้น ถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา ๕ นาที สังเกตเห็นเมฆเกลื่อนออกจากกันทีละน้อย ๆ ไปทางด้านตวันตก ต่อมาไม่ช้าอากาศทางด้านนั้นเริ่มแจ่มกระจ่างขึ้น และถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๕ นาที ดวงอาทิตย์ซึ่งแต่แรกบดบังหมดดวงก็สว่างจ้า แต่ขณะนั้นอุปราคาจับขอบทางตวันตกไปเกือบส่วนหนึ่งของขนาดกว้างแห่งดวงอาทิตย์แล้ว เพราะฉนั้นเราไม่สามารถจะจดเวลาแท้ที่อุปราคาเริ่มจับ ซึ่งคาดไว้ว่าจะจับในเวลา ๑๐ นาฬิกา ๔ นาที อากาศแต่นั้นมาค่อยปรกติ เมฆที่ลงมาต่ำหรือเมฆฝน ( นิมบัส ) ก็สูญหายไปหมด และอากาศตอนส่วนสูงสุดในท้องฟ้าก็แจ่มสว่าง แต่เห็นเมฆบางตอนที่เหนือขอบฟ้าขึ้นมา ๓๐ องศา เปนชนิดมีสัณฐานปุยยาวและเปนก้อนโต ( เฟอร์รูสกุมุลัส ) เพราะฉนั้นแสดงให้เห็นเปนที่พอใจว่า อย่างน้อยอากาศคงจะแจ่มอยู่อิกนาน เครื่องมือที่พวกเราพอจะหาเอามาได้ คือ กล้องส่องดูไกลชนิดของคันแคน มีปากช่องกว้าง ๔ นิ้ว หนึ่งกล้อง กล้องส่องดูไกลที่ฉายกลับ มีปากช่องกว้าง ๓นิ้ว กับมีแรงฉายดูได้ ไกลกว้างขวางหนึ่งกล้อง เครื่องกำหนดความหนักเบาของอากาศ ( พาโรเมตร ) สำหรับเขาอย่างประณีตหนึ่งเครื่อง เครื่องอันนิ- รอยด์พาโรเมตรอย่างดีที่สุด ๒ เครื่อง เครื่องวัดความหนาวร้อนขนาดต่าง ๆ กัน ๓ เครื่อง และนาฬิกาอย่างเดินเที่ยงตรง ๑ เรือน น่าที่ซึ่งกะให้ ในคณะส่วนฝ่ายอังกฤษ คือ นายพันตรี แมก-แนร์ กรมทหารปืนใหญ่หลวง เปนผู้ตรวจดูผลของอุปราคาในเวลาใกล้จะหมดดวง หรือถ้าสามารถก็ให้สาวหาสิ่งที่ปรากฎขึ้นในท้องฟ้า ตามที่เรียกว่า เบลลีเบกส จะมีหรือไม่ และให้พรรณ- นาเรื่องสำหรับคราวประชุมของสมาคมดาราศาสตร์ นายร้อยเอก มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง มีน่าที่สำหรับจดเวลาและน่าที่กะวัดเครื่องวัดอากาศตลอดเวลาอุปราคา ท่านเจ้าเมืองเองส่องกล้องดูไกลสองตา ตรวจดูสัณฐานและตำแหน่งของรัศมีที่เปนลำพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจ เห็นด้วยตาได้และเวลาที่ปรากฎเห็น ส่วนพวกในคณะนอกนั้นรับธุระสังเกตดูผลต่าง ๆ อันจักปรากฎขึ้นเนื่องด้วยอุปราคาในทางอากาศทางทเลและประเทศที่ใกล้เคียง โอกาศครั้งแรกที่สุดที่ได้กำหนด คือ สังเกตดูจุดดำในดวงอาทิตย์ซึ่งได้สังเกตเห็นในเวลา ๑๐ นาฬิกา ๔๕ นาที ดังแสดงไว้ในแผนที่แล้ว การกะจดเครื่องวัดอากาศซึ่งได้เริ่มจดเปนระยะละ ๑ ชั่วนาฬิกา เริ่มตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้น ก็ได้จดทุก ๆ ชั่ว ๑๐ นาทีตั้งแต่เวลาสุริยอุปราคาจับครั้งแรก กับได้ตกลงไว้ก่อนน่ากับหมอ ลองฟิล์ด ประจำ ร.ร.