ข้ามไปเนื้อหา

ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 1/ส่วนที่ 11

จาก วิกิซอร์ซ
พระไอยการลักษณภญาน[1]
จะกล่าวซึ่ง[2] ลักษณอันชื่อสักขินั้น มีบาฬีว่า
โย จายํ ปิ สจฺจภูโต ยุตฺโต สกฺขิ ติ นามโก
โส ปิ ธมฺโม วิวาทานํ กงฺขฉินฺทนิทสฺสโน
แปลว่า โย จ อยํ ธมฺโม อันว่าสภาวะอันใด สจฺจภูโต
รู้มีสภาวะเหนได้ยินโดยจริง กงฺขฉินฺทนิทสฺสโน อันสำแดง
ซึ่งข้อความให้ขาดสงไสย วิวาทานํ แห่งชนทังหลายผู้วิวาทกัน
โส ปิ ธมฺโม แม้นอันว่าสภาวะนั้น สกฺขิ ติ นามโก มีชื่อ ๆ
ว่าสักขิคือพญาน ยุตฺโต ก็ควร
อนึ่ง สาขคดีอันมีโดยคำภีรพระธรรมสาตร อันสมเดจ์
บรมราชกระษัตรบันญัติ จัดเปนบทมาตราสืบ ๆ กันมาดั่งนี้
ศุภมัศดุ ศักราช ๑๘๙๔ พยักฆสังวัจฉะระเชษฐมาเสกาล
ปักเขเอกาทศมีดิดถียังอาทิตยวาระ พระบาทสมเดจ์พระรามา
ธิบดีศรีสุนธรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่าน
กรุงเทพมหานครบวรทวาราวะดีศรีอยุทธยามหาดิหลกภพ
นพรัตนราชธานีบุรีรมยอุดมมหาสถาน ทรงทศพิทราชธรรมอัน
ประเสริฐ เสดจ์สถิตยณะพระธินั่งรัตนสิงหบัญชรมหาปราสาท
พร้อมด้วยหมู่มาตยาภิมุกขมนตรีกระวีชาติราชปโรหิตตาจารย
เฝ้าพระบาทสมเดจ์บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว จึ่ง
มีพระราชโองการมาณะพระ[3] บันทูลสุรสิงหนาทดำหรัดแก่
ผู้พิภากษาสุภากระลาการทุกกระทรวงถบวงการว่า เมื่อ
กระลาการจะเผชิญพญาณไซ้ ให้กระลาการประกาศจำเภาะ
หน้าพญาณว่า สมเดจ์พระกุกกุสนธ พระโกนาคม
พระกัษษป ทังสามพระองคนี้ ได้ตรัสแก่พระสรรพัตัญาญาณ
แล้วเสดจ์เข้าสู่พระบรินฤพานไปเปนลำดับ แลสมเดจ์
พระศรีสากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทรงส้างพระสมภาร
บาระมี ๔ อสงไขยแสนมหากัลป บำเพญพุทธบริจาคทัง ๕
พระบาระมี ๓๐ ทัศ จึ่งได้ตรัสเปนสมเดจพระพุทธิเจ้าในพระรัตน
บันลังก์ควงไม้ทุมราชพระมหาโพธิ โปรดจัตุบรรพสัตวทัง ๔ คือ
พระภิกษุ ภิกษุนี อุบาสก อุบาสีกา ให้ลุะพระอรหัตปฏิสัมภิทา
ญาณครบกำหนดพุทธเวไนย ภอพระชนมายุศมท่วน ๘๐ พระ
พรรษา ก็เสดจ์เข้าสู่พระอมัตมหานครนฤพาน ทรงพระมหา
กรรุณาพระราชทานพระบวรพุทธสาศนาไว้ ๕๐๐๐ พระพรรษา
แลพระไตรยปิฎกธรรม ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ กับทังพระ
ปฏิมากรเจดีย ฉลองพระองคไว้เปนที่ไหว้ที่สการะบูชาแก่
เทพยุดามานุษยทังปวง แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย
คือ พระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล
พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษา
พระพุทธสาศนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอบขันธเสมาแล
พระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถาน
ที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน ถ้าเหน ให้ว่าเหน
ได้ยิน ให้ว่าได้ยิน รู้ ให้ว่ารู้ ถ้าหมีได้เหน ว่าได้เหน หมีใด้[วซ 1] ยิน ว่า
ได้ยิน หมี[4] รู้ ว่ารู้ แผ่นพระธรณีอันหนาได้สองแสนสี่หมื่น
โยชนอย่าได้ทรงซึ่งคนอันหาความสัจหมีได้ไว้เลย ให้เปนพิกล
บ้าไบ้วิบัดิต่าง ๆ ถ้าจะไปบกเข้าป่า ให้เสือกิน แลต้องอะสุนีบาต
สายฟ้าฟาด แลบังเกิดอุบัดิโลหิตตกจากปากจะหมูกถึงซึ่ง
ชีวิตรพินาศ อย่าให้ทันสั่งบุตรภรรยา แลคำสาบาลทังนี้จงให้
ได้แก่คนอันหาความสัจมิได้
ประการหนึ่ง ให้ท่านตัดศีศะคนซึ่งเปนพญาณหาความสัจ
หมีได้ให้มากกว่าก้อนส้าวคนทังหลายในมนุษโลกยนี้ อนึ่ง
ให้ท่านตัด
  • มือ
  • เท้า
เสียให้มากกว่าเส้นหญ้า อนึ่ง ให้ท่านเชีอดเนื้อ
คนอันหาความสัจมิได้ให้มากกว่าแผ่นดินอันหนาได้สองแสน
สี่หมื่นโยชน อนึ่ง ให้ท่านควักตาคนอันหาความสัจหมีได้ให้
มากกว่าดาวในพื้นอากาศ แลคนอันหาความสัจหมีได้นั้น ครั้น
จุติจากมนุษแล้ว ให้ไปบังเกิดเปนเปรดในเชิงเขาคิชกูฎมี
ตัวอันสูงได้สามคาพยุต มีปากเท่ารูเขม เอาเลบตนแกะซึ่งโลหิต
ในกายกินเปนภักษาหาร สิ้นพุทธันดรกัลปหนึ่ง ครั้นจุติ
จากเปรดแล้ว ให้ไปตกในมหานรกทนทุกขเวทนาแสนสาหัศ
สิ้นพุทธันดรกัลปหนึ่ง ซึ่งหมีรู้ว่ารู้นั้น นายนิริยบาลเอากาย
ขึ้นวางเหนือแผ่นเหลกแดง แล้วเอาเหลกแดงตรึงศีศะ
ตรึงเท้าไว้แล้วเอาขวานผ่าอกตัดตีนสีนมือเสีย ซึ่งหมีได้ยินว่า
ได้ยินนั้น นายนิริยบาลเอากายขึ้นวางเหนือแผ่นเหลกแดง แล้ว
เอาหอกอันใหญ่แทงหูขวาตะหลอดหูซ้ายแทงหูซ้ายตะหลอด
หูขวา ซึ่งหมีได้เหนว่าได้เหนนั้น นายนิริยบาลเอากายขึ้นวาง
เหนือแผ่นเหลกแดง เอาฃอเกี่ยวตา
  • ซ้าย
  • ขวา
คร่าออกมา แลคน
ผู้หาความสัจหมีได้นั้นกลัวไภย แล่นลงไปยังขุมคูธนรกอันเตม
ไปด้วยลามกอาจมเดือดพล่านว่ายอยู่ มีตัวอันลลายไปแล้ว
เกิดขึ้นมาเสวยทุกขเวทนาอีกเล่า ครั้นจุติจากนรกแล้ว
จักเกิดเปนสุนักขเรื้อนเปนสัตวเดือนกิ้งกื ถ้าเกิดเปนมนุษ
จะเปนง่อยเปลี้ยแต่ในครรภ์ แลตานั้นบอดหูนั้นหนวก เปนคน
