วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์

จาก วิกิซอร์ซ
เซ็นเตอร์พ้อยท์
เซ็นเตอร์พ้อยท์ คือหน้าอภิปรายสำหรับชุมชนวิกิซอร์ซ อย่าลังเลที่จะถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็น คุณสามารถเข้าร่วมการอภิปรายปัจจุบันหรือเริ่มการอภิปรายใหม่ คุณยังสามารถพบปะสมาชิกชุมชนได้ที่เซิร์ฟเวอร์ดิสคอร์ด ชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทย สำหรับการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด (ที่ไม่ใช่แค่โครงการภาษาไทย) กรุณาอภิปรายที่วิกิซอร์ซพหุภาษา ขณะนี้มีผู้ใช้ที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ 26 คน

Center Point is the community discussion page on Thai Wikisource.

การอภิปราย มกราคม 2565 — ปัจจุบัน

Wiki Loves Folklore is back!

โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย

You are humbly invited to participate in the Wiki Loves Folklore 2022 an international photography contest organized on Wikimedia Commons to document folklore and intangible cultural heritage from different regions, including, folk creative activities and many more. It is held every year from the 1st till the 28th of February.

You can help in enriching the folklore documentation on Commons from your region by taking photos, audios, videos, and submitting them in this commons contest.

You can also organize a local contest in your country and support us in translating the project pages to help us spread the word in your native language.

Feel free to contact us on our project Talk page if you need any assistance.

Kind regards,

Wiki loves Folklore International Team

--MediaWiki message delivery (คุย) 20:15, 9 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

การปรับค่าข้อมูลในหน้าดัชนีที่เป็นปัญหา

สวัสดีครับ เนื่องจากช่อง "เล่ม" นั้น ในปัจจุบันเป็นช่องที่มีการใช้ผิดจุดประสงค์อยู่ โดยเท่าที่เห็นคือ

  1. ใช้ใส่แหล่งที่มาของเอกสารราชกิจจานุเบกษา เช่น ดัชนี:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐.pdf
  2. ใช้ใส่ฉบับต่าง ๆ ของเนื้อหาในชุดหนังสือนั้น ๆ เช่น ดัชนี:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf

ซึ่งเท่าที่ผมเห็นในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ อย่างหลังคือวิธีการใส่ที่ถูกต้อง ทำให้ที่ใส่แหล่งที่มาของเอกสารราชกิจจานุเบกษาก็ยังมีปัญหาอยู่ โดยมีวิธีที่คิดไว้อยู่ตอนนี้ 2 วิธี คือ

  1. ใส่ไว้กับช่อง "แหล่งที่มา" โดยต่อท้ายจาก string ประเภทไฟล์ที่มีอยู่แล้ว
  2. สร้างช่องแยกขึ้นมาใหม่ โดยในตอนนี้ผมยังไม่รู้ว่าจะตั้งชื่ออย่างไรไม่ให้ชนกับช่อง "แหล่งที่มา"

ต่อมาก็คือช่อง "เล่ม" นั้นมีชนกันอยู่สองที่ ก็คือช่อง "Volume" กับ "Volumes" โดยสองช่องนี้มีแผนที่จะแยกกันให้ถูกต้องอยู่แล้ว วางแผนแก้ไขโดยยกเลิกการใช้งานช่อง "เล่ม" อันเดิม แต่เก็บไว้เพื่อรอย้ายข้อมูลไปช่องที่เหมาะสม และช่องต่าง ๆ จะแปลใหม่ดังนี้

  • "Volume" → "ฉบับที่"
  • "Volumes" → "ชุดหนังสือ"

