ห้องสิน/เล่ม ๓

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)

ปก ลงสารบัญ






ห้องสิน
เล่ม ๓






ปกใน ขึ้นลงสารบัญ



ห้องสิน
เล่ม ๓



พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ๓,๐๐๐ ฉบับ
พ.ศ. ๒๕๐๖




องค์การค้าของคุรุสภา
ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
ถนนราชดำเนินกลาง
จัดพิมพ์จำหน่าย


๒๐๐๔



หน้า ก–จ ขึ้นลงสารบัญ



คำนำ


ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยเพื่อทบทวนงานที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีแรก คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติให้เพิ่มการจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยขึ้นอีกสามชุด คือ ชุดประชุมพงศาวดาร ชุดรามเกียรติ์ และชุดพงศาวดารจีน

ชุดพงศาวดารจีนซึ่งจัดเป็นชุดที่ยี่สิบนี้ คณะกรรมการได้มีมติให้จัดพิมพ์เฉพาะเรื่องที่นับเนื่องเป็น "พงศาวดารจีน" จริง ๆ เสียก่อน ส่วนเรื่องจีนอื่น ๆ ที่จัดว่า เป็น "เกร็ด" พงศาวดารบ้าง หรือที่แต่งเป็นแบบนวนิยายบ้าง ให้จัดพิมพ์ต่อภายหลัง

ความจริงหนังสือพงศาวดารจีนไม่ว่าประเภทใดมีผู้นิยมอ่านกันมาก ในสมัยก่อน ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปติดพงศาวดารจีนเหมือนกับการรับประทานอาหาร ฉะนั้น จึงปรากฏว่า บรรดาหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องลงเรื่องจีนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องเป็นประจำ นักอ่านจะซื้อหนังสือพิมพ์รายวันเพื่ออ่านเรื่องจีนวันต่อวัน เรื่องที่ลงพิมพ์นั้นบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยพิมพ์เป็นเล่มมาแล้ว แต่หาอ่านไม่ได้ เพราะต้นฉบับเดิมหายาก และมิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แปลขึ้นใหม่จากนวนิยายจีนซึ่งแต่งอิงพงศาวดาร บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักประพันธ์ไทยแต่งข้นเองทำนองแต่งนวนิยายอาศัยพงศาวดารจีน เรื่องอิงพงศาวดารจีนที่น่าอ่านเพราะเป็นเรื่องมีคติแก่ชีวิตและครอบครัวก็มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องจอยุ่ยเหม็ง เป็นต้น

ส่วนเรื่องจีนที่จัดได้ว่า เป็นเรื่อง "พงศาวดาร" นั้นปรากฏจากหนังสือตำนานสามก๊ก พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลขึ้นสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก นับเป็นเริ่มแรกของการแปลพงศาวดารจีนมาเป็นภาษาไทย ในรัชกาลที่ ๒ ได้มีการแปลบ้าง แต่ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ได้มีการแปลในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลต่อ ๆ มา

แต่การแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยในครั้งนั้นหาได้แปลตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีนไม่ เข้าใจว่า อาจเพ่งเล็งไปในความสนุกของเรื่อง หรือตามแต่จะหาต้นฉบับได้มากกว่า ทั้งผู้อ่านไม่ปรารถนาจะหาความรู้ทางประวัติศาสตร์นอกจากความสนุกเป็นสำคัญ แต่ในการพิมพ์คราวนี้ คณะกรรมการมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดพิมพ์ใหม่ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน ซึ่งบางทีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจของประวัติศาสตร์บ้าง จึงได้เรียงลำดับการพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ

๑.   ไคเภ็ก
  • เริ่มแต่ประวัติศาสตร์ยังเจือปนด้วยนิยาย
  • เช่น การสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สร้างโลก ฯลฯ
  • จนถึงตอนใกล้ประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรก ๆ ของจีน
  • ตั้งแต่สมัยที่กษัตริย์ได้ขึ้นเสวยราชย์โดยราษฎรเป็นผู้เลือก
  • จนถึงปฐมกษัตริย์สืบราชวงศ์ คือ
  • กษัตริย์ราชวงศ์แฮ่ กับกษัตริย์ราชวงศ์เซียว
  • (ก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๔ ปีถึงก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปี)
๒.   ห้องสิน
  • ราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิว
  • (ก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปีถึงพุทธศักราช ๒๙๗)
๓.   เลียดก๊ก
๔.   ไซ่ฮั่น
  • ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น
  • (พ.ศ. ๒๙๘–๓๓๗)
๕.   ไต้ฮั่น
๖.   ตั้งฮั่น
๗.   สามก๊ก
  • ราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ต่อราชวงศ์วุยและราชวงศ์จิ้นตอนต้น
  • (พ.ศ. ๓๓๗–๘๐๗)
๘.   ไซจิ้น
  • ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์ซอ ราชวงศ์ชี
  • ราชวงศ์เหลียง และราชวงศ์ตั้น
  • (พ.ศ. ๘๐๘–๑๑๓๒)
๙.   ตั้งจิ้น
๑๐.   น่ำซ้อง
๑๑.   ส้วยถัง
  • ราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น
  • (พ.ศ. ๑๑๓๒–๑๑๖๑)
๑๒.   ซุยถัง
๑๓.   เสาปัก
  • ราชวงศ์ถัง
  • (พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๔๕๐)
๑๔.   ซิยิ่นกุ้ย
๑๕.   ซิเตงซัน
๑๖.   ไซอิ๋ว
๑๗.   บูเช็กเทียน
๑๘.   หงอโต้ว
  • ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์จัง ราชวงศ์จิ้น
  • ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิว
  • (พ.ศ. ๑๔๕๐–๑๕๐๓)
๑๙.   น่ำปักซ้อง
  • ราชวงศ์ซ้อง
  • (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๑๙)
๒๐.   บ้วนฮ่วยเหลา
๒๑.   โหงวโฮ้วเพงไซ
๒๒.   โหงโฮ้วเพงหนำ
๒๓.   โหงวโฮ้วเพงปัก
๒๔.   ซวยงัก
๒๕.   ซ้องกั๋ง
๒๖.   เปาเล่งถูกงอั้น
๒๗.   ง่วนเฉียว
  • ราชวงศ์หงวน
  • (พ.ศ. ๑๘๒๐–๑๙๑๑)
๒๘.   เม่งเฉียว
  • ราชวงศ์เหม็ง
  • (พ.ศ. ๑๙๑๑–๒๑๘๖)
๒๙.   เองเลียดต้วน
๓๐.   ซองเต๊กอิ้วกังหนำ
๓๑.   ไต้อั้งเผ่า
๓๒.   เซียวอั้งเผ่า
๓๓.   เนียหนำอิดซือ
๓๔.   เม่งมวดเซงฌ้อ
  • ราชวงศ์เช็ง
  • (พ.ศ. ๒๑๘๗–๒๔๕๔)
๓๕.   เชงเฉียว

รวมทั้งสิ้นเป็นหนังสือสามสิบห้าเรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งตามขนาดหนังสือชุดภาษาไทยก็อาจจะได้ไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม ต้นฉบับพิมพ์พงศาวดารจีนตามบัญชีดังกล่าวนี้ในปัจจุบันหาอ่านกันได้ยาก เพราะส่วนใหญ่มิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ นอกจากเรื่องที่นิยมกันว่า สนุก ๆ มากเท่านั้น การพิมพ์คราวนี้ก็ต้องยืมต้นฉบับจากหลายเจ้าของด้วยกัน ซึ่งคุรุสภาต้องขอแสดงความขอบคุณท่านเจ้าของต้นฉบับทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อของท่านเท่ากับเป็นการช่วยรักษาวรรณกรรมของชาติให้คงไว้ส่วนหนึ่ง และการจัดพิมพ์นั้นได้แก้ไขเฉพาะอักขรวิธี ส่วนถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ได้คงไว้ตามเดิม ซึ่งท่านจะได้ทราบภาษาที่คนไทยเรานิยมใช้เมื่อร้อยปีเศษมาแล้วว่าเป็นอย่างไร




สารบัญ ขึ้นลง



สารบัญ[1]


ตอน ชื่อตอน หน้า
ไทย จีน
อังกิ๋มประเชิญศึกเมืองไซรกี 洪錦西岐城大戰
เกียงจูแหยเป็นสมุหกลาโหม 姜子牙金臺拜將 ๑๕
อี๋ เจ๋ ห้ามทัพที่เขาแสงแรก 首陽山夷齊阻兵 ๑๙
ทัพขงสวนล้อมป่าไก่ทอง (กิมเก๋เฉีย) 孔宣兵阻金雞嶺 ๒๔
จัณฑีมุนี (จุ้นเถโตหยิน) ปราบขงสวน 準提道人收孔宣 ๓๔
เกียงจูแหยแบ่งทัพเป็นสามทาง 姜子牙三路分兵 ๔๗
ก๋งเสงจู๊ล่าถอยไปวังท่องฟ้า (เผกอิวก๋ง) สามครา 廣成子三謁碧游宮 ๕๒
เสือทะยานฟ้า (ปวยฮอ) แตกพ่ายที่ด่านมังกรเขียว (แซเหลงก๋วน) 青龍關飛虎折兵 ๕๙
วัชรปาณีสำแดงฤทธิ๋ 哼哈二將顯神通 ๖๗
สุน นักท่องโลก (โทเฮงสุน) ลักทรัพย์ไม่สำเร็จ 土行孫盜騎陷身 ๗๗



หน้า ๓๓๒ ขึ้นลงสารบัญ






พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว นายกำธร สถิรกุล ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา
๑๐ ม.ค. ๒๕๐๗