เตี้ยค่อมบ้าใบ้แต่กำเนิด เกิดวิบัดิสรรพต่าง ๆ แลไภยอันตราย
ซึ่งกล่าวมาทังนี้ จงได้แก่พญาณอันหาความสัจมิได้นั้น
ถ้าแลผู้เปนสักขิพญาณกล่าวแต่ตามสัจตามจริงไซ้ แล
เกิดมาในภพใด ๆ ถ้าเปนบุรุษ จะบริสุทธไปด้วยรูปโฉมพรรณ
สัณฐานอันประเสริฐ บังเกิดเปนนักปรากอปรด้วยปรีชาชาญ
ถ้าเปนสัตรีจะมีพรรณสัณฐานอันไพบูรรณ แลผลแห่งตน
อันมีความสัจนั้น ไปในอะนาคต จะทรงพระไตรยปิฎกธรรมอัน
เปนที่จะยกเอตะทักคะในพระพุทธสาศนา สมเดจ์พระศรี
อาริยเมตไตรยเจ้าอันจะมาตรัสในภายภาคหน้า แลจะบ่ายหน้า
เข้ายังพระอมัตะมหานครนฤพานนั้นแล
อนึ่ง ให้ผู้พิภากษาสุภากระลาการเลงดูคำพญาณนั้นโดยระบุะสำนวน ควรที่จะฟัง ก็ให้ฟัง มิควรที่จะฟัง อย่าให้ฟัง ให้ฟังเอาคำพญาณแต่ที่อันจริง ได้เนื้อความประการใด จึ่งให้เลงดูคำสักขิพญาณ แลให้ผู้พิภากษาตั้งสติปัญาผูกพันทในอารมณ พิจารณาดูโทษอันใหญ่
น้อย
อันมีภาย[5] ในภายนอกสรรพการแห่งอาตมาภาพให้แจ้งในปัญาก่อน แล้วจึ่งให้ตั้งใจปลงฟังคำพญาณจงหนัก อย่าให้ลุะอำนาทแก่ใจอันเปนบาป แลพิภากษาว่ากล่าวประกอบด้วยปัญาจงเลอียด อย่าให้เลาะและปากเบา จึ่งจะสมเปนใหญ่ในที่พิภากษาปรับคดีทั้งปวง แม้นจะว่ากล่าวพิภากษาเนื้อความคดีทังปวงนั้น ให้เลงดูในคำพญาณแลทางความให้เหนแน่ใจในคนเดียวก่อน ถ้าได้พิภากษาว่ากล่าวออกไปแล้วมีผู้เหนคดีนั้นบมิควรแลจะทักท้วงควรให้ฤ้ๅพิภากษาพิจารณาไปจงได้จริง อย่าลุะอำนาทมัวเมาถือทฤฐิมานะจะได้อัปราไชยแก่ผู้มีปัญาเปนอัน[6] เที่ยงแท้ ผู้พิภากษาสุภากระลาการจงรู้ในลักษณพญาณทัง ๕ ประการนี้ ก็ย่อมจะเปนที่สรรเสริญแก่บุทคลทังปวง แลพญาณ ๕ ประการนั้น คือ ราชสกูลประการ ๑ พราหมณสกูลประการ ๑ แพทยสกูลประการ ๑ สูทธสกูลประการ ๑ หินะสกูลประการ ๑ อันว่าพินิจพิดเคราะหสกูลแห่งพญาณท่านกล่าวไว้ดั่งนี้
อนึ่ง ในลักษณพญาณกอปรด้วยองค ๖ ประการ คือ บุทคลกอปรด้วยเคหสถานอันบริบูรรณ ๑ คือว่าบุทคลอันบริบูรรณด้วยลูกหลานมาก ๑ คือว่าบุทคลกอปรด้วยน้ำใจเปนสัปรุษ ๑ คือว่าบุทคลมีน้ำใจกอปรด้วยกุศล ๑ คือว่าบุทคลกอปรด้วยตระกูลเปนเศรษฐีอันประเสริฐ ๑ คือว่าบุทคลเปนที่สการบูชาแก่คนทังปวง ๑ อันว่าบุทคลกอปรด้วยองคหกประการดั่งนี้ จึ่งควรให้กระลาการถามเอาผู้นั้นเปนพญาณ
ถ้าทวยราษฎรทังปวงผู้มีอรรถคดีอ้างพญาณ จะฟังเอาเปนพญาณหมีได้ คือว่า
คน ๓๓
จำพวก
คนหมีได้อยู่แก่ศีล

คนไม่มีเรือนเที่ยวจร แล
