ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 61/บัญชี 2
หน้าตา
ชื่อปีในหนังสือเล่มนี้ | ||
ไจ้ | ชวด | |
เป๊า | ฉลู | |
ยี่ | ขาล | |
เม้า | เถาะ | |
สี | มะโรง | |
ไส้ | มะเส็ง | |
ซง้า | มะเมีย | |
เมด | มะแม | |
สัน | วอก | |
เล้า | ระกา | |
เสด | จอ | |
ไก๊ | กุน | |
ชื่อศกที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ | ||
กาบ | เอกศก | |
ดับ | โทศก | |
ระวาย | ตรีศก | |
เมิง | จัตวาศก | |
เบิก | เบ็ญจศก | |
กัด | ฉอศก | |
กด | สัปตศก | |
ลวง | อัฏฐศก | |
เต้า | นพศก | |
กา | สัมฤทธิศก |
วิธีนับปี ทางไทยเหนือเอาศกไว้หน้า เช่น ปีชวด เอกศก ใช้ว่า “กาบไจ้” ปีฉลู โทศก ใช้ว่า “ดับเป๊า” ดังนี้เป็นต้น และใช้นับศกตามอย่างข้างจีน มิได้นับศกตามจุลศักราช จุลศักราชที่เราใช้กันอยู่ ตัวเลขท้ายตรงกับศกเสมอ เช่น ปีชวด เอกศก ตัวเลขท้ายจุลศักราชต้องเป็น ๑ มิได้เปลี่ยนเป็นอื่นเลย ส่วนในหนังสือเล่มนี้เพราะเหตุที่ใช้นับศกอย่างข้างจีน และใช้จุลศักราชอย่างไทย ศกจึงมิได้ตรงกับเลขตัวท้ายของจุลศักราช เช่น กาบไจ้ มิได้ตรงกับ ๑