ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 1/เรื่องที่ 6

จาก วิกิซอร์ซ
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ จารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร

จาฤกหลักศิลาเมืองศุโขไทยที่ ๒
อักษรขอมโบราณ
หลักศิลานี้อยู่ที่ศาลารายในวัดพระศรีรัตนสาศดาราม

กัมระเตญอัตศรีสุริยวงศรามะมหาธรรมิกราชาธิราช๑๒๖๙ศกกุล บระบาทกัมระเตญอัตหฤทัยไชยเชตชา...........................บระบาทกัมระเต ญอัตศรีธรรมราชนำเสนาพลยุหผอง อวิศรี...................

อภิเษกบระนาม บระบาทกัมระเตญอัตศรีสุริยวงษราม มหาธรรมราชาธิราช...... ..........................ปียังบราวินัยบระอภิธรรมโดยโลกาจารัยยะกฤตยะ ทรมาน........................พรหมณะตะปัสวีสมเด็จบพิตรชญาบัตเวทสาสตราคม ธรรมมันยายังผอง ทำเนประโชยติศาสตร คือคติตำราทิวาช...........................ติวรรษมาศ สุริยะฆราส จันทรฆราสเสด็จอากเตียงนุเสส บระปฤชญาตะโอฬารฤก วิปัสสะคุณานตะ ติควรโมก อวิติไกรยนุ ศักราชตะอธิกะเสด็จปดิตวิงตรล ควรระบิใจ ธนาส อากเตียงสรวัชญาธิกมาศ ทินวารนักษัตรนุสังเกษบ คุโดยกรมสิทธิ สมเด็จบพิตรอากตักอากลับ อากเล็ก ฉนำ คณะนา ตะคิปยะโดยรู้นุสิธิศักติบระกรมสบมาตราปรากฎศรียศกิติเอียด เละหะนุบรานะปี สานดากเลยเสด็จคงดำรงเสวยราชวิภวะติศรีสัชนาไลยสุโขไทยโนวฉนำ ๒๒ ลุ ตะ ๑๒๘๓ ศกฉลู สมเด็จบพิตรเปรอราชบัณฑิต เท่าอัญเชิญ มหาสามิสังฆราชตะมานศิลาเรียนจบ บระบิดกไตรย ตะสถิตยโนวลังกาทวีป ตะมานศิลาจาริย์รู้กษิณครบผอง เจรง อัมวินกร จันนะโมกลุตะมารักคันตรเทพเปรอศิลปีลำดับส้างบระกุฎีวิหาร กัมลง ไปรสวายตะมานโดยทิสปัจจิมสุกโขไทยเนะ ปราบปราม จักกัตเสจสิเน ถวายมะไทยบระไพสบทิศบรวิษณุกรรม กิตนิรมานกาละนาชะ.........มุนาสมเด็จบระมหาเถรานุเถระภิกษุสงฆผองโมกบระบาท กรมระเตญอัตเปรอลำดับสลาเลียชเทียนทูปบุษกลยพฤกษ์สิง ทช........................ ..................ถวายบูชาตราบมรค เปรออมาตย์มนตรีราชกุลผองเทาดล ทูลบูชาสักการะอำวิสรกโนตะโมก ลุเชีงเทินดลศรุก บานจันทร บานวารแรวก ลุสุโขไทยเนะ มวยวัดเทพเปรอปล กราสชำระบระราชมารคอำวีทวาร ตีปุระ เทาลุ ทวารที่ปัจจิม ดลตะไปรสวายนาสร้างกุฎีวิหารสถานสยงตัส นุวิดาน ตะวิจิตร์ จำเลงระแวก รัศมิยาทิตย์มวตบันลาย บัญชังกะชะวนิการำยวลรังยีตราบครบอันตราลกราลนุวัสตร สารพารังค์จำเลงคิดพุทธบาทจุตะธรณีสบอันเลอ ถวายบูชากิริยาผองเจริญเจต บวงอาวิตคณะนาถาปิออสเลยโทะนุเปรียบเมิล บระราชมารคโนะ ประไปรยวร สตะอรคะรูหาญผลู สวรรคเทพ อราธนา มหาสามิสงฆราช