คนกู้นี่ยืมสีนผู้เปนความ คนถือกระเบื้องกระลาฃอทาน
คนผู้เปนทาษผู้เปนความ คนหูหนวก
คนเปนญาติผู้เปนความ คนตาบอด
คนเปนมิศหายผู้เปนความ หญิงนครโสภิณี
คนเปนเพื่อนกินอยู่สมเล หญิงแพศยา
กับผู้เปนความ หญิงมีครรภ
คนวิวาทกับผู้เปนความ เปนกระเทย
คนมักมาก ถ้อย
ความ
เปนบันเดาะ
คนผูกเวรกับผู้เปนความ คนเปน พ่อ
แม่
มด
คนเปนโรคมาก คนเปนพิกลจริต
เดก ๗ เข้า หมอยาหมีได้เรียนคำภีรแพท
เถ้า ๗๐ ช่างเกือก
คนมักเสียดส่อท่าน คนปะมง
คนเต้นรำฃอทานเลิ้ยงชีวิตร คนนักเลงเล่นเบี้ยบ่อน
คนขับฃอทานท่าน คนเปนโจร
คนโทโสมาก
คนเปนเพชฆาฎ
คน ๓๓ จำพวกนี้ อย่าให้ฟังเอาเปนพญาณ ถ้าโจท
จำเลย
ยอมให้สืบ ฟังเอาเปนพญาณได้
1
อันว่าลักษณพญาณนั้นมีสามจำพวก คือว่า[วซ 2]ทิพ
อุดร
อุตริ
พญาณ ๑ อันว่าทิพพญาณนั้น คือ พระภิกษุทรงธรร[วซ 3] พราหมณาจารยอันอยู่แก่ศีลแลพรศกรรม แลนักปราราชบัณฑิตยอันอยู่แก่ธรรม แลขุนนางผู้มีบันดาศักดิ์ดำรงราช
2
อุดรพญาณนั้น คือ นายหัวพันหว[วซ 4] ปากภูดาษทำมรงจ่าเสมียรนักการพ่อค้าแม่ค้าคนทำไร่ไถนาพึงเอาเปนมูลความ
3
อุตริพญาณนั้น คือว่า พี่น้องพ้องพันธุญาติกาตนเอง แลมิตรสหายเพื่อนกินอยู่สมเล คนผู้ยากเปนวนิพกแลคนพญาธิเรื้อนหูหนวกตาบอดอันอยู่รัทยาหาวงษาหมีได้
4
มาตราหนึ่ง ผู้มีอรรถคดีทังสองเปนความกันอ้างพญาณ ฝ่ายค่างหนึ่งอ้างได้ทิพญาณก็ดี อุดรพญาณก็ดี อุตริพญาณก็ดี ท่านให้พิดเคราะดูคำพญาณ ๓ ประการนี้ไซ้ ถ้าว่าสมด้วยผู้อ้าง ให้พึงพิจารณาดูผู้มีอรรถคดีทังสองนั้น ผู้ใดเปนอุก ผู้ใดหมีได้เปนอุก ให้พิภากษาตามโทษนั้นเถิด
5
อนึ่ง ทังสองอ้างพญาณร่วมกันอันเดียว ถ้าสมข้างผู้ใด ให้เอาข้างผู้นั้นเปนชณะแก่ความ ท่านเรียกว่า สมพญาณ ถ้าสมพญาณมีพิรุท ท่านเรียกว่า อะสมพญาณ ท่านว่า หมีเปนชณะแก่ความ ให้เลงดูเขาทังสองสถานนี้ ให้พญาณนั้นพิสูทตัวเอง ถ้าชณะแก่พิสูทแล้ว เปนชณะแก่ความ กล่าวมาทังนี้ชื่อว่า สมพญาณอะสมพญาณ
6
อนึ่ง ถ้าโจท
จำเลย
อ้างพญาณต่าง ๆ กัน ชื่อ นา ๆ พญาณ ถ้าอ้างร่วมกัน ชื่อ สมะพญาณ สมคำผู้ใดเปนชณะแก่ความ ถ้าพิรุทไซ้ ชื่อ อะสมพญาณ หมีเปนชนะแก่ความ ให้ใคร่ดูทิพพญาณอุดร
อุตริ
พญาณที่จะฟังได้หฤๅหมีได้ ให้ฟังเอาแต่ที่อันจริง ถ้าผู้หนึ่งอ้างพญาณ ครั้นไปเผชิญพญาณ ๆ ให้การว่า มีผู้รู้เหนได้ยินเปน ๓ ต่อออกไป ชื่อ โยนพญาน สมดังคำอ้าง ฟังเอาเปนพญาณได้
7
มาตราหนึ่ง โยนพญาณนั้น คือ ทังสองอ้างพญาณ
