ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร/เอกสาร 26

จาก วิกิซอร์ซ
สัญญาที่องค์สมเด็จพระนโรดมฯ ว่า
ถูกบังคับให้ลงนามให้ทำกับฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๐๖

สำเนาหนังสือสัญญานี้ ปรึกษาพร้อมกันเสร็จแล้ว ทำให้อัดมิราล สัญญาที่เจ้าฝรั่งเสศสกับเจ้าเมืองเขมร เจ้ากรุงฝรั่งเศส กับเจ้าเมืองเขมรเป็นเจ้า สมเด็จพระมหาอุปราช ให้เมืองเขมรเจริญขึ้น ให้ได้เป็นไมตรีราบคาบ ด้วยเมืองทั้งสองอยู่ไกลกัน เหตุนี้ เมืองเขมรอย่าให้ขัดเคืองกับฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าฝรั่งเศสได้ตรัสบังคับให้ท่านแม่กองใหญ่ทุลกระอัดมิราลเดอลาตรังดีแอ เป็นแม่กองใหญ่สำเร็จราชการในเมืองญวน ไปคิดกับเจ้าเมืองเขมร ให้บรรดาท่านทั้งหลายได้ทราบ ด้วยเจ้ากรุงฝรั่งเศสยอมเป็นผู้ช่วยทำนุบำรุงเมืองเขมร เหตุนี้ ท่านแม่กองใหญ่สำเร็จราชการในเมืองญวน นามชื่อ เดอลาตรังดีแอ กับพระมหาอุปราชเป็นเจ้าเมืองเขมร ได้สัญญากัน จะถือบรรดาประการนี้

๑. นั้น เจ้ากรุงฝรั่งเศสช่วยทำนุบำรุงเจ้าเมืองเขมร

๒. นั้น เจ้ากรุงฝรั่งเศสจะตรัสใช้ฝรั่งเศสคนหนึ่งเป็นกงศุลให้อยู่ใกล้เจ้าเมืองเขมร แต่งให้เขาทั้งสองฝ่ายจำคำสัญญานี้ ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นฟังบังคับท่านแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อน เจ้าเขมรมีแต่ให้ขุนนางเขมรคนหนึ่งไปอยู่เมืองไซ่ง่อนด้วยกันกับแม่กองใหญ่ดังนั้น

๓. ถ้ามีขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งอยู่ในเมืองเขมรนั้น มีแต่ไว้เสมอเป็นขุนนางผู้ใหญ่ แล้วให้นับถือกลัวเกรงเหมือนขุนนางผู้ใหญ่ด้วย

๔. ถ้ามีประเทศอื่นจะมาตั้งกงศุลในเมืองเขมร เจ้าเขมรกับขุนนางผู้ใหญ่เขมรปรึกษากับท่านอัดมิราลแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อนยอมกันให้ตั้ง จึ่งประเทศนั้นตั้งกงศุลได้ ถ้าเจ้าเมืองกับขุนนางเขมรไม่ยอมให้บรรดาประเทศตั้งกงศุลในเมืองเขมร ท่านอัดมิราลแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อนก็ไม่ยอมด้วย ถ้าเจ้าเขมร ขุนนางเขมร ยอมให้ตั้งกงศุล ท่านอัดมิราลแม่กองใหญ่เมืองไซ่ง่อนก็ยอมตาม

๕. ถ้าผู้ใดขึ้นเจ้ากรุงฝรั่งเศส จะไปมาค้าขายเที่ยซื้อสินค้าปลูกเรือนอยู่ในเมืองเขมรนั้น ให้บอกขุนนางเขมรผู้ใหญ่ให้รู้ จะได้ทำหนังสือให้ถือ จึ่งไปมาปลูกเรือนได้

๖. นั้น ถ้าผู้ใดขึ้นกับเจ้าเมืองเขมรแล้วอยู่ ๆ ที่เมืองใดที่ขึ้นเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น ให้ได้ประโยชน์แลอำนาจดังนี้ด้วย

