ข้ามไปเนื้อหา

วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์/กรุ/2564

จาก วิกิซอร์ซ

การอภิปราย มกราคม—มิถุนายน 2564

[แก้ไข]

ปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทย

[แก้ไข]

สวัสดีครับ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและการจัดการเนื้อหาต่อไปในอนาคต จึงขอเสนอให้ทำการปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทยต่อไปนี้

ปรับแต่งบางเนมสเปซให้เป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหา

[แก้ไข]

มีความแตกต่างระหว่างคำสั่ง พิเศษ:ค้นหา ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาไทยและ Special:Search ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ โดยของวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษกำหนดให้เนมสเปซหลัก สถานีย่อย ผู้สร้างสรรค์ ดัชนีและงานแปลเป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับการสืบค้น ขณะที่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยมีเพียงแค่เนมสเปซหลักอย่างเดียว ผมเห็นว่าการปรับให้เนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหาของวิกิซอร์ซภาษาไทยให้เข้าถึงกลุ่มเนมสเปซเนื้อหาอื่นเช่นเดียวกับวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูลให้เป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ

ปรับแต่งเครื่องมือนำเข้า

[แก้ไข]

ผู้ดูแลระบบวิกิซอร์ซสามารถใช้คำสั่ง พิเศษ:นำเข้า หน้า/เนื้อหาจากโครงการอื่น เช่น เมทาวิกิหรือคอมมอนส์ เพื่อย้ายเนื้อหาที่ผิดวัตถุประสงค์และรักษาประวัติรุ่นของหน้าไว้ ผมเสนอให้เพิ่มโครงการสำหรับเข้าถึงเครื่องมือนำเข้าดังนี้

  • วิกิซอร์ซพหุภาษา (multilingual Wikisource/oldwikisource)
  • วิกิพีเดียภาษาไทย
  • วิกิพจนานุกรมภาษาไทย
  • วิกิตำราภาษาไทย
  • วิกิคำคมภาษาไทย

ปรับแต่งการนับเนมสเปซเนื้อหา

[แก้ไข]

จำนวนหน้าเนื้อหาทั้งหมด 8,231 หน้า เป็นการนับเฉพาะหน้าที่อยู่ในเนมสเปซหลักเท่านั้น ไม่ได้รวมหน้าในเนมสเปซเนื้อหาอื่นอย่างผู้สร้างสรรค์หรืองานแปลด้วย จึงทำให้สถิติของโครงการมีความคลาดเคลื่อน ผมจึงเสนอให้เพิ่มเนมสเปซผู้สร้างสรรค์และงานแปลเพื่อนับเป็นเนมสเปซเนื้อหาเช่นเดียวกับโครงการอื่นที่มีเนมสเปซทั้ง 2 นี้ครับ

ปรับแต่งหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้

[แก้ไข]

magic word {{#Babel}} ยังไม่สามารถแสดงหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้ (babel) ได้เช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาไทยหรือโครงการอื่น เพื่อให้ magic word ทำงานได้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องแจ้งเปิดใช้งานหมวดหมู่ โดยผมขอยึดระดับขั้น (0-N) ตามวิกิพีเดียภาษาไทยเพื่อเป็นระเบียบเดียวกันครับ

ความเห็น

[แก้ไข]
  1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 15:52, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  2. เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 20:47, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  3. เห็นด้วย --Bisdt (คุย) 11:58, 1 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  4. เห็นด้วยPatsagorn Y. · T 19:51, 11 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  5. เห็นด้วย --Bitterschoko (คุย) 14:11, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามลิขสิทธิ์

[แก้ไข]

จากเอกสาร คำแปลอนุสัญญาเจนีวา (จัดพิมพ์ พ.ศ. 2542) ในคำนำครั้งที่ 1 ระบุว่า "คำแปลที่จัดพิมพ์นี้เป็นคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศ และมิได้มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำแต่อย่างใดจากต้นฉบับเดิม" แต่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาเดิมได้ ไม่ทราบว่าจะยึดถือข้อความนี้เพื่อระบุว่าเป็น {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} ได้ไหมครับ --Horus (คุย) 18:49, 14 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ในหน้าถัดมา ระบุว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542" แสดงว่า เป็นฉบับปรับปรุง ไม่ใช่ฉบับดั้งเดิมของ กต. แล้ว จึงไม่เข้า {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} นะครับ (อย่างไรก็ดี คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ข้อความเต็ม ๆ ว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542...แต่ยังคงคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศไว้" อ่านแล้วขัดแย้งในตัว บอกว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงของเดิมไว้ ไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไรแน่) --Bitterschoko (คุย) 13:57, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:22, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

แหล่งเอกสาร (คดียาไอซ์)

[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมไปเจอไฟล์เรื่องคดียาไอซ์ แต่ดันมีลายน้ำ ถ้าใครเจอลิงก์ต้นฉบับก็ขอระบุด้วยครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:37, 21 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ปรับแต่งแถบด้านข้าง

[แก้ไข]

สวัสดีครับ เนื่องจากแถบด้านข้างของวิกิซอร์ซภาษาไทยไม่ได้มีการปรับปรุงใหญ่มาตั้งแต่ปี 2549 โดยระหว่างตอนนั้นถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น การเพิ่มเนมสเปซดัชนี สถานีย่อย ฯลฯ ผมจึงจะเสนอปรับแต่งแถบด้านข้างให้อย่างน้อยมีลิงก์ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยขอแบ่งการอภิปรายเป็น 3 วาระ ดังนี้

วาระที่ 1: การเพิ่มและการแบ่งกลุ่มลิงก์

[แก้ไข]

ลิงก์ที่จะเพิ่มมา มีอยู่ทั้งหมด 6 ลิงก์ คือ

  1. Central discussion - โยงมาทีเซ็นเตอร์พ้อยท์
  2. Subject index - โยงไปที่สถานีย่อย:สถานีย่อย
  3. Authors - โยงไปที่หมวดหมู่:ผู้สร้างสรรค์เรียงตามลำดับอักษร
  4. Random work - สุ่มงานในเนมสเปซหลัก
  5. Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
  6. Random transcription - สุ่มดัชนี

และเอาลิงก์ที่ซ้อนทับออก 1 ลิงก์ คือ "สุ่มหน้า" เนื่องจากซ้อนทับกับ Random work, Random author, และ Random transcription

ส่วนการแบ่งกลุ่มลิงก์ ผมได้คิดไว้เป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1: ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
หน้าหลัก
ศาลาประชาคม
เหตุการณ์ปัจจุบัน
Central discussion
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
Subject index
Authors
Random work
Random author
Random transcription
ความช่วยเหลือ
การบริจาค
แบบที่ 2: ลิงก์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่ม "หลัก"
หน้าหลัก
เหตุการณ์ปัจจุบัน
Central discussion
Random work
Random author
Random transcription
การบริจาค
กลุ่ม "มีส่วนร่วม"
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
ความช่วยเหลือ
ศาลาประชาคม
Subject index
Authors

--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

อภิปรายและลงคะแนน

[แก้ไข]
  1. เห็นด้วย เลือกแบบ 1 ครับ และ  ความเห็น อาจไม่ต้องใส่ วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ในนั้นมีไว้รับข้อมูลข่าวสารจากทางเมทาวิกิมากกว่า ถ้าต้องการเข้าชมคิดว่ารวมในศาลาประชาคมก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 22:43, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

วาระที่ 2: แปล

[แก้ไข]

วิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละชื่อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ ดังตัวอย่างข้างล่าง โดยทุกคนสามารถเสนอคำแปลเพิ่มได้--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ตัวอย่างการลงความเห็นและลงคะแนน

[แก้ไข]
  1. สมมติชื่อแปล 1
    1. เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    2. ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  2. สมมติชื่อแปล 2
    1. ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Central discussion

[แก้ไข]
  1. เซ็นเตอร์พ้อยท์
    1. เป็นกลาง อาจไม่ค่อยสื่อความหมายให้ผู้อ่านทราบว่าคืออะไร แต่จะใช้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:46, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Subject index

[แก้ไข]
  1. สารบัญสถานีย่อย
  2. สถานีกลาง
  3. สถานีย่อย
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:53, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  1. รายชื่อผู้สร้างสรรค์
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Random work

[แก้ไข]
  1. สุ่มงาน
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Random author

[แก้ไข]
  1. สุ่มผู้สร้างสรรค์
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Random transcription

[แก้ไข]
  1. สุ่มดัชนี
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

วาระที่ 3: ลิงก์อื่น ๆ ที่ต้องการใส่เพิ่มเติม

[แก้ไข]

วิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละข้อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ คล้ายกับตัวอย่างในวาระที่ 2 โดยทุกคนสามารถเสนอเพิ่มได้ --Bebiezaza (คุย) 23:22, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

สรุป

[แก้ไข]
  1. การแบ่งกลุ่มลิงก์จะใช้แบบแรก คือ ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
  2. อาจมีการนำลิงก์วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบันออกในอนาคต ไว้เปิดอภิปรายใหม่ทีหลัง
  3. การแปลชื่อส่วนใหม่ จะเป็นดังนี้
    1. Central discussion - เซ็นเตอร์พ้อยท์
    2. Subject index - สถานีย่อย
    3. Authors - รายชื่อผู้สร้างสรรค์
    4. Random work - สุ่มงาน
    5. Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
    6. Random transcription - สุ่มดัชนี
  4. ไม่มีการเพิ่มลิงก์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างบน

และขอปิดการอภิปรายตรงนี้ครับ พร้อมกับปรับแก้แถบข้างทันที --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

การจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติ

[แก้ไข]

สวัสดีครับ เนื่องจากระหว่างการเขียนการอภิปรายการปรับแต่งแถบด้านข้าง ผมได้สังเกตเห็นว่าเวลาย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) กับการย่อหน้าอัตโนมัตินั้นถอยเข้ามาไม่เท่ากัน ดังภาพด้านขวา

ผมจึงจะสอบถามความเห็นว่า จะปรับการย่อหน้าอัตโนมัติให้เข้ามาเท่ากับการย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) ไหมครับ? และจะมีผลกระทบกับเนื้อหาในวิกิซอร์ซมากเพียงใด? --Bebiezaza (คุย) 00:16, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

มีหลายหน้าที่จัดย่อหน้าด้วยรูปแบบอื่นผสมกับย่อหน้าอัตโนมัติ เช่น ใช้ตารางสลับกับย่อหน้าอัตโนมัติ โดยตั้ง style ให้เยื้องเข้าไปเท่ากับย่อหน้าอัตโนมัติ หรือใช้ แม่แบบ:ช่องว่าง ฯลฯ หน้าจำพวกเอกสารเก่า เอกสารโบราณ หรือต้องการรักษารูปแบบต้นฉบับ มีการใช้วิธีเหล่านี้ ฉะนั้น ถ้าย่อหน้าอัตโนมัติเปลี่ยน ก็จะทำให้ย่อหน้าทั้งหมดซิกแซ็กกัน หรือเสียรูปแบบ แต่อาจจะลองเปลี่ยนดูก่อนก็ได้ค่ะ แบบว่าถ้าไม่เวิร์กก็เปลี่ยนกลับ --Miwako Sato (คุย) 12:53, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
สรุป: ไม่แก้ไขการจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติครับ เนื่องจากอาจทำให้หน้าอาจเสียรูปแบบได้ เช่นในหน้าคุยก็ได้มีการใช้ย่อหน้าอัตโนมัติเยื้องกับย่อหน้าที่ใช้เครื่องหมายทวิภาค --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

[แก้ไข]

ผมไปเจอฉบับแปลของสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง โดยไม่ทราบปีที่เผยแพร่ครั้งแรก แต่คิดว่าน่าจะก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ค่อนข้างแน่นอน ใครมีข้อมูลตรงนี้ไหมครับ --Horus (คุย) 17:08, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เท่าที่ค้นข้อมูล ได้ความดังนี้ครับ
  1. ฉบับที่คุณ Horus เอามาลง มีชื่อว่า "ฉบับภาษาทันสมัย" (ตามเว็บนี้) เป็นฉบับที่ "วิภา ดาวมณี กตัญญู ดิเรกวุฒิกุล และจร โสภณศิริ" edit จากฉบับเดิม และจะต้องพิมพ์หลัง พ.ศ. 2541 (เพราะมีระบุในนั้นเองว่า ฉบับ edit เกิดจากการที่คนบ่นว่า ฉบับพิมพ์ซ้ำใน พ.ศ. 2541 อ่านยาก)
  2. ฉบับเดิมข้างต้นน่าจะได้แก่ ฉบับของชมรมหนังสืออุดมทัศน์ (มีในเว็บ มธ. แต่ต้องเป็นสมาชิก จึงจะโหลดได้) ความแตกต่างระหว่างฉบับภาษาทันสมัยกับฉบับในเว็บ มธ. เช่น
    • ฉบับภาษาทันสมัยว่า "ปีศาจตนหนึ่ง ปีศาจแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
    • ฉบับในเว็บ มธ. ว่า "ภูตผีตนหนึ่ง ภูตผีแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
  3. ฉบับในเว็บ มธ. ไม่มีปีที่พิมพ์ (เว็บลงว่า ม.ป.ป. ในตัวเล่มก็ไม่มีปี+คนแปล) ค้นกูเกิลก็ไม่เจอ เจอแต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้ามตามประกาศ มท. ใน พ.ศ. 2523 แสดงว่า อย่างน้อยฉบับนี้ก็มีแล้วใน พ.ศ. 2523 เนื่องจากข้อมูลมีเท่านี้ ถ้าจะเอาฉบับนี้มาลงได้ คงต้องรอพ้น พ.ศ. 2573 (เพื่อให้เกิน 50 ปี)
--Bitterschoko (คุย) 18:03, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
คือผมค่อนข้างแน่ใจว่ามีกล่าวถึงในบทความ 6 ตุลาต่าง ๆ แล้ว ([1]) คิดว่าถ้าจะให้แน่ใจอาจจะไว้ลงหลังปี 2569 ครับ --Horus (คุย) 18:23, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ขอความเห็นกับการออกแบบหน้าหลักใหม่

[แก้ไข]

สวัสดีครับ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้ออกแบบหน้าหลักขึ้นมาใหม่ จนได้แบบออกมาทั้งการแสดงผลบนเดสก์ท็อปและการแสดงผลบนมือถือแล้ว

สำหรับหน้าต่าง ๆ มีดังนี้

จึงขอนำเรื่องมาอภิปรายเพื่อขอความเห็นเพิ่มเติมครับ --Bebiezaza (คุย) 23:03, 24 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ส่วนสำหรับการการนำหน้าที่ออกแบบไว้มาปรับใช้จะเปิดอภิปรายอีกครั้งภายหลังครับ --Bebiezaza (คุย) 18:00, 25 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น

[แก้ไข]
  1. ส่วน ประกาศ คิดว่าไม่จำเป็น (เพราะเป็นเรื่องภายในและอาจยังไม่เหมาะกับผู้ใช้ใหม่) และส่วน งานใหม่ที่น่าสนใจ อาจจะเพิ่มเป็น 2 งาน เพื่อนำเสนองานที่ proofread 1 งาน และงานแปล 1 งาน ครับ --Horus (คุย) 05:47, 26 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  2. มีความเห็นดังนี้ครับ
    1. เห็นพ้องกับคุณ Horus ตามข้างต้นครับ และการที่มี section งานแปล จะทำให้บุคคลทั่วไปรับทราบว่า แปลมาลงก็ได้ (นอกเหนือไปจากลงงานต้นฉบับ) ก็น่าจะทำให้วิกิซอร์ซคึกคักขึ้น
    2. ถ้าเพิ่ม section ที่เชิญชวนให้คนมาทำงานใน วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม ก็จะดีครับ (ดังที่หน้าอังกฤษมี "Current Collaborations" หรือหน้าฝรั่งเศสมี "Mission 7500") section นี้จะมีประโยชน์ คือ อาจช่วยดึงดูดคน และพอมีคนมาทำเพิ่มขึ้น ก็อาจช่วยให้วิกิซอร์ซเป็นมาตรฐานไวขึ้น (เพราะไฟล์ส่วนใหญ่ที่อัปโหลด เป็นต้นฉบับของหน้ามากมายที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มาตรฐาน และหลาย ๆ หน้าปล่อยทิ้งไว้มาเกินกว่าทศวรรษ) นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้วิกิซอร์ซไทยกลายเป็น hub ของเนื้อหาต้นฉบับที่เข้าถึงได้ง่าย (โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งน่าจะยังไม่มีในเมืองไทย เพราะเว็บส่วนใหญ่เน้นร้อยกรอง วรรณกรรม ฯลฯ และเข้าถึงยาก ต้องสมัคร ต้องอะไรต่าง ๆ)
    3. ใน section "สำรวจวิกิซอร์ซ" มีหลายหน้าควรลบ (เช่น หมวดหมู่:งานแบ่งตามที่มา ที่ใส่หมวดหมู่เป็นโรงพิมพ์ หน่วยงาน ฯลฯ) เพราะปัจจุบันใช้ "สถานีย่อย" (ตัวอย่างหน้าโรงพิมพ์ en:Portal:Oxford University Press) แต่เรื่องนี้ยังไม่สำคัญหรือเร่งร้อนในเวลานี้ ควรปล่อยไปก่อน เอ่ยถึงเผื่อเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงในอนาคต (และกันลืม) เฉย ๆ ครับ
    --Bitterschoko (คุย) 22:33, 28 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    @Bitterschoko: สำหรับข้อ 2 สนใจที่จะแนะนำชื่อหัวข้อที่จะแสดงในหน้าหลักไหมครับ? --Bebiezaza (คุย) 01:03, 2 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ขออภัยครับ ไม่มีชื่อใดเสนอครับ --Bitterschoko (คุย) 20:59, 3 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  3. ความเห็นของ --YURi (คุย) 18:59, 2 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    1. เปลี่ยนทาง วิกิซอร์ซ:บทความที่ต้องการ ไปยัง วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม แล้วใช้ชื่อหัวข้อ "Current Collaborations" ว่า "งานที่ต้องการ" หรือ "งานที่ชวนให้คุณร่วมทำ", "งานที่คุณร่วมทำได้", "งานที่คุณร่วมสร้างสรรค์ได้" อะไรทำนองนี้ ดีไหมคะ
      ที่เสนอให้เปลี่ยนทาง เพราะจุดประสงค์ของทั้ง 2 หน้าก็เหมือนกัน คือ ต้องการให้คนมาร่วมทำ แต่หน้าหลังมีดัชนี/ไฟล์เรียบร้อย และมีความเคลื่อนไหว (อัปเดต) เป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้สนใจสามารถเริ่มทำได้ทันที ขณะที่หน้าแรกเป็นรายชื่อเปล่า ๆ และแทบจะไม่อัปเดตเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ ทั้งสองหน้าจะเป็นคนละหน้า แต่ภาษาไทยเราก็บริหารจัดการในท้องถิ่นเราได้ตามเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่กระทบกระเทือนกัน
      สำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ ผมเลือกใช้ "งานที่คุณร่วมทำได้" นะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    2. งานแปล ทำเป็นรายชื่อ ดีไหมคะ โดยใช้หัวข้อว่า "งานแปลใหม่" เฉย ๆ แล้วแบบ มีลิงก์ไปหน้ารายชื่อ (เหมือนในหัวข้อ "งานใหม่")
      1. เหตุผล เพราะงานแปล น่าจะมีมาเรื่อย ๆ แต่ถ้าลงไว้อันเดียว ก็จะเป็นจุดที่แช่ไว้ ไม่ค่อยอัปเดต (แบบ คนอาจกลัวว่า ฉันเปลี่ยนได้ไหม ถึงเวลาเปลี่ยนได้หรือยัง เพราะเราก็ไม่ได้ข้อกำหนดเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าทำเป็นรายชื่อ มันก็จะไหลไปตามลำดับเก่าใหม่ และทำให้คนทั่วไปรู้ว่า มีความเคลื่อนไหวอยู่นะ)
      2. ได้ลองสร้าง วิกิซอร์ซ:งานแปล/งานใหม่ ซึ่งยังเป็นรายชื่อคร่าว ๆ แต่ว่าจะลองสร้างแม่แบบเพื่อแสดงข้อมูลบางอย่าง เช่น ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม, ภาษาดั้งเดิม, ปี ฯลฯ (คล้าย ๆ ในหน้า วิกิซอร์ซ:งาน/2564) ค่ะ แม่แบบน่าจะทำให้การเพิ่มงานแปลสะดวกขึ้น
        เห็นด้วย และผมจะเพิ่มลิงก์ไปยังหน้าดังกล่าวสำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ด้วยนะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (18 มิถุนายน 2564)

[แก้ไข]

ชื่อหัวข้อใหม่ที่จะใช้ก่อนได้รับความเห็นพ้องจากชุมชน: ประกาศการจะลบหน้าจำนวนมาก

สวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่ได้รับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ไปจำนวน 7,103 หน้าแล้วนั้น ผมได้ตรวจเช็คเพิ่มเติม และลบหน้าเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่เป็นทางตันต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 800 หน้า และยังไม่มีท่าทีว่าจะหมดเร็ว ๆ นี้ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้

เหตุผลที่ตั้งการอภิปรายนี้

[แก้ไข]

หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตันที่ผมลบไปก่อนหน้านี้กว่า 800 หน้า ผมได้ตรวจเช็คแต่ละหน้าต่อจากทางตันไปอย่างละเอียดแล้วพบว่าส่วนมากจะโดนลบเพราะวิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564) รองลงมาคือถูกแจ้งลบเพราะ ท6 และลบการก่อกวน และท้ายสุดคือหน้าที่ไม่เคยถูกสร้าง ทำให้ผมคิดว่าการลบต่อจากนี้ไม่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วเพื่อความรวดเร็ว รวมถึงโรงเรียนผมจะเปิดเทอมเร็ว ๆ นี้ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทีละหน้าและลบหน้าทั้งวันแบบที่ผมได้ทำในปัจจุบัน

เหตุผลในการลบครั้งนี้

[แก้ไข]
  1. เพื่อจัดการหน้าต่าง ๆ ที่ซอยยิบย่อยมากแต่ใช้การไม่ได้ ซึ่งทำให้การแสดงจำนวนหน้าในหน้าแรกมีมากเกินจริง
    • ในอดีตอาจเป็นหน้าที่ใช้การได้ แต่อาจถูกลบเพราะเหตุผลตามที่อธิบายก่อนหน้า
  2. เพื่อลบหน้านำทางต่าง ๆ ที่เป็นทางตันเพราะการแจ้งลบก่อนหน้านี้ เช่น พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ - เถราปทาน - ๑. พุทธวรรค
  3. การย่อยหน้าควรใช้ "ทับ" แทนการใช้ "ขีด" ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่อ่านอยู่เป็นหน้าย่อยของหน้าใดบ้าง
  4. รวมเหตุผลการลบต่าง ๆ เข้ามาเป็นเหตุผลเดียวกัน คือโยงมาที่การอภิปรายนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมแบ่งเหตุผลในการลบหน้าเป็น
    1. หน้าที่เกี่ยวข้องกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564)
    2. อ1 - หน้าสุดทางไม่ได้ใช้: ข้อมูลอื่น ๆ

ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ

[แก้ไข]
  • หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตัน โดยไม่ต้องตรวจดูว่าลิงก์แดงทุกลิงก์ในหน้านั้นถูกลบด้วยเหตุใด หรือเคยมีการสร้างไปหรือยัง
  • หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่มีลิงก์ที่ยังใช้ได้อยู่ จะมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์รายหน้าอีกที เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บ 84000.org หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ซึ่งถ้าลบหน้าพวกนี้จนหน้านำทางที่เกี่ยวข้องเป็นทางตันก็จะเข้ากับข้อข้างบน

Bebiezaza (คุย) 00:34, 2 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น

[แก้ไข]

การแก้ไขหน้าวิกิซอร์ซคืออะไร

[แก้ไข]

ผมได้แก้ไขหน้า วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร ในส่วน "ภาษา" แต่ไม่แน่ใจว่าต้องมีการรับรองจากประชาคมหรือไม่ เพราะหน้านั้นไม่ใช่นโยบาย และเนื้อความที่แก้ไขก็เป็นเพียงสรุปแนวปฏิบัติที่มีมาแล้ว ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิม

แต่ก็มาตั้งกระทู้นี้ อย่างน้อยก็เป็นการแจ้งถึงความเคลื่อนไหวที่ควรทราบกัน และท่านใดเห็นว่าจำเป็นต้องมีการรับรอง ก็โปรดพิจารณาตามสมควรครับ ขอบพระคุณครับ --Bitterschoko (คุย) 08:10, 5 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ไหน ๆ เปิดกระทู้แล้ว รวดคุยเรื่อง "เนื้อหาภาษาต่างประเทศเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีเนื้อหาภาษาไทยร่วมด้วย (เช่น งานที่เป็นภาษาบาลีล้วน ๆ แต่เขียนด้วยอักษรไทย)" ด้วยเลยสิครับ --Horus (คุย) 23:19, 5 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ผมมาไตร่ตรองดู ผมอาจจะผิดเองที่เขียนว่า "ยังไม่มีแนวปฏิบัติ อาจต้องอภิปรายเพิ่มเติม" ที่จริงถ้าว่าตามนโยบาย ก็ไม่อาจรับงานนั้นไว้ได้ (เพราะไม่ใช่ภาษาไทย แม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) ตอนที่แก้หน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" ผมเกิดสงสัยขึ้นว่า มีแนวปฏิบัติให้รับไว้ได้หรือเปล่า เพราะมีหน้าทำนองนั้นอยู่พอสมควร (ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น หน้า "๖. ปฎิจฺจสมุปฺปาทวิภโงฺค-สัมโมหวิโนทนี") เลยเขียนไปอย่างนั้น อย่างไรก็ดี ผมได้แก้ไขหน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็เป็นