ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 1/เรื่องที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ พงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217

สารบานพงษาวดารเขมร
บานแพนก
น่า ๑๖๕
ตั้งราชธานีที่นครหลวง
" ๑๖๗
""นครธม
" ๑๖๘
""พนมเพ็ญ
" ๑๖๙
""เมืองปาสาณ
" ๑๗๐
""เมืองลแวก
" ๑๗๑
""เมืองศรีส่อชอ
" ๑๗๗
""พนมเพ็ญ
" ๑๗๙
""เมืองอุดงฦๅไชย
" ๑๘๐
""เมืองบันทายเพ็ชร
" ๒๐๘

บานแพนกเดิม

ศุภมัสดุ ลุศักราช ๑๒๓๑ สัปสังวัจฉร บุษยมาศ กาฬปักษ เอกาทศมีดิถี ครุวารปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระเจ้าอยู่หัว อันเถลิงถวัลยราชบรมราชาภิเศก ผ่านพิภพกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน เสด็จออกณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสวริยพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมราชวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ จึงพระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตร พระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมพระอาลักษณ์แลกรมอักษรพิมพ์ ให้จัดหาหนังสือเรื่องพระราชพงษาวดารลำดับกระษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ สร้างไว้สำหรับทรงทอดพระเนตรเปนเครื่องประดับพระปัญญาแลสำหรับแผ่นดินสืบไป จึงพระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ได้จัดอาลักษณ์จำลองเรื่องพระราชพงษาวดารลำดับกระษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหลายภาษา แลเรื่องพระราชพงษาวดารฝ่ายประเทศสยาม แลประเทศจีน แลประเทศมอญ คือ เรื่องราชาธิราชนั้น นักปราชแลผู้มีบันดาศักดิ์ได้ฟังได้รู้เรื่องด้วยกันเปนอันมาก แต่เรื่องราชพงษาวดารเขมรนี้ เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งขุนสุนทรโวหารในกรมพระอาลักษณ์ แลพระยาธรรมาธิบดี ๑ พระเสนาพิจิตร ๑ หมื่นมหาสมุท ๑ รวม ๓ นาย เปนล่ามเขมรอยู่ในกรมมหาดไทย แปลเรื่องราชพงษาวดารเขมรเมื่อจุลศักราช ๑๒๑๗ ปีเถาะ สัปตศก เดือนแปด บุรพาสาธ แรมหกค่ำ ณวันพฤหัศบดี เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ในหอหลวง ยังไม่ใคร่จะแพร่งพรายรู้เรื่องทั่วกันไป ข้าพเจ้าจึ่งเห็นว่า ในประเทศเขมรนี้ ก็มีเรื่องลำดับกระษัตริย์ต่อ ๆ กันมาหลายชั่วจนถึงทุกวันนี้ ควรที่นักปราชแลผู้มีบันดาศักดิ์จะรู้ไว้ในเรื่องลำดับกระษัตริย์แห่งประเทศต่าง ๆ เปนเครื่องประดับปัญญาให้รอบรู่โดยธรรมเนียมที่ประพฤติการแลมีอุบายต่างกันทุก ๆ ภาษา ได้ตีพิมพ์ณโรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง กล่าวความแต่ต้นดังนี้

พงษาวดารเขมร

ครั้งแผ่นดินสมเด็จเสด็จพระเจ้าบรมนิพันธบท พระองค์ทรงราชย์อยู่ในพระนครหลวงเมื่อจุลศักราช ๗๐๘ ศก ปีจอ นักษัตร ทัศมีดิถี บุษยมาสา พุฒวาระ สารศัพทมโหรติงในสมเด็จบรมนารถบรมบพิตร ตั้งแต่พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๗๑๒ ศก ปีขาล นักษัตร ได้ ๕ ปี พระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงสมเด็จพระศรีธาร ผู้เปนพระอนุชา ได้เถลิงทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียมในปีขาลนั้นได้ ๓ เดือน พระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงพระบรมลำพงษ์ราชา ผู้เปนพระราชบุตร เปนประถมเถลิงทรงราชย์อยู่ในพระนครหลวงในปีขาลนั้น พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๗๑๔ ศก ปีมโรงนักษัตร ได้ ๓ ปี จึงพระเจ้ารามาธิบดีที่หนึ่งกรุงไทยยกทัพมาล้อมเมืองลุศักราช ๗๑๕ ศก ปีมเสงนักษัตร ได้ปีหนึ่ง พระเจ้ารามาธิบดีจึงได้เมือง พระเจ้าลำพงษ์ราชาก็สุรคต พระเจ้ารามาธิบดีจึงตั้งพระราชบุตรของพระเจ้าลำพงษ์ให้ทรงราชย์อยู่ในพระนครหลวง ทรงพระนาม พระเจ้าปาสัตร ในปีมเสงนั้น ลุศักราช ๗๑๗ ศก ปีมแมนักษัตร พระเจ้าปาสัตรทรงราชย์ได้ ๓ ปีสุรคต จึงพระเจ้าปาอัศ ผู้เปนพระอนุชา ขึ้นทรงราชย์ได้ ๓ ปี แล้วสุรคตในปีรกานั้น จึงพระเจ้ากะดมบองที่สี่ ผู้เปนพระราชบุตรผู้น้อย ขึ้นทรงราชย์ในพระนครหลวงได้เดือนหนึ่ง นับแต่ปีมโรงจัตวาศกมาถึงศักราช ๗๑๙ ศกปีรกานักษัตรได้ ๖ ปี พระเจ้ารามาธิบดีกรุงไทย กลับยกกองทัพไปกวาดต้อนครัวเขมร ๙ หมื่นไปกรุงศรีอยุทธยา จึงพระศรีสุริโยปวงษ์ราชาผู้เปนพระเจ้าหลานขึ้นทรงราชย์สนองสมเด็จพระปิตุลาในพระนครธม ในปีรกานพศกนั้น พระองค์ทรงราชย์มา ลุศักราช ๗๒๘ ศกปีมเมียนักษัตรได้ ๑๐ ปีสุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงพระบรมรามาเถลิงทรงราชย์สนองสมเด็จพระปิตุลาในพระนครธมนั้น ลุศักราช ๗๓๒ ศกปีจอนักษัตรได้ ๕ ปีพระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว พระเจ้าธรรมาโศกราชผู้เปนพระอนุชาได้ทรงราชย์สนองสมเด็จพระเชษฐาในพระนครหลวงนั้น พระองค์ทรงราชย์มา ลุศักราช ๗๓๔ ศกปีชวดนักษัตรได้ ๓ ปี พระ เจ้าบรมราชาที่หนึ่งกรุงศรีอยุทธยายกทัพมาล้อมเมืองอยู่เจ็ดเดือน ครั้นลุศักราช ๗๓๕ ศกปีฉลูนักษัตรจึงตีได้พระนครธม พระเจ้าธรรมาโศกราชสุรคต พระเจ้าบรมราชาจึงตั้งพระราชบุตรของพระเจ้าธรรมาโศกราช ชื่อพระยาแพรกขึ้นทรงราชย์ตั้งพระนามพระอินทราชา พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติใช้ให้มหาดทั้งสอง