คน พญาณพิสูทตัวแล้วกล่าวคดีสมอ้าง แลมีคำพญาณนั้นระบุะว่า มีผู้รู้เหนได้ยินด้วยอีกคน
คนก็ดี ท่านว่า ให้เอาคำพญาณซึ่งระบุะอ้างต่อไปนั้นกฎเอาไว้ แล้วให้บังคับบันชา ถ้ามิควรจะสืบ อย่าให้สืบ ถ้าควรที่จะสืบ ให้สืบ ถ้าโยนพญาณนั้นกล่าวสมคำพญาณ ท่านว่า ชื่อ ชะนะสมพญาณ ถ้าโยนพญาณกล่าวคดีหมีสม อย่าให้ฟังถ้อยคำมันผู้เทจ์
8
อนึ่ง ยลพญาณนั้น คือ วานท่านให้ไป[7] นั่งรู้เหนด้วย แลคนนั้นก็รับว่า มีผู้รู้เหนสามต่อไซ้ ท่านให้พิดเคราะหดูคำเขาทังสองนั้น ถ้าสมแล้ว ให้ฟังเอาคำพญาณนั้นได้
9
อนึ่ง กลพญาณนั้น คือ วานท่านไปถามเปนคำนับข้างหนึ่งรับ ท่านให้พิจารณาดู ถ้าเปนทิพพญาณ อุดรพญาณ ฟังได้ ถ้าเปนอุตริพญาณ ฟังเอาหมีได้ ท่านว่า บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว
10
๑๐อนึ่ง ผู้มีอรรถคดีอ้างพญาณ ๆ ให้การแลแก้ค้านเข้าด้วยฝ่ายโจท
จำเลย
ไซ้ ชื่อพญาณอาษา ท่านบให้พึงฟัง ให้กฎเอาคดีนั้นเปนแพ้
11
๑๑อนึ่ง สมพญาณนั้น คือว่าโจท
จำเลย
ทังสองอ้างพ่อแม่พี่น้องญาติฝ่ายข้างหนึ่งเปนพญาณ ๆ พิสูทตัวแล้วกล่าวสมอ้างผู้นั้น ท่านว่า เปนองคพญาณ เปนชะนะแก่ความ บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว
12
๑๒ทิพพญาณนั้นมี ๑๕ ประการ ๆ หนึ่ง อ้างผู้อยู่แก่ศีลทรงพรต ประการหนึ่ง อ้างนักปราราชบัณฑิตยผู้อยู่แก่ธรรม ประการหนึ่ง อ้างท่านผู้มีบันดาศักดิ ประการหนึ่ง อ้างพญาณร่วมกัน ประการหนึ่ง พระภิกษุวิวาทกันพระครูเจ้าวัดเปนพญาณ ประการหนึ่ง ศิษยโยมวิวาทกัน ครูบาอาจาริยชิต้นเปนพญาณ คู่ความทังสองวิวาทกัน สุภากระลาการเปนพญาณ บิดามานดาวิวาทกันบุตรเปนพญาณ บุตรเปนความกัน บิดามานดาเปนพญาณ พี่วิวาทกัน น้องเปนพญาณ น้องวิวาทกัน พี่เปนพญาณ หลานวิวาทกัน ปู่ญ่าตายายลุงป้าน้าอาวอาเปนพญาณ ปู่ญ่าตายายลุงป้าน้าอาวอาวิวาทกัน หลานเปนพญาณ บ่าววิวาทกัน นายเปนพญาณ ข้าเปนความกัน เจ้าเงินเปนพญาณ
กล่าวมาทัง ๑๕ ประการนี้ พิสูทตัวชะนะแก่พิสูทกล่าวคดีสม ท่านให้เอาเปนทิพพญาณ ชะนะแก่ความ บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว
13
๑๓อนึ่ง ลักษณพญาณอันจะฟังเอาเปนมูลคดีนั้น คือว่า อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน ทำกินด้วยกัน จะฟังเอาเปนพญาณได้แลหมีได้นั้น มีดั่งนี้
