โฉมหน้าศักดินาไทย/เชิงอรรถ
หน้าตา
เชิงอรรถ :
๑ | William Z. Forster, Outline Political History of the Americas, International Publisher, New York, 1951 P. 39 |
๒ | กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ทาสกถา ในวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๕, ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) |
๓ | คำของ Howard Fast ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Spartacus |
๔ | An Epic Revolt by Doxey A. Wilkerson ในนิตยสารรายเดือน Masses and Mainstream, March, 1952 |
๕-๖ | Spartacus by Howard Fast |
๗ | การิบัลดี (Garibaldi) เป็นวีรบุรุษอิตาเลียนผู้เข้าช่วยประชาชนปลดแอกทั่วไปในหลายประเทศ ตอนท้ายได้เข้าร่วมกับคาวูร์ ในการปลดแอกเกาะซิซิลีเพื่อแผนการรวมอาณาจักรอิตาลี เมื่อศตวรรษที่ ๑๙ |
๘ | An Epic Revolt by Doxey A. Wilkerson ในนิตยสารรายเดือน Masses and Mainstream, March, 1952 |
๙ | ตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า ในสังคมของรัฐทาสเช่นรัฐของชาวโรมัน เสรีชนเท่านั้นที่จะจับอาวุธและสวมเกราะได้ และการจับอาวุธและสวมเกราะเพื่อทำการรบก็ทำได้เมื่อมีศึกเท่านั้น ในยามสงบการจับอาวุธเป็นของต้องห้าม พวกเสรีชนที่เป็ นทหารเป็นชนชั้นพิเศษอีกชนชั้นหนึ่ง ทุกคนได้รับอนุญาตให้มีที่ดินทำนาได้คนละ ๘ เอเคอร์ |
๑๐ | ถ้าจะกล่าวอย่างเข้มงวดแล้วคำ Feudalism หรือ Feodalisme มาจากภาษาละตินว่า Feodalis อันเป็นคำคุณศัพท์ของคำนาม Feodum อีกทอดหนึ่ง |
๑๑ | คำว่า Donatarios มาจากคำว่า Donatarius ในภาษาละตินแปลว่า "ผู้รับสิ่งที่ให้" อันหมายถึงเจ้าขุนมูลนายผู้รับที่ดินที่ได้รับพระราชทานมาจากกษัตริย์ (รากศัพท์คือ donare = ให้ ซึ่งแยกไปเป็น donner ในภาษาฝรั่งเศสและ donate ในภาษาอังกฤษ) |
๑๒ | เอเคอร์หนึ่งมีเนื้อที่ ๔,๘๔๐ ตารางหลาเทียบกับมาตราเมตริก |
๑๓ | William Z. Forster, Outline Political History of the Americas, International Publisher, New York, 1951 P. 63 |
๑๔ | คำว่า Homage มาจากคำว่า Homme ซึ่งแปลว่าคน (คำเดียวกับ Human ในภาษาอังกฤษ) การทำ Homage ต่อนายก็คือการแสดงความสำนึกว่าตนรู้จักคนที่เป็นนาย และตนเป็นคนของนาย |
๑๕ | Chivalry มาจากคำว่า Cheval ของภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "ม้า" ทั้งนี้ เพราะอัศวินเป็นนักรบบนหลังม้า ภาษาฝรั่งเศสยังคงเรียกอัศวินว่า Chevalier แปลว่า "คนขี่ม้า" ส่วนที่อังกฤษเรียกอัศวินว่า Knight นั้น มาจากคำในภาษาเยอรมันและดัตช์ว่า Knecht ซึ่งแปลว่า "ทหาร" คำ "อัศวิน" ของไทยก็แปลว่า "คนขี่ม้า" รากศัพท์คือ "อัศวะ" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า "ม้า" |
๑๖ | ญี่ปุ่นเรียกอัศวินว่า "ซามูไร" ก็เพราะอัศวินญี่ปุ่นรบด้วยดาบที่ตีพิเศษ ดาบนี้เรียกว่า "ซามูไร" คนใช้ดาบเก่งจึงเรียกว่า "ซามูไร" ทำนองเดียวกับพระยาพิชัยดาบหักของไทยสมัยธนบุรี ลัทธิซามูไรของญี่ปุ่นเกิดขึ้นพร้อมกับระบบศักดินาในประเทศนั้นเมื่อราว ค.ศ. ๑๖๐๐ |
๑๗ | ตอนที่ว่าด้วยสภาพของทาสกสิกรในฝรั่งเศสทั้งหมดนี้ รวบรวมมาจาก "ยุโรปสมัยใหม่" (ค.ศ. ๑๗๘๙-๑๙๓๓) ของ A.E. Ecclestone, นายประเสริฐ เรืองสกุล แปลและเรียบเรียงลงในวิทยาจารย์ ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๘๙ หน้า ๗๕๕ |
๑๘ | ดาอิมิโอ (Daimyo) คือพวกเจ้าที่ดินหรือเจ้าขุนมูลนาย |
