ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 1/เรื่องที่ 2

จาก วิกิซอร์ซ

|- class="__toc_row_first-c wst-toc-row-c wst-toc-row-4c " style="{{{style}}}; font-size:140%" |colspan=4|สารบาน
พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
คำนำ

| น่า | ๑๑๓ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑

| ” | ๑๑๕ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑)

| ” | ๑๑๕ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑

| ” | ๑๑๕ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒)

| ” | ๑๑๗ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระรามราชาธิราช

| ” | ๑๑๗ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระอินทราชา

| ” | ๑๑๗ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒

| ” | ๑๑๘ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

| ” | ๑๑๙ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (พระอินทราชาที่ ๒)

| ” | ๑๒๒ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

| ” | ๑๒๒ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร

| ” | ๑๒๔ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระรัฏฐาธิราช

| ” | ๑๒๔ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช

| ” | ๑๒๔ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระยอดฟ้า

| ” | ๑๒๖ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินขุนชินราช

| ” | ๑๒๖ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

| ” | ๑๒๖ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

| ” | ๑๓๑ |- class="__toc_row_m-1-1 wst-toc-row-2dot-1-1 "

| colspan=2 |
แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

| ” | ๑๓๖

  • คำนำพระราชพงษาวดาร
  • ฉบับหลวงประเสริฐ

พระราชพงศาวดารฉบับนี้ เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่ง ๑ จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ กรรมการหอพระสมุดเห็นเปนหนังสือพระราชพงษาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ" ให้เปนเกียรติยศแก่ผู้พบแลพามาให้หอพระสมุด

หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่า เป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้นเมื่อวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ ปีวอก โทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิงเมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรง ฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียว ความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก

สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำ เขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๒๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลู เบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมีย ฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่า จะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำเหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ นี้ มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง ๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์

พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเป็นอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ จึงเป็นหลักแก่การสอบหนังสือพงศาวดารได้เรื่องหนึ่ง

ด.ร.

พระราชพงษาวดารกรุงเก่า
ฉบับหลวงประเสริฐ

ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศก วอกนักษัตร (พ.ศ. ๒๒๒๓) ณวัน ๑๒ ฯ  ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอกกฎหมายเหตุของพระโหรเขียนไว้แต่ก่อน แลกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงษาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเปนแห่งเดียว ให้รดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้.

จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าเจ้าพแนงเชิง.

ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๗๓๑ รกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัดดิ ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก พ.ศ. (๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรีขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสด็จไปเสวยราชสมบัดดิเมืองลพบุรี.

ศักราช ๗๓๓ กุญศก (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเหนือ แลได้เมืองเหนือทั้งปวง.

ศักราช ๗๓๔ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๑๕) เสด็จไปเอาเมืองนครพังค่าแลเมืองแสงเชรา ได้เมือง

ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๑๖) เสด็จไปเมืองชากังราว แลพญาใสแก้วแลพญาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกต่อรบท่าน ๆ ได้ฆ่าพญาใสแก้วตาย แลพญาคำแหงแลพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา.

ศักราช ๗๓๖ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๑๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลพระมหาเถรธรรมากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรพทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์สูงเส้น ๓ วา.

ศักราช ๗๓๗ เถาะศก (พ.ศ. ๑๙๑๘) เสด็จไปเอาเมืองพิศณุโลก แลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมืองแลครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก.

ศักราช ๗๓๘ มโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น พญาคำแหงแลท้าวผ่าคองคิดด้วยกันว่า จะยอทัพหลวง แลจะทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี แลจึงเสด็จยกทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพญาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน.

ศักราช ๗๔๐ มเมียศก (พ.ศ. ๑๙๒๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น มหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ แลเห็นว่า จะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม.

ศักราช ๗๔๘ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๒๙) เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลให้เข้าปล้นเมืองนครลำภางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมืองนครลำภาง ๆ นั้นจึงออกมาถวายบังคม แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราชได้ ๗๕๐ มโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แลเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพานแลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรีขึ้นเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึงให้พิฆาฏเจ้าทองลันเสีย.

ศักราช ๗๕๗ กุญศก (พ.ศ. ๑๙๓๘) สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพญารามเสวยราชสมบัดดิ.

ศักราช ๗๗๑ (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพญารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอด แลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรีว่า จะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุทธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จมาถึงไส้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัดดิ แลท่านจึงให้สมเด็จพญารามเจ้าไปกินเมืองปท่าคูจาม.

ศักราช ๗๘๑ กุญศก (พ.ศ. ๑๙๖๒) มีข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน แลเมืองเหนือทั้งปวงเปนจลาจล แลจึงเสด็จขึ้นไปเถิงเมืองพระบาง ครั้งนั้น พญาบาลเมืองแลพญารามออกถวายบังคม.

