หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/38

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓

สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีป่วยหนักถึงแก่พิราลัยลงในเดือนสิบสอง ปีวอก โท ก็การตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเป็นปกติทุกบ้านทุกเมืองนั้น ถ้าเมืองใดเจ้าเมืองไม่มีตัวลง อำนาจสิทธิ์ขาดในที่จะว่าการแผ่นดินก็คงเลื่อนลดส่วงลงมาอยู่ในที่ผู้ที่มีฐานันดรเป็นที่สองรองเจ้าเมืองมาแต่ก่อน ถ้าการเป็นไปดังนี้ก็เป็นดีเป็นงาม เป็นอันเห็นว่า การบ้านเมืองเป็นปกติ แลความดำริของเมืองใหญ่ซึ่งได้แต่งตั้งมาแต่เดิม ก็ปรากฏว่า เป็นอันคิดชอบ แต่การจะเอาเป็นอย่างเยี่ยงเที่ยงดังนั้นทุกคราวทุกครั้งทุกบ้านทุกเมืองก็ไม่ได้ การก็คงลงแต่ตามน้ำใจผู้ใหญ่ผู้น้อยในผู้ครองเมืองนั้นเป็นอันมาก ตลอดลงไปจนราษฎรจะพร้อมใจกันทำบอกปันร้องขอให้ผู้ใดเป็นใหญ่ต่อไปนั้น ให้เป็นประมาณ

ก็การครั้งนี้ ตั้งแต่องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีถึงแก่พิราลัยลงแล้วในเตือน ๑๒ บีวอก โท ผู้ครองฝ่ายกรุงเทพฯ ได้ส่งถึงแลรับตอบศุภอักษรว่าด้วยราชการเมืองอุดงมีไชย กับองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้าซึ่งมีฐานนดรเป็นที่ ๒ ที่ ๓ นั้น แทนการที่เคยส่งถึงแลรับตอบกับองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีมาแต่ก่อน แต่ยังหาได้เลื่อนที่แต่งตั้งให้เป็นทรงราชเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีไม่ ด้วยเหตุสองประการ ประการหนึ่ง คือ การศพองค์สมเด็จพระหริระกษรามมหาอิศราธิบดียังไม่เสร็จ อีกประการหนึ่ง จะรอฟังความปรารถนาและความชอบใจของพระยาพระเขมรใหญ่น้อย จะชอบใจให้เลื่อนโดยลำดับหรือจะคิดแปรผันหันเหไปประการใด ก็องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้าไกรแก้วฟ้า ตั้งแต่ออกไปอยู่ในตำแหน่งช่วยราชการกับพระ บิดามาจนบัดนี้ จะได้มีความขุ่นข้องหมองหมางขัดเดืองกับผู้ครองแผ่นดินใน