ล. เสตลไลต์ ให้เปนผู้จดขนาดความหนาวร้อนของอากาศน้ำทเลตลอดเวลาอุปราคา เพลา ๑๐ นาฬิกา ๑๐ นาที หรือก่อนอุปราคาจะจับหมดดวง ๒๐ นาที สังเกตเห็นได้ชัดมากถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งสีท้องฟ้าในด้านทิศใต้ ซึ่งเดิมเปนสีน้ำเงินใส ได้เปลี่ยนเปนสีม่วงแก่แล้วแปรเปนสีตะกั่วแก่ และมีเมฆชนิดมีสัณฐานเปนก้อนใหญ่ซึ่งแตกออกจากกันหลายก้อนในทางนั้น ลอยเด่นอยู่ข้างบน ต่อมาสักครู่ ขณะเงามืดของดวงจันทร์ค่อยบดบังดวงอาทิตย์หรือในเวลา ๑๑ นาฬิกา ๒๐ นาที ท้องฟ้าทั้งหมดก็ดำคล้ำลงและวัตถุต่าง ๆ ซึ่งอยู่ไกลก็ปรากฎรูปมัวลง ทเลก็เปลี่ยนจากสีเขียวเปนสีม่วงแก่ และเรือกำปั่นซึ่งทอดอยู่ห่างจากฝั่งในระยะ ๓ ไมล์ก็เห็นไม่ได้ชัด เครื่องวัดอากาศในบัดนี้ลดลงได้ ๖ องศาจากขนาดความหนาวร้อนของอากาศ รู้สึกอากาศเย็นอย่างประจักษ์ด้วยกันทุกคน เวลา ๑๑ นาฬิกา ๒๕ นาที มีความมืดจัด วัตถุที่อยู่บนบกแต่ไกลแทบสังเกตไม่ได้ ต้นไม้ในที่ใกล้บ้านก็มืดเปนก้อนดำ ดวงดาวก็ปรากฎขึ้นทางสูงสุดของขอบฟ้าทางโน้นทางนี้ เรือกำปั่นในทเลก็หายไปมองไม่เห็น ในเวลาดวงอาทิตย์มืดหมดซึ่งปรากฎในเวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๐ นาที มีความมืดมากจนรูปหน้าคนซึ่งอยู่ในระยะ ๒-๓ ฟิตก็สังเกตไม่ได้ และการคาดคเนระยะทางว่าใกล้ไกลเพียงไรก็ดูเหมือนหมดไปด้วย เครื่องวัดอากาศก็มองดูไม่เห็น นอกจากมีแสงไฟส่องให้ใกล้ ท้องฟ้ามีดาว-พราวเหมือนในเวลาสนธยาอย่างจัดแห่งราตรี นายพันตรี แมกแนร์ ได้คอยสังเกตอย่างลเอียดดูขอบพระจันทร์ค่อยล้ำเข้าในมณฑลดวงอาทิตย์จนมืดหมดดวง และไม่สังเกตเห็นว่าขอบดวงจันทร์ หรือขอบดวงอาทิตย์ จะหลุดเลื่อนออกเปนดวงสว่างเล็ก ๆ อย่างที่ นายเบลลี ได้พรรณนาไว้ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๘ นาที ๓๐ วินาที นายพันเอก แมกแนร์ ได้เห็นรัศมีเปนลำพุ่งออกมาจากขอบดวงจันทร์ ๒ แห่งเข้าไปยังขอบดวงอาทิตย์อย่างชัด ดังได้แสดงไว้ในแผนที่ แต่รัศมีเปนลำพุ่งออกมานี้ปรากฎอยู่ไม่นานกว่า ๒ หรือ ๓ วินาที แสงอาทิตย์ซึ่งเปนรูปแหว่งแคบ ๆ เล็ก ๆ ก็เห็นเปนเส้นเดียวตลอดเรื่อยไปจนแสงสว่างของอาทิตย์ครั้งหลังที่สุดได้หมดไป การสังเกตในตอนนี้ อย่างที่ได้ตกลงกันมาแต่แรกแล้วท่านเจ้าเมืองเปนผู้รับธุระ ท่านได้สังเกตเห็นเหมือนดวงอาทิตย์มืดหมดดวง มีรัศมีสว่างปรากฎขึ้นโดยรอบดวงจันทร์ มีรัศมีเปนลำพุ่งออกมาด้วยเปนสีแดงจัด สว่างอยู่เสมอตรงที่ ( ก ) ดังแจ้งไว้ในแผนที่ต่อท้ายนี้ แทบอยู่ในเส้นสูนย์ของดวงจันทร์เมื่อดูจากทิศใต้ ตรง ( ข ) มีแสงเปนเส้นสีคล้ายคลึงกัน ในเบื้องสุดนั้นไม่ประจักษ์ชัดเจนเหมือนอย่าง ( ก ) นัก รัศมีที่เปนลำพุ่งออกมาเหล่านี้ ดูเหมือนจะพุ่งออกมาจากดวงจันทร์เข้าไปในรัศมีที่ล้อมรอบ เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๑ นาที คือ ล่วงมาสักนาที ๑ รัศมีที่เปนลำพุ่งออกมาที่ ( ก ) ลดขนาดความยาวลงบ้างเล็กน้อยแต่ออกจะดำจัดที่ ( ข ) มีรูปชัดดีกว่าแลดูเหมือนจะปรากฎอยู่นานกว่า แต่สังเกตไม่เห็นแปรสี ถึงตอนนี้สังเกตเห็นว่ามีแสงดำคล้ำพุ่งออกมาจาก มณฑลดวงจันทร์หลายแห่งแผไปใน ระยะที่ว่างไกลมาก แลดูเหมือนเปนอะไรดูไม่ชัด คล้ายกับเงา ฉายเข้าไปในระยะที่ว่าง ได้สังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้สิ่งหนึ่งตลอดเวลาอุปราคาก็เพราะด้วยมีเวลาปรากฎอยู่นานเท่านั้น คือที่ ( ข ) เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๒ นาที ความยาวที่ ( ก ) ลดลง เบื้องสุดของ ( ข ) ก็กำหนดได้ชัดขึ้น ( ข ) มีอาการเปลี่ยนแปลงก็แต่น้อย เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๓ นาที ( ก ) สูญหายไป ( ข ) ลุถึงความเต็มเปี่ยมเปนที่สุด ก็เริ่มลดหายไปในรวางระยะเวลานั้น ( ข ) ถ้าจะเปลี่ยนไปบ้าง ก็ได้ทวีขึ้นเล็กน้อย เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๔ นาที ( ข ) ยังคงลดถอยลงอิก และสังเกตดูเหมือนว่าเข้าไปติดฝังอยู่กับดวงจันทร์ อันเปนรูปที่สังเกตไม่เห็นในเวลา ( ก ) หายไป ( ข )ยังอยู่อย่างเดิม ตรง ( ค ) รัศมีที่เป็นลำพุ่งออกมาซึ่งคู่กับ ( ก ) อย่างชัด ตรงที่เส้นสูนส์ได้แตกออกคล้าย ( ก ) มาก แต่ความยาวออกจะน้อยและเปนสีจาง แท้จริงขาดความสว่างเรืองความลึกแลความแปรสี ซึ่งมีปรากฎอยู่ที่ ( ก ) เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๕ นาที ( ข ) ยังคงลดถอยลงอิก และที่เข้าไปฝังอยู่ในดวงจันทร์ก็ออกลึกลง ( ข ) ลดลงแต่มีส่วนน้อย ส่วน ( ค ) ดูเหมือนจะทวีขึ้นแต่ว่าน้อยนัก และไม่ถึงขนาดอย่างที่สุดของ ( ก ) สักเวลาเดียว สีของ ( ข ) ดูไม่แปร คล้าย ( ค ) มากกว่า ( ก ) ตลอดไป รวางนี้ นายอัลบาสเตอร์ รั้งกงสุลประจำกรุงสยามก็ได้เฝ้าตรวจดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้องดูไกล ๒ ตา ผลที่ได้สังเกตไว้ เมื่อเทียบกันดูเหมือนจะตรงกันในข้อใหญ่ที่ท่านเจ้าเมืองได้สังเกตไว้ แต่นายอัลบาสเตอร์ คิดว่ารัศมีที่เปนลำพุ่งสออกมาที่ ( ข ) ไม่สว่างเรืองเท่ากับ ( ก ) เมื่อเห็นในตอนแรก มีสีเหลืองประจักษ์แจ้งมาก นายอัลบาสเตอร์ เห็นว่าริมขอบปราฎกชัดเด่นกว่ารัศมีมีที่เปนลำพุ่งออกมาอื่น ๆ แลดูเหมือนจะพุ่งออกมาจากดวงจันทร์คล้ายกับเขาสัตว์สั้น ๆ ที่เปนสี นายแคนเนดี แห่งสถานกงสุล ซึ่งเปนผู้สังเกตดูอุปราคาด้วยเหมือนกัน ยืนยันการสังเกตตรวจดูเหล่านี้เกือบทุกอย่าง แต่นายแคนเนดี สังเกตว่า ( ค ) เมื่อปรากฎในตอนแรกเปนสีเขียวจัด ซึ่งค่อยเปลี่ยนเปนสีเนื้อคนอย่างอ่อน ลักษณอันนี้ที่ นายพันตรี แมกแนร์ และผู้อื่นก็ได้สังเกตเห็นด้วย เปนที่น่าเสียใจมาก ที่เราไม่มีเครื่องโปลาริสโคปหรือเครื่องอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับพิสูจน์แสงสว่าง ที่ฉายพุ่งลงมาถึงพิภพใน รวางอุปราคาหมดดวง อาศรัยแต่กล้องส่องชนิดแก้วสามเหลี่ยมอย่างธรรมดา จึงสังเกตได้ว่าแสงสว่างในเวลา ๑๐ นาฬิกาที่ฉายเข้ามาในกระจกสามเหลี่ยมของกล้องส่องเปนสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว รวางอุปราคาจับหมดดวงเปนสีแดงอย่างเดียว สีจำปา ( โอเรนช์ ) และสีเหลืองก็อาจสาวเห็นได้บ้าง แต่บางทีก็ไม่ควรจะยึดถือตามความสังเกตนี้ อุปราคาจับหมดดวงในเวลานี้กินเวลาได้ ๖ นาฑีกับ ๔๕ นาฑีแล้ว ทันใดนั้นก็มีแสงสว่างจัดพุ่งแปลบออกมาจากดวงอาทิตย์เหมือนแสงสว่างเรืองอย่างจัด รัศมีที่อยู่รอบดวงและรัศมีที่เปนลำพุ่งออกมาก็อันตรธานไปทันที