ไปลอบฆ่าพระอินท ราชาในปีฉลูนั้น แล้สพระบรมราชาเจ้าพระญาติทรงราชย์อยู่ในพระนครธม ลุศักราช ๗๔๖ ศกปีชวดนักษัตรได้ ๑๒ ปีจึงได้ราชาภิเศกพราหมณ์ถวายน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสุริโยปพันธ์ธรรมิกราชา ลุศักราช ๗๕๐ ศกปีมโรงนักษัตรทรงราชย์ได้ ๕ ปีพระองค์เสด็จมาสถิตย์อยู่ณเมืองพนมเพ็ญจัตุรมุขจะราบเชียม ลุศักราช ๗๙๕ ศกปีฉลูนักษัตรพระชนมพรรษาได้ ๔๖ ปี พระองค์มอบเวนราชสมบัติให้พระนารายน์รามาธิบดี ๆ ทรงราชย์ในพระนครพนมเพ็ญมา ลุศักราช ๗๙๙ ศกปีมเสงนักษัตรได้ ๕ ปี พระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงพระเจ้าศรีราชาพระองค์เถลิงทรงราชย์ในปีมเสงสัปต ศกนั้น ครั้นมาถึงแผ่นดินพระสุริโยไทยราชาพระองค์ทั้งสองนี้เกิดศึกรบกัน แล้วต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จเจ้าพระยาธรรมราชา ผู้เปนพระราชบุตรพระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ เจ้าพระยาธรรมราชานั้นพระมารดาชื่อนักนางศรีเสงี่ยม เปนบุตรออกคุณทรงพระอินทร์ เปนพี่น้องกันกับพระยาเดโชที่อยู่กรุงศรีอยุทธยา ลุศักราช ๘๓๐ ศกปีชวดนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๒ ปี พระองค์จึงได้เถลิงทรงราชย์อยู่ในเมืองพนมเพ็ญได้ปราบดาภิเศก ทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์ตั้งพระวงษ์ใหญ่เปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีศรีเทพธิดา พระองค์ทรงราชย์มา ลุศักราช ๙๓๕ ศกปีมเสงนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๗ ปี มีพระราชบุตรกับสมเด็จพระอรรคมเหษีองค์หนึ่ง ทรงพระนามสมเด็จเจ้าพระยางามขัติยราชา ลุศักราช ๘๓๘ ศกปีวอกนักษัตร พระองค์ทรงราชย์ได้ ๙ ปีพระชัณษาได้ ๓๐ ปีพระองค์แต่งให้พระเดชะไปขอกองทัพไทย พระเจ้ากรุงไทยเร่งยกทัพมาถึงตั้งสู้รบ จับได้สมเด็จพระเรียมกับสมเด็จพระภคินีโยนำไปกรุงศรีอยุทธยา ลุศักราช ๘๔๘ ศกปีมเมียนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๐ ปี มีพระราชบุตรกับพระแม่นางนักนางเทพบุบผาพระองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าพระยาจันทราชา แล้วพระองค์เสด็จไปประดับพระสารีริกธาตุที่ภูเขาสันธุก สมเด็จเสด็จกลับคืนยังจัตุรมุขพนมเพ็ญ ครั้งนั้นมีพระ ยาช้างเผือกช้างหนึ่งเปนมงคลของบรมบพิตร พระองค์ทรงราชย์มา ลุศักราช ๘๖๖ ศกปีชวดนักษัตรได้ ๓๗ ปี พระชัณษาได้ ๕๘ ปีพระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าพระยางามขัติยราชาเกิดปีมเสงเบญจศกมาถึงปีชวดฉศกพระชัณษาได้ ๓๒ ปี พระองค์ทรงราชย์สนองพระบวรราชบิดาในเมืองปาสาณ ได้อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามสมเด็จเสด็จพระศรีสุคนธบทราชาธิราชรามาธิบดี เมื่อลุศักราช ๘๗๐ ศกปีมโรงนักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๓๖ ปี จึงขุนหลวงพระเสด็จชื่อเจ้ากันเดิมเปนบุตรมนตรีในเมืองปาสาณ มีจิตรกำเริบตั้งตัวเปนกระษัตริย์ในเมืองปาสาณ ครั้นพระเจ้าศรีสุคนธบทราชาธิราชทรงราชย์ ลุศักราช ๘๗๔ ศกวอกนักษัตรได้ ๙ ปี พระชัณษาได้ ๔๐ ปี มนตรีของพระองค์นั้นลอบฆ่าพระองค์เสียที่แม่น้ำสะตึงแสน พระเจ้าจันทราชาผู้เปนพระอนุชาพระเจ้าศรีสุคนธบทเกิดปีมเมียอัฐศก เมื่อถึงปีมโรงพระชัณษาได้ ๒๓ ปี หนีไปกรุงศรีอยุทธยา ลุศักราช ๘๗๘ ศกชวดนักษัตรได้เก้าปีพระชัณษาได้ ๓๑ ปี พระองค์ถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ๆ โปรดให้พระองค์เสด็จมาถึงเมืองโพธิสัว พระองค์ให้ตั้งค่ายอยู่ณเมืองอมราบดีรันทบูร ชาวเมืองยอมเข้ากับพระองค์ทั้งสิ้น พระองค์ครองราชสมบัติลุศักราช ๘๘๒ ศกมโรงนักษัตร ได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๓๕ ปี มีพระราชบุตรกับสมเด็จพระอรรค มเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา พระองค์บรมบพิตรทรงราชย์มา ลุศักราช ๘๘๘ ศกจอนักษัตรได้ ๑๑ ปี พระชัณษาได้ ๔๑ ปี พระองค์จึงยกทัพไปรบกับเจ้ากัน ๆ ตายกลางศึกแล้ว พระองค์กลับคืนมาเมืองโพธิสัตว บรรดาไพร่พลเมืองใหญ่น้อย ก็ยอมเข้ากับพระองค์ทั้งสิ้น พระองค์จึงให้ตั้งชื่อค่ายที่พระองค์เคยสถิตย์อยู่ ให้เรียกว่าค่ายบรรทายมีไชย แล้วพระองค์สร้างพระพุทธรูปอัฐรัศองค์หนึ่งอยู่ณเมืองอมราบดีรันทบูร ลุศักราช ๘๙๐ ศกชวดนักษัตรได้ ๑๒ ปี พระชัณษาได้ ๔๓ ปี จึงพระองค์ออกจากค่ายบรรทายมีไชย มาสถิตย์อยู่ณเมืองลงแวก พระองค์ให้ก่อค่ายด้วยศิลาข้างล่างแล้วพูนดินบนศิลาเสร็จแล้ว สร้างพระพุทธรูปอัฐรัศ ๔ องค์ องค์หนึ่งทำด้วยไม้จริง พระบาทพระพุทธรูปนั้นทำด้วยศิลา ผินพระปฤษฎางค์เข้าหากัน ผันพระภักตร์ออกทั้ง ๔ ทิศ แล้วสร้างพระวิหารมีมุขเด็ดทั้ง ๔ ด้าน มียอดอยู่กลาง ฝาผนังประดับกระจกปิดทอง แล้วให้สร้างพระพุทธไสยศน์นิพพานด้วยศิลา แลพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๆ ทำด้วยศิลาไว้ที่บนเนินเขาพระราชทรัพย์ พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๐๒ ศกชวดนักษัตรได้ ๒๕ ปี พระชัณษาได้ ๕๕ ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาจึงยกทัพมาถึงพระนครหลวงในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชะนะพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาหนีไป พระเจ้าจันทราชาจับได้ชเลยไทยเปนอันมาก แล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ ลุศักราช ๙๑๕ ปี ศกฉลูนักษัตร บุษยมาสาพฤหัศบดีวาระสาระศัพทมโหรติง ในสมเด็จบรมนารถบพิตรพระชัณษาได้ ๖๘ ปี อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษ ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนาม พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสุริโยปพันธุธรรมิกราชา จึงตั้งสมเด็จพระราชเทพีขึ้นเปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีศรีท้าวธิดา พระองค์ทรงราชย์มา ลุศักราช ๙๑๗ ศกเถาะนักษัตรพระชัณษาได้ ๗๐ ปี จึงพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาให้เจ้าพระยาโอง ผู้เปนสมเด็จพระเรียมของพระเจ้าจันทราชายกทัพไทยไพร่พล ๙ หมื่น มาถึงเมืองโพธิสัตวแล้วพระองค์เสด็จไปรบกับสมเด็จพระเรียมซึ่งอยู่ณกรุงไทย เมื่อเสด็จไปสถิตย์อยู่ที่เมืองโพธิสัตวมีนิมิตรอุบัติเหตุให้เห็นปรากฎเปนไชยมงคล มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่งตายไปหลายปีแล้ว มีลำต้นกิ่งก้านกลับสดใส แตกยอดแลใบเปนขึ้นเหมือนแต่ก่อน พระองค์จึงให้เอาธูปเทียนหมากพลูเครื่องสักการไปบูชา สมโภชพระศรีมหาโพธิต้นนั้น แล้วพระองค์จึงนำพระราชบุตรกับไพร่พลออกรบมีไชยชะนะเจ้าพระยาโองราชา ๆ สุรคตณปีเถาะนั้น พระองค์ให้ปลงพระศพเสร็จแล้ว จับไทยไว้เปนชเลยเปนอันมาก แล้วพระองค์ให้จัดตกแต่งบูชาต้นศรีมหาโพธินั้นให้เรียกว่าพระโพธิมีบุญ จึงได้เรียกว่าเมืองโพธิสัตวแต่นั้นมา แล้วพระองค์จึงให้สร้างพระวิหารเสร็จแล้ว จึงให้เอาพานพระศรีของพระองค์กับของพระเรียม มา สร้างเปนพระพุทธรูปสองพระองค์ไว้ในพระวิหารนั้น แล้วพระองค์ให้บรรจุพระอัฐิของพระเรียมไว้ในพระวิหารนั้น แล้วเสด็จกลับคืนมา ณค่ายลงแวก เมื่อแผ่นดินของพระองค์นั้นทรงพระสพักยาว ๘ ศอก บรรดามุขมนตรีใหญ่น้อยล้วนแต่ห่มผ้าสไบยาว ๘ ศอก ถือพัดใบตาลขี่แคร่กั้นกรรชิง แต่บรรดามุขมนตรีใหญ่น้อย ถ้าจะทูลแลขานให้ว่าพระบาทอะมะจัด แปลว่าพระบาทพระเปนเจ้า ลุศักราช ๙๒๘ ศกขาลนักษัตรได้ ๕๐ ปี พระชัณษาได้ ๘๑ ปี พระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมราชาเกิดปีมโรงโทศก ๘๘๒ พระชัณษาได้ ๔๗ ปี พระองค์เถลิงทรงราชย์สนองสมเด็จพระบวรราชบิดาอยู่ในค่ายลงแวกนั้น ลุศักราช ๙๒๘ ศกขาลนักษัตรขึ้นห้าค่ำกรรติกมาสาอาทิตยวาระสาระศัพทมโหรติง ในสมเด็จบรมนารถบรมบพิตร อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษ ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์ทรงตั้งพระวงษ์ใหญ่เปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระภัควดีศรีจักรพรรดิราช มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง ลุศักราช ๙๐๓ ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๒ ปี สมภพสมเด็จพระสัตถา แล้วพระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่ออนักนางเกสร เกิดพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง ลุศักราช ๙๑๘ ศกมโรงนักษัตรพระชัณษาได้ ๓๗ ปี สมภพพระศรีสุพรรณ พระองค์มีแม่นาง ๆ หนึ่งชื่ออนักนางวงษ์ มีพระราชบุตรองค์หนึ่ง เมื่อลุศักราช ๙๒๗ ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๖ ปีสมภพเจ้าพระยาอ่อน เมื่อพระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๓๒ ศก มเมียนักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๕๑ ปี พระองค์เสด็จไปสถิตย์ณเมืองกุมพงกระสัง พระองค์ให้ไปตีเมืองนครราชสีมาแขวงกรุงไทยได้ชเลยเปนอันมาก แล้วเสด็จกลับคืนมา เมื่อปีมเมียนั้น เจ้ากรุงลาวให้ขุนนางสองคนกับไพร่พันหนึ่งนำช้างใหญ่ช้างหนึ่งสูง ๘ศอกมาชวนชนพนัน ถ้าช้างข้างไหนแพ้จะเอาเมืองข้างนั้นเปนเมืองขึ้น แต่ช้างของพระองค์สูงได้ ๗ ศอก พระองค์ให้ชนชนะช้างกรุงลาว จึงใหยื้อไพร่พลลาวไว้ ให้แต่ช้างนั้นกลับไป เจ้ากรุงลาวก็โกรธ เมื่อศักราช ๙๓๓ ศกมแมนักษัตรพระองค์ทรงราชย์ได้ ๖ ปี พระชัณษาได้ ๕๒ ปี จึงเจ้ากรุงลาวยกทัพเรือทัพบกมา เจ้ากรุงลาวมาทางบกให้อุปราชมาทางเรือ เจ้ากรุงลาวนั้นมาถึงแดนเมืองสันธุก จึงพระองค์ออกไปสู้รบกับเจ้ากรุงลาวนั้น พระองค์ชนะเจ้าลาว ๆ หนีไปได้จับได้แต่ชเลยเปนอันมาก พระองค์กลับมา พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๓๔ ศกวอกนักษัตรได้ ๗ ปี พระชัณษาได้ ๕๓ ปี อุปราชลาวยกทัพมาถึงเกาะเจ้าราม พระองค์ทรงเรือประดับกระจกกับเรือนุภาพเปนอันมากออกรบกับอุปราชลาวได้ไชยชะนะอุปราชลาวในเกาะเจ้ารามณปีวอกนั้น แล้วจับพวกลาวนั้นมาเปนชเลยเปนอันมาก แล้วให้เรียกลาวนั้นว่า อ้ายลาวเรือหัก พระบรมราชาพระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๓๘ ศกชวดนักษัตรได้ ๑๑ ปี พระชัณษาได้ ๕๗ ปี จึงสุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงสมเด็จพระสัตถาเกิดปีฉลูพระชัณษาได้ ๒๔ ปี ขึ้นทรงราชย์สนองสมเด็จพระบวรราชบิดาอยู่ ณค่ายลงแวก เมื่อศักราช ๙๓๘ ศกชวดนักษัตรขึ้น ๘ ค่ำเชฎฐมาสาวารสารศัพทมโหรติง ในสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรอภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษ ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์ยกพระวงษ์ใหญ่เปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีศรีจักรพรรดิราช มีพระราชบุตรสองพระองค์ แต่ครั้งศักราช ๙๓๖ ศกจอนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๒ ปี สมภพสมเด็จพระไชยเชษฐา ลุศักราช ๙๔๑ ศกเถาะนักษัตรได้ ๕ ปีพระชัณษาได้ ๒๗ ปี สมภพสมเด็จเจ้าพระยาตน ลุศักราช ๙๔๒ ศกมโรงนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๘ ปี สมภพเจ้าพระยาโยม พระมารดาชื่อแพงลาวผู้เปนแม่สาว เมื่อปีมโรงนั้นพระองค์ให้ยกกองทัพไปตีเขตรแดนกรุงไทยชนะได้ครอบครัวบ้างแล้วเสด็จกลับมาพระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๔๖ ศกวอกนักษัตร แต่พระองค์ทรงราชย์มาได้ ๙ ปี พระชัณษาได้ ๓๒ ปี พระองค์สบพระราช หฤไทยด้วยสมเด็จพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ ให้ทรงราชย์เปนเสด็จคือกระษัตรทั้งสองพระองค์ พระราชบุตรผู้พี่นั้นปีวอก พระชัณษาได้ ๑๑ ปี ได้อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษ ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระไชยเชษฐาธิราชรามา ธิบดี พระราชบุตรผู้น้อยนั้นปีชวดพระชัณษาได้ ๖ ปี อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษ ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี แต่พระบาทบรมบพิตรทั้ง ๓ พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๕๕ ศกปีมเสงนักษัตรได้ ๒ เดือนพระองค์บรมบพิตรบวรราชบิดาทรงราชย์ได้ ๑๘ ปี พระชัณษาได้ ๔๑ ปี สมเด็จพระราชบุตรองค์ใหญ่ ทรงราชย์แต่ปีวอกมาถึงมเสงได้ ๑๐ ปี พระชัณษาได้ ๒๐ ปี พระราชบุตรองค์น้อยทรงราชย์แต่ปีวอกมาถึงปีมเสงได้ ๑๐ ปี พระชัณษาได้ ๑๕ ปี จึงสมเด็จพระนเรศวรพระเจ้ากรุงไทย ยกกองทัพไพร่พล ๕ หมื่นมารบกับพระองค์ ๆ พาสมเด็จพระอรรคมเหษีกับสมเด็จพระราชบุตรทั้งสองหนีไปอยู่ณเมืองศรีส่อชอ ลุศักราช ๙๕๖ ศกปีมเมียนักษัตร สมเด็จพระราชบิดาพระชัณษาได้ ๔๒ ปี สมเด็จพระราชบุตรองค์ใหญ่พระชัณษาได้ ๒๑ ปีพระราชบุตรองค์น้อยพระชัณษาได้ ๑๖ ปี พระองค์บรมบพิตรเห็นสมเด็จพระรามเชิงไพร ไปขอพระเทพีของพระองค์แล้ว พระองค์พาสมเด็จพระอรรคมเหษีกับพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ไปเมืองลาว ๏ ฝ่ายพระองค์บรมบพิตร เมื่อลุศักราช ๙๕๗ ศกปีมแมนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๓ ปี พระไชยเชษฐาพระราชบุตรใหญ่ เมื่อลุศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตร พระชัณษาได้ ๒๓ ปี พระบาทบรมบพิตรทั้งสองพระองค์ารคตอยู่ที่เมืองลาว ยังแต่พระบรมราชาธิราชผู้เปนพระอนุชา พระชัณษาได้ ๑๘ ปี อยู่เมืองลาว เมื่อครั้งแผ่นดินพระบรมราชาจะทูลจะขานจะทรงพระสพัก บรรดามุขมนตรีกับนายมหาดนายพลจะห่มผ้าสะไบ พระองค์บัญญัติตามเยี่ยงอย่างสมเด็จพระไอยกาไอยกีสมเด็จพระบวรราชบิดา กล่าวเรื่องราวพระมหากระษัตรทรงราชย์อยู่ณค่ายละแวกนั้นสิ้นความแต่เท่านี้ ๏ ฝ่ายสมเด็จพระศรีสุพรรณผู้เปนพระอนุชาพระบรมราชาไปอยู่เมืองลาวนั้นพระองค์เปนพระมหาอุปโยราช พระองค์ยกสมเด็จพระชาติสัตรีผู้เปนพระราชบุตรีเจ้าพระยายศราชา ผู้เปนพระกนิษฐาพระทวดเดียวกันกับพระองค์มาเปนพระอรรคชายา ลุศักราช ๙๔๑ ปีศกเถาะนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๓ ปี สมภพพระราชบุตรกับสมเด็จพระราชเทพีพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามสมเด็จพระไชยเชษฐา ลุศักราช ๙๕๑ ศกฉลูนักษัตร พระชัณษาได้ ๓๔ ปี สมภพพระอุไทยตั้งแต่พระองค์ยังเปนพระมหาอุโยราช จนลุศักราช ๙๕๕ ศกมเสงนักษัตร พระชัณษาได้ ๓๗ ปี สมเด็จพระไชยเชษฐาประสูตรในปีมเสงนั้น พระชัณษาได้ ๑๕ ปี สมเด็จพระอุไทยประสูตรณปีมเสงพระชัณษาได้ ๕ ปี ครั้งนั้นจึงพระนเรศวรเปนเจ้าได้พระองค์กับพระราชเทพีพระราชบุตร แล้วกวาดต้อนครัวเขมรไปเปนอันมาก ลุศักราช ๙๕๖ ศกมเมียนักษัตรเดือนสาม จึ่งพระนเรศวรเปนเจ้านำพระองค์ไปกรุงศรีอยุทธยา ให้แต่พระมหามนตรีเปนแม่ทัพใหญ่รั้งอยู่อุดงฦๅไชย ๏ จะกล่าวถึงนักพระรามเชิงไพร เมื่อศักราช ๙๐๗ ศกมเสงสมภพนักพระรามเชิงไพร ณปีมเมียนั้นครั้นพระชัณษาได้ ๕๐ ปี ขึ้นครองราชสมบัติณเมืองศรีส่อชอ ลุศักราช ๙๕๗ ศกมแมนักษัตรนักพระรามเชิงไพรนั้นพระชัณษาได้ ๕๑ ปี ครั้งนั้นพระองค์ยกทัพมาไล่กองทัพพระมหามนตรีกำจัดจากเมืองอุดงฦๅไชยหนีกลับไปกรุงศรีอยุทธยาพระองค์กลับไปเมืองศรีส่อชอพระองค์เสวยราชสมบัติมาลุศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตรได้ ๓ ปี พระชัณษาได้ ๕๒ ปี มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อละวิศเวโล พระบรมราชาเสด็จไปเมืองลาวได้ขอมาเปนบุตรบุญธรรม ครั้นฝรั่งนั้นมาถึง พระรามเชิงไพรจะล่อลวงฆ่าฝรั่ง ๆ รู้ตัวลอบฆ่าพระองค์สุรคต ณปีวอกอัฐศกนั้น ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว ฝรั่งนั้นไปเชิญพระบรมราชาผู้เปนพระราชบุตรน้อยของพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีมาจากเมืองลาวเมื่อศักราช ๙๕๙ ศกรกานักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๑๙ ปี พระองค์มาทรงราชย์อยู่ณเมืองศรีส่อชอ ลุศักราช ๙๗๑ ศกกุนนักษัตรได้ ๓ ปี พระชัณษาได้ ๒๑ ปี