ศักราช ๗๘๖ มโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้า ทรงพระประชวร นฤพาน ครั้งนั้น เจ้าอ้ายพญาแลเจ้าญี่พญาพระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกันณสพานป่าถ่านเถิงพิราไลยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น จึงพระราชกุมารเจ้าสามพญาได้เสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์สวมที่เจ้าพญาอ้ายแลเจ้าพญาญี่ชนช้างด้วยกัน เถิงอนิจภาพตำบลป่าถ่านนั้น ในศักราชนั้น ท่านสถาปนาวัดราชบุณ.

ศักราช ๗๙๓ กุญศก (พ.ศ. ๑๙๗๔) สมเด็จพระบรมราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ แลท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินทรเจ้าเสวยราชสมบัดดิณเมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้น ท่านจึงให้พญาแก้วพญาไทยแลรูปภาพทั้งปวงมายังพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๘๐๐ มเมียศก (พ.ศ.๑๙๘๑) ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์ เสวยราชสมบัดดิ แลสมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เปนพระราชกุมารท่านเสด็จไปเมืองพิศณุโลก ครั้งนั้น เห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกมาเปนโลหิต.

ศักราช ๘๐๒ วอกศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียร.

ศักราช ๘๐๓ รกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข.

ศักราช ๘๐๔ จอศก (พ.ศ. ๑๙๘๕) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลเข้าปล้นเมืองมิได้ พอทรงพระประชวร แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน.

ศักราช ๘๐๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๘๗) เสด็จไปปราบพรรค แลตั้งทัพหลวงตำบลปะท้ายเขษม ครั้งนั้น ได้เชลย ๑๒๐๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน.

ศักราช ๘๑๐ มโรงศก (พ.ศ. ๑๙๙๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยสมบัดดิ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า.

ศักราช ๘๑๓ มแมศก (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้น มหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้ แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืน.

ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้น คนทั้งปวงเกิดทรพิศม์ตายมากนัก.

ศักราช ๘๑๗ กุญศก (พ.ศ. ๑๙๙๘) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา.

ศักราช ๘๑๘ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๙๙) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทิน ครั้งนั้น เสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลโคน.

ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐) ครั้งนั้น เข้าแพงเปนทนานล ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องแล ๘๐๐ นั้น เกียนหนึ่งเปนเงินสามชั่งสิบบาท.

ศักราช ๘๒๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๐๑) ครั้งนั้น ให้บุณพระสาสนาบริบูรณ แลหล่อรูปพระโพธิสัตว ๕๐๐ ชาติ.

ศักราช ๘๒๒ มโรงศก (พ.ศ. ๒๐๐๓) เล่นการมหรศพฉลองพระ แลพระราชทานแก่สงฆ์แลพราหมณ์แลพรรณิพกทั้งปวง ครั้งนั้น พญาซเลียงคิดเปนขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช.

ศักราช ๘๒๓ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๐๔) พญาซเลียงนำมหาราชมาจะเอาเมืองพิศณุโลก เข้าปล้นเมืองเปนสามารถ มิได้เมือง แลจึงยกทัพเปรอไปเอาเมืองกำแพงเพ็ชร แลเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ดวัน มิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชียงใหม่.

ศักราช ๘๒๔ มเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) เมืองนครไทยพาเอาครัวอพยพหนีไปน่าน แลให้พระกลาโหมไปตาม ได้คืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุโขทัย ได้เมืองคืนดุจเก่า.

ศักราช ๘๒๕ มแมศก (พ.ศ. ๒๐๐๖) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัดดิเมืองพิศณุโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชา ครั้งนั้น มหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย จึงสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า แลสมเด็จพระอินทราชาเจ้า เสด็จไปกันเมือง แลสมเด็จพระบรมราชาเจ้าตีทัพพญาเถียรแตก แลทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร แลท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร แลครั้งนั้นเปนโกลาหลใหญ่ แลข้าเศิกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น ครั้งนั้น สมเด็จพระอินทราชาเจ้าต้องเปนณพระภักตร์ แลทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป.

ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี.

ศักราช ๘๒๗ รกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าทรงพระผนวชณวัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาพระผนวช.

ศักราช ๘๓๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๑๑) ครั้งนั้น มหาราชท้าวบุญชิงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก.

ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๑๔) ได้ช้างเผือก.

ศักราช ๘๓๔ มโรงศก (พ.ศ. ๒๐๑๕) พระราชสมภพพระราชโอรสท่าน.

ศักราช ๘๓๕ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๑๖) หมื่นนครให้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ.

ศักราช ๘๓๖ มเมียศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) เสด็จไปเอาเมืองซเลียง.

ศักราช ๘๓๗ มแมศก (พ.ศ. ๒๐๑๘) มหาราชขอมาเปนไมตรี

ศักราช ๘๓๙ รกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้งเมืองนครไทย.

ศักราช ๘๔๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๒๒) พระสีหราชเดโชเถิงแก่กรรม.

ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พญาล้านช้างเถิงแก่กรรม และพระราชทานให้อภิเศกพญาซ้ายขาวเปนพญาล้านช้างแทน.

ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรศพ ๑๕ วันฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ.

