พจนานุกรมกฎหมาย/กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ อำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวในการที่จะพิมพ์ จะคัดแปลเป็นภาษาอื่น หรือจะเพิ่มจำนวนเล่ม หรือจะจำหน่ายหรือขายหนังสือที่ตนมีกรรมสิทธิ์นั้นได้แต่ผู้เดียว ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์หามีอำนาจไม่ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๔)

หนังสือที่แต่งขึ้น ซึ่งจะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้น ต้องเป็นหนังสือที่ได้พิมพ์จำหน่ายเป็นครั้งแรกในพระราชอาณาจักร์ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๗)

หนังสือนั้นต้องนำไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงายภายใน ๑๒ เดือนนับตั้งแต่ได้พิมพ์ออกจำหน่าย (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๑๐)

หนังสือนั้นจะต้องพิมพ์ว่า “มีกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ” ลงที่หน้าหนังสือ หรือใบปกหน้าสมุด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่เห็นได้ง่าย (พ.ร.บ.แก้ไขกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๒๒)

กรรมสิทธิ์ในหนังสือนี้มีอยู่ตลอดอายุของผู้แต่งหนังสือ แลต่อไปอีก ๗ ปีจากวันที่ผู้แต่งวายชนม์ แต่ถ้าผู้แต่งมีกรรมสิทธิ์อยู่จนถึง ๗ ปีแล้วจึงวายชนม์ ให้มีกรรมสิทธิ์รวมเป็น ๔๒ ปีนับจากวันได้รับกรรมสิทธิ์ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๕)