พระองค์ยกทัพไปจับเจ้าเมืองตะบงคะมุมจึงมีจามชื่อโปรัตกับแขกชื่อฬะสะมะนาลอบฆ่าพระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงพระยาอ่อนผู้เปนสมเด็จพระปิตุลาเกิดปีฉลู ขึ้นทรงราชย์สนองสมเด็จพระภัคนีโยณเมืองศรีส่อชอ เมื่อปีกุนนั้นพระชัณษาได้ ๓๕ ปี ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๙๗๒ ปี ศกชวดนักษัตรได้ ๒ ปี พระชัณษาได้ ๓๖ ปีจึงพระองค์ให้หานางท้าวภรรยาพระสเถร์มาเปนแม่นาง นางท้าวหายอมตามราชหฤไทยไม่ จึงพระองค์ทรงกริ้วให้เอาตัวนางท้าวไปจำขื่อไว้แล้วพระสเถร์หนีไปอยู่บ้านแก้วพระเพลิง แล้วกลับมาลอบฆ่าพระองค์สุรคต ณปีชวด ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงเจ้าพระยาโยมเกิดปีมโรงผู้เปนพระภัคินีโยขึ้นเสวยราชย์ณเมืองศรีส่อชอณปีชวด พระชัณษาได้ ๒๑ ปีทรงพระนามสมเด็จพระแก้วฟ้า พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๖๓ ศกฉลูนักษัตรได้ ๒ ปี พระชัณษาได้ ๒๒ ปี สมเด็จพระแก้วฟ้าพระองค์ไม่ดำริห์ราชกิจการศึกการแผ่นดินสิ่งใด พอพระไทยแต่จะเที่ยวไปประพาศป่าล้อมมฤคชาติ ไม่ทรงประพฤติตามโบราณราชธรรม เที่ยวไปขึ้นเย่าเรือนหาบุตรสาวชาวเมือง ทำการทุราจารอยู่ดังนี้ จึงสมเด็จพระเทวีกระษัตรเปนสมเด็จพระไอยกี พระองค์ให้ราชสาสนไปขอสมเด็จพระศรีสุพรรณผู้เปนพระภัคินีโยแต่กรุงศรีอยุทธยา ครั้งเมื่อแผ่นดินพระบรมราชา นักพระราม สมเด็จพระบรมราชา สมเด็จพระแก้วฟ้า ทั้งสี่พระองค์นั้นหาบริบูรณ์ไม่ บรรดาราษฎรเมืองใหญ่น้อยเกิดการกำเริบตั้งตัวเปนใหญ่ไล่จับกันไปขายกิน เมืองนั้นเสื่อมสูญไปได้ ๗ ปี แต่ปีมเสงจนกรุงไทยยกมาถึงปีฉลูได้ ๙ ปี จึงพระเจ้ากรุงไทยปล่อยให้สมเด็จพระศรีสุพรรณมาจากกรุงไทย มาทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียมณเกาะสาเกด ในปีฉลูนั้นจึงสมเด็จพระเทวีกระษัตรผู้เปนพระมาตุจฉา ถอดสมเด็จพระแก้วฟ้าออกจากราชสมบัติ แล้วพระองค์นำสมเด็จพระภัคินีโยกับพระราชนัตโตพระราชนัตตานี กับบรรดาพระวงษ์ใหญ่น้อยให้ไปพร้อมกันอยู่ณเกาะสาเกด จึงให้ป่าวร้องตามบรรดาเมืองใหญ่น้อยมาเข้ากับพระองค์บ้างยังบ้าง ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามภูมิ์ลำเนาแล้ว พระนางให้ไปขอสมเด็จพระไชยเชษฐาเปนพระราชบุตรผู้พี่แต่พระเจ้ากรุงไทย จึ่งพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มาแล้วพระองค์ให้สมเด็จพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ปราบบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยราบสิ้นแล้ว พระองค์ไปสถิตย์อยู่ที่ละวาเอมแขวงเมืองพนมเพ็ญเมื่อศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๖ ปี อภิเศกทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี จึงยกสมเด็จพระชาติสัตรีขึ้นเปนอรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีศรีโสชาติชาดา พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๖๔ ศกขานนักษัตรได้ ๒ ปี พระชัณษาได้ ๔๗ ปี สมเด็จพระแก้วฟ้าเกิดปีมโรง ครั้นมาถึงปีขาลพระชัณษาได้ ๒๓ ปี ออกเปนศัตรูจะลอบฆ่าสมเด็จพระมาตุลา พระองค์ทราบให้จับได้พิฆาฏเสียในปีนั้น พระองค์บรมบพิตรให้ทำพระภูษาเสื้อครุยเอาอย่างไทย แล้วทรงบัญญัติให้บรรดามุขมนตรีใหญ่น้อย นายมหาดนายพลทำเสื้อครุยสวมไม่ให้ห่มผ้าสไบเหมือนเมื่ออยู่ณเมืองลงแวกแล้ว พระองค์บัญญัติให้ทูลให้ขานว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์สมเด็จนรนารถ แล้วพระองค์บัญญัติให้บรรดาขุนนางผู้หญิงขานว่าพ่อ ให้ขานสมเด็จพระอรรคมเหษีว่าแม่ ตามบรรดาพระองค์เจ้านอกจากทรงราชย์ว่าพระบาทอะมะจัด แปลเปนคำไทยว่าพระบาทผู้เปนเจ้า พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๑๕๕๐ สัมฤทธิศกมเมียนักษัตรได้ ๑๘ ปี พระชัณษาได้ ๖๓ ปี พระองค์เวนราชสมบัติให้สมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เปนพระราชบุตรองค์ใหญ่ ครั้นลุศักราช ๙๘๑ ศกมแมนักษัตรขึ้น ๘ ค่ำ อาสาฬหมาศยังเปนเชฎฐมาศพฤหัศบดี พระชัณษได้ ๖๔ ปี พระองค์สุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงสมเด็จพระไชยเชษฐาเสด็จมาทรงราชย์สนองสมเด็จพระบวรราชบิดาอยู่ณอุดงฦๅไชย เมื่อศักราช ๙๘๐ สัมฤทธิศกมเมียนักษัตรขึ้นหนึ่งค่ำเจตรมาสายังเปนคุณมาสา จันทวารสารศัพทมโหรติง ในสมเด็จพระบรมนารถบพิตรพระชัณษาได้ ๔๐ ปี ทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระไชยเชษฐาธิราชรามาธิบดี พระองค์จึงยกพระราชบุตรีเจ้าองญวนผู้เปนพระชายานั้นขึ้นเปนพระ อรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีพระบวรกระษัตรี พระองค์มีแม่นางคนหนึ่งชื่อนักนางศุข มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งศักราช๙๖๖ศกมโรงนักษัตรพระชัณษาพระองค์ได้๒๖ปี สมภพเจ้าพระ ยาตัว แล้วพระองค์มีแม่นางคนหนึ่งชื่อนักนางทอง มีพระราชบุตรองค์หนึ่งเมื่อครั้งศักราช ๙๗๕ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาพระองค์ได้ ๓๕ ปีสม ภพเจ้าพระยาหนู มีแม่นางลาวหนึ่งชื่อนักนางบุษป์ มีราชบุตรองค์หนึ่งลุศักราช ๙๘๒ ศกวอกพระชัณษาได้ ๔๒ ปี สมภพเจ้าพระยาจันทร์พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๘๓ ศกรกานักษัตรได้ ๔ ปี พระชัณษาได้ ๔๓ ปี พระเจ้ากรุงไทยยกกองทัพมาถึงพนมจังกาง พระองค์ยกทัพไปสู้รบกับทัพกรุงไทย ๆ หนีไป จับได้ชเลยเปนอันมากแล้ว พระองค์ให้เรียกไทยว่าเสียมจังกาง ลุศักราช ๙๘๔ ศกจอนักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๔๔ปี จึงพระมหาอุปราชกรุงไทยยกทัพเรือมาถึงพระองค์ให้ยกทัพไปสู้รบ พระมหาอุปราชกรุงไทยต้านทานไม่ได้ จึงยกทัพถอยกลับคืนไปยังกรุงไทยแล้ว พระองค์สร้างพระเจดีย์ใหญ่ชื่อพระเจดีย์ไตร ตรึงษ์ บนเขาพระราชทรัพย์แล้ว พระองค์บัญญัติให้บรรดามุขมนตรีใหญ่น้อยกับบรรดานายมหาดนายพลจะทูลขานให้ว่าสมเด็จพระนารายน์ นรนารถ พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๘๙ ศกเถาะนักษัตรขึ้นสามค่ำมิคสิรมาสาพฤหัศบดีได้ ๑๐ ปี พระชัณษาได้ ๔๙ ปี พระองค์สุรคตลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว สมเด็จพระอุไทยผู้เปนพระอนุชา เมื่อสมเด็จพระเชษฐายังมีพระชนม์อยู่นั้น ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมราชา เมื่อศักราช ๙๘๙ ศกเถาะนักษัตรพระชัณษาได้ ๓๙ ปี พระองค์ไม่ทรงราชย์ พระองค์ขึ้นเปนมหาอุปโยราช ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมราชา พระองค์บัญญัติให้บรรดามุขมนตรี ทูลแลขานให้ว่าพระภูธรนรนารถพระองค์มีแม่นางคนหนึ่งชื่อนักนางสนเกิดพระราชบุตรด้วยแม่นางนั้นองค์หนึ่ง เมื่อครั้งศักราช๙๘๒ ศกวอกนักษัตรพระชัณษาพระองค์ยังได้ ๓๒ ปี สมภพนักนอน พระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่อนักนางสวดเกิดพระราชบุตรสององค์ด้วยแม่นางนั้น เมื่อลุศักราช ๙๙๖ ศกจอนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๖ ปี สมภพนักโส ลุศักราช ๙๙๙ ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาได้ ๔๙ ปี สมภพนักตน พระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่อนักนางอิน ได้มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่งด้วยแม่นางนั้น ครั้นลุศักราช ๑๐๐๐ สัมฤทธิศกขาลนักษัตรพระชัณษาได้ ๕๐ ปี สมภพนักอิ่ม ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาตัว ทางพระนามสมเด็จพระศรีธรรมราชา เกิดในปีเถาะนั้น พระชัณษาได้ ๒๔ ปี พระองค์ทรงราชย์สนองสมเด็จพระบวรราชบิดาไปสถิตย์ในเกาะโค่ลก (ว่าเกาะน้ำเต้า) ได้อภิเศกทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระศรี ธรรมราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๙๒ ศกมะเมียนักษัตรได้ ๔ ปี พระชัณษาได้ ๒๗ ปี พระองค์ให้ยกทัพไปจับชาวกรุงไทยในเขตรแดนเมืองนครราชสีมา ได้ครอบครัวมาบ้าง พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๙๙๖ ศกจอนักษัตรเดือนสามได้ ๘ ปี พระชัณษาได้ ๓๑ ปี พระองค์เกิดรบกับพระบาทสมเด็จพระบรมราชา ธิราชผู้เปนพระมาตุลา พระมาตุลาให้พิฆาฏพระองค์สุรคต เมื่อครั้งแผ่นดินของพระองค์บัญญัติให้มุขมนตรีใหญ่น้อยทูลแลขานว่าพระราชสมภารบารมีพิเศษ จึงเจ้าพระยาหนูทรงพระนามสมเด็จพระองค์ทองนั้นเกิดปีฉลูลุศักราช ๙๙๗ ศกกุนนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๓ ปีพระองค์ขึ้นทรงราชย์อยู่ณอุดงฦๅไชย ทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระองค์ทองราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์บัญญัติให้มุขมนตรีใหญ่น้อยจะทูลขานให้ว่าพระกรุณาพิเศษ พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๑๐๐๐ สัมฤทธิศกขาลนักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๒๖ ปี จึงตะเลิงอยู่เมืองระลังเครินคิดการกำเริบ พระองค์ให้จับได้ พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๑๐๐๑ ศกเถาะนักษัตรได้ ๕ ปี พระชัณษาได้ ๒๗ ปี เสด็จสุรคต ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงนักนอนทรงพระนามสมเด็จพระประทุมราชาเปนพระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระ บรมราชาธิราช พระองค์ขึ้นทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียมณอุดงฦๅไชย เมื่อศักราช ๑๐๐๑ ศกเถาะนักษัตรขึ้น ๗ ค่ำ สาวนมาสายังเปนอาสาธมาสา ศุกรวารสารศัพทมโหรติง ในสมเด็จพระบรม นารถบรมบพิตร พระชัณษาได้ ๒๐ ปี ทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระประทุมราชาธิราชรามาธิบดี พระองค์ทรงตั้งนักยาผู้เปนพระราชบุตรีสมเด็จพระไชยเชษฐา และเปนพระภัคินีพระไอยกาเดียวกับพระองค์ เปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามเรียกสมเด็จพระภัควดีพระบวรกระษัตรี เกิดพระราชบุตองค์หนึ่ง เมื่อศักราช ๑๐๐๒ ศกมโรงนักษัตร สมภพสมเด็จพระศรีไชยเชษฐ แล้วพระองค์บัญญัติให้ทูลให้ขานตามอย่างพระองค์ผู้เปนพระเจ้าพี่ พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๑๐๐๓ ศกมเสงนักษัตรได้ ๓ ปี พระชัณษาได้ ๒๒ ปี พระบาทสมเด็จพระบรมราชา ธิราชพระองค์เปนมหาอุปโยราช ลุปีมเสงนั้นได้ ๑๕ ปี พระชัณษาได้ ๕๓ ปี จึงเจ้าพระยาจันทร์พระนามเปนสมเด็จพระสัตถา พระองค์ออกเปนศัตรู ลอบพิฆาฏสมเด็จพระมาตุลากับสมเด็จพระอนุชา ทั้งสองพระองค์สุรคตเมื่อปีมเสงนั้น จึงสมเด็จพระสัตถาพระชัณษาได้ ๒๒ ปี ขึ้นทรงราชย์อยู่ณอุดงฦๅไชย ทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระรามาธิบดี จึงพระองค์บัญญัติให้ทูลให้ขานสมเด็จพระมาตุลา สมเด็จพระบวรมาดา สม