ศักราช ๘๔๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๒๖) สมเด็จพระบรมราชาเจ้าเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย.

ศักราช ๘๔๖ มโรงศก (พ.ศ. ๒๐๒๗) สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า แลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์.

ศักราช ๘๔๗ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๒๘) พระราชโอรสท่านลาพระผนวช แลประดิษฐานพระองค์นั้นไว้ในที่พระมหาอุปราช.

ศักราช ๘๔๘ มเมียศก (พ.ศ. ๒๐๒๙) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าไปวังช้างตำบลสัมฤทธิบูรณ.

ศักราช ๘๔๙ มแมศก (พ.ศ. ๒๐๓๐) ท้าวมหาราชลูกพิราไลย.

ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองทวาย แลเมื่อจะเสียเมืองทวายนั้น เกิอุบาทว์เปนหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเปนแปดเท้า ไก่ฟักไข่ออกตัวหนึ่งเปนสี่เท้า ไก่ฟักไข่สามค่องออกลูกเปนหกตัว อนึ่ง เข้าสารงอกเปนใบ อนึ่ง ในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกเสด็จนฤพานณเมืองพิศณุโลก.

ศักราช ๘๕๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๓๓) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย.

ศักราช ๘๕๓ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๓๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี.

ศักราช ๘๕๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๓๕) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลกแลสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า.

ศักราช ๘๕๘ มโรงศก (พ.ศ. ๒๐๓๙) ท่านประพฤติการเบญจาพิศพระองค์ท่าน แลให้เล่นการดึกดำบรรพ์.

ศักราช ๘๕๙ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๔๐) ท่านให้ทำการปฐมกรรม.

ศักราช ๘๖๑ มแมศก (พ.ศ. ๒๐๔๒) แรกสร้างพระวิหารวัดศรีสรรเพชญ.

ศักราช ๘๖๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๔๓) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าแรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ แลแรกหล่อในวัน ค่ำ ครั้งเถิงศักราช ๘๖๕ กุญศก (พ.ศ. ๒๐๔๖) วัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ คณาพระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้น สูงได้ ๘ วา พระภักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก กว้างพระภักตร์นั้น ๓ ศอก แลพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมื่น ๓ พันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา.

ศักราช ๘๗๗ กุญศก (พ.ศ. ๒๐๕๘) วัน ๑๕ ฯ  ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จไปเมืองนครลำภาง ได้เมือง.

ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างพระศรีสรรเพชญเสวยราชสมบัดดิ แรกตำราพิไชยสงคราม แลแรกทำสารบาญชีพระราชสาฤทธิทุกเมือง.

ศักราช ๘๘๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๖๗) ครั้งนั้น เห็นงาช้างต้นเจ้าพญาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่ง ในเดือน ๗ นั้น มีคนทอดบาตรสนเท่ห์ ครั้งนั้น ให้ฆ่าขุนนางเสียมาก.

ศักราช ๘๘๗ รกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อย เข้าเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่ง แผ่นดินไหวทุกเมืองแล้ว แลเกิดอุบาทว์เปนหลายประการ ครั้นรุ่งปีขึ้นศักราช ๘๘๘ จอศก (พ.ศ. ๒๐๖๙) เข้าแพงเปน ๓ ทนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกียนหนึ่งเปนเงินชั่งหกตำลึง ครั้งนั้น ประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช แลให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิศณุโลก.

ศักราช ๘๙๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๗๒) เห็นอากาศนิมิตรเปนอินทร์ธนูแต่ทิศหรดีผ่านอากาศมาทิศพายัพมีพรรณขาว วัน ๑๒ ค่ำ สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จพระที่นั่งหอพระ ครั้นค่ำลงวันนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร.

ศักราช ๘๙๕ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๗๖) สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัดดิ.

ครั้นเถิงศักราช ๘๙๖ มเมียศก (พ.ศ. ๒๐๗๗) พระราชกุมารท่านนั้นเปนเหตุ จึงได้ราชสมบัดดิแก่พระไชยราชาธิราชเจ้า.

ศักราช ๙๐๐ จอศก (พ.ศ. ๒๐๘๑) แรกให้พูนดินณวัดชีเชียง ในเดือนหกนั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าแลพระเจดีย์ เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาค่ำประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพยุพัดหนักหนา แลฅอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก แลเรือไกรแก้วนั้นทลาย อนึ่ง เมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพ็ชรนั้นว่า พญานารายน์คิดเปนขบถ แลให้กุมเอาพญานารายน์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพ็ชร.

ศักราช ๙๐๗ มเสงศก (พ.ศ. ๒๐๘๘) วัน ค่ำ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเชียงใหม่ ให้พญาพิศณุโลกเปนทัพหน้า แลยกพลออกตั้งทัพไชยตำบลบางบาน ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ จึงยกทัพหลวงจากที่ทัพไชยไปเมืองกำแพงเพ็ชร เถิงณวัน ค่ำ เสด็จออกตั้งทัพไชยณเมืองกำแพงเพ็ชร ณวัน ๑๔ ค่ำ ยกทัพไปตั้งเชียงทอง แล้วยกไปตั้งณเมืองเชียงใหม่ เถิงณวัน ค่ำ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนจากเมืองเชียงใหม่ เถิงวัน ๑๕ ฯ  ค่ำ ทัพหลวงเถิงเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วจึงเสด็จมายังพระนครศรีอยุทธยา ฝ่ายพระนครศรีอยุทธยานั้น ในวัน ค่ำ เกิดเพลิงไหม้เถิง ๓ วันจึงดับได้ แลจึงมีบาญชีเรือนเพลิงไหม้นั้น ๑๐๐๕๐ เรือน ณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลให้พญาพิศณุโลกเปนทัพหน้า แลยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองกำแพงเพ็ชร แรมทัพหลวงอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชรนั้นเดือนหนึ่ง เถิงณวัน ค่ำ เสด็จออกตั้งทัพไชย เถิงณวัน ค่ำ จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลณวัน ค่ำ ๔ ได้เมืองลำพูนไชย วัน ๑๓ ฯ  ค่ำ มีอุบาทว์ เห็นเลือดติดอยู่ณประตูบ้านแลเรือนแลวัดทั้งปวงในเมืองแลนอกเมืองทั่วทุกตำบล เถิงณวัน ๑๕ ค่ำ ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเชียงใหม่มายังพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๙๐๘ มเมียศก (พ.ศ. ๒๐๘๙) เดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุทธยา ในปีนั้น แผ่นดินไหว.

ศักราช ๙๑๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๙๑) วัน ค่ำ เสด็จออกสนาม ให้ชนช้าง แลงาช้างพญาไฟนั้นหักเปน ๓ ท่อน อนึ่ง อยู่ ๒ วัน ช้างต้นพระฉันทันต์ไล่ร้องเปนเสียงสังข์ อนึ่ง ประตูไพชยนต์ร้องเปนอุบาทว์ เถิงวัน ค่ำ สมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าเปนเหตุ จึงขุนชินราชได้ราชสมบัดดิ ๔๒ วัน แลขุนชินราชแลแม่ญั่วศรีสุดาจันทร์เปนเหตุ จึงเชิญสมเด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัดดิ ทรงพระนาม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แลครั้นเสวยราชสมบัดดิได้ ๗ เดือน พญาหงษาปังเสวกียกพลมายังพระนครศรีอยุทธยาในเดือน ๔ นั้น เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าเสด็จออกไปรบศึกหงษานั้น สมเด็จพระอรรคมเหษี แลสมเด็จพระเจ้าเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย แลเมื่อได้รับศึกหงษานั้น ทัพหน้าแตกมาปะทัพหลวงเปนโกลาหลใหญ่ แลสมเด็จพระอรรคมเหษี แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าเศึกเถิงสิ้นชนม์กับฅอช้างนั้น แลเศิกหงษาครั้งนั้น เสียสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร ไปแก่พญาหงษา แลจึงเอาพญาปราบ แลช้างต้นพญานุภาพ ตามไปส่งให้พญาหงษาเถิงเมืองกำแพงเพ็ชร แลพญาหงษาจึงส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า สมเด็จพระราเมศวรเจ้า มายังพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๙๑๑ รกาศก (พ.ศ. ๒๐๙๒) ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ ได้ช้างเผือกพลายตำบลป่าตนาวศรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อ ปัจจัยนาเคนทร์ ครั้งนั้น แรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๙๑๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๙๓) เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ทำการพระราชพิธีปฐมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าตำบลท่าแดง พรกรรมวาจาเปนพฤฒิบาศ พระพิเชฎฐ์เปนอัษฎาจารย์ พระอินโทรเปนกรมการ.

ศักราช ๙๑๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๙๕) ครั้งนั้น ให้แปลงเรือแซเปนเรือไชยแลหัวสัตว.

ศักราช ๙๑๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๙๖) เดือน ๗ นั้น แรกทำการพระราชพิธีมัธยมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิตำบลไชยนาทบุรี.

ศักราช ๙๑๖ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๙๗) เสด็จไปวังช้างตำบลบางลมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่ง ในเดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างพลายเผือกตำบลป่ากาญจนบุรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อ พระคเชนโทรดม.

ศักราช ๙๑๗ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๙๘) วัน ค่ำ ได้ช้างเผือกพลายตำบลป่าเพชรบุรีสูง ๔ ศอกคืบมีเศษ ชื่อ พระแก้วทรงบาศ.

ศักราช ๙๑๘ มโรงศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เดือน ๑๒ แต่งทัพไปลแวก พญาองค์สวรรคโลกเปนนายกอง ถือพล ๓๐๐๐๐ ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกียน ฝ่ายทัพเรือไส้ พญาเยาวเปนนายกอง ครั้งนั้น ลมพัดขัด ทัพเรือมิทันทัพบก แลพญารามลักษณ์ซึ่งเกณฑ์เข้าทัพบกนั้นเข้าบุกทัพในกลางคืน แลทัพพญารามลักษณ์นั้นแตกมาปะทัพใหญ่ ครั้งนั้น เสียพญาองค์สวรรคโลกนายกองแลช้างม้ารี้พลมาก.

