ข้ามไปเนื้อหา

พระกวีนิพนธ์ฯ/เรื่อง 5

จาก วิกิซอร์ซ
บทพากย์ของฤๅษี
คำอธิบาย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ 5 ทรงมีงานหล่อพระพุทธชินราชองค์ในวัดเบญจมบพิตร์ที่เมืองพิษณุโลกใน พ.ส. 2444 นั้น โปรดให้มีการมหรสพสมโภชด้วยข้าราชการในสำนักเป็นผู้เล่นถวายเวลาเบิกโรง เล่นตอนจับลิงหัวค่ำ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์) เป็นตัวฤๅษี ท่านผู้นี้เป็นผู้ดูแลพระสงฆ์เพราะว่าการธรรมการ เสด็จพ่อจึงทรงแต่งบทพากย์ของฤๅษีเพื่อล้อเจ้าพระยาวิชิตวงศ์ฯ ในคืนนั้น บทพากย์นี้ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) จำไว้ได้ และบอกให้จด ดังนี้.

บทพากย์ของฤๅษี

มาจะกล่าวบทไป ถึงมุนีในสำนักประเทศธรรมการ สังฆกิจพิธีเชี่ยวชาญ สรรพสงฆ์สมภาร สัพพีสพรั่งทั้งผอง อสูรนักบวชกลัวหัวพอง หมู่สมีที่คนอง ขยาดขยั่นขวัญหนี วันหนึ่งจึงวุฒิมุนี จรจากกุฎี เที่ยวเสาะซึ่งชิ้นกังไส ลอดเลาะเสาะพ้นพงไพร เหลือบแลแปรไป เห็นสองสวาวานร

เจรจา

พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ (อู๊ต กุญชร) เป็น – ลิงขาว.

พระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) เป็น – ลิงดำ.