๑๙ | จาก "พงศาวดารญี่ปุ่น" ของ ฮิโช-ซาอิโต, ยูปิ เตอร์ แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของเอลิซาเบธ ลี, พิมพ์ที่ ร.พ. จีนในสยามวารศัพท์ พ.ศ. ๒๔๙๕ เล่ม ๒ หน้า ๑๗๔ |
๒๐ | ดู "พัฒนาการของสังคม" โดยสุภัทร สุคันธาภิรมย์ ใน น.ส.พ. รายสัปดาห์ ประชาศักดิ ปี ที่ ๒ ฉบับที่ ๓๔, ๗ พ.ศ. ๒๕๐๐ |
๒๑ | ๑ ส้องเท่ากับ ๑๐,๐๐๐ ตารางฟุต เทียบ ๕ โหม่วของจีน |
๒๒ | ผู้สนใจรายละเอียดของศักดินาน่านเจ้าโปรดดู "เรื่องของชาติไทย" โดยพระยาอนุมานราชธน (พิมพ์แล้วหลายครั้ง) |
๒๓ | ดู "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ" ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ฉบับโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๐ หน้า ๑๖-๒๑ |
๒๔ | ดูกฏหมายลักพาในกฎหมายตราสามดวง มาตรา ๒๐ |
๒๕ | "จารึกกฏหมายลักษณะโจร", ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่าน, วารสารศิลปากร ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๘ |
๒๖ | "คำอ่านจารึกภาษาไทย" ของ ฉ่ำ ทองคำวรรณ, วารสารศิลปากร ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๗ |
๒๗ | ประชุมกฏหมายไทยโบราณ ภาคที่ ๑, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๘๒ หน้า ๖๖ (กฏหมายที่พิมพ์เป็ นกฏหมายจากอีสาน) |
๒๘ | ดูเรื่อง "กระลาโหม" ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในหนังสือ อักษรานุสรณ์ ฉบับต้อนรับน้องใหม่ ๒๔๙๗หน้าไม่มี เพราะหนังสือไม่ลงหน้าทั้งเล่ม |
๒๙ | ประชุมจารึกสยามภาค ๑, โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๗ หน้า ๘๑ |
๓๐ | "กวานเจ้า" คำกวานก็คือนาย คำนี้มีใช้แม้ในภาษาลาวทางเหนือ กวานเจ้าคือประมุขใหญ่ |
๓๑ | "กวานบ้าน" คือนายบ้าน เป็นตำแหน่งรองลงมาจากกวานเจ้า ในลิลิตยวนพ่ายของไทยก็มีคำเรียกนายบ้านของไทยพายัพว่ากวานบ้าน |
๓๒ | E. Diguet, Etude de la langue Tai (คือ-ศึกษาภาษาตระกูลไท) |
๓๓ | Ch. Robequain, Le Than Hoa |
๓๔ | E. Lunet de la Jonquiere, Ethnographic du Tonkin septentrional (มานุษยชาติวิทยาของตังเกี๋ยส่วนเหนือ) |
๓๕ | หลักฐานเกี่ยวกับชุมชนไทยที่กล่าวมาทั้งหมดได้จาก "ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย" กฏหมายที่ดินโดย ร. แลงกาต์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ ๒๔๙๑ น. ๖-๑๑ |
๓๖ | ประมุขของชุมชนไทยต่างๆ ในดินแดนอินโดจีนที่กล่าว มีสิทธิอำนาจพอที่จะขับไล่ราษฎรออกจากที่ดินเพื่อครอบครองเสียเอง หรือเพื่อยกให้ครอบครัวใหม่ได้ด้วย-ดูหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า ๑๐ |
๓๗ | ไทยอาหมเข้าไปสู่อัสสัม โดยแยกพวกออกไปจากไทยใหญ่อาหมรุกเข้าไปในอัสสัมเมื่อปี ๑๗๗๑ จนถึง พ.ศ. ๒๑๙๘ กษัตริย์ไทยอาหมก็หันไปนับถือศาสนาพราหมณ์ ในที่สุดเลยถูกวัฒนธรรมอินเดียกลืนเสียทั้งชาติ รัฐไทยอาหมเพิ่งมาเสื่อมอำนาจตกอยู่ในอารักขาของพม่าเอาเมื่อกลางศตวรรษที่ ๒๓ (สมัยอยุธยาตอนกลาง) ระบบศักดินาของไทยอาหมมีกล่าวอย่างย่อๆ อยู่ใน "ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย" กฏหมายที่ดิน ของ ร. แลงกาต์ หน้า ๖-๗ |
๓๘ | อาณาจักรเขมรโบราณเคยแผ่ขึ้นไปจนถึงแคว้นลานช้าง หลักฐานที่ยังมีปรากฏก็คือศิลาจารึกประกาศตั้งโรงพยาบาล (อโรคยศาลา) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งเขมร (พ.ศ. ๑๗๒๔-หลัง พ.ศ. ๑๗๔๔) อยู่ ณ บ้านทรายฟองริมฝั่งโขงใต้เมืองเวียงจันทน์ตรงข้ามบ้านเวียงคุก จังหวัดหนองคายบัดนี้ ดู "กระลาโหม" ของจิตร ภูมิศักดิ์ ใน "อักษรานุสรณ์" ฉบับต้อนรับน้องใหม่ ๒๔๙๗ |
๓๙ | La Stele du Prah Khan d' Angkor, G. Coedes, Bulletin de l' Ecole Francaise d' Extreme-Orient เล่ม ๔๑, หน้า ๒๙๕ |
๔๐ | Le Royaume de Combodge par Maspero |
๔๑ | ผู้ที่ไม่เคยไปและไม่มีท่าทีว่าจะไปนครวัด หรือไปแล้วอ่านคำบรรยายภาพไม่ออก เพราะเป็นภาษาเขมรโบราณ แต่อยากจะดูหลักฐานให้มั่นใจ ก็หาดูได้จากเรื่อง "Les Bas-relief d' Angkor-Vat" ของ G. Coedes ใน Bulletin de la commission archeologique de l' Indochine เล่มประจำปี ๑๙๑๑ |
๔๒ | Collection de texts et documents sur l' Indochine III, Inscription duc cambodge, Vol. II par G. Coedes, Hanoi 1942, p.176 |
๔๓ | ในจารึกภาษาไทยหลักที่สองของประชุมจารึกสยามภาค ๑ โขลนลำพงหรือลำพังนี้ เป็นตำแหน่งข้าราชการ ภายหลังมาตกอยู่ในเมืองไทย เป็ นกรมพระลำพัง (เขมรเรียกพระลำพัง แล้วไทยสุโขทัยเอามาเขียนลำพง) |
๔๔ | ดูรายละเอียดใน Pour mieux comprendre Angkor, par G. Coedes, Paris 1947 |
๔๕ | ดู "พิมายในด้านจารึก" ของ จิตร ภูมิศักดิ์, วงวรรณคดี ฉบับกุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ |
๔๖ | ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯ มีพระพุทธรูปที่ว่านี้อยู่รูปหนึ่ง ทำด้วยศิลาขนาดโตกว่าตัวจริง หน้าตาเป็นเขมรที่ไว้เปียตามคติพราหมณ์ รูปนี้ได้มาจากพิมาย ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัตนับว่าชาวบ้านไทยก็ไม่โง่พอที่จะให้ชัยวรมันหลอกว่าเป็นพระพุทธรูป |
๔๗ | ดูรายละเอียดใน La Stele du Prah Khan d' Angkor, G. Coedes, Bulletin de l' Ecole Francaise d' Extreme-Orient, Tome XLI, 1941 P. 255-301 |
๔๘ | พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ นี้ คือที่ไทยเราเรียกว่า พระเจ้าประทุมสุริยวงศ์ในนิทาน |
๔๙ | ปรากฏในศิลาจารึกพระขัน La Stele du Prah Khan d' Angkor, BEFEO, XLI 1941, p.256 |
๕๐ | เมืองราดนี้ บ้างก็ว่าอยู่ที่เพชรบูรณ์ บ้างก็ว่าอยู่ลพบุรี บ้างก็ว่าอยู่ที่เมืองโคราชร้างในจังหวัดนครราชสีมา |
๕๑ | ดูศิลาจารึกไทยวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑ |
๕๒ | นโยบายนี้ เขมรยังได้ใช้ต่อมาอีกนานในรอบร้อยปี ถัดมา ท้าวฟ้ างุ้มกษัตริย์หลวงพระบางก็ได้รับแจกลูกสาวมาคนหนึ่ง ชื่อว่า "ยอดแก้ว" |
๕๓ | รัฐอีจานนี้ปรากฏในศิลาจารึกวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑ ภายหลังได้ทะเลาะกับรัฐเมืองราดถึงกับรบกันยกใหญ่ |
๕๔ | นักพงศาวดารมักเดาเอาว่าอาณาเขตของสุโขทัยเลยตลอดไปถึงยะโฮร์! อันนี้เกินจริงที่จริงมีเพียงรัฐของพระยา
นครศรีธรรมราชเท่านั้นที่อยู่ภายใต้อำนาจของสุโขทัย ตามศิลาจารึกที่บ่งไว้ว่าอาณาเขตทางใต้ เลยนครศรีธรรมราชออกไปถึง "ทะเลสมุทร" นั้น หมายถึงทะเลสาบน้ำเค็มสงขลา |
๕๕ | ดูศิลาจารึกวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑ |
๕๖ | จารึกกฏหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัย, ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่าน, วารสารศิลปากร ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๘, หน้า ๑๐๒ |
๕๗ | ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เป็นชมรมไทยขนาดใหญ่อีกชมรมหนึ่งทางอำเภอแม่สอด ภายหลังถูกรวบเข้ากับอาณาจักรสุโขทัย |
๕๘ | พัฒนาการของกษัตริย์จากพ่อขุนไปสู่พญา เจ้าพญา และสมเด็จเจ้าพญาจนถึงพระเจ้าแผ่นดินนี้ ศึกษาได้จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ทั้งที่พบเก่า (ในประชุมจารึกสยาม ภาค ๑) และที่พบใหม่ (พิมพ์ทยอยในวารสารศิลปากร) |
๕๙ | ในพระอัยการเบ็ดเสร็จ ซึ่งตราขึ้นก่อนสร้างอยุธยา ๘ ปี ประมวลกฏหมายรัชกาลที่ ๑ ฉบับพิมพ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า ๒๐๐ เล่ม ๒ |
๖๐ | ดู "บันทึกเกณฑ์สอบศักราช" โดย ธนิต อยู่โพธิ์, วารสารศิลปากร ปีที่ ๕ เล่ม ๓ ตุลาคม ๒๔๙๔ หน้า ๕๙ กฏหมายทั้งสองนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงเคยตู่เอาไปไว้สมัยอยุธยาตอนปลาย |
๖๑ | A Bourlet: Socialisme dans les Hua Phan คัดจาก "ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย" กฏหมายที่ดินของ ร. แลงกาต์ หน้า ๘ |
๖๒ | นโยบายนี้ มนุษย์รู้จักใช้มาแต่สมัยระบบทาส หาใช่นโยบายของจักรวรรดินิยมโดยเฉพาะดังที่บางคนเข้าใจกันไม่ |
๖๓ | พญาบาลเมืองกับพญารามคำแหงสองคนนี้ เป็ นคนละคนกับพ่อขุนบาลเมืองกับพ่อขุนรามคำแหงที่รู้จักกันทั่วไป สองคนนี้ เป็นเหลนพ่อขุนรามคำแหง ที่มีชื่อว่าบาลเมืองกับรามคำแหงเท่านั้น นัยว่าตั้งชื่อตามธรรมเนียมลูกหลาน ครั้งปู่ทั้งสองคนนี้ รบกันเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๖๒ เจ้าที่ดินใหญ่อยุธยาที่เข้าแทรกแซงครั้งนี้ คือสมเด็จพระนครอินทราธิราช |
๖๔ | "พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน" ฉบับรัชกาลที่ ⟨๗⟩ โปรดเกล้าให้พิมพ์, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๗๐ หน้า ๑๐-๑๑ |
๖๕ | คือตำแหน่งเดียวกับเจ้าแม่ศรีสุดาจันทร์ที่เป็นชู้กับขุนวรวงศาธิราช |
๖๖ | คือตำแหน่งเดียวกับที่ศรีปราชญ์ไปหลงรักจนถูกเนรเทศ |
๖๗ | ดูพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒, กรมดำรงฯ หน้า ๒๗๐ |
๖๘ | "คำอธิบายเรื่องพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา", สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, หน้า ๔๖๓ |
๖๙ | "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ", สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, หน้า ๓๓ |
๗๐ | "เทศาภิบาล" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สำนักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๔๙๕ หน้า ๒๕ |
๗๑ | ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๒ ฉบับหอสมุดวชิรญาณ, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๕ หน้า ๒-๓ |
๗๒ | "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ", สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, หน้า ๔๓ และ "เทศาภิบาล" ของผู้เขียนคนเดียวกัน หน้า ๕๑-๕๒ |
๗๓ | ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๕ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๖ หน้า ๑๓๕-๑๓๖ |
๗๔ | "พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒" สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์, ฉบับกรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ หน้า ๑๑๙-๑๒๐ |
๗๕ | Conquistador เป็นภาษาสเปนแปลว่าผู้พิชิต เป็นคำเรียกผู้พิชิตชาวสเปนที่ปล้นสะดมแย่งชิงที่ดินจากชาวอินเดียนแดงในเม็กซิโก, เปรู ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ |
๗๖ | William Z. Foster, Outline Political History of the Americas, p.๒๖ |
๗๗ | Economic Change in Thailand Since 1850, James C. Ingram, Stanford University Press, California, 1954, p.7 |
๗๘ | "เค้าโครงเศรษฐกิจ" โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม, สำนักพิมพ์ ศ.ศิลปานนท์, ๒๔๙๑ หน้า ๑๘ |
๗๙ | คัดมาจากพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ |
๘๐ | ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช The Social Order of Ancient Thailand (ระเบียบสังคมของไทยในสมัยโบราณ), Thought and Word, Vol. 1 No. 2, Feb 1955, p.12-13 |
๘๑ | รายงานการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๗ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๓ |
๘๒ | ดูประชุมจารึกสยามภาค ๒ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อ่านและแปล |
๘๓ | ตัวเลขคัดจากศิลาจารึกที่พบในเทวสถานพระขันเหนือเมืองนครธมในประเทศเขมร ดูรายละเอียดได้จาก "La Stele du Prah Khan d' Angkor ของ G. Coedes ในวารสารของสมาคมฝรั่งเศสแห่งตะวันออกไกล (BEFEO) เล่ม ๔๑ ค.ศ. ๑๙๔๑ หน้า ๒๕๕-๓๐๑ หรือเรื่อง "พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และต้นเหตุของนามว่า นครชัยศรี" โดยพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ในวารสารแห่งสมาคมค้นคว้าวิชาแห่งประเทศไทย ฉบับภาษาไทย เล่ม ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๕ น. ๑๐๙ |
๘๔ | ดูรายละเอียดในวารสารศิลปากร ปี ที่ ๗ เล่ม ๕-๖ และปี ที่ ๘ เล่ม ๒, ๓, ๔, ๕ : "เอกสารประวัติศาสตร์ เรื่องพระกัลปนาวัด จังหวัดพัทลุง พ.ศ. ๒๒๔๒" นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ผู้อ่านจากอักษรโบราณ |
๘๕ | คัดจากเรื่อง "พระนาคท่าราย" โดยกระแสสินธ์ุ ในนิตยสารรายปักษ์ ปาริชาติ ปีที่ ๒ เล่ม ๑ ปักษ์แรก มกราคม ๒๔๙๓ หน้า ๙ |
๘๖ | "คำให้การขุนโขลน เรื่องพระพุทธบาท" ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗ หน้า ๕๘ |
๘๗ | จากเล่มเดียวกัน หน้า ๖๖ |
๘๘ | พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน ร.๗ โปรดเกล้าให้พิมพ์, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ๒๔๗๐ หน้า ๒๔, ๓๖ |
๘๙ | พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๒, สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๒๗๐ |
๙๐ | คำนวณจากประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมา ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙, ประชุมกฏหมายประจำศก เล่ม ๕๙ หน้า ๖๓ |
๙๑ | ผลของการสำรวจฐานะเศรษฐกิจของกสิกรไทย, ดร. แสวง กุลทองคำ, เศรษฐสารเล่มที่ ๒๐ ปี ที่ ๒ ฉบับที่ ๖ ปั กษ์หลัง ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๗ |
๙๒ | ร. แลงกาต์ : ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย, สัญญา ฉบับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิมพ์ หน้า ๒๕-๒๖ |
๙๓ | พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๒ ร.พ. ไทย ๒๔๖๔ หน้า ๙๐ |
๙๔ | เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ นี้ ก็ยังมีพระยอดเมืองขวางวีรบุรุษของประชาชนผู้ต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมืองคำมวนถูกทนายแผ่นดินฟ้องกล่าวโทษให้ฟันคอริบเรือน |
๙๕ | สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ หน้า ๓๐ |
๙๖ | คัดจากหนังสือ "กรมพระจันทบุรี (เมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลัง)" หน้า ๒๓๖ |
๙๗ | สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, ลักษณะการปกครองประเทศสยามฯ หน้า ๓๑ |
๙๘ | ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๔ หน้า ๖ |