ศักราช ๙๑๙ มเสงศก (พ.ศ. ๒๑๐๐) วัน ค่ำ เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังมาก อนึ่ง ในเดือน ๓ นั้น ทำการพระราชพิธีอาจาริยาภิเศก แลทำการพระราชพิธีอินทราภิเศกในวังใหม่ อนึ่ง เดือน ๔ นั้น พระราชทานสัตสดกมหาทาน แลให้ช้างเผือกพระราชทาน มีกองเชิงเงิน ๔ เท้าช้างนั้น เปนเงิน ๑๖๐๐ บาท แลพระราชทานรถ ๗ รถเทียมด้วยม้า แลมีนางสำหรับรถนั้นเสมอรถ ๗ นาง อนึ่ง ในเดือน ๗ นั้น เสด็จไปวังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง.

ศักราช ๙๒๑ มแมศก (พ.ศ. ๒๑๐๒) เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง.

ศักราช ๙๒๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๐๓) เสด็จไปวังช้างตำบลวัดไก่ ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง อนึ่ง อยู่ในวัน ๑๒ ค่ำ ได้ช้างเผือก แลตาช้างนั้นมิได้เปนเผือก แลลูกติดมาด้วยตัวหนึ่ง.

ศักราช ๙๒๓ รกาศก (พ.ศ. ๒๑๐๔) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลม่วงมดแดง แลพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์ให้เข้ามาเข้าพระราชวังณวัน ค่ำ ครั้งนั้น พญาสีหราชเดโชเปนโทษรับพระราชอาชญาอยู่ แลพญาสีหราชเดโชจึงให้ไปว่าแก่พระศรีศิลป์ว่า ครั้นพ้นวันพระแล้ว จะให้ลงพระราชอาชญา ฆ่าพญาสีหราชเดโชเสีย แลขอให้เร่งยกเข้ามาให้ทันแต่ในวันพระนี้ แลพระศรีศิลป์จึงยกเข้ามาแต่ในวัน ๑๔ ค่ำ เพลาเย็นนั้น มายังกรุง ครั้งรุ่งขึ้นในวันพระนั้น พระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ ครั้งนั้น ได้พระศรีศิลป์มรณภาพในพระราชวังนั้น ครั้นแลรู้ว่าพระสังฆราชป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์เปนแม่นแล้วไซร้ ก็ให้เอาพระสังฆราชป่าแก้วไปฆ่าเสีย.

ศักราช ๙๒๔ จอศก (พ.ศ. ๒๑๐๕) เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง.

ศักราช ๙๒๕ กุญศก (พ.ศ. ๒๑๐๖) พระจ้าหงษานิพัตรยกพลลงมาในเดือน ๑๒ นั้น ครั้นเถิงวัน ค่ำ พระเจ้าหงษาได้เมืองพิศณุโลก ครั้งนั้น เมืองพิศณุโลกเข้าแพงเปน ๓ สัดต่อบาท อนึ่ง คนทั้งปวงเกิดทรพิศม์ตายมาก แล้วพระเจ้าหงษาจึงได้เมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง แล้วจึงยกพลลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา ครั้งนั้น ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาออกเปนพระราชไมตรี แลสมเด็จพระมหากระษัตริย์เจ้าทั้งสองฝ่ายเสด็จมาทำสัตยาธิษฐานหลั่งน้ำสิโนทกตำบลวัดพระเมรุ แล้วจึงพระเจ้าหงษาขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรเจ้าแลช้างเผือก ๔ ช้างไปเมืองหงษา ครั้งนั้น พญาศรีสุรต่านพญาตานีมาช่วยการเศิก พญาตานีนั้นเปนขบถ แลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้ เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ณท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไปณทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี ๆ นั้นตายมาก แลพญาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดียวนั้น พระเจ้าล้านช้างให้พระราชสารมาถวายว่า จะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าล้านช้าง แลครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟ้าพระราชบุตรีให้แก่พระเจ้าล้านช้าง.

ศักราช ๘๒๖ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรีลงมาส่งยังพระนครศรีอยุทธยา แลว่า จะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้านั้น แลจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้น พระเจ้าหงษารู้เนื้อความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ไปถวายแก่พระเจ้าหงษา อนึ่ง ในปีนั้น น้ำณกรุงพระนครศรีอยุทธยานั้นน้อยนัก.

ศักราช ๙๓๐ มโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจ้าหงษายกพลมาแต่เมืองหงษา ครั้นเถิงวัน ค่ำ พระเจ้าหงษาเถิงกรุงพระนครศรีอยุทธยา ตั้งทัพตำบลหล่มพลี แลเมื่อเศิกหงษาเข้าล้อมพระนครศรีอยุทธยานั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน แลครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหินทราธิราชตรัสมิได้นำพาการเศิก แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นตรัสเอาพระไทยใส่ แลเสด็จไปบัญชาการที่จะรักษาพระนครทุกวัน ครั้นแลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าตรัสรู้ว่า พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวเสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวันดังนั้น ก็มิไว้พระไทย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆ่าเสียณวัดพระราม.