หน้า ๓๓๓–๓๓๖ ขึ้น สารบัญ



  •   ๓๑๘–๓๑๘–๓๑๙
  •   พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชหัตถเลขา คือ จดหมายซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งเอง (บางทีทรงเขียนเองด้วย) และลงพระนามด้วย พระราชหัตถ์ในจดหมายนั้นมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เข้าใจว่า เป็นของเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าว่าในทางวรรณคดีและในทางโบราณคดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเป็นอันมาก พระราชหัตถเลขาเหล่านี้โดยมากทรงพระราชนิพนธ์เพื่อแสดงพระราชปรารภส่วนพระองค์เฉพาะแก่ผู้ซึ่งทรงวิสาสะสนิทสนม คือ อย่างที่เรียกกันว่า จดหมายไปรเวต นอกจากนั้น เรื่องที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียมยุโรปในสมัยนั้นรู้กันในประเทศนี้อย่างที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา ไม่มีผู้อื่นจะรอบรู้ยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ท่านผู้สนใจในการค้นคว้าและนักศึกษาโปรดหาหนังสือชุดนี้ไว้เป็นสมบัติ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและประดับห้องสมุดของท่าน


  •   ๘๒๓–๘๒๔
  •   พงศาวดารไทยใหญ่ เล่ม ๑–๒

พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นหนังสือที่น่าอ่านน่าศึกษามาก ประกอบด้วยเรื่องราวของชนชาติไทยในสมัยโบราณ แต่ละตอนให้ความสนุก ตื่นเต้น ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การปกครองบ้านเมืองเมื่อตกอยู่ในอำนาจของพม่าและอังกฤษ ตลอดจนลักษณะการแต่งกาย ศาสนา ขนบธรรมเนียมของไทยใหญ่ การเทียบภาษาและคำพูดระหว่างลาว ไทยใหญ่ และชาวไทยปัจจุบันนี้

ถ้าท่านต้องการทราบว่า เดิมไทยเรามีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน แยกออกไปอยู่ถิ่นใดบ้าง และนักปราชญ์ฝรั่งให้ความเห็นเกี่ยวกับตำนานชาติไทยไว้อย่างไร ฯลฯ ท่านควรจะอ่าน พงศาวดารไทยใหญ่ และอย่าลืมหาไว้ประดับห้องสมุดของท่าน


  •   ๘๐๗–๘๐๘
  •   พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ เล่ม ๑–๒

พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุครัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นับตั้งแต่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต มีรายละเอียดที่สำคัญมากในเรื่องความเป็นมาของพระราชพิธีต่าง ๆ พระราชกรณียกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนการสืบสันตติวงศ์

พระราชพงศาวดารเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทุก ๆ ท่านควรจะมีไว้ เพราะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน และเพื่อบุตรหลานของท่านจะได้ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต คุรุสภาได้จัดพิมพ์จำหน่ายแล้วในชุดภาษาไทย ท่านไม่ควรพลาด


  •   ๑๘๐๑
  •   ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑–๗๘)

ในบรรดาหนังสือที่เป็นประโยชน์สำหรับค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยแล้ว หนังสือชุดพงศาวดารเป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมเรื่องเก่า ๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด นอกจากเรื่องพงศาวดารแล้ว ยังมีตำนานและลัทธิธรรมเนียมที่ควรรู้และน่าสนใจรวมอยู่ด้วยเป็นอันมาก หนังสือชุดนี้เริ่มพิมพ์เป็นภาคแรก เรียกว่า ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ และได้พิมพ์ต่อมาจนถึงภาคที่ ๗๓ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นระยะเวลาถึงสามสิบปีเศษ และในขณะนี้ก็ยังมีพิมพ์ภาคอื่น ๆ ต่อมาอีกหลายภาค เนื่องด้วยหนังสือชุด ประชุมพงศาวดาร นี้เป็นหนังสือดี และพิมพ์มาแล้วเป็นเวลาช้านาน ทำให้กระจัดกระจาย หาอ่านได้ยากในยามที่ต้องการ ทั้งหาผู้ที่จะลงทุนพิมพ์รวมเป็นชุดได้ยาก ราคาของหนังสือชุดนี้ในท้องตลาดจึงสูงขึ้นจนทุกวันนี้ ชุดหนึ่งถึงหนึ่งหมื่นบาท คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือของคุรุสภามีความประสงค์จะรวบรวมพิมพ์หนังสือดี ราคาพอสมควร สำหรับให้นักศึกษาและผู้สนใจในวิชาการได้หาซื้ออ่านได้สะดวก จึงได้จัดพิมพ์ขึ้น หนังสือชุดนี้ได้พิมพ์ออกมาสามภาคแล้ว และกำลังจัดพิมพ์ภาคต่อ ๆ ไปตามลำดับ ผู้สนใจโปรดอย่าลืมหาไว้เป็นสมบัติประดับห้องสมุดของท่าน



เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ[แก้ไข]

  1. สารบัญเพิ่มโดยวิกิซอร์ซ ต้นฉบับไม่ได้แบ่งเป็นตอน ๆ เช่นนี้ ส่วนตอนที่ปรากฏนี้ วิกิซอร์ซเทียบเอากับต้นฉบับจีน เพื่อประโยชน์ในการอ่าน




เล่ม ๒ ขึ้น