ข้ามไปเนื้อหา

พระราชกริสดีกาจัดตั้งเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485

จาก วิกิซอร์ซ
ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
พระราชกริสดีกา
จัดตั้งเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง
พุทธสักราช 2487

ไนพระปรมาภิไธยสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวอานันทมหิดล
คนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์
(ตามประกาสประธานสภาผู้แทนราสดร
  • อาทิตย์ทิพอาภา
  • ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ นะ วันที่ 3 พรึสจิกายน พุทธสักราช 2485
เปนปีที่ 9 ไนรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่เหนสมควนจัดเขตชุมนุมชนไนบางส่วนของตำบนไนเมืองที่ตั้งสาลากลางจังหวัด อำเพอเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ไห้มีถานะเปนเทสบาลเมือง

คนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ ไนพระปรมาภิไธยสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัว อาสัยอำนาดตามความไนมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเทสบาล พุทธสักราช 2481 จึงไห้ตราพระราชกริสดีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา1พระราชกริสดีกานี้ไห้เรียกว่า "พระราชกริสดีกาจัดตั้งเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485"

มาตรา2ไห้ไช้พระราชกริสดีกานี้ตั้งแต่วันประกาสไนราชกิจจานุเบกสาเปนต้นไป

มาตรา3ไห้ยกถานะบางส่วนของตำบนไนเมือง อำเพอเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ตามเขตที่กำหนดไว้ไนมาตรา 4 ขึ้นเปนเทสบาลเมือง มีนามว่า "เทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง"

มาตรา4ไห้กำหนดเขตเทศบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ไว้ดังนี้ คือ

ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งหยู่ที่จุดตอนเส้นเขตแดนตำบลคลองเอกที่ตรงไปจากถนนสายพระตะบองไปสรีโสภน ตัดกับเส้นเขตแดนตำบลคลองเอกที่ตรงไปจากแม่น้ำพระตะบอง เปนเส้นตรงไปตามทิสตะวันออกตามเส้นเขตแดนตำบลคลองเอกข้ามแม่น้ำพระตะบองถึงวัดปลัดแล้วเลียบฝั่งซ้ายของคลองวัดปลัด จดหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งหยู่บนฝั่งซ้ายของคลองวัดปลัด และห่างจากฝั่งขวาของแม่น้ำพระตะบอง 165 เมตร

ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เปนเส้นตรงไปทางทิสตะวันตกเฉียงไต้จนเส้นนี้จดกับเส้นเขตแดนตำบนหลักหวายอันเปนที่ตั้งของหลักเขตที่ 3 จากหลักเขตที่ 3 เปนเส้นตรงไปทางทิสไต้เลียบไปตามเส้นเขตแดนตำบนห้วยหวาย จดหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งหยู่ที่จุดตอนเส้นเขตแดนตำบนห้วยหวายที่ตรงไปจากถนนสายพระตะบองไปอธึกเทวเดช ตัดกับเส้นเขตแดนตำบนห้วยหวายที่ตรงไปจากแม่น้ำพระตะบอง

ด้านไต้ จากหลักเขตที่ 4 หักเปนมุมฉากเปนเส้นตรงไปทางทิสตะวันตกตามเส้นเขตแดนตำบนห้วยหวาย ข้ามแม่น้ำพระตะบองไปตามเส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่นจดหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งหยู่ตอนที่เส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่นที่ตรงไปจากแม่น้ำพระตะบองตัดกับเส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่นที่ตรงไปจากริมตำหนักพระเจ้ามนีวงส์ด้านตะวันออก

ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 หักเปนมุมฉากเปนเส้นตรงไปทางทิศเหนือตามเส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่นและเส้นเขตแดนตำบนผึ้งหลวง จดหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งหยู่ที่จุดตอนเส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่นหักไปต่อกับเส้นเขตแดนตำบนคลองเอก

จากหลักเขตที่ 6 เปนเส้นตรงไปทางทิสเหนือตามเส้นเขตแดนตำบนสวนนุ่น และเส้นเขตแดนตำบนคลองเอก ไปบันจบกับหลักเขตที่ 1

ดังปรากดไนแผนผังท้ายพระราชกริสดีกานี้

ตามเส้นแนวเขตดังกำหนดไว้ไนวัคก่อน ไห้มีหลักย่อยปักไว้ปักไว้เพื่อสแดงแนวเขตไว้ด้วยตามสมควน

มาตรา5ที่ดินหรือโรงเรือนสิ่งปลูกส้างของผู้ไดเหลื่อมล้ำเข้ามาไนเส้นเขตที่กำหนดไว้ไนมาตรา 4 แม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนได ไห้ถือว่า ที่ดินซึ่งติดต่อเปนผืนเดียวกัน หรือโรงเรือนสิ่งปลูกส้างนั้น ๆ หยู่ไนเขตเทสบาลเต็มทุกส่วน

มาตรา6ไห้รัถมนตรีว่าการกะซวงมหาดไทยรักสาการตามพระราชกริสดีกานี้

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  • นายกรัถมนตรี

พระราชบัญญัติเทสบาล พ.ส. 2481 ประกาสไน ราชกิจจานุเบกสา เล่ม 56 หน้า 155 วันที่ 1 เมสายน 2482

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"