ข้ามไปเนื้อหา

พระกวีนิพนธ์ฯ/เรื่อง 2

จาก วิกิซอร์ซ

คำอธิบาย ในสมัยออกหนังสือวชิรญาณของหอพระสมุดฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ 5 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าราชการ (ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก) โคลงกลอนและเรื่องราว (ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก)

ความรู้เป็นเพื่อนได้ ในยาม เปลี่ยวนา
เป็นเครื่องอาภรณ์คราว พูดโต้
เป็นเราเมื่อคิดความ ควรตัด สินแฮ
เป็นทรัพย์ทุกเพล้โพล้ พรุ่งงาย ฯ
โกงเกลียดความรู้ขัด คอยตน นะพ่อ
ซื่อชอบชมบ่วาย อยากได้
ฉลาดอาจช่วงใช้ดล ประโยชน์ ปวงแล
เกียจเก็บความรู้ไว้ ป่วยการ ฯ
รู้ เรียนคุ้มแท้โทษ ทางหลง ลืมแฮ
รู้ อ่านกันวิจารณ์ ผิดพลั้ง
รู้ เลขหลีกโง่งง ทรัพย์สาป สูญเนอ
รู้ ประพฤติพ้นทั้ง ทุกข์ภัย ฯ

วชิรญาณ เล่ม 1 แผ่น 32 วัน 7 เดือน 9 แรม 14 ค่ำ ปีจอ อัฐศก 1248 หน้า 353.

รู้ เรื่องรักอย่าได้ ดูเบา
รัก นักมักจักเมา มืดกลุ้ม
จัก รักเร่งดูเอา ชั่วอย่า คบแฮ
ดี บ่ชั่วพัวหุ้ม จึ่งให้รักกัน ฯ
บรรณารักษ์

วชิรญาณ เล่ม 2 แผ่น 28 วัน 6 เดือน 6 ขึ้น 16 ค่ำ ปีกุน นพศก 1249 หน้า 219.

17 พงศาวดาร
คัมภีร์พิทยพากย์พร้อง พงศา วดารเฮย
ไสยศาสตร์พุทธสาสนา นิเทศทั้ง
ตำนานรัฐวรรา ชประวัติ วงศ์แฮ
คดีดึกดำบรรพ์ตั้ง ตลอดเบื้องปัจจุบัน
กรมสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์ เธอเอย
เพ็ญพระพิริยภาพทรง รอบรู้
ทุกพากย์พิพิธพง ศาวะ ดารนา
นับว่าอาจารย์ผู้ อื่นได้ในสยาม

วชิรญาณ เล่ม 9 แผ่นที่ 24 วันพฤหัสที่ 12 เดือน เมย. ร.ศ. 133 หน้า 288 แก้โคลงกระทู้ บทที่ 20 รางวัลที่ 3 เอ. บี. ซี. ดี.

เอ เชียร้อนดื่มน้ำ แข็งคลาย ร้อนฮา
บี เสียตแล่นให้หาย เมื่อยได้
ซี เมนโบกพอหมาย แทน ทัด หินแฮ
ดี ขัดแม้เบี่ยงใช้ ชั่วแก้กลับเสีย
รู้ เขียนคุ้มแท้โทษ ทางหลง ลืมแฮ
รู้ อ่านกันวิจารณ์ ผิดพลั้ง
รู้ เลขหลีกโง่งง ทรัพย์สาป สูญเนอ
รู้ ประพฤติพ้นทั้ง ทุกข์ภัย
ดำรงราชานุภาพ เลขาธิการ

จากหนังสือวชิรญาณสุภาษิต

โคลงความจน

วชิรญาณวิเศษ เล่ม 4 จ.ศ. 1250 หน้า 207

อาหารบริโภค กันตาย
สรรพสัตว์จำเป็นหมาย เท่านั้น
ใครขาดบริโภคกาย เกือบวิบัติ
นั่นแลจวบจนชั้น เอกแท้ทางจน
คนแคลนนุ่งผ้าขาด ขอทาน ก็ดี
แม้ว่ามีอาหาร อยู่แล้ว
สิ่งอื่นอนาถปาน ใดก็ ตามเทอญ
จนไม่แท้แต่แคล้ว สุขเข้าเขตร์เข็ญ
เห็นความเช่นนี้เพราะ ธรรมดา ชนนา
รกชีพเปรียใดหา ห่อนได้
สรรพธรรมที่เกี่ยวกา ยามนุษย์ เราฤๅ
ชูชีพเป็นสุขไร้ ชีพนั้นทุกข์ทราม
ความจนธรรมชาติแท้ ทางทุกข์
จนที่ความตายรุก รวดเร้า
จึ่งเป็นอย่างจนอุ กฤษยอด จนแฮ
ใดจะฟานขาดเข้า หยอดท้องจำตาย
ความจนหลายชั้นนับ นิพนธ์ ได้นา
จะใคร่กล่าวเหตุผล พล่ามเพ้อ
จนจิตต์เลอะคราวจน จวบราช การแฮ
จำจบโคลงเก้อเก้อ กุดค้างกลางแปลง
ลืมแสดงไปน่อยล้า เลยเหมาะ มาแล
อันศัพท์ความจนฉะเพาะ เท่านั้น
คือทุกข์ที่เกิดเพราะ มีไม่ พอแฮ
แปลรวม "จน" ทุกชั้น เช่นเข้าใจกัน
เลขาธิการ

วชิรญาณ เล่ม 3 จ.ศ. 1249 หน้า 202.

ว่าด้วยเสื้อขาด
โดยเราเป็นแต่ม้า งมงาย โง่แฮ
ย่อมกอบสุจริตหมาย ชีพเลี้ยง
สินทรัพย์ไม่มีหลาย พอเผื่อ
ที่จะเลี้ยงเพื่อนเพี้ยง เพื่อนบ้านอันจน
คนแคลนมีพละทั้ง สุขเป็น ทรัพย์แฮ
สงวนสัตย์ทนเข็ญเข็น อาตมเกื้อ
ใครใคร่ประพฤติเห็น เสมอกล่าว นี้นา
แสนขัดจนสวมเสื้อ ขาดข้าคงชม
ยามทำลายชีพทิ้ง ถมใน ดินแฮ
นับแต่ร้อยปีไป หมดเชื้อ
ก็คือว่าผู้ใด จักบอก ได้นา
ว่ากระดูกไหนสวมเสื้อ ขาดครั้งยังเป็น
นี่และ (ธรรมเนียมม้า บรรยาย
เดชะสัตย์ภิปราย ปราชญ์ถ้อย)
สรวมสิทธิ์สู่คณะชาย ชาวกอบ การณ์แฮ
อันเหนื่อยหอบเหื่อย้อย ค่ำเช้าเอางาน
มังสาสารพัตร์ทั้ง สุราบาน
พูนเพิ่มทุกฉนำกาล อย่าร้าง
(ทำการอย่าพะพาล พาพลาด)
จงมากมูนค่าจ้าง อย่าน้อยถอยผล
ภรรยาร่วมสุขพ้อง ไพบูลย์ ด้วยเทอญ
หย่าละกมลมูน โอบเอื้อ
อุตสาหะอนุกูล กิจสุข ตาแฮ
ประสายากปุปะเสื้อ ขาดให้หายแผล
ฟังโคลงฝรั่งต้อง ติดใจ บารนี
จึงเปลี่ยนแปลเป็นไทย เทียบถ้อย
ส่งหอพระสมุดใน เวกวิก นี้นา
เสนอสมาชิกน้อย ใหญ่ให้พึงยล
ด.ร.