โดยทุกท่านสามารถแสดงความเห็นได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 14:57, 16 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น
  1. ความเห็นของ --YURi (คุย) 16:54, 16 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    • Volumes สมัยที่แปล มีเดียวิกิ:Proofreadpage index template จำได้ว่า ตอนนั้นคุยกัน (กับคุณ Geonuch) ว่า มีบางคำที่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรแน่ ซึ่งจำเป็นจะต้องแก้ภายหลัง คำพวกนี้รวมถึง Volume/Volumes นี่แหละค่ะ ทีแรกเข้าใจว่า มันต่างกันแต่เอกพจน์กับพหูพจน์ ในภาษาไทยเลยใช้คำเดียวกัน แต่เมื่อใช้งานแล้วพบว่า มันละอย่างกันนะ แต่ก็ยังไม่ได้แก้ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณ Bebiezaza เสนอให้แก้ ก็เห็นชอบด้วย ส่วนควรใช้คำอะไรนั้น เห็นว่า ใช้คำอื่นดีกว่า "ฉบับที่" เช่น คำว่า "เล่ม" น่าจะดีกว่า เพราะสั้นกว่า และ "ฉบับที่" อาจเข้าใจผิดกับ "edition" ส่วน "ชุดหนังสือ" ที่จริงใช้สั้น ๆ ว่า "ชุด" น่าจะเพียงพอแล้วไหมคะ (หรือ "ชุดเล่ม"? ก็จะเข้ากับภาษาอังกฤษที่ "volume" เป็น "เล่ม" ส่วน "volumes" เป็น "ชุดเล่ม"?)
    • แหล่งที่มา เข้าใจว่า งานที่จะใส่อะไรแบบนั้น จะมีแต่พวกที่ลงวารสาร (เช่น ราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นต้น) อาจจะสร้างช่องเพิ่มขึ้นเป็นช่องต่างหาก ใช้ชื่อประมาณ "journal" หรือ "วารสาร" ไหมคะ
    • ข้อเสนอเพิ่มเติม และไหน ๆ จะปรับปรุงดัชนีแล้ว ขอเสนอให้ทำรวดเดียวกันเลย คือ ดัชนีในหน้าภาษาอังกฤษ ได้ย้าย แม่แบบ:ดัชนีที่ผสานแล้ว ไปเป็นช่อง "Tranclusion status" ที่มีตัวเลือกไหลลงมาเป็น "fully transcluded", "not yet transcluded" ฯลฯ แล้ว แต่ของไทยยังต้องคอยเติมด้วยระบบอัตโนมืออยู่ จึงอยากให้เพิ่มช่องตรงเหมือนภาษาอังกฤษค่ะ

เนื่องจากไม่มีความเห็นเพิ่มเติมมากว่า 1 เดือน ดังนั้นขอยึดตามความเห็นที่มีมาข้างต้นครับ --Bebiezaza (คุย) 21:09, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)[ตอบกลับ]

Subscribe to the This Month in Education newsletter - learn from others and share your stories

Dear community members,

Greetings from the EWOC Newsletter team and the education team at Wikimedia Foundation. We are very excited to share that we on tenth years of Education Newsletter (This Month in Education) invite you to join us by subscribing to the newsletter on your talk page or by sharing your activities in the upcoming newsletters. The Wikimedia Education newsletter is a monthly newsletter that collects articles written by community members using Wikimedia projects in education around the world, and it is published by the EWOC Newsletter team in collaboration with the Education team. These stories can bring you new ideas to try, valuable insights about the success and challenges of our community members in running education programs in their context.

If your affiliate/language project is developing its own education initiatives, please remember to take advantage of this newsletter to publish your stories with the wider movement that shares your passion for education. You can submit newsletter articles in your own language or submit bilingual articles for the education newsletter. For the month of January the deadline to submit articles is on the 20th January. We look forward to reading your stories.

Older versions of this newsletter can be found in the complete archive.

More information about the newsletter can be found at Education/Newsletter/About.

For more information, please contact spatnaik at wikimedia.org.


About This Month in Education · Subscribe/Unsubscribe · Global message delivery · For the team: ZI Jony (Talk), วันศุกร์ 9:47, 29 มีนาคม 2024 (UTC)

การแจ้งลบหน้าทั้งหมดที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธ

สวัสดีครับ

เนื่องจากช่วงสองปีที่ผ่านมาได้มีการแจ้งลบงานที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก บางส่วนได้ใช้เหตุผลเฉพาะของตัวเอง บางส่วนแจ้งลบผ่านวิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ และบางส่วนแจ้งลบด้วยการประกาศผ่านวิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์ ทำให้การแจ้งลบนั้นถูกกระจายอยู่หลาย ๆ แห่ง และด้วยความที่หน้าเกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธมีอยู่หลายหน้ามาก (จากการลบงานกลุ่มนี้ในอดีตรวม ๆ กันทำให้โครงการวิกิซอร์ซภาษาไทยมีจำนวนหน้าเนื้อหาลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของหน้าเนื้อหาเดิม) จึงเป็นเหตุให้การลบหน้ากลุ่มนี้ทำได้โดยยาก ทั้งที่ทุกหน้าเป็นเนื้อหามีลิขสิทธิ์หรือไม่ใช่ภาษาไทยตามเหตุผลที่ระบุไว้ข้างล่าง ผมจึงสร้างหัวข้อนี้ขึ้นมาเพื่อรวมเหตุผลในการลบหน้าและรวมลิงก์ไปยังการแจ้งลบกับการประกาศลบในอดีตที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธขึ้น และเพื่อใช้แจ้งลบหน้าเกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธที่ตกค้างอยู่ด้วยครับ

รายชื่อข้อมูลการอภิปรายก่อนหน้า

  1. วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ/กรุ/2563#แจ้งลบจำนวนมาก - 23 พฤษภาคม 2563
  2. วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ/กรุ/2564#การแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564)
  3. ช่วงระหว่างข้อข้างบน (2.) และข้อข้างล่าง (4.) ค้นพบหน้าพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาตรงกับในเว็บ https://84000.org/ โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า และหลังจากขุดหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ค้นพบว่าพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง)
  4. วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์/กรุ/2564#ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก_(18_มิถุนายน_2564)
  5. วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์/กรุ/2564#ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก_(28_พฤศจิกายน_2564)
สำหรับสรุปที่เคยจดไว้ที่ พูดคุย:พระไตรปิฎก

รวมสาเหตุที่ต้องลบพระไตรปิฎกเกือบทั้งหมด หรือไม่ก็อาจทั้งหมด รวมถึงอรรถกถาด้วย ซึ่งเป็นเหตุให้จำนวนหน้าในวิกิซอร์ซหายไปประมาณ 7,000 กว่าหน้า

  1. การแจ้งลบ พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย เนื่องจาก ท6 ละเมิดลิขสิทธิ์ - เนื่องจากยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่ครั้งใน พ.ศ. 2527 กรณีผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล (ดู แม่แบบ:ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย)
  2. การแจ้งลบ พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน เนื่องจาก
    1. หน้าทั้งหมดมาจาก "พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน" ซึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2545 (อ้างอิง) จึงยังมีลิขสิทธิ์ (ตาม แม่แบบ:ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย) วิกิซอร์ซไม่อาจรับไว้ได้ (ตาม วิกิซอร์ซ:นโยบายการลบ ข้อ ท6)
    2. นอกจากนี้ ผู้สร้างพระไตรปิฎกดังกล่าวยังระบุว่า "เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานเท่านั้น...ห้ามจำหน่าย" (อ้างอิง) ซึ่งเป็นการกำหนดข้อจำกัดที่ทำให้วิกิซอร์ซไม่อาจรับงานเอาไว้ได้ (ตาม วิกิซอร์ซ:นโยบายลิขสิทธิ์#เนื้อหาเสรี) อีกประการหนึ่ง
  3. หลังจากการขุดตรวจสอบเพิ่มเติม ค้นพบหน้าพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาตรงกับในเว็บ https://84000.org/ โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า ถ้านับเว็บนี้เป็นต้นฉบับถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
    และหลังจากขุดหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ค้นพบว่าพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง) ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดหมดอายุลิขสิทธิ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถรับไว้ได้เลย
  4. การแจ้งลบพระไตรปิฎกเพิ่มเติม คาบเกี่ยวกับข้อสอง เนื่องจาก
    1. เพื่อจัดการหน้าต่าง ๆ ที่ซอยยิบย่อยมากแต่ใช้การไม่ได้ ซึ่งทำให้การแสดงจำนวนหน้าในหน้าแรกมีมากเกินจริง
      • ในอดีตอาจเป็นหน้าที่ใช้การได้ แต่อาจถูกลบเพราะการแจ้งลบ พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    2. เพื่อลบหน้านำทางต่าง ๆ ที่เป็นทางตันเพราะการแจ้งลบก่อนหน้านี้ เช่น พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ - เถราปทาน - ๑. พุทธวรรค
    3. การย่อยหน้าควรใช้ "ทับ" แทนการใช้ "ขีด" ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่อ่านอยู่เป็นหน้าย่อยของหน้าใดบ้าง
    4. รวมเหตุผลการลบต่าง ๆ เข้ามาเป็นเหตุผลเดียวกัน คือโยงมาที่การอภิปรายนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมแบ่งเหตุผลในการลบหน้าเป็น
      1. หน้าที่เกี่ยวข้องกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564)
      2. อ1 - หน้าสุดทางไม่ได้ใช้: ข้อมูลอื่น ๆ
  5. การแจ้งลบอรรถกถาภาษาไทย เนื่องจาก WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์: ค้นหาเจอว่ามาจาก https://84000.org/ เช่นกัน โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า ถ้านับเว็บนี้เป็นต้นฉบับถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ และคุณ Miwako Sato ได้ข้อมูล (จาก สารานุกรมไทยฯ) ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาจุฬาฯ พิมพ์ครั้งแรก 2534 ซึ่งยังไม่เกิน 50 ปี
สรุปนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Bebiezaza (คุย) เมื่อ 20:32, 19 ธันวาคม 2564‎ (+07)[ตอบกลับ]

เหตุผลในการลบ

  1. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยที่เป็นงานแปลจากภาษาบาลีฉบับแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง: สารานุกรมไทยฯ) โดยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 19, 20, 23 ที่ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล, งานที่ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์, งานที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐ มีอายุลิขสิทธิ์ 50 ปีนับแต่สร้างสรรค์/เผยแพร่ครั้งแรก ซึ่งการที่พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับที่เก่าแก่ที่สุดยังไม่เกิน 50 ปี จึงทำให้พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทยหลังจากนั้นมีลิขสิทธิ์ทั้งหมด
    1. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย - เนื่องจากยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2527 (ตามการแจ้งลบพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
    2. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - เผยแพร่เมื่อ 2539 ยังไม่ถึง 50 ปีนับแต่เผยแพร่
    3. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บไซต์ https://84000.org/ - โดยมีการระบุไว้ว่างานเผยแพร่ในปี 2546 หรือใหม่กว่า และถ้าจะนับเว็บนี้เป็นต้นฉบับก็ต้องถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์เพราะยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่
    4. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ มีบางส่วนที่อ้างว่ามาจากหนังสือที่เผยแพร่เป็นธรรมทาน แต่ไม่สามารถหาสถานะลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์ได้ จึงต้องอุปนัยว่ามีลิขสิทธิ์อยู่ตามที่พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับที่เก่าแก่ที่สุดยังมีอายุไม่ถึง 50 ปี
      1. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ และมีบางฉบับที่เขียนไว้ว่า "เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานเท่านั้น...ห้ามจำหน่าย" (อ้างอิง) ซึ่งเป็นการกำหนดข้อจำกัดที่ทำให้วิกิซอร์ซไม่อาจรับงานเอาไว้ได้ (ตาม วิกิซอร์ซ:นโยบายลิขสิทธิ์#เนื้อหาเสรี) อีกประการหนึ่ง
        • ส่วนการที่เว็บไซต์อนุญาตให้เผยแพร่เป็นธรรมทาน ถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และจำกัดห้ามจำหน่าย ก็เอามาลงไม่ได้ เพราะไม่เสรี แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ถึงจะจำกัดหรือไม่จำกัดการจำหน่าย ก็ไม่มีผลเป็นการปลอดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีอำนาจประกาศอะไรเกี่ยวกับลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
  2. WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์ อรรถกถาได้ข้อมูล (จาก สารานุกรมไทยฯ เหมือนกัน) ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งแรก 2534 ซึ่งยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่ครั้งแรกเช่นกัน
  3. พระไตรปิฎกที่เป็นบาลีแท้ ๆ เลย ไม่มีลิขสิทธิ์ แต่เนื่องจากว่าไม่ใช่ภาษาไทย จึงเข้าข่าย WS:CSD ท5 - นอกเหนือขอบเขต
  4. WS:CSD อ1 - การลบทางเทคนิค หน้าเกี่ยวกับพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นหน้าสุดทางซึ่งเกิดจากการลบหน้าอื่น ๆ
  5. เหตุผลอื่น ๆ
    1. เพื่อจัดการหน้าต่าง ๆ ที่ซอยยิบย่อยมากแต่ใช้การไม่ได้ ซึ่งทำให้การแสดงจำนวนหน้าในหน้าแรกมีมากเกินจริง ในอดีตอาจเป็นหน้าที่ใช้การได้ แต่อาจถูกลบเพราะเหตุผลตามที่อธิบายก่อนหน้า
    2. การย่อยหน้าควรใช้ "ทับ" แทนการใช้ "ขีด" ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่อ่านอยู่เป็นหน้าย่อยของหน้าใดบ้าง

ขอบเขตในการลบ

  1. พระไตรปิฎกทั้งหมด
  2. อรรถกถาทั้งหมด

Bebiezaza (คุย) 11:20, 23 ตุลาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

@Toutou, TripitakaBot, NakamuraBot, Bpitk, Kie~thwikisource, Kie, Beckham, Pitpisit, Vanco, Smartboy, Bzusana, เต้สุดหล่อ, Yakumii, Ans, Octahedron80, น้ำมนต์, Nattananl, Nakamura, Miwako Sato, YURi, and Bitterschoko: ขออนุญาต ping ทุกท่าน (เท่าที่หาได้) ที่เคยมีส่วนร่วมในงานที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธครับ --Bebiezaza (คุย) 12:04, 23 ตุลาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เพิ่มเติม: @B20180: ผู้ดูแลระบบปัจจุบันอีกท่าน และ @Geonuch: ที่เคยมีส่วนร่วมในงานที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธจากวิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#แจ้งลบจำนวนมาก - 23 พฤษภาคม 2563 --Bebiezaza (คุย) 18:42, 25 ตุลาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

การคัดค้านและความเห็น

สำหรับการคัดค้าน กรุณาใส่ (คัดค้าน) ไว้บริเวณส่วนหน้าของข้อ

สรุป

เนื่องจากไม่มีการคัดค้านใน 3 สัปดาห์ จึงขอปิดการอภิปรายนี้และสรุปว่าให้ลบหน้าทั้งหมดที่เกี่ยวกับพระธรรมคัมภีร์ศาสนาพุทธครับ --Bebiezaza (คุย) 12:10, 13 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]