บวชบระวรษาออสไตรมาศกาลนุจุตบระวรษาถวายมหาทานฉลองประสำฤทธิสิทธิประลอง บระองค์พระพุทธกรมเตญอัตประดิษฐานทุกกัน ตลสรุกสุโขไทยเนะโดยบุรวสถาน พระมหาธาตุโนะ สดับธรรมสบไถงอำวีมวยเกตุลุบุรณมี คิดราชทรัพย์กฤษณาประทานมาศเชิง ๑๐ ปรักเชิง ๑๐ โอดาลาร ๑๐ สลา ๒ จีวรแพร ๔ บาตบิจุเขนย ขนล กันดลรุจโนะ ชักกระกิริยาทานบวรผอง ตะเทติโสตะอัยตะคณนาเอนกประการ กาลบุรณะ บระวรษาลุ อัสตมิโรจ พุทธวาระ บุรณพูสุฤกษ์นาลางค์ไถงโนะบระบาทกรมเตงอัตสรีสุริยวงษ์รามมหาธรรมราชา ธิราชกษมาทานศีลชะดาบสเวศบรจเนก บระสุวรรณประติมา ตะประ ดิษฐานเล ราชมณเฑียรนาเสด็จนมัสการบูชาสบไถง ไลหยเทพอัญเชิญมหาสามีเทพปวัสชาสามะโนะกาลนา นุปวัส สุศิละโนะ บระบาทกรมเตงอัตศรีสุรียวงษ์รามะมหาธรรมราชาธิราชเสด็จจรถวายเนเล็ก อัญชลีนมัสการ ประสุวรรณประดิมานุประปิตกไตรยดิประดับทุกเละ ประราชมณเฑียร นุมหาสามิ สงฆราชอธิสถานเราะหะนะนุผลบุนย์ ดิอัตตัวปวัสตะสาสนะประพุทธกรมเตงอัต สุวะเนอัดบวงตฤษณาจักรวัรติสมบัตติ อินทรสมบัตติ พรหมสมบัตติอัตกฤษณาสวรรค์เลงอัตอะจานะชา ประพุทธินำสัตว์ผอง ฉลองไตรภพเนะกุอธิสถานโระโนะไลยหเทพ โยกไตรสรณาคม กษณะโนะ ไผทกรมเนะ กะเกรีกสบทิศ อธิสถาน ปวัสไลหยะเทพทรงประจรตจุ อำวิสุวรรณ ประสาทบาทจารเทาลุตะประไปรสวายนา เสด็จประดิษฐานประบาทจุ ตธรณีดลประถวีเนะประกัมบัตวิทสบทิศโสตะกลนาจะโน... .....................เล ถนลเทาตล..................โมะตะชาอันทินเลยมารเสด็จถวายบระบารมีตะกาละโนะ บิมานมหาสวลยยรูวะโนะ คือ เสด็จเปรยประดิษฐานศิลาจาริกะเนะเลงตะชนะคณะผองกือ...... ............ไปรประไจยบุนย์บาปรอดถวายบุนย์ธรรม........................มา นบระบาทสบนักเลยนา ไผทโกรม เกรยรุวะนะ อีลูขะมิรุตมานอำเบบุนย์ธรรมผองมุนบวงเตลเยง ยลรุวะเนะ มวดเยงสดับ อนักโพลกำลองธรรมคุเนะอิลุบิยล ผลบุนย์ปรกฤตะตระเจียกควรบิชนะคณะผองปยายามตะกุศลบุนยะ สบอนักรืบาปผองบวงตะบิถวายเลย..............................ม มหาเถระไตรปิตกกะตะโมกอวีลังกาทวีป สิโทนสิทวลเตย ทักษิณาไปรสวาย ทุกประคาถาสรเสริญ บระยศกิตติผองนาเสด็จ ถวายบระผนวชคือเสร็จจาระศิลาทุกกัมลองพัทสิมานาไปรสวาย โดยทิศปัจจิมศุโขไทยเนะ

แปลหลักศิลาเมืองศุโขไทยที่ ๒
ซึ่งจาฤกเปนอักษรขอมโบราณ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงแต่ง
(คัดจากวชิรญาณรายเดือนเล่ม ๑ ฉบับที่ ๓ ปี ๑๒๔๖ น่า ๒๓๙)

