พระกวีนิพนธ์ฯ/เรื่อง 8
- เสภา
- พลายงามได้นางศรีมาลา
คำอธิบาย เมื่อเสด็จพ่อทรงตรวจสอบเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน เพื่อจะพิมพ์ใหม่ใน พ.ศ. 2460 ทรงเห็นว่า ตอนพลายงามได้นางศรีมาลานั้น เนื้อความไม่สมเหตุสมผล และกลอนในตอนนั้นก็ไม่ดีสมกับที่จะพิมพ์ขึ้นใหม่ ทั้งได้พบอีกฉบับหนึ่งที่มีผู้แก้ในตอนนี้ไว้แล้ว แต่เผอิญสมุดขาด ไม่จบความ เสด็จพ่อจึงทรงแต่งขึ้นใหม่ทั้งตอนดังต่อไปนี้ และตรัสว่า เสภาเขาไม่บอกตัวคนแต่งกันไว้ ถ้าใครอ่าน เป็นก็รู้ได้เองว่า สำนวนของใคร ฉบับนี้ก็จะรู้ได้ว่า เป็นสำนวนคนสมัยใหม่ เพราะผู้หญิงตกใจแล้วเป็นลม (faint) อย่างฝรั่ง!
จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม
เพลายามสามหลับอยู่กับหมอน
กำหนัดหนุ่มกลุ้มใจให้อาวรณ์
เทพเจ้าสังหรให้เห็นตัว
ฝันว่านารีพึ่งรุ่นสาว
ผิวขาวคมคายมิใช่ชั่ว
สองเต้าเต่งตั้งดังดอกบัว
มายืนยิ้มยั่วแล้วเยื้องกราย
พอภิปรายทายทักชักสนิท
นางเบือนบิดทำทีจะหนีหน่าย
ก็ลุกรีบตามติดเข้าชิดกาย
คว้าเข้าเจ้าก็หายไปกับมือ
เคลิ้มผวาคว้ากอดขุนแผนพ่อ
พูดจ้อนี่เจ้าไม่เมตตาฤๅ
ขุนแผนตื่นฟื้นตัวก็ผลักมือ
ร้องฮื้อพลายงามทำอะไร
เจ้าพลายกลัวพ่อใจคอหวั่น
บอกว่าฝันเห็นผู้หญิงลูกวิ่งไล่
รุ่นสาวขาวอร่ามงามสุดใจ
จึงเผลอไปขอโทษได้โปรดปราน ฯ
ขุนแผนฟังความพลายงามเล่า
เอ๊ะออเจ้าช่างฝันดูขันจ้าน
ฝันเช่นนี้มีตำรับแต่บุราณ
ใครฝันมักบันดาลได้เมียดี
ฤๅจะถูกลูกเจ้าบ้านผ่านเมือง
ทำนายพลางย่างเยื้องออกจากที่
บอกกันทั่วหน้าบรรดามี
วันนี้ถึงพิจิตรไม่ทันเย็น
ว่าแล้วเตือนกันกินข้าวปลา
รีบยกยาตราขะมักเขม้น
ไม่หยุดหย่อนร้อนเหลือเหื่อกระเด็น
พอแลเห็นเมืองแวะเข้าวัดจันทน์.
ฝ่ายว่านวลนางศรีมาลา
คืนวันนั้นนิทราก็ใฝ่ฝัน
ว่าลงสระเล่นน้ำสำราญครัน
เห็นบุษบันดอกหนึ่งดูพึงตา
ผุดขึ้นพ้นน้ำงามสะอาด
นางโผนผาดออกไปด้วยหรรษา
เด็ดได้ดีใจว่ายกลับมา
กอดแนบแอบอุราประคองดม
ลืมตาคว้าดูดอกบัวหาย
เสียดายนี่กะไรไม่ได้สม
ปลุกอีเม้ยแก้ฝันหวั่นอารมณ์
อีเม้ยชมว่าฝันของนายดี
ดอกบัวคือผัวมิใช่อื่น
มิพรุ่งนี้ก็มะรืนคงถึงนี่
ไม่เหมือนอีเม้ยทายให้นายตี
ฝันอย่างนี้ได้ทายมาหลายคน
ศรีมาลาว่าไฮ้อีมอญถ่อย
เอาผัวผ้อยมาพูดไม่เป็นผล
อุตริทำนายทายสัปดน
ถึงใครใครให้จนเทวดา
ถ้ามีหน้ามาเกี้ยวก็คงเก้อ
อย่าเพ้อเลยไม่อยากปรารถนา
อยู่คนเดียวไม่สบายเอาชายมา
เขาย่อมว่ามันเป็นเจ้าหัวใจ
อีเม้ยมอญคะนองร้องอุยย่าย
อย่ามาพูดเลยนายหาเชื่อไม่
ยังไม่พบปะก็พูดไป
ถึงตัวเข้าเมื่อไรได้ดูกัน
บ่าวนายสัพยอกหยอกเย้า
รุ่งเช้าศรีมาลาก็ผายผัน
ไปดูการบ้านเรือนเหมือนทุกวัน
นึกถึงฝันพรั่นใจไม่รู้วาย
ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม
พักอยู่อารามจนตกบ่าย
จะเข้าไปในจวนชวนลูกชาย
แล้วย่างกรายบ่าวตามออกหลามไป
ถือถาดหมากคนโทเป็นยศอย่าง
เดินมาตามทางกับบ่าวไพร่
พลายงามคิดถึงฝันปั่นป่วนใจ
เข้าในย่านตลาดก็แลชม
ที่เหล่าร้านขายผ้ามีหน้าถัง
ลายสุหรัดมัดตั้งทั้งผ้าห่ม
ร้านถ้วยชามรามไหมมีอุดม
สะสมสินค้าสารพัด
สิ่งของทองเหลืองทั้งเครื่องแก้ว
เป็นถ่องแถวคนผู้ดูแออัด
พวกลูกสาวชาวร้านพานสันทัด
ทำเหยาะหยัดกิริยาท่าชาวกรุง
พวกขมิ้นเหลืองจ้อยสอยไรจุก
มีแทบทุกหน้าถังบ้างเย็บถุง
แต่ละหน้าหน้านวลชวนบำรุง
ใส่กลิ่นหอมฟุ้งสองฟากทาง
นุ่งลายห่มสีไม่มีเศร้า
ผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวล่าง
คนหนึ่งรุ่นสาวขาวสำอาง
ดูคล้ายนางคืนนี้เป็นนวลจันทร์
ครั้นเข้าใกล้แลเขม้นเป็นแต่แม้น
ไม่อ้อนแอ้นเหมือนนางที่ในฝัน
ทั้งนมคล้อยหน่อยนึงจึงผิดกัน
นอกจากนั้นตะละอย่างต่างต่างไป
นางนิมิตติดใจมิได้ลืม
ยิ่งป่วนปลื้มถึงฝันให้หวั่นไหว
สู้เดินเมินหน้าไม่อาลัย
ล่วงตลาดเข้าไปในจวนพลัน ฯ
พระพิจิตรนั่งเล่นอยู่หอขวาง
เห็นคนเดินมาสล้างก็นึกหวั่น
เอ๊ะข้าหลวงมาทำไมหลายคนครัน
ที่เดินหน้ามานั่นดังพระยา
ครั้นดูไปจำได้ว่าขุนแผน
ดีใจลุกแล่นลงมาหา
จูงมือขึ้นจวนชวนพูดจา
ขุนแผนวันทากับลูกชาย
พระพิจิตรเรียกศรีบุษบา
ขุนแผนเขามาไปไหนหาย
บุษบาเยี่ยมหน้าเห็นสองนาย
ยิ้มพรายออกมาด้วยดีใจ
นั่งลงไต่ถามความทุกข์ยาก
แต่ไปจากแม่ได้แต่ร้องไห้
มิรู้ที่จะถามข่าวคราวใคร
ด้วยทางไกลเหลือไกลมิได้รู้
จะเป็นตายหายลับไปหลายปี
วันนี้แลหวังว่ายังอยู่
เห็นเจ้าเหมือนใครให้แก้วชู
ด้วยเอ็นดูเหมือนลูกจึงผูกใจ
วันทองท้องแก่ไปแต่นี่
คลอดง่ายดายดีฤๅเจ็บไข้
ลูกเป็นชายหญิงอย่างกะไร
เดี๋ยวนี้อยู่ไหนไม่พามา ฯ
ขุนแผนเล่าความไปตามเรื่อง
เมื่อส่งไปจากเมืองก็สุขา
เขาผ่อนปรนจนถึงอยุธยา
โปรดประทานโทษาไม่ฆ่าตี
เป็นความกับขุนช้างก็ชนะ
ลูกไปอยู่บ้านพระจมื่นศรี
เผอิญกรรมตามซัดวิบัติมี
ไปเห็นชั่วเป็นดีไม่ควรการ
ให้ทูลขอลาวทองต้องติดคุก
ทนทุกข์โทษแทบถึงประหาร
วันทองท้องแก่เหลือกันดาร
ทรมานว้าเหว่อยู่เอกา
อ้ายขุนช้างบังอาจฉุดเอาไป
ก็ไม่มีผู้ใดจะตามว่า
จนคลอดลูกชายคนนี้มา
หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/74หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/75หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/76หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/77หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/78หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/79หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/80หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/81หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/82หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/83หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/84หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/85หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/86หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/87หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/88หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/89หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/90หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/91หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/92หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/93หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/94หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/95หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/96หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/97หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/98หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/99หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/100หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/101หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/102หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/103หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/104หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/105หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/106หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/107หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/108หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/109หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/110หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/111หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/112หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/113หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/114หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/115หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/116หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/117หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/118หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/119หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/120หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/121หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/122หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/123หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/124หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/125หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/126หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/127หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/128หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/129หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/130หน้า:พระกวีนิพนธ์ฯ - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/131