การที่ดวงอาทิตย์กลับปรากฎขึ้นอิก ก็ได้คอยสังเกตดูอย่างถี่ถ้วนโดยใช้กล้องส่องขนาดใหญ่ แต่ถึงพิจารณาลเอียดที่สุดก็ไม่สามารถพบเห็นอไรแปลกพิเศษในดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ในเวลานั้น เรามีความเสียใจไม่สามารถสาววิถีของเงาแห่งอุปราคา เพราะแม้จะไปทางด้านตวันตกก็เห็นที่ขอบฟ้าเพียงเล็กน้อย แม้กระนั้นทางด้านตวันออกอากาศจะได้โปร่งและแจ่ม และเปนการแปลกที่ไม่สังเกตเห็น แต่นี้อุปราคาก็เริ่มคลาย และคลายไปจนโมกขบริสุทธิ ในเวลา ๑ นาฬิกา ๓๗ นาฑีกับ ๔๕ วินาฑี ในเย็นวันนั้น พวกเราพากันมีความแปลกใจด้วยได้รับข่าวอย่างปัจจุบันทันด่วนว่า พระเจ้าแผ่นดินจะทรงพระกรุณาโปรดเสด็จมาทรงเยี่ยมตอบท่านเจ้าเมือง ท่านกระลาโหมซึ่งดูเหมือนจะได้รับข่าวเรื่องมีพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวในเวลาอันน้อยอย่างเดียวกับ เซอแฮรีออด และตกตลึงมากเหมือนกับพวกเราในข้อที่ทรงประพฤติ แปลกจากธรรมเนียมประเพณีของชาวสยามนี้ ก็เข้ามาอยู่ด้วยกับผู้ว่าราชการเพื่อคอยรับเสด็จ ไม่มีเวลาจะจัดเตรียมการอย่างไรได้ และพวกเราก็จำเปนต้องแต่งตัวอยู่อย่างธรรมดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงเวลา ๕ ล.ท. ทรงพระเก้าอี้หรือแท่นสั้นมีคนหาม ๘ คน ( พระราชยาน ) เสด็จประทับไคว่พระบาททางข้างน่า ( ขัดสมาธิ์ ) มีพระเจ้าลูกเธอเล็ก ๆ ๒ พระองค์ประทับสองข้าง แตร ๑ วงและกองทหารเกียรติยศ ๑ กองมีปืนใหญ่ภูเขา ๒ บอกนำเสด็จ สองข้างมีเจ้านายหลายพระองค์ทรงพระดำเนิรด้วยพระบาทตามเสด็จ กับมีพระเจ้าลูกเธอโดยเสด็จด้วยรถหลายพระองค์ มีข้าราชการและบริวารเปนอันมาก ที่ตรงทางจะเข้าทำเนียบ ได้จัดตั้งพระเก้าอี้ไวแต่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเลยเข้าไปในทำเนียบทีเดียว เสด็จพระราชดำเนิรไปยัง ห้องของผู้ว่าราชการตอนมุมเรือนชั้นบนและเสด็จประทับในที่รวาง เซอ แฮรี กับคุณหญิง ออด ข้าราช-การในราชสำนักก็หมอบเฝ้ากันอยู่บนพื้นต่ำ เว้นแต่ท่านกระลาโหมนั้น ( เอกเขนก ) ตะแคงอย่างเคารพอยู่ ณะคั่นบันไดข้างล่างที่จะขึ้นไปยังพื้นเรือนที่ยกไว้ พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยยินดี ด้วยทรงคำนวณเวลาอุปราคาได้ถูกต้องแน่นอน มีรับสั่งสนทนาอยู่นาน ตรัสเปนภาษาอังกฤษ ทรงแสดงความหวังพระราชหฤทัยว่าท่านเจ้าเมืองคงพอใจในการที่มาคราวนี้ และการที่ต้อนรับจะบริบูรณ์ทุกอย่าง ส่วนพระเจ้าลูกยาเธอเล็ก ๆ นั้นสาลวนเพลินด้วยทอดพระเนตรสมุดรูปถ่าย เมื่อเสด็จประทับอยู่สักครึ่งหนึ่งนาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนิรกลับ ได้มีรับสั่งให้พวกเราไปเฝ้าใน เย็นวันนั้นเพื่อดูลครอิกครั้งหนึ่ง