เรื่องความในอักษรเขมรที่จาฤกลงไว้ในเสาศิลาสี่เหลี่ยมโต ๕ กำสูงสองศอกคืบเศษนี้ เสาศิลานั้นประดิษฐานอยู่ณเมืองศุโขไทยศรีสัชนาไลย เปนเมืองหลวงฝ่ายเหนือ แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงพระผนวช เสด็จขึ้นไปประพาศณหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับเสาศิลาทั้งสองแท่งลงมายังกรุงเทพ ฯ แล้วโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ แปลเปนภาษาไทยได้ความว่า ดังนี้

เมื่อครั้งมหาศักราช ๑๒๖๙ ศกกุน พระบาทสมเด็จพระกะมะระเด็งอัตศรีธรรมราช เปนพระมหาอุปราชอยู่เมืองศรีสัชชนาไลย เปนพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระกะมะระเด็งอัตฤๅไทยไชยเชฐเมือง ศุโขไทย พระมหาอุปราชทราบว่าพระราชบิดาทรงพระประชวรหนัก พระองค์จึงยกพยุหแสนยากรเปนกระบวนทัพมา แต่ณวันขึ้นห้าค่ำเดือนแปดถึงเมืองศุโขไทยวันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด เสด็จพระราชดำเนินทัพเข้าประตูเมืองทิศพายัพปราบศัตรูหมู่ปัจจามิตร ประหารชีวิตรผู้คิดมิชอบเสร็จ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาที่สวรรคต มุขมนตรีชีพ่อพราหมณตั้งพระราชพิธีอภิเศก แล้วถวายพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากะมะระเด็งอัตศรีสุริยพงษรามมหาธรรมิกราชาธิราชพระองค์เสวยราชย์สืบพระวงษ์สนององค์พระบรมราชชนก ต่อมาแต่มหาศักราช ๑๒๗๖ ศกมะเมีย มีพระกระมลราชหฤไทยดังน้ำในมหาสมุทแลสาคร พระองค์ทรงพระกรุณาแก่ราษฎรยิ่งกว่าพระราชบุตร มนตรีแลประชาราษฎรจะเอาวิญญาณกะทรัพย์แลอวิญญาณกะทรัพย์มาถวายพระองค์ ๆ บมิได้รับ กลับแนะนำชี้แจงแสดงธรรมให้เอาไปทำการกุศลเกื้อหนุนในพระสาสนา ฝ่ายชาวเมืองก็มีศรัทธาเลื่อมใส พากันมานั่งฟังคำสั่งสอนของพระองค์ แลปราถนาจะเล่าเรียนวิปัสนา พระองค์ท่านก็ตั้งพระไทยสั่งสอนสรรพสัตว์ทั่วทุกคน ท่านมิได้ปราถนายินดีซึ่งอามิศคิดแต่จะแนะนำสัตว์ที่ต้องทุกข์ให้ได้ความศุขในปรโลก ถึงกาลในปัตยุ บันนั้น ถ้าราษฎรในขอบขันธเสมาบางพวกที่มีความผิดติดอยู่ในเวรจำจองต้องโทษราชทัณฑ์นั้น ก็ทรงพระกรุณาบริจาคพระราชทานทรัพย์ช่วยไถ่โทษแผ่นดินให้พ้นทุกข์แล้ว ก็โปรดให้ไปทำมาหากินตามภูมิ์ พระองค์เสด็จเถลิงราชสมบัติ รักษาไพร่ฟ้าประชาราษฎรด้วยพระมหากรุณาปรานีดังนี้ กิตติศัพท์กิตติคุณก็เปนที่เล่าลือพระเกียรติยศปรากฎขจรรบือไปในนานาประเทศน้อยใหญ่ทั่วทิศานุทิศชนทั้งปวงในด้าวแดนทุกทิศก็มีจิตรชื่นชมนิยมพระบารมีชักชวนกันมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบันดาลฝนตกต้องตามฤดู จนธัญญาหารแลพืชพรรณผลไม้บริบูรณ์ทั่วหน้า ประชาราษฎรเปนศุขสโมสรประชุมในเมืองนั้น ฝูงราษฎรมิได้เปนทาษทาษาหามิได้ เปนไทยพลเรือนทั้งสิ้นเปนศุขทั้งเมือง เหตุดังนั้นนามเมืองจึงปรากฎว่าเมืองศุโขไทย (คือไทยเปนศุข) กับหมู่ปรปักษปัจจามิตรก็ไม่คิดประทุษร้าย เกรงพระเดชานุภาพ ด้วยพระเกียรติยศเปนที่สรรเสริญทั่วประเทศ ครั้งนั้นมีพระโองการ สั่งให้มุขอำมาตย์สร้างพระราชคฤหเหมปราสาทนพสูรย์ (คือเก้ายอด) แลพระราชมณเฑียรสถานพระพิมานจัตุรมุข แล้วไปด้วยศิลาแลอิฐปูนให้เปนที่แก่นสารถาวร ประกอบขจิตรด้วยสรรพรัตนาเนกโสภาคย์พิจิตรเสร็จสมพระราชประสงค์ พระองค์นำบาตรเต็มไปด้วยมธุปายาศประเคนพระสงฆเถรานุเถรในพระมหาปราสาท พระสงฆ์ทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ทรงอภิเศกสมณพราหมณาจารย์ตปศียติ สงฆ์ทั้งหลายเผดียงให้มาเล่าเรียนพระไตรปิฎกธรรม แลศึกษาซึ่งศิลปสาตรวิชาการต่าง ๆ ในบริเวณมหาปราสาทนั้น แลพระองค์ทรงทราบวิธีวันอัฐมี บุรณมีอามาวสีเพ็ญดับแลเดือนอาสาธสำหรับเข้าพรรษาแลอธิกมาศอธิกวารซึ่งจะมีมา แลปีเปนปรกติก็ดี พระองค์ทรงพระอนุสรคำนึ่งถึงฤดูกาลที่ไม่ถูกต้องตามลัทธิพระพุทธสาสนา จึงทรงทำตำราทวา ทศมาศเปนเดิม ไม่มีนักปราชญ์ประเทศใดจะเสมอพระองค์ได้ ครั้งหนึ่งมีรับสั่งให้ราชบุรุษย์ไปอาราธนาพระเจดีย์ แลพระมหาเจดีย์มาประดิษฐานในเมือง แล้วโปรดให้สร้างพระมหาธาตุรูปปรางใหญ่องค์หนึ่ง แล้วสร้างพระอารามในที่พระมหาธาตุนั้น พร้อมด้วยอุโบสถวิหารการเปรียญเสนาศนพระสงฆ์บริบูรณ์ แล้วหล่อพระพุทธปฏิมากรด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์เท่าพระองค์ท่านไว้เปนพระประธานในพระอุโบสถจึงพระราชทานนามอารามว่า สังฆาวาศอารามวิหาร ทุกวันนี้ชาวเหนือเรียกชื่อว่า (วัดสังกวาด) อธิบาย พระองค์มีพระราชประสงค์พระโพธิญาณในอนาคตกาลแลปราถนาเปนพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำสัตว์ให้พ้นจากสงสารวัฏไปสู่พระนฤพานในอนาคตกาล แล้วทรงหล่อรูปพระศรีอาริย์พระองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ในพระวิหารคตทิศใต้ในอารามครั้งหนึ่งตรัสสั่งนายศิลปีนายช่างให้หล่อรูปพระนเรศร พระมเหศวร พระวิศณุกรรม รูปพระสุเมธวรดาบศ พระศรีอาริย์ ทั้งห้ารูปนี้ประดิษฐานไว้ในหอเทวาไลยมหาเกษตรพิมาน ไว้เปนที่นิพัทธบูชา ณตำบลป่ามะม่วง พระองค์ทรงเล่าเรียนพระพุทธวจนะไตรปิฎกธรรมชำนิชำนาญ พระสูตรพระวินัยพระอภิธรรม โดยโลกาจารย์ทรงทรมาน พระองค์สั่งสอนยะติพราหมณ์ตปศวี ทรงพระราชบัญญัติคัมภีร์สาตราคม เปนประถมธรรมเนียม ทั้งเนปรไชยาคิราธารคือคติตำราทินปาฏิบทมาศ ศวไรยคราธจันทรคราธยังเสร็จ พระองค์ทรงพระปรีชาโอฬาริกวิรคุณานุคุณ ไม่มีผู้ใดในสยามประเทศจะเสมอพระองค์ พระองค์อาจเลือกสรรพิจารณาให้ทราบถนัดแน่ในอธิกมาศทินะปาระนักษัตรสังเกดฤดูโดยกรรมประสิทธิ์ สมเด็จพระบรมบพิตรอาจจะถอนจะลบยกเปนปีเดือนตามศิลป คณนาอนุสิทธิศักดิ์พระคัมภีร์ทุกมาตรมิได้เคลื่อนคลาศเลย เสด็จเสวยราชสมบัติในกรุงศรีสัชชนาไลยศุโขไทยราชธานีได้ ๒๒ ปี ลุมหาศักราช ๑๒๘๓ ศกฉลู สมเด็จพระบรมบพิตร ตรัสใช้บัณฑิตย์ไปอาราธนาพระมหาสามิสังฆราชอันกอบด้วยศีลาจริยานุวัตรทรงพระไตรปิฎกจบ มีศิลปสาตรรอบรู้กระบิลตำหรับฉบับโบราณาจารย์ครบทุกประการอันประเสริฐ ซึ่งสถิตย์อยู่นครจันทรเขตร ในประเทศเกาะลังกาทวีปสิงหฬภาษา มาสู่กรุงศรีสัชชนาไลย พระองค์จึงมีรับสั่งให้ศิลปีนายช่าง ปลูกกุฎีวิหารระหว่างป่ามะม่วงอันมีในทิศประจิมเมืองศุโขไทย นายช่างได้ทำที่ราบคาบปราบภูมิภาคเสมอแล้วเททรายเกลี่ยตามที่ตามทาง ราวกับพระวิศณุกรรมมานฤมิตรก็ปานกัน เมื่อได้สมเด็จพระสังฆราชผู้เปนมหาเถรกับพระภิกษุสงฆ์หลายองค์มาแต่ลังกาทวีปนั้น พระองค์ก็รับสั่งใช้ให้อำมาตย์มุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราชตระกูลทั้งหลายแต่ล้วนเปนชาย นำเอาดอกไม้ธูปเทียนหมากเข้าตอกธงต่าง ๆ ไปรับ ทำสักการบูชาตลอดชลมารคสถลมารค ตั้งแต่เมืองท่าเรือทเลมาทางบกแต่เมืองเชียงทอง เมืองจันทร เมืองพราน เมืองวาน ตลอดถึงเมืองศุโขไทย ครั้งนั้นพระองค์รับสั่งให้อำมาตย์นักการ กวาดพระราชมรรคาสถลมารค ตกแต่งพระทวารทิศบูรพไปจนพระทวารทิศประจิมต่อป่ามะม่วง ซึ่งปลูกกุฎีวิหารมโหฬารเกษมไว้รับพระสังฆราชนั้น ครั้งนั้นพระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จะนับมิได้ ประดับประดาราชมรรคาเปนที่เกษมสำราญไพบูลย์เสร็จแล้ว จึงอาราธนาพระมหาสามิสังฆราชจำพรรษาสิ้นไตรมาศ ครั้นออกพรรษาแล้วพระองค์ทรงตั้ง มหะกรรมการฉลองพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อเท่ากับองค์นั้น ทรงประดิษฐานไว้กลางเมืองศุโขไทยโดยบุรพทิศด้านพระมหาธาตุนั้น พระองค์ทรงฟังพระธรรมเทศนาทุกวัน ตั้งแต่วันขึ้นค่ำ ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ คิดพระราชทรัพย์ที่บริจาคถวายบูชาธรรมวันหนึ่งทองคำชั่งสิบตำลึงเงินชั่งสิบตำลึง อุฬารภัณฑ์เครื่องราชูประโภคต่าง ๆ อย่างละสิบสลาจีวรเกศหมากประจำกัณฑ์สี่บาทเงิน แลเครื่องกระยาหารไทยทานทั้งหลายนานาอเนกประการ เมื่อออกพรรษาลุอัฐมีพุฒวาร ปุนัพพสุฤกษ์ณค่ำวันนั้นพระองค์สมาทานศีลเปนดาบศ บวชเฉภาะเนตรพระสุจณปฏิมากรอันประดิษฐานบนพระมณเฑียร ซึ่งเสด็จทำสักการบูชาเปนเนืองนิตยแล้วจึงอาราธนาพระมหาสามิสังฆราชแลภิกษุสงฆ์เถรานุเถรทั้งปวง ขึ้นบนเหมปราสาทราชมณเฑียร พระองค์ละราชสมบัติออกบรรพชาเปนสามเณร เมื่อจะขอศีลนั้นพระองค์เสด็จยืนขึ้นยกพระหัดถ์อัญชลีนมัสการพระพุทธสุจณปฏิมากรแลพระไตรปิฎกกับพระเถรานุเถร แล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่าเดชะกุศลแต่หนหลังแลผลบุญที่อาตมบรรพชาอุปสมบทต่อพระบวรพุทธสาสนาคราวนี้ อาตมไม่ ปราถนาสมบัติอินทร์พรหม แลจักรพรรดิสมบัติหามิได้ ปราถนาเปนองค์พระพุทธเจ้านำสัตว์ข้ามไตรภพนี้เทอญ

อธิษฐานดังนี้แล้วจึงรับสรณาคมต่อพระอุปัชฌาย์ขณะนั้นแผ่นดินไหวทั่วทุกทิศเมืองศุโขไทย ครั้นทรงผนวชแล้วเสด็จลงจากพระมหาสุวรรณเหมปราสาททรงไม้เท้าจรดจรดลด้วยพระบาทเสด็จพระราชดำเนินไปป่ามะม่วง ขณะประดิษฐานฝ่าพระบาทลงยังพื้นธรณี ปถพีก็หวั่นไหวใหญ่ยิ่งทั่วทุกทิศ ทินสาธเข้าพรรษาวันนั้น จึงเสด็จออกเสวยพระโชรศ ขณะนั้นไม่ควรเลยสรรพไม่เสบยเสพยนานาอากาศดาษสุริยเมฆา จันทร์ปราบต์กับดาราฤกษ์ทั้งปวงยิ่งกว่าทุกวันด้วยฉะนั้น จึงเสด็จบรรพชาเปนภิกษุในระหว่างพัทธสิมานั้น ขณะนั้นนาคราชหนึ่งอยู่โดยบุรพทิศเมืองศุโขไทยนั้น ยกพังพานขึ้นสูงพ้นคน แปรตาไปเฉภาะป่ามะม่วงนั้น เห็นรอยผุดพลุ่งกลางอากาศลงต่อแผ่นดิน อนึ่งเวลานั้นได้ยินเสียงระฆังดนตรีดุริยางค์ไพเราะใกล้โสดของชนเปนอันมาก จะพรรณานับมิได้ แต่บรรดามหา ชนที่มาสโมสรสันนิบาตในสถานที่นั้น ย่อมเห็นการอัศจรรย์ประจักษ์ทุกคน เหตุด้วยเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระบารมี เมื่อทำอัษฎางคิกศีล เมื่อฤดูคิมหันต์ไม่มีฝน ด้วยอำนาจศีลและความอธิษฐานพระบารมีด้วย ปถวีก็ประวัติกัมปนาทหวาดหวั่นไหว เทพธารา วิรุณหกก็ตกลงมาในฤดูแล้ว แสดงอัศจรรย์สรรเสริญในการสร้างพระบารมี นักปราชญ์ราชบัณฑิตย์จึงจดหมายโดยวิจิตรจาฤกลงไว้ให้ถ้วนถี่ ในเสาศิลานี้เพื่อจะให้เปนพระเกียรติยศปรากฎต่อไปภายภาคหน้า ลำดับนั้นบรรดามนตรีอำมาตย์โหราราชบัณฑิตย์วิทยาจารย์ เศรฐีมหาศาลราชประยุรวงษานุวงษ์จำนงจิตรพร้อมกันประชุมเชิญพระองค์ให้ลาผนวช สมเด็จพระบรมบพิตรตรัสให้ประชุมนุมพระสงฆ์ เถรานุเถรทั้งปวง ปฤกษาพร้อมกับพระราชประยุรวงษานุวงษ์ แลเสวกามาตย์ ในสันถาคารสถานชื่อสันทติศาลา เห็นพร้อมยอมแล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาแก่สรรพสัตว์บรรพชิตเพื่อจะให้รู้ธรรมเนียมลาผนวช แล้วพระองค์ก็ออกพระโอฐเปนพระคาถาเปล่งพระวาจาลาผนวช ผลัดผ้ากาสาวพัตรทั้งปวงแล้ว พระองค์ก็ทรงเครื่องราชกกุธภัณฑ์อนันตราโชประโภคสำหรับกระษัตร เสวกามาตย์ราชกระวีมนตรีทั้งหลายตั้งการอภิเศกอิกครั้งหนึ่ง แล้วถวายพระนามใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากะมะระเดงอัตศรีมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัชชนาไลยศุโขไทยครั้งนั้นสาธุชนทั้งหลายบรรดาที่มีจิตรเลื่อมใสศรัทธาต่อทางธรรม ก็มาวิงวอนให้พระองค์ท่านช่วยแนะนำสั่งสอนในทางธรรมที่จะเปนคุณเปนประโยชน์ในอนาคตกาล ภายหลังพระมหาสามิสังฆราช ถวายพระนามเพิ่มเข้าอิกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากะมะระเดงอัตศรีตรีภพธรณีชิตสุริยโชติมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าศุโขไทย ในกาลนั้นพระองค์ทรงระลึกถึงพระเชษฐาเมืองสัชชนาไลยจะเสด็จนำพยุหพลไป ครั้งนั้นราษฎรเมืองศุโขไทยสยบแสยงเสียใจด้วยพระองค์จากพระนคร เมื่อราษฎรเปนดังนั้นท่านจึงอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำมาแต่เมืองจัทรเขตร มาประดิษฐานไว้ในเมืองศุโข ไทยสนองพระองค์พระชนก ถวายพระนามพระพุทธรูปทองคำนั้นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากะมะระเดงอัตเลไทย ผู้เปนพระบรมราชชนกอภิเศกให้เปนอธิบดีอยู่ณเมืองศุโขไทย มอบเวนราชสมบัติแลราชการทั้งปวงให้อำนาจทำนุบำรุงราษฎร แล้วพระองค์ท่านเสด็จดำเนินพลไปปราบปรามเมืองหนึ่ง ชื่อศรีจุธามลราชมหานครตั้งอยู่ทิศพายัพเมืองศรีสัชชนาไลย เสด็จทอดพระเนตรตามระยะสถลมารคไป เห็นว่าทางลำบากยากแก่ราษฎรไปมาค้าขาย จึงทรงพระกรุณาโปรดให้รี้พลขุดคลองทำถนนหนทางหลวง ตั้งแต่เมืองศุโขไทยมาจนตลอดถึงเมืองศรีสัชชนาไลย แลเมืองน้อยเมืองใหญ่ ทำทางน้ำทางบกแวะเวียนไปตามหว่างทางใหญ่ เปนการบุญสนองคุณพระราชบิดา แล้วทรงพระกรุณาตั้งขุนด่านหมื่นด่าน คุมไพร่พิทักษ์รักษาอย่าให้คนต่างด้าวชาวต่างแดนหลบหนีข้ามเขตรแดนไปได้ แลอย่าให้เปนทางเปลี่ยว มีโจรผู้ร้ายมาทำอันตรายแก่ราษฎรที่ไปมาค้าขาย เหตุการต่าง ๆ ที่อัศจรรย์ ก็ให้จดหมายจาฤกลงไว้ในเสาศิลา เพื่อให้คนภายหลังรู้แจ้งประจักษ์พระบารมีแลพระเกียรติยศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้ากะมะระเดงอัตศรีตรีภพธรณีชิตสุริยโชติ์มหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าแผ่นดินเมืองศุโขไทย หนึ่งเราท่านทั้งหลายไม่เคยเห็นการประจักษ์อัศจรรย์ดังนั้น ครั้นมายลภาพเห็นแล้วต่อหูต่อตาคนทั้งบ้านทั้งเมือง

อนึ่งพระสังฆราชมหาเถรเปนผู้ทรงพระไตรปิฎกมาแต่ลังกาทวีปสถิตย์อยู่พระสีโทลโดยทักษิณป่ามะม่วง ไว้คำสรรเสริญพระเกียรติยศซึ่งเสด็จทรงผนวชบำเพญพระบารมีนั้น ได้เห็นอัศจรรย์หลายประการจึงจดหมายเหตุจาฤกลงไว้ในเสาศิลาในระหว่างพัทธสิมาณป่ามะม่วงโดยประจิมทิศเมืองศุโขไทยนี้

เรื่องความในหนังสือเขมรซึ่งจาฤกอยู่ที่เสาศิลานั้นสิ้นเนื้อความแต่เท่านี้