ครั้งนั้น การเศิกซึ่งจะรักษาพระนครนั้นก็คลายลง ครั้งเถิงศักราช ๙๓๑ มเสงศก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ณวัน ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้วประมาณ ๓ นาฬิกา ก็เสียกรุงพระนครศรีอยุทธยาแก่พระเจ้าหงษา ครั้นเถิงวัน ๑๒ ค่ำ ทำการปราบดาภิเศกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัดดิกรุงพระนครศรีอยุทธยา อนึ่ง เมื่อพระเจ้าหงษาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงษานั้น พระเจ้าหงษาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย.

ศักราช ๙๓๒ มเมียศก (พ.ศ.๒๑๑๓) พญาลแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุทธยา พญาลแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร แลได้รบพุ่งกัน แลชาวเมืองพระนครยิงปืนออกไปต้องพญาจัมปาธิราชตายกับฅอช้าง ครั้งนั้น เศิกพญาลแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้น น้ำณกรุงพระนครศรีอยุทธยามาก.

ศักราช ๙๓๓ มแมศก (พ.ศ. ๒๑๑๔) น้ำน้อย อนึ่ง สมเด็จพระนารายน์บพิตรเปนเจ้าเสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัดดิเมืองพิศณุโลก.

ศักราช ๙๓๔ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๑๕) น้ำน้อยนัก.

ศักราช ๙๓๕ รกาศก (พ.ศ. ๒๑๑๖) น้ำน้อยเปนมัธยม.

ศักราช ๙๓๖ จอศก (พ.ศ. ๒๑๑๗) น้ำมากนัก ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระประชวรทรพิศม์.

ศักราช ๙๓๗ กุญศก (พ.ศ. ๒๑๑๘) พญาลแวกยกทัพเรือมายังพระนครศรีอยุทธยา ในวัน ๑๐ ฯ  ค่ำนั้น ชาวเมืองลแวกตั้งทัพเรือตำบลพแนงเชิง แลได้รบพุ่งกัน ครั้งนั้น เศิกลแวกต้านมิได้ เลิกทัพกลับไป แลจับเอาคนณเมืองปากใต้ไปครั้งนั้นมาก ในปีนั้น น้ำณกรุงศรีอยุทธยาน้อย.

ศักราช ๙๔๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๒๑) พญาลแวกแต่งทัพให้มาเอาเมืองเพ็ชรบุรี มิได้เมือง แลชาวลแวกนั้นกลับไป ครั้งนั้น พญาจีนจันตุหนีมาแต่เมืองลแวกมาสู่พระราชสมภาร ครั้นอยู่มา พญาจีนจันตุก็หนีกลับคืนไปเมือง.

ศักราช ๙๔๒ มโรงศก (พ.ศ. ๒๑๒๓) รื้อกำแพงกรุงพระนครออกไปตั้งเถิงริมแม่น้ำ.

ศักราช ๙๔๓ มเสงศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนสาตราคมแลคิดเปนขบถ คนทั้งปวงสมัคเข้าด้วยมาก แลยกมาจากเมืองลพบุรี แลยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี แลบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้นยิงปืนออกไปต้องญาณประเชียรตายกับฅอช้าง แลในปีนั้น มีหนังสือมาแต่เมืองหงษาว่า ปีมเสง ตรีนิศกนี้ อธิกมาศมิได้ ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุทธยานี้มีอธิกมาศ อนึ่ง ในวัน ค่ำ รู้ข่าวมาว่า พระเจ้าหงษานฤพาน อนึ่ง ในเดือน ๓ นั้น พญาลแวกยกพลมาเอาเมืองเพ็ชรบุรี ครั้งนั้น เสียเมืองเพ็ชรบุรีแก่พญาลแวก.

ศักราช ๙๔๔ มเมียศก (พ.ศ. ๒๑๒๕) พญาลแวกแต่งทัพให้มาจับคนปลายด่านตวันออก.