๙๙ | สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, ลักษณะการปกครองประเทศสยามฯ หน้า ๓๒ |
๑๐๐ | สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๑๖ หน้า ๒ |
๑๐๑ | ใบบอกเมืองนครราชสีมา, จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ หน้า ๓๖ |
๑๐๒ | ใบบอกเมืองนครราชสีมา เรื่องส่งทองคำส่วย, จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ หน้า ๓๔ |
๑๐๓ | ดูลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๖, สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ หน้า ๒ |
๑๐๔ | พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เล่มเดียวกับที่เคยอ้างมาแล้ว หน้า ๓๘-๓๙ |
๑๐๕ | สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, เทศาภิบาล หน้า ๘๖ |
๑๐๖ | ประชุมประกาศ ร. ๔ ภาค ๒, หน้า ๒๔ |
๑๐๗ | พระราชกำหนดเก่าบทที่ ๓๓ |
๑๐๘ | พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน หน้า ๓๓ |
๑๐๙ | ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ หน้า ๔๙ |
๑๑๐ | ร. แลงกาต์, ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย, กฏหมายที่ดิน, หน้า ๓๖ |
๑๑๑ | ดูพระราชกำหนดเก่า บทที่ ๔๔ ลงวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๑๑๐ ปี มะโรง สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๙๑ |
๑๑๒ | ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย กฏหมายที่ดิน โดย ร. แลงกาต์ หน้า ๔๕ |
๑๑๓ | คำนำของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ใน "ประกาศพระราชพิธีพืชมงคลแลจรดพระนังคัล" โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ๒๔๖๘ |
๑๑๔, ๑๑๕ พระราชพิธี ๑๒ เดือน, พระราชนิพนธ์ ร. ๕, หน้า ๕๔๓ และหน้า ๕๕๗ | |
๑๑๖ | ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ ประกาศลงวันพุธ เดือนยี่ ขึ้น ๑ ค่ำ ปี ชวด ฉศก จ.ศ. ๑๒๒๖ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๐๗ (หน้า ๒๐๑-๒๐๘) |
๑๑๗ | คำของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ใน "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ" หน้า ๒๘ |
๑๑๘ | ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๑๖ ตำนานภาษีอากรบางอย่าง, สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ หน้า ๑๑ |
๑๑๙ | หมากผการาย-ผการายเป็นภาษาเขมร แปลว่าดอกประปราย |
๑๒๐ | ประกาศลงวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๓๙๕) ใน "ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๑๖ ตำนานภาษีอากรบางอย่าง" ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ หน้า ๑๒ |
๑๒๑ | สำเพ็งเป็นคำภาษาเขมร แปลว่าหญิงโสเภณี |
๑๒๒ | พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒, สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ หน้า ๘๓ |
๑๒๓ | สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานการเลิกบ่อนเบี้ยแลเลิกหวย, หน้า ๗๖ |
๑๒๔ | ตำนานศุลกากร, พระยาอนุมานราชธน หน้า ๔๒-๔๓ |
๑๒๕ | เทศาภิบาล, กรมพระยาดำรงฯ หน้า ๕๑-๕๒ |
๑๒๖ | เล่าโดยวิเคราะห์ใหม่จากคำเล่าของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ, ใน "ตำนานเรื่องละครอิเหนา", โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๖๔ หน้า ๙๖-๙๗ |
๑๒๗ | จดหมายถึงเจ้าพระยายมราช ฉบับลงวันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙ |