ข้ามไปเนื้อหา

ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร/เอกสาร 4

จาก วิกิซอร์ซ
  • พระเจ้าน้องยาเธอ
  • กรมหลวงดำรงราชานุภาพ

สวนดุสิต
วันที่ ๒๘ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘
กรมดำรง

สำเนาศุภอักษรเมืองเขมร ๒ ฉบับที่ได้ไว้นั้นดีมาก ฉันขอบอกอาญัติว่า เปนหนังสือซึ่งจะอ้างหลักถานในพงษาวดารได้ แลเหนความคิดแลความจำเปนประการใดในเวลานั้นสมกันกับที่ได้ยินรับสั่งตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า ถ้าพระหริรักษ์ยังอยู่ตราบใด ไว้ใจเมืองเขมรได้ ที่จริงก็เพราะพระหริรักษ์เหนว่า ถ้าขืนติดพันอยู่กับญวน ฝรั่งเศษจะเลยตีขลุมเอา คิดทางเดียวแต่เรื่องข้างเบียดเบียนกดขี่ ไม่นึกถึงการที่เขาจะมาป้อยอยกย่อง แต่ทำนองราชการแต่ก่อนมันเปนเช่นนั้น ข้อความในศุภอักษรฉบับนั้นได้ความเปนไปของเมืองเขมรสว่างในการที่สงบศึกกับญวนเพราะเหตุใดในรัชกาลที่ ๓ แจ่มแจ้งดี

แต่ฉบับพระนโรดม ข้อที่เปนสำคัญอันชักให้นโรดมต้องยอมนั้น เรื่องแย่งกันเปน ๓ ก๊ก คือ พระนโรดม ก๊กหนึ่ง ศรีสวัสดิ์ ก๊กหนึ่ง วัตถา ก๊กหนึ่ง ผู้แปลหนังสือสัญญานั้นบาดหลวงแล้ว ไม่ใช่ผู้อื่น ข่าวต่างประเทศอย่างสิงโตกลางคืนเต็มที่ ได้ส่งสมุดคืนมาให้

(โปรดอ่านรายละเอียดในหน้า ๓๒)

สวนดุสิต
วันที่ ๒๘ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘
กรมดำรง

สำเนาศุภอักษรเมืองเขมร ๒ ฉบับ[1] ที่ได้ไว้นั้นดีมาก ฉันขอบอกอาญัติว่า เป็นหนังสือซึ่งจะอ้างหลักฐานในพงศาวดารได้ แลเห็นความคิดแลความจำเป็นประการใดในเวลานั้นสมกันกับที่ได้ยินรับสั่งตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า ถ้าพระหริรักษ์ยังอยู่ตราบใด ไว้ใจเมืองเขมรได้ ที่จริงก็เพราะพระหริรักษ์เห็นว่า ถ้าขืนติดพันอยู่กับญวน ฝรั่งเศสจะเลยตีขลุมเอา คิดทางเดียวแต่เรื่องข้างเบียดเบียนกดขี่ ไม่นึกถึงการที่เขาจะมาป้อยอยกย่อง แต่ทำนองราชการแต่ก่อนมันเป็นเช่นนั้น ข้อความในศุภอักษรฉบับนั้นได้ความเป็นไปของเมืองเขมรสว่างในการที่สงบศึกกับญวนเพราะเหตุใดในรัชกาลที่ ๓ แจ่มแจ้งดี

แต่ฉบับพระนโรดม ข้อที่เป็นสำคัญอันชักให้นโรดมต้องยอมนั้น เรื่องแบ่งกันเป็น ๓ ก๊ก คือ พระนโรดม ก๊กหนึ่ง ศรีสวัสดิ์ ก๊กหนึ่ง วัตถา ก๊กหนึ่ง ผู้แปลหนังสือสัญญานั้นบาดหลวงแล้ว ไม่ใช่ผู้อื่น ข่าวต่างประเทศอย่างสิงโตกลางคืนเต็มที่ ได้ส่งสมุดคืนมาให้…[2]

สยามินทร์

  1. ศุภอักษร ๒ ฉบับที่ทรงอ้างถึง คือ ศุภอักษรขององค์สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ฉบับลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๓ กับศุภอักษรขององค์สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์มหาอุปราช ฉบับลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ ซึ่งได้ตีพิมพ์ไว้ในเล่มนี้ตามลำดับ
  2. ต้นฉบับพระราชหัตถ์เลขาขาดไป ๒ องค์