ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมโคลงโลกนิติ/๐๐๖

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
หน้า ๗๐-๗๑

สารบัญโคลง



๖.

ตคฺครญฺจ ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา[ก]
โลกนิติ


ก. ใบพ้อคนห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยไปมา ทั่วผู้
คือคนหมู่เมธา แสวงเสพ กันนา
อาจเจริญความรู้ เฟื่องฟุ้งหอมขจร
สำนวนเก่า


ข. ใบไม้ชนห่อหุ้ม กฤษณา
ใบอบรสคันธา กลิ่นเกลี้ยง
ดุจเสพทวยเมธา เธียรภาพ
พลอยล่องลอยกลิ่นเพี้ยง เฟื่องฟ้าสรรเสริญ
สำนวนเก่า


ค. ชนใดเด็ดหญ้าห่อ กฤษณา
อีกสรรพคนธา กลิ่นฟุ้ง
อายอบกลิ่นหญ้าคา ชูชื่น นะพ่อ
เสพปราชญ์ธรรมโรจน์รุ้ง รสแท้เทียมเสนอ
สำนวนเก่า


ง. ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤๅม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร



เชิงอรรถ

[แก้ไข]

คาถาหมายเลข ๖ ตรงกับใน โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร. และ สุตวัฑฒนนีติ ร. แต่เขียนต่างไปบ้าง คือ

ตคฺครญฺจ – ธรรมนีติ ร., กรมศิลปากร (๒๔๙๐) ใช้ ตครญฺจ; สุตวัฑฒนนีติ ร. ใช้ ตคํรว
สุรภี วายฺติ – ธรรมนีติ ร. ใช้ คนฺธํ วายนฺติ

บทอธิบายศัพท์

[แก้ไข]
  • ใบพ้อ – ใบต้นกะพ้อ เป็นต้นปาล์มชนิดหนึ่ง แต่ในคาถา ปลาเสน แปลว่า ทองกวาว
  • กฤษณา – ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ แต่ในคาถา ตคฺครญฺจ คือ พุดจีบหรือพุดสวน (ดังนั้น บาทแรกหากแปลตามคาถาก็น่าจะเป็น ใบทองกวาวห่อดอกพุดจีบหรือพุดสวน)
  • คันธา – คันธะ คือ กลิ่นหอม
  • ฤๅม้วย – ไม่จาง ไม่หมด ไม่สิ้นไป




๕. ปลาร้าห่อหุ้มด้วย ใบคา ขึ้น ๗. ลูกเดื่อครั้นสุกไซร้ มีพรรณ