๗. นั้น ถ้าฝรั่งเศสกับเขมรเป็นความแก่กัน มีแต่ไปฟ้องกงศุล ถ้าปรึกษาเขาไม่ตกลง มีแต่กงศุลกับขุนนางเขมรปรึกษาด้วยกันให้เที่ยงตรงงามดี ถ้าเขมรกับเขมรเป็นความแก่กัน ขุนนางฝรั่งเศสกับกงศุลฝรั่งเศสว่าไม่ได้ ถ้าฝรั่งเศสกับฝรั่งเศสเป็นความแก่กัน ขุนนางเขมรก็ว่าไม่ได้ ถ้าประเทศอื่นเป็นชาติยุโรปเป็นความขัดเคืองกับคนฝรั่งเศสนั้น ต้องขุนนางกงศุลฝรั่งเศสชำระ ถ้าคนฝรั่งเศสทำผิดมาอยู่ในเมืองเขมรนั้น ต้องให้ขุนนางเขมรผู้ใหญ่ช่วยกงศุลฝรั่งเศสนำตัวคนที่ทำผิดนั้นส่งไปแม่กองใหญ่ฝรั่งเศสเมืองไซ่ง่อนชำระ ถ้าไม่มีกงศุลฤๅขุนนางฝรั่งเศสอยู่ในเมืองเขมร แม่กองใหญ่ฝรั่งเศสผู้ใดที่มีอำนาจว่ากล่าวแทนกงศุลได้ ให้ปรึกษาชำระเรื่องความนั้นได้

๘. นั้น ถ้าฝรั่งเศสผู้ใดอยากอยู่ในเมืองเขมร มีแต่จดชื่อในบัญชีขุนนางกงศุล แล้วให้กงศุลฝรังเศสมีหนังสือมาบอกขุนนางเขมรให้รู้ด้วย

๙. นั้น ถ้าเขมรผู้ใดไม่มีเหตุไม่มีความ แล้วอยากมาอยู่เป็นที่แผ่นดินขึ้นฝรั่งเศสนั้น มีแต่จดชื่อในบัญชีสำเนาเอง ฤๅในบัญชีขุนนางเขมรที่เจ้าเขมรใช้ให้ไปอยู่เมืองไซ่ง่อน

๑๐. นั้น ถ้ามีลูกค้านำสรรพสินค้าแต่ประเทศอื่น นอกจากฝิ่น เข้าไปขายเมืองเขมร ถ้ามีหนังสือขุนนางเมืองไซ่ง่อนเบิกให้ขึ้นมานั้น ด่านเขมรชักภาษีไม่ได้ ถ้าลูกค้านำฝิ่นมาขาย ด่านเขมรชักภาษีได้

๑๑. นั้น ที่ตรงสินค้าทุกสิ่งที่บันดาลูกค้านำแต่เมืองเขมรไปเมืองญวน ถ้านายภาษีเขมรชักภาษีเสร็จแล้ว ถ้าตังเค้ามีหนังสือขุนนางเขมรเบิกให้ แล้วขุนนางกงศุลฝรั่งเศสเขียนชื่อในหนังสือนั้นด้วย จึ่งลงไปขายในเมืองขึ้นฝรั่งเศส ยกไม่ชักภาษี

๑๒. ถ้ามีฝรั่งเศสเป็นนักปราชญ์ผู้ใด ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองเขมร ให้บอกขุนนางผู้ใหญ่เขมรให้รู้ บรรดาขุนนางเขมรให้ช่วยคิดไปมาให้ดี

๑๓. นั้น ถ้ามีเรือสำเภาฤๅกำปั่นฝรั่งเศสมีโจรผู้ร้ายปล้นที่ใดแขวงใดขึ้นเมืองเขมร เมื่อใดขุนนางเขมรแขวงนั้นได้รู้แล้ว มีแต่พินิจพิเคราะห์จะจับทำโทษอ้ายผู้ร้ายตามกฎหมาย แลสิ่งของนั้น ถ้าเป็นประการใด ๆ ให้มอบกลับไปให้เจ้าของ ฤๅส่งไปขุนนางฝรั่งเศส จะได้นำไปให้เจ้าของ ถ้าจับอ้ายผู้ร้ายนั้นไม่ได้ สิ่งของก็ไม่เห็นทั้งสิ้น ถ้าขุนนางเขมรได้สืบสื่งของแลผู้ร้ายนั้นไม่เห็นแน่นอนแล้ว สิ่งของไม่ต้องใช้ ไม่มีโทษเลย ที่ตรงฝรั่งเศสที่อยู่เมืองเขมร ถ้ามีโจรผู้ร้ายลักนั้น ความก็เหมือนกัน

๑๔. นั้น ถ้าเรือฤๅสำเภาเขมรผู้ร้ายปล้นฤๅผู้ร้ายลักในแผ่นดินฝรั่งเศส ขุนนางฝรั่งเศสที่อยู่ใกล้สำเภานั้น เมื่อใดได้รู้แล้ว มีแต่อุตส่าห์หาให้เห็น ให้จับอ้ายผู้ร้ายนั้นทำโทษตามกฎหมาย ที่ตรงสิ่งของ ถ้าหาเห็น มีแต่มอบกลับไปให้เจ้าของ ถ้าเจ้าของไปหาย จะมอบสิ่งของนั้นไปให้ขุนนางเขมร จะไก้ฝากไปให้เจ้าของ อุปมาถ้าขุนนางฝรั่งเศสอุตส่าห์สิบหาอ้ายผู้ร้าย แลสิ่งของไม่เห็นแน่นอนแล้ว จะให้ใช้ราคาของไม่ได้เลย ถ้าขุนนางเขมรอยู่ในแขวงฝรั่งเศส ถ้ามีผู้ร้ายลักลอบของสิ่งใด ๆ มีแต่ความดังนั้นด้วยเมื่อใด ถ้าขุนนางฝรั่งเศสอุตส่าห์สืบหาโจรแลสิ่งของไม่เห็น ไม่ต้องให้ขุนนางฝรั่งเศสใช้

๑๕. นั้น บรรดาท่านสังฆราชฝรั่งมีอำนาจจะสั่งสอนเทศนาพระศาสนาทั่วไปทุกแห่งในนครเมืองเขมรฯ ก็ไม่ได้ขัดขวาง ถ้าจะปลูกพระวิหาร ฤๅจะปลูกกุฏิทำศาลาเรียน ปลูกเรือนให้คนไข้นั้น ให้บอกขุนนางผู้ใหญ่เมืองเขมรให้รู้ ขุนนางเขมรยอมให้ จึ่งทำได้

๑๖. นั้น เจ้ากรุงฝรั่งเศสไว้เจ้าเมืองเขมรเป็นเจ้าจริง ๆ ก็สัญญาจะช่วยให้ได้เป็นไมตรีราบคาบในนครเมืองเขมร แล้วช่วยทำนุบำรุงเมืองเขมร ไม่ให้มีศัตรูแต่เมืองอื่นมากดขี่เบียดเบียน เจ้ากรุงฝรั่งเศสมีใจซื่อตรง จะช่วยให้เจ้าเมืองเขมรชักภาษีจากลูกค้าวานิชย์แล้วใช้ใบไปทะเล

๑๗. นั้น ให้ทำโดยฝ่ายตามบรรดาประการก่อนนั้น แม่กองใหญ่ฝรั่งเศสผู้ใหญ่อยู่เมืองไซ่ง่อน อยากให้แผ่นดินที่จะโรยจังวาจะปลูกเรือนใส่ถ่าน ปลูกฉางใส่ข้าว ไว้ให้กำปั่นฝรั่งเศสนั้น เจ้าเมืองเขมรยอมให้แผ่นดินที่จะโรยจังวาข้างเหนือพ้นจากป้อมจากค่ายขึ้นไป ๑๕ เส้น แล้วถ้ามีเขตวัดที่พระวิหารเขมรตรงไหน ให้หลีกไว้คงเป็นวัดเขมร ถ้าแม่กองใหญ่ฝรั่งเศสอยากได้ที่ตรงไหนอีกนั้น เจ้าเขมรกับขุนนางเขมรปรึกษาพร้อมเห็นที่ตรงไหนสมควรให้ได้ใช้ ให้ตามเหมือนได้ให้แผ่นดินจะโรยจังวา

๑๘. ให้รู้จักพระคุณเจ้าฝรั่งเศสด้วยช่วยทำนุบำรุงเจ้าเขมรให้ได้สุข ถ้าฝรั่งเศสจะไปตัดไม้ในเมืองเขมรเอาไปต่อกำปั่น เจ้าฝรั่งเศสให้บอกขุนนางผู้ใหญ่เมืองเขมรยอมให้ตัด จะทำหนังสือบอกไปถึงเจ้าเมืองในแขวงเมืองเขมร จึ่งตัดได้ แต่เจ้าฝรั่งเศสรับให้ค่าจ้างทุกสิ่ง ถ้าฝรั่งเศสจะซื้อสินค้าสิ่งใด ๆ ในเมืองเขมร ให้เบิกให้ซื้อโดยสะดวก แต่ราคาตามแต่เจ้าของสินค้ากับผู้ซื้อตกลงกัน

๑๙. นั้น ให้ได้ไว้สัญญานี้เป็นหนึ่งเป็นเสร็จด้วย มีแต่คอยเจ้ากรุงฝรั่งเศสยอมรับประทับตราด้วยทำสัญญาเสร็จแล้ว ได้จำลองสามฉบับ เจ้าเมืองเขมร สมเด็จองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช ได้จดตราพระนามด้วยกันกับแม่กองใหญ่ฝรั่งเศสเมืองไซ่ง่อนที่เจ้าฝรั่งเศสได้ตรัสใช้ แล้วได้ประทับตราด้วย ฤๅท่านทั้งสองได้จดตราพระนามแล้ว แล้วประทับตรามา ณ วัน ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๒๕ ปีกุย เบญจ[1] ข้างฝรั่งเศส วัน ๑๑ เดือนอากุส ศักราช ๑๘๖๓ ปี.[1]


  1. 1.0 1.1 วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๐๖