ศักราช ๙๔๕ มแมศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้แต่จวนกลาโหม แลเพลิงนั้นลามไปเถิงในพระราชวัง แลลามไหม้ไปเมืองท้ายเมือง ครั้งนั้น รู้ข่าวมาว่า ข้างหงษาทำทางมาพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๗) ครั้งนั้น สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสวยราชสมบัดดิณเมืองพิศณุโลก รู้ข่าวมาว่า พระเจ้าหงษากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้น เสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงษา แลอยู่ในวัน ค่ำ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคล แลช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน ชนกัน แลงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย แลโหรทำนายว่า ห้ามยาตรา แลมีพระราชโองการตรัสว่า ได้ตกแต่งการนั้นสรัพแล้ว จึงเสด็จพยุหยาตราไป ครั้งเถิงณวัน ค่ำ เสด็จออกตั้งทัพไชยตำบลวัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชร ในวันนั้น แผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุทธยา ฝ่ายเมืองพิศณุโลกนั้น อยู่ในวัน ๑๐ ค่ำ เกิดอัศจรรย์ แม่น้ำทรายหัวเมืองพิศณุโลกนั้นป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นน้ำนั้น ๓ ศอก อนึ่ง เห็นสัตรีภาพผู้หนึ่ง หน้าประดุจหน้าช้าง แลทรงสัณฐานประดุจวงช้าง แลหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ณวัดปราสาทหัวเมืองพิศณุโลก อนึ่ง ช้างใหญ่ตัวหนึ่งยืนอยู่ณท้องสนามนั้น อยู่ก็ล้มลงตายกับที่บัดเดี๋ยวนั้น อนึ่ง เห็นตักแตนบินมาณอากาศเปนอันมาก แลบังแสงพระอาทิตย์บดมา แล้วก็บินกระจัดกระจายสูญไป ในปีเดียวนั้น ให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา ในปีเดียวนั้น พระเจ้าหงษาให้พระเจ้าสาวถี แลพญาพสิม ยกพลลงมายังกรุงพระนคร แล ณวัน ค่ำ ๒ เพลาเที่ยงคืนแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาด เสด็จพยุหบาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอน ครั้งนั้น เศิกหงษาแตกพ่ายหนีไป อนึ่ง ม้าตัวหนึ่งตกลูก แลศีศะม้านั้นเปนศีศะเดียว แต่ตัวม้านั้นเปน ๒ ตัว แลเท้าม้านั้นตัวละสี่เท้า ประดุจชิงศีศะแก่กัน.

ศักราช ๙๔๗ รกาศก (พ.ศ. ๒๑๒๘) พระเจ้าสาวถียกพลลงมาครั้งหนึ่งเล่า ตั้งทัพตำบลสะเกษ แลตั้งอยู่แต่ณเดือนยี่เถิงเดือนสี่ ครั้งเถิงถึงวัน ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกาบาด เสด็จพยุหบาตราตั้งทัพไชยตำบลหล่มพลี แลณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เสด็จจากทัพไชยโดยทางชลมารคไปทางป่าโมก มีนกกระทุงบินมาทั้งซ้ายขวาเปนอันมากนำหน้าเรือพระที่นั่งไป ครั้นเถิงวัน ๑๔ ค่ำ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลทวีปออกดาช้างม้าทั้งปวงอยู่ณริมน้ำ แลพระอาทิตย์ทรงกลด แลรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง มีทรงสัณฐานประดุจเงากลดนั้นมากั้งช้างพระที่นั่ง ครั้งนั้น ตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป ในปีเดียวนั้น พระมหาอุปราชายกพลมาโดยทางกำแพงเพ็ชร ตั้งทำนาอยู่ที่นั่น.

ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ. ๒๑๒๙) ณวัน ๑๒ ค่ำ พระเจ้าหงษางาจีสยางยกพลลงมา เถิงกรุงพระนครศรีอยุทธยาณวัน ค่ำ แลพระเจ้าหงษาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทัพตำบลขนอนปากคู แลทัพมหาอุปราชาตั้งขนอนบางตนาว แลทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้น ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ แลพระเจ้าหงษาเลิกทัพคืนไป ในศักราช ๙๔๙ (พ.ศ. ๒๑๓๐) นั้น วัน ๑๔ ค่ำ เสด็จโดยทางชลมารคไปตีทัพมหาอุปราชาอันตั้งอยู่ขนอนบางตนาวนั้นแตกพ่ายลงไปตั้งอยู่ณบางกระดาน วัน ๑๐ ค่ำ ๖ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชาอันลงไปตั้งอยู่ณบางกระดานนั้นแตกพ่ายไป วัน ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินพยุหบาตราออกตั้งทัพไชยณวัดเดชะ แลตั้งค่ายขุดคูเปนสามารถ วัน ค่ำ เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงษา ๆ ต้านมิได้ ก็เลิกทัพไปตั้งณป่าโมกใหญ่ วัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ นั้นแตกพ่าย แลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงษานั้น วัน ๑๐ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเปนทัพซุ่มณทุ่งหล่มพลี แลออกตีทัพข้าศึก ครั้งนั้น ได้รบพุ่งตลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง แลทรงพระแสงทวนแทงเหล่าทหารตาย ครั้นข้าศึกเศิกแตกพ่ายเข้าค่าย แลไล่ฟันแทงข้าเสิกเข้าไปจนถึงน่าค่าย วัน ๑๐ ค่ำ เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง เสด็จยกทัพเรือออกไปตีทัพพญานครซึ่งตั้งอยู่ณปากน้ำมุทุเลานั้น ครั้งนั้น เข้าตีทัพได้เถิงในค่าย แลข้าเศิกพ่ายหนีจากค่าย แลเผาค่ายข้าเศิกเสียสิ้น แลพระเจ้าหงษาก็เลิกทัพคืนไป แลพญาลแวกมาตั้งณบางซาย ครั้งนั้น เสด็จออกไปชุมพลทั้งปวงณบางกระดาน เถิงวัน ค่ำ เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหบาตราจากบางกระดานไปตั้งทัพไชยณซายเคือง แล้วเสด็จไปลแเวก ครั้งนั้น ได้ช้างม้าผู้คนมาก.

ศักราช ๙๕๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๓๑) ณวัน ๑๒ ค่ำ แผ่นดินไหว.

ศักราช ๙๕๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๓๒) เข้าแพงเปนเกียนละสิบตำลึง ปิดตราพญานารายน์กำชับ ณวัน ค่ำ แผ่นดินไหว.

ศักราช ๙๕๒ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) วัน ๑๓ ค่ำ ๘ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระพฤฒาราชนฤพาน วัน ๑๒ ค่ำ มหาอุปราชายกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้น ได้ตัวพญาพสิมตำบลจรเข้สามพัน.

ศักราช ๙๕๔ มโรงศก (พ.ศ. ๒๑๓๕) วัน ๑๒ ค่ำ อุปราชายกมาแต่เมืองหงษา ณวัน ค่ำ เพดาลช้างต้นพญาไชยานุภาพตกออกมาใหญ่ประมาณ ๕ องคุลี ครั้นเถิงเดือนยี่ มหาอุปราชายกมาเถิงแดนเมืองสุพรรณบุรี แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ วัน ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา ๒ บาด เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน แลณวัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาด เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค อนึ่ง เมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน ๑๒ ค่ำนั้น เห็นพระสารีริกธาตุปาฏิหารไปโดยทางซึ่งจะเสด็จนั้น เถิงวัน ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๓ บาด เสด็จทรงช้างต้นพญาไชยานุภาพเสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้น มิได้ตามฤกษ์ แลฝ่าฤกษ์หน่อยหนึ่ง แลเมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเด็จพระนารายน์บพิตรเปนเจ้าต้องปืนณพระหัดถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่ง เมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกลงเถิงดิน แลเอาคืนขึ้นใส่เล่า ครั้งนั้น มหาอุปราชาขาดฅอช้างตายในที่นั้น แลช้างต้นพญาไชยานุภาพ ซึ่งทรงแลได้ชนด้วยมหาอุปราชาแลมีไชยชำนะนั้น พระราชทานให้ชื่อ เจ้าพญาปราบหงษา.

ศักราช ๙๕๕ มเสงศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) วัน ๑๐ ค่ำ เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้น ทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอญเผาเสียประมาณ ๑๐๐ ณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาด เสด็จพยุหบาตราไปเอาเมืองลแวก แลตั้งทัพไชยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้น ได้ตัวพญาศรีสุพรรณในวัน ค่ำนั้น.

ศักราช ๙๕๖ มเมียศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) ยกทัพไปเมืองสโตง.

ศักราช ๙๕๗ มแมศก (พ.ศ. ๒๑๓๘) วัน ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด เสด็จพยุหบาตราไปเมืองหงษา ครั้งก่อน ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน เถิงวัน ๑๓ ค่ำ เพลาเที่ยงคืนแล้ว เข้าปล้นหงษามิได้ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา.

ศักราช ๙๕๘ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๓๙) วัน ค่ำ ลาวหนี ขุนจ่าเมืองรบลาวตำบลคะเคียนด้วน แลณวัน ค่ำ ฝนตกหนักหนาสามวันดุจฤดูฝน.

ศักราช ๙๖๑ กุญศก (พ.ศ. ๒๑๔๒) วัน ๑๑ ฯ  ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาด เสด็จหยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลวัดตาล แลในเดือน ๑๑ นั้น สงกรานต์ พระเสาร์แต่ราษีกันย์ไปราษีดุลย์ ครั้นเถิงวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู แลทัพหลวงเข้าตั้งใกล้เมืองตองอูประมาณ ๓๐ เส้น แลตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเปนอันมาก ครั้นวัน ค่ำ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมายังพระนครศรีอยุทธยา.

ศักราช ๙๖๓ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๔๔) เดือน ๗ เดือนเดียวนั้น มีสุริยุปราคา ในปีนั้น รับพระอิศวรแลพระนารายน์เปนเจ้าไปถวายพระพรพร้อมกันวันเดียวทั้ง ๔ คานหาม.

ศักราช ๙๖๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๔๕) เสด็จไปประพาศลพบุรี.

ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๑๔๖) ทัพพระเเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้.

ศักราช ๙๖๖ มโรงศก (พ.ศ. ๒๑๔๗) วัน ค่ำ เสด็จพยุหบาตราจากป่าโมกโดยทางฃลมารค แลฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพไชยตำบลพระหล่อ วันนั้น เปนวันอูน แลเปนสงกรานต์ พระเสาร์ไปราษีธนูเปนองษาหนึ่ง ครั้งนั้น ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว.