วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซมีอะไรได้บ้าง
← นโยบายและแนวปฏิบัติ | นโยบายการรับงาน |
เนื้อหาที่เสรีแล้ว นอกจากนี้ วิกิซอร์ซยังมุ่งนำเสนองานเหล่านี้ในรูปแบบวิกิและถูกต้องตามต้นฉบับ หน้านี้แสดงนโยบายที่ใช้กำหนดว่า งานใดสามารถมีได้ในวิกิซอร์ซ | ในฐานะห้องสมุดเสรีที่ใครก็เข้ามาพัฒนาได้นั้น วิกิซอร์ซดำรงอยู่เพื่อเก็บรักษางานทางศิลปวิทยาซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นตลอดมาในห้วงประวัติศาสตร์และมี
งานที่มีได้
[แก้ไข]งานที่มีได้ในวิกิซอร์ซ คือ งานที่มีเนื้อหาเสรี เช่น งานที่ลิขสิทธิ์หมดอายุแล้ว หรืองานที่เป็นสาธารณสมบัติ
การเพิ่มคุณค่าให้แก่งาน
[แก้ไข]แม้วิกิซอร์ซจะไม่ใช่ที่ให้ผู้ใช้ไว้สร้างสรรค์งานดั้งเดิมขึ้นใหม่ แต่ก็เปิดให้เพิ่มคุณค่าแก่งานที่มีอยู่แล้วได้ ส่วนงานที่ผู้ใช้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เองทั้งสิ้น ไม่ใช่งานที่วิกิซอร์ซจะรับไว้ได้ แต่อาจลงไว้ในโครงการอื่นได้ เช่น ถ้าเป็นตำรา อาจลงไว้ที่วิกิตำรา
งานแปล
[แก้ไข]คำแปลงานภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย สามารถลงไว้ที่วิกิซอร์ซภาษาไทยได้ ทั้งที่เป็นงานแปลต้นฉบับ และงานแปลที่ผู้ใช้วิกิซอร์ซจัดทำขึ้นเอง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิซอร์ซ:งานแปล
คำอธิบายประกอบ
[แก้ไข]วิกิซอร์ซอนุญาตให้ทำคำอธิบายประกอบงานอื่นได้ ตัวอย่างคำอธิบายดังกล่าว เช่น คำอธิบายที่ลงเป็นเชิงอรรถไว้เกี่ยวกับถ้อยคำ ข้อมูลเชิงวิพากษ์ แหล่งอ้างอิง ฯลฯ แต่คำอธิบายเหล่านี้ต้องเพิ่มเข้ามาในลักษณะที่ไม่ทำลายงานเดิม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิซอร์ซ:คำอธิบายประกอบ
สื่อผสม
[แก้ไข]การเพิ่มสื่อผสม (multimedia) เข้ามาในเนื้อหาของงานใด ย่อมช่วยเพิ่มคุณภาพของงานนั้นเป็นอย่างดี สื่อผสมดังกล่าว เป็นต้นว่า รูปภาพจากงานนั้นเอง หรือสื่อที่เกี่ยวข้องจากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพเคลื่อนไหว แผนภาพ แผนผัง แผนที่ หรืออื่น ๆ แต่ต้องเป็นไปตาม แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สื่อ ด้วย
งานที่มีไม่ได้
[แก้ไข]งานที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง
[แก้ไข]งานที่ผู้ใช้สร้างสรรค์ขึ้นเอง หรืองานที่ไม่ได้เผยแพร่ในสื่ออื่นมาก่อน ไม่สามารถมีได้ในวิกิซอร์ซ เพราะวิกิซอร์ซมิใช่ที่ให้บุคคลไว้เผยแพร่งานดั้งเดิมของตน หรือไว้ทำให้ผู้อื่นเข้าถึงงานของตนได้ และมิใช่ที่เฟ้นหาพัฒนา "นักเขียนหน้าใหม่"
ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นงานที่ระบุในหัวข้อการเพิ่มคุณค่าให้แก่งานข้างต้น
โฆษณา
[แก้ไข]วิกิซอร์ซไม่ใช่ที่ลงโฆษณาซึ่งไม่มีลักษณะเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ (publication) อยู่ในตัว แต่โฆษณาที่เป็นส่วนหนึ่งของงานอื่นสามารถรับไว้ในวิกิซอร์ซได้
ทั้งนี้ เมื่อลงงานใดที่มีโฆษณารวมอยู่ด้วย จะลงโฆษณานั้นไว้ด้วยกัน หรือจะตัดทิ้งก็ได้ (เพราะโฆษณาเป็นเพียงส่วนประกอบของงาน มิใช่ตัวงานโดยตรง) ในกรณีที่ตัดโฆษณาทิ้ง จะลงหมายเหตุไว้ในหน้าพูดคุยแสดงถึงการตัดทิ้งก็ได้
งานที่ไม่ทราบผู้สร้างสรรค์
[แก้ไข]การกำหนดสถานะทางลิขสิทธิ์ จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์ ดังนั้น งานใดที่ไม่สามารถระบุข้อมูลเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์ได้ วิกิซอร์ซย่อมไม่อาจรับไว้ได้ เว้นแต่เป็นงานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และไม่มีปัญหาทางลิขสิทธิ์แล้ว เช่น งานที่มีอายุเกินกำหนดลิขสิทธิ์แล้ว
งานตัดตอน
[แก้ไข]โดยปรกติแล้ว วิกิซอร์ซไม่รับงานที่ตัดตอนมาจากงานอื่น
งานรวมเนื้อหาตัดตอน เช่น หนังสือรวมวรรคทองในวรรณคดี และงานที่ยังลงเนื้อหาไม่เสร็จ ไม่ถือเป็นงานตัดตอน
งานที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
[แก้ไข]วิกิซอร์ซมุ่งสะสมและรักษางานตามรูปแบบที่งานนั้นเผยแพร่ ดังนั้น งานที่มีเนื้อหาไม่นิ่ง เช่น งานที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย (update) เป็นระยะ ๆ จึงอยู่นอกเหนือขอบเขตของวิกิซอร์ซ
เนื้อหาสำหรับอ้างอิง
[แก้ไข]วิกิซอร์ซไม่รับสะสมเนื้อหาสำหรับอ้างอิง (referential material) โดด ๆ เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของงานอื่น
ตัวอย่างเนื้อหาสำหรับอ้างอิงที่วิกิซอร์ซไม่รับ มีดังนี้
- บัญชีรายชื่อหรือรายการ (list)
- ค่าทางคณิตศาสตร์ เช่น ตัวเลขพาย (pi)
- ตารางข้อมูลหรือผลลัพธ์
- เนื้อหาที่เป็นรหัสลับ (cryptographic material)
- รหัสต้นทาง (source code)
งานที่ไม่มีที่มา
[แก้ไข]งานที่นำมาลงไว้ โดยไม่ปรากฏแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ถูกลบออกจากวิกิซอร์ซมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์ หรือผู้นำมาลงละทิ้งหรือไม่ทำต่อเสียแล้ว
แม้ปัจจุบันยังไม่กำหนดให้งานต้องมีต้นฉบับสแกนมารองรับตามการพิสูจน์อักษร แต่ก็มีการอภิปรายกัน (ในวิกิซอร์ซภาษาต่างประเทศ) มาสักระยะแล้วว่า ควรกำหนดให้มี ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรจัดทำงานในรูปแบบพิสูจน์อักษรดังกล่าว งานที่จัดทำในลักษณะดังกล่าว ย่อมมีภาษีดีกว่างานที่นำมาลงเปล่า ๆ โดยที่พิสูจน์ความถูกต้องแทบจะไม่ได้เลย