ครั้นเวลาค่ำประมาณ ๑๐ นาฬิกา ท่านเจ้าเมืองกับพวกในคณะจึงพากันไปยังพลับพลา พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกอยู่แล้วประทับทอดพระเนตรลครชนิดหนึ่ง ซึ่งสัตรีรุ่น ๆ แต่งตัวอย่างฉูดฉาดมากเปนผู้เล่น ค่ำวันนี้มีนายทหารเรือรบฝรั่งเศสและพวกฝรั่งเศสผู้มาตรวจสุริยอุปราคาเฝ้าด้วยหลายนาย กับทั้งชาวยุโรปที่รับราชการในรัฐบาลสยามด้วยหลายคน มีกัปตันบุช เจ้าพนักงานประจำตำแหน่งเจ้าท่ากรุงเทพ ฯ กัปตัน วัลรอนด์ ผู้บังคับการเรือรบหลวง อิมเปรกนะ ( ยงยศอโยชฌิยา ) สวมเครื่องแบบคล้าย คลึงกับราชนาวี ( อังกฤษ ) มาก ลครที่เล่นวันนี้ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพอพระราชหฤทัยมาก เล่นจับรบำชนิดหนึ่ง รำให้เข้ากับจังหวะดนตรีของประเทศดังได้กล่าวไว้แล้ว นอกจากดนตรีวงนี้พระเจ้าแผ่นดินยังมีแตรวงอย่างดีแบบยุโรปวงหนึ่ง และท่านกระลาโหมก็มีวงหนึ่ง ซึ่งท่านมีความเอื้อเฟื้อจัดส่งมาเล่นในเวลาพวกเรากินอาหารตอนเย็นในวันต้นที่เรามาถึง และได้เล่นเพลงเต้นรำและเพลงขับได้อย่างน่าชมที่สุด เมื่อดูลครได้สักครู่ พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้เรียกผู้เปนตัวลครเล่นต่าง ๆ เข้ามาใกล้ แล้วทรงอธิบายถึงลักษณะตัวเรื่องประทาน เซอ แฮรี ออด ทรงแจ้งว่าผู้เล่นเปนใครด้วยทุกคราวไป เปนการแปลกอยู่ที่ได้ทราบว่าผู้ที่เล่นนั้นโดยมากเปนธิดาของผู้ว่าราชการหัวเมืองต่าง ๆ และธิดาข้าราชการของพระเจ้าแผ่นดิน ธรรมเนียมเมืองไทยดูเหมือนบุตรหญิงเขาไม่ถือกันว่ามีราคาค่างวดอะไรนัก และจะยินดีที่จะปล่อยปละไปให้พ้นเสียได้ โดยเอาเข้าไปฝากไว้ในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าแผ่นดินโปรดการมโหรสพเหล่านี้ ในวิธีรำดูเหมือนพระองค์ทรงชำนิชำนาญจริง ๆ และเราได้ทราบว่า บางคราวพระองค์ทรงสำราญพระราชหฤทัย เสด็จประทับทอดพระเนตรอยู่จนดึกดื่น ในคราวนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับว่าพระองค์มีความเหน็ดเหนื่อยด้วยราชกิจที่ได้ทรงกระทำเมื่อตอนกลางวัน ที่ทอดพระเนตรอุปราคาและพระราชทานโอกาศให้เรากราบถวายบังคมลามาแต่หัวค่ำ ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๑๗ สิงหาคม มีพระบรมราชโองการ ให้พวกเราไปยังพลับพลา ได้พยายามฉายพระบรมรูปและรูปพวกในคณะผู้ว่าราชการไว้อิก เพื่อเปนที่รฦกในการที่ได้มานี้ แต่เครื่องถ่ายชำรุด ความพยายามแห่งคนฉายรูปของเราในคราวนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์เหมือนคราวอื่น ๆ แล้วพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ เซอ แฮรีกับคุณหญิง ออด เข้าไปลาข้าราชการฝ่ายใน พระเจ้าแผ่นดินเสด็จทรงนำไป นายนาวาเอก เอดีย์ และนายพันตรี แมกแนร์ นั้นก็โปรดให้เข้าไปด้วย