เด็จพระภัคินีโย สมเด็จพระภัคินียา สมเด็จพระราชนัตโต สมเด็จพระราชนัตตานี ให้ว่าพระกรุณาพิเศษเหมือนพระองค์บรมบพิตร เมื่อครั้งแผ่นดินพระองค์ทั้งหกนั้นจะขานทูล บรรดาพระองค์เจ้านอกจากทรงราชย์นั้นว่าพระบาทอะมะจัดเหมือนพระองค์สถิตย์อยู่ณเมืองลงแวกนั้น พระองค์ทรงราชย์ลุศักราช ๑๐๑๙ ศกรกานักษัตรได้ ๑๗ ปี พระชัณษาได้ ๓๘ ปี พระองค์กับนักอิ่มพระนามเรียกสมเด็จพระแก้วฟ้าเกิดรบกับนักโส พระนามเรียกสมเด็จพระประทุมราชา นักตนนั้นพระนามเรียกสมเด็จพระอุไทย เนื้อความนี้ยกไว้ก่อน ๏ ฝ่ายสมเด็จพระแก้วฟ้าพระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่อนักนางจันทร์ลาว มีพระราชบุตรองค์หนึ่ง เมื่อศักราช ๑๐๑๗ ศกมแมนักษัตร พระชัณษาได้ ๑๘ ปี สมภพนักโนนพระรามาธิบดีกับสมเด็จพระแก้วฟ้า ลุศักราช ๑๐๒๑ สัมฤทธิศกจอนักษัตรพระชัณษาได้ ๓๙ ปี สมเด็จพระแก้วฟ้านั้นเกิดปีจอ พระชัณษาได้ ๒๑ ปี จึงสมเด็จพระราชมารดาญวน ให้ไปขอกองทัพญวนมารบพระองค์ จับได้ใส่กรงไปไปสุรคตที่เมืองญวนณปีจอนั้น พระแก้วฟ้านั้นหายไปกลางรบทัพเรือเมื่อปีนั้น แล้วญวนกลับรบด้วยสมเด็จพระประทุมราชา กับสมเด็จพระอุไทย ลุศักราช ๑๐๒๑ ศกกุนนักษัตร จึงพระองค์ทั้งสองชนะญวน ๆ หนีไปเมืองญวน พระองค์จึงขึ้นทรงราชย์ณอุดงฦๅไชย สมเด็จพระประทุมราชา ปีจอลุถึงปีกุนพระชัณษาได้ ๒๖ ปี พระองค์ยกนักลีผู้เปนพระภัคินี พระบวรบิดาเดียวกับพระองค์มาเปนพระราชเทพี พระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่อนักนางไทย มีพระราชบุตรองค์หนึ่ง เมื่อศักราช ๑๐๒๓ ศกฉลูนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๘ ปี สมภพเจ้า พระยาโส พระองค์มีพระราชบุตรด้วยแม่นางชื่อนักนางเภาองค์หนึ่ง ลุศักราช ๑๐๑๖ ศกมเมียนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๑ ปี สมภพนักชีพระองค์ครองราชย์มา ลุศักราช ๑๐๒๘ ศกขาลนักษัตรขึ้นสิบค่ำ เจตรมาสายังเปนผคุณมาสาจันทวารสารศัพทมโหรติง ในสมเด็จพระบรมนารถบรมบพิตร พระชัณษาได้ ๒๙ ปี พระองค์ขึ้นทรงราชย์ทรงน้ำสังข์สรงพระเกษทรงพระนารายน์ทรงพระขรรค์ ทรงพระนามพระบาทสมเด็จเสด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี จึงยกนักลีขึ้นเปนพระอรรคมเหษี ทรงพระนามสมเด็จพระภัควดีพระจอมกระษัตรี แล้วพระองค์มีช้างเผือกงาเดียวข้างหนึ่งเปนมงคล ครั้งนั้นเมืองบาเรนเปนขบถ พระองค์ให้ยกทัพไปตีได้แล้ว ทรงตั้งสมเด็จพระอุไทยผู้เปนพระอนุชาขึ้นเปนมหาอุปโยราช ลุศักราช ๑๕๘๖ ศกมโรงนักษัตรแรม ๑๔ ค่ำกรรติกมาสา ศุกรวารสารศัพทมโหรติง ในสมเด็จพระบรม นารถบรมบพิตร เมื่อพระชัณษาได้ ๒๘ ปี ทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๑๐๓๔ ศกชวดนักษัตรขึ้น ๔ ค่ำบุษยมาสายังเปนมิคสิรมาสาวันศุกร ได้ ๑๔ ปี พระชัณษาได้ ๓๙ ปี สมเด็จพระศรีไชยเชษฐทรงพระนามสมเด็จพระประทุมราชา ผู้เปนพระราชบุตรเขย ออกเปนประจามิตรคิดลอบฆ่าพระองค์ ๆ สุรคต พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์เปนมหาอุปโยราช แต่ปีมโรงมาถึงปีชวดนั้นได้ ๙ ปี พระชัณษาได้ ๓๖ ปี พระองค์หนีไปเมืองญวน จะไปขอกองทัพญวนมารบกับสมเด็จพระประทุมราชาผู้เปนพระภัคินีโย แล้วนักโนนนั้นไปกับพระองค์ สมเด็จพระประทุมราชาเกิดปีมโรงขึ้นทรงราชย์อยู่ณอุดงฦๅไชย เมื่อปีชวดนั้นพระชัณษาได้ ๓๓ ปี จึงพระองค์ยกสมเด็จพระท้าวกระ ษัตรีผู้เปนพระอรรคมเหษีพระรามาธิบดีมาเปนพระชายา พระองค์ครองราชย์มาลุศักราช ๑๐๓๕ ศกฉลูนักษัตรได้ ๕ เดือน พระชัณษาได้ ๓๐ ปี จึงสมเด็จพระท้าวกระษัตรีให้แขกลอบฆ่าพระองค์สุรคต จึงนักชีทรงพระนามสมเด็จพระแก้วฟ้า ขึ้นทรงราชย์อยู่ในอุดงฦๅไชยในปีนั้นพระชัณษาได้ ๒๐ ปี พระองค์มีแม่นางหนึ่งชื่อนักนางเภา มีพระ ราชบุตรองค์หนึ่ง ลุศักราช ๑๐๓๙ ศกเถาะนักษัตรพระชัณษาได้ ๒๒ ปี สมภพเจ้าพระยายอง ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีผู้เปนพระมาตุลาพาญวนมารบกับสมเด็จพระแก้วฟ้า ผู้เปนพระภัคินีโยเมื่อปีฉลูนั้นลุศักราช ๑๐๓๖ ศกขาลนักษัตร พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีพระชัณษาได้ ๓๘ ปีพระองค์สุรคต จึงนักโนนเกิดปีมแมผู้เปนพระราชบุตรสมเด็จพระแก้วฟ้า เมื่อปีขาลนั้นพระชัณษาได้ ๒๐ ปีขึ้นทรงราชย์สนองสมเด็จพระรามาธิบดี แต่ครั้งญวนมารบกับสมเด็จพระแก้วฟ้า พระองค์ทรงราชย์มาลุศักราช ๑๐๓๘ ศกมโรงนักษัตรมิคสิรมาสาได้ ๔ ปีพระชัณษาได้ ๒๓ ปี พระองค์สุรคตอยู่ณเมืองปรัมตำลึง ลุเลิกพระศพเสร็จแล้ว จึงเจ้าพระยาโสทรงพระนามสมเด็จพระศรีไชยเชษฐาเกิดปีฉลู ผู้เปนพระอนุชาขึ้นครองราชย์สนองสมเด็จพระเรียม เมื่อหน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/208หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/209หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/210หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/211หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/212หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/213หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/214หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/215หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/216หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/217หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/218หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/219หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/220หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/221หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/222หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/223หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/224หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/225หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/226หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/227หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/228หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/229หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/230หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/231หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/232หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/233หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/234หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/235หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/236หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/237หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/238หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/239หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/240หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/241หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/242หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/243หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/244หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/245หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/246หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/247หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/248หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/249หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/250หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/251หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/252หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/253หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/254หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/255หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/256หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/257หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/258หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/259หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/260หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/261หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/262หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/263หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/264หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/265หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/266หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/267หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/268หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/269หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/270หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/271หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/272หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/273หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/274หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/275หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/276หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/277หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/278หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/279หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/280หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/281หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/282หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/283หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/284หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/285หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/286หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/287หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/288ข้าพระพุทธเจ้า ขุนสุนทรโวหาร รับพระราชทานแปลพงษาวดารเขมรลำดับกระษัตริย์ณกรุงกัมพูชาธิบดีออกเปนสยามภาษาทูลเกล้าฯ ถวาย สิ้นฉบับแต่เท่านี้