คือ เมียน้อยเมียหลวงวิวาทกัน อ้างผัวเปนพญาณ ท่านหมีให้ฟังเอาได้ เหตุผัวมืดมัวด้วยเสน่หรักษใคร่แลอาไลยอยู่ในทรัพยสิ่งของ หมีได้กล่าวแต่ที่อันจริง ท่านให้ฟังเอาแต่ชาวเกลอแลเพื่อนบ้านเปนพญาณในมูลคดีความ
ประการหนึ่ง ในคงคามหาสมุท ชาวเรือ
สำเภา
วิวาทกัน เพื่อนเรือ
สำเภา
เปนพญาณ
ประการหนึ่ง ชาวเรือ
สำเภา
ลำเดียวกัน ผู้ไปเรือ
สำเภา
ลำเดียวกันเปนพญาณ
ประการหนึ่ง เดิรหนทางด้วยกันวิวาทกัน ผู้เดิรหนทางด้วยกันเปนพญาณ
ประการหนึ่ง เดิรหนไปอาไศรยศาลาด้วยกันวิวาทกัน[8] ผู้เดิรหนอาไศรยศาลาด้วยกันเปนพญาณ
ประการหนึ่ง ไปกลางป่ากลางดงห้วยเขาด้วยกันวิวาทแก่กัน เอาพรานป่าแลโขมดป่าผู้ไปด้วยกันเปนพญาณหน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/353หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/354หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/355หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/356หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/357หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/358หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/359หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/360หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/361หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/362หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/363หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/364หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/365หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/366หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/367หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/368หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/369หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/370หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/371

  1. พิมพ์ตามฉะบับหลวง L15x ยังเหลืออีกฉะบับหนึ่ง คือ L15 (ก)
  2. ต้นฉะบับ: ซึง แก้ตาม ก
  3. ก: คำว่า พระ ไม่มี
  4. ก: ถ้าหมี
  5. ต้นฉะบับ: มีในภาย แก้ตาม
  6. ก: ปัญาอันเปน
  7. ก: ท่านไปให้
  8. ก: คำว่า กัน ขาดไป


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "วซ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="วซ"/> ที่สอดคล้องกัน