เมื่อเข้าไปถึงข้างในได้พบปะเหล่าผู้เปนประธานฝ่ายใน แต่งกายด้วยผ้าทองอย่างงามมาก ประดับเครื่องอาภรณ์แลพราวตา พระองค์เจ้าหญิงที่ทรงพระเจริญเปนผู้ทรงเลี้ยงเครื่องดื่ม และพระเจ้าแผ่นดินได้มีพระราชดำรัสเปนภาษาอังกฤษกับท่านเจ้าเมืองอยู่นาน ได้ทรงแสดงความพอพระราชหฤทัยบ่อย ๆ ถึงที่ได้ทรงกระทำความคุ้นเคยกับ เซอ แฮรีแลคุณหญิง ออด ทรงหวังว่าพระราชไมตรีอย่างสนิทสนมในรวาง ๒ ประเทศจะดำรงอยู่สืบไป แล้วทรงอธิบายตอบข้อที่ เซอ แฮรี ออด กราบทูลถามถึงเรื่องพระเจ้าแผ่นดินที่สองแห่งกรุงสยามว่าด้วยอย่างไร และเหตุไรจึงตั้งแต่งขึ้นไว้ ขณะเมื่อท่านเจ้าเมืองเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินอยู่นั้น พระเจ้าลูกเธอทั้งพระองค์เจ้าหญิงและพระองค์เจ้าชายได้ทรงต้อนรับพวกที่ไปกับท่านเจ้าเมืองที่ในท้องพระโรง ทรงแจกก๊าศและพระรูปถ่ายแก่พวกเหล่านั้น และทรงแสดงความหวังในที่พระเจ้าแผ่นดิน คงจะได้เสด็จประพาศเมืองสิงคโปร์ เมื่อพวกเรากราบถวายบังคมลามา พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงประทานพระหัดถ์ให้สัมผัสทั้งหมด และเมื่อท่านเจ้าเมืองทูลลาก็ทรงแสดงความหวังพระหฤไทยว่า เซอ แฮรี จะสามารถมาเฝ้าถึงในกรุงเทพ ฯ สักวันหนึ่ง และมีรับสั่งถามว่า ถ้าพระองค์จะเสด็จเมืองสิงคโปร์ ท่านเจ้าเมืองจะมีความยินดีต้อนรับเสด็จฤๅไม่ ท่านเจ้าเมืองกราบทูลสนองว่า ไม่มีสิ่งไรจะทำให้มีความปลื้มใจยิ่งกว่าที่จะได้รับพระราชทานเกียรติยศ ในที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิรไปเยี่ยมเยียนเมืองสิงคโปร์

ครั้นพวกเราออกจากวัง ( พลับพลา ) มา พระเจ้าแผ่นดินก็ เสด็จลงเรือพระที่นั่งกลับกรุงเทพพระมหานคร ขณะเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จห่างออกจากฝั่งทเลแล้ว บรรดาข้าราชการสยามคณะกงซุลและชาวยุโรปอื่น ๆ ต่างก็ลงเรือไฟต่าง ๆ ที่จัดให้ไว้ใช้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มายังพระนครกรุงเทพ ฯ เรือ สเตล ไลต และเรือ กราสหอปเปอร์ ก็ออกไปเมือง ฮ่องกง เรือ เฟรลอง ไปเมืองไซ่ง่อน เรือสารถิ ใช้เปนเรือสำหรับบันทุกพวกนักดาราศาสตร์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เรือไปโห มีท่านเจ้าเมืองกับพวกก็ออกจากอ่าวไปในเวลาก่อนมืดหน่อยหนึ่ง และฝั่ง ทเลซึ่งในเวลาก่อนน่านี้ ๒-๓ นาฬิกาเต็มไปด้วยฝูงชน ก็คืนคงสู่สภาพแห่งความเปลี่ยวเปล่าตามเคยในเร็วพลัน ถ้าจะจบบรรยายเรื่องนี้เสีย โดยมิได้ชมถึงการที่พระเจ้าแผ่นดินสยามและข้าราชการของพระองค์ ได้ละขนบธรรมเนียมเก่าอันเปนเครื่องถ่วงความเจริญ เพื่อพระราชทานเกียรติยศแก่ท่านเจ้าเมืองในครั้งนี้ด้วยนั้นหาควรไม่ ( อังกฤษ ) ผู้ที่คุ้นเคยกับไทย และขนบธรรมเนียมของไทย ได้สังเกตเห็นว่า ที่ในราชสำนักจะได้เปลี่ยนแปลงเปนอย่างหมดจดเช่นทรงรับแขกเมืองครั้งนี้ แต่ก่อนมามิได้เคยปรากฎ เปนต้นว่าเปิดพระราชมณเฑียรพระราชทานโอกาศให้แขกเมืองเข้าไปได้ไม่ห้ามหวง และโปรดให้พบกับฝ่ายในให้ออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายในราชสกุลที่ทรงพระเยาว์ ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองชาวอังกฤษได้อย่างกิริยาเปนฉันทมิตรสนิทสนม เรื่องราวของคณะทูตต่าง ๆ และจดหมายเหตุของผู้ที่ได้เข้ามาเยี่ยมเยือนกรุงสยามแต่ก่อน มีแต่บันทึกเรื่องร้องทุกข์ที่ถูกขัดขวางไม่ยอมให้กระทำ ความคุ้นเคยพูดจากับราชสำนัก แลมีการหวงห้ามตามขนบธรรเนียมและพิธีของชาวสยามมากมาย นาย ครอฟอร์ดก็ดี รายาปรุก และ เสอร ยอน เบาริงก็ดี ก็ได้กล่าวความเหล่านี้ไว้ และท่านเหล่านั้นได้เล่าเรื่องราวอย่างยืดยาวว่าธรรมเนียมการกีดกันต่าง ๆ เช่นนั้นมีอยู่ทั่วไป จนกระทำความขัดข้องแก่พวกในคณะ ของท่านมากมายแม้แต่เรื่องเหน็บกระบี่เข้าเฝ้าก็ต้องถูกห้ามปราม แต่ในคราวนี้ไม่มีการแสดงให้แขกเมืองรู้สึกอย่างเช่นนั้นเลย พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์กลับสมาคมกับแขกเมือง อย่างยอมให้อิศระเท่ากับเปนผู้เสมอกัน และดูเหมือนจะมุ่งให้คล้อยตามธรรมเนียมของแขกที่มาหา การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชนชาติที่ไม่เคยยอมเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดูเปนเครื่องหมายว่าความไม่ยอมเขยื้อนออกจากที่ของพลเมืองนั้น ยังอาจมีทางจะได้รับความคล้อยไปตามชาติที่มีความเจริญ เพราะความคุ้นเคยกับประเทศที่มีความเจริญต่อไปในวันน่า ชาวสยามโดยปรกติ เปนคนมีอัธยาไศรยสงบเสงี่ยมและน่า คบหา ทั้งเฉลียวฉลาดและว่องไว แต่ดูชอบสนุกมากกว่าทำการงาน ไม่เปนผู้ชอบความวิวาทฤๅจะเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลง และกล่าวกันว่านิสัยใจคอของชาวสยามเกลียดชัง ความไม่สุจริตชาวสยามมีรูปพรรณสัณฐานเตี้ย พวกผู้หญิงโดยมากดูเหมือนหาที่สูงกว่า ๕ ฟิตขึ้นไปก็โดยยาก เครื่องนุ่งห่มผู้ชายใช้เสื้อกระ บอกหลวม ๆ ( ที่จริงนิยมเสื้อที่คับ ) มีแขนและตัวยาวลงมาถึงเอว และขัดดุมจนถึงคอ ( ไม่เปิดแปะคอเสื้อ ) กับมีนุ่งเปนผ้าทอของพื้นเมืองยาวประมาณ ๓ หลาและกว้าง ๑ หลา พันรอบเอวแล้วม้วนเอามาไว้ในหว่างขา (โจงกระเบน ) ได้เพื่อให้รูปอย่างกางเกง ( นิกเกอรบอกเกอร์ ) น่องและเท้าปล่อยไว้ให้เปลือย ( ไม่สวมถุงน่องรองเท้า ) แต่ผู้มีบันดาศักดิ์ ถ้าจะออกนอกบ้านมักใช้สวมรองเท้าฤารองเท้าแตะ พวกผู้หญิงแต่งตัวคล้ายพวกผู้ชายมาก ถ้าไม่ใช้เสื้อกระบอกก็ถนัดใช้ผ้าห่มคลุมพาดบ่า ( สไบเฉียง ) เปนเครื่องคลุมร่างกายได้บางส่วนเท่านั้น ทั้งผู้หญิงผู้ชายใช้โกนศีศะเหลือไว้แต่เบื้องบนเปนกระเปาะ ( ผมมหาดไทย ผมปีก ) ประมาณยาวขนาดเท่ากันกับแปรงปัดผ้าธรรมดา ซึ่งดูก็แปลกอยู่ เขากล่าวกันว่า ผู้ชายและผู้หญิงไว้ผมผิดกัน แต่ฝ่ายเราสังเกตไม่ออก เว้นแต่จะเปนด้วยผู้ชายประจงในเรื่องโกนมากกว่า เด็กเล็ก ๆ เอาผมไว้จนอายุได้ ๑๐ ฤๅ ๑๑ ขวบ ก็โกนเสีย ในการโกนผมมีพิธีใหญ่โต และถ้าเปนเจ้าก็มีการสมโภชอย่างเอิกเกริก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงชี้ให้ เซอ แฮรี ออด ดูเจ้าชายพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งจะได้โกน ( โสกันต์ ) ในปีน่า และทรงเชิญให้ หิส เอกษเลนศิ มากรุงเทพ ฯ เพื่อดูพระราชพิธี ซึ่งทรงรับรองแก่ หิส เอกษเลนศิ ว่าจะเปนงานใหญ่น่าดูมาก ประเพณีแปลกของกรุงสยามมีอย่างหนึ่ง คือมีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์พร้อมกัน แต่ในเวลานี้ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ เพราะพระองค์หลังเสด็จสวรรคตเสียเมื่อปี ( ค.ศ. ) ๑๘๖๖ เหตุแลพงษาวดารของการที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ นี้ดูเหมือนไม่ใคร่เข้าใจกันโดยมาก จึงเห็นควรจะนำพระบรมราชาธิบายซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงพระกรุณาพระราชทานเมื่อ เซอ แฮรี ออด กราบทูลถามนั้นมากล่าวไว้ด้วย ความว่าพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ เปนผู้ซึ่งคนทั้งหลายเข้าใจกันว่ามีสิทธิในราชสมบัติ ถัดจากพระเจ้าแผ่นดินที่ได้พร้อมกันถวายราชสมบัติ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคตถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ อยู่ในขณะนั้น ข้าราชการก็มักถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ และตั้งเจ้านายองค์ที่มีสิทธิดีที่สุดขึ้นเปนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ เสด็จทิวงคต พระเจ้าแผ่นดินที่ ๑ จะทรงตั้งใดเปนแทนได้ แต่ไม่ใคร่จะเปนธรรมเนียมที่จะต้องทำเช่นนั้น มักปล่อยตำแหน่งให้ว่างอยู่จนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๑ เสด็จสวรรคต อำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ นั้นดูเหมือนแล้วพระ

๑ คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดินที่ ๑ จะพระราชทานอย่างไร แต่เดิมมาดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ มีอำนาจมากกว่าในชั้นหลังที่ล่วงมานี้ ความประสงค์ที่ตั้งแบบธรรมเนียมมีพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ นี้ แท้จริง คือ จะป้องกันความแตกร้าวในเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต เพราะการรับราชสมบัติต้องเปนทางทายาทในพระราชวงศ์ และการเลือกผู้ซึ่งจะเปนพระเจ้าแผ่นดินก็อาศรัยความพร้อมเพรียงของขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวง จึงเห็นได้ชัดว่า เมื่อเลือกพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ถ้าตั้งรัชชทายาทได้ด้วย ก็จะมิใคร่มีช่องทางน้อยที่จะเกิดการวิวาท อันจะเปนภัยต่อสันติศุขของบ้านเมืองของประเทศ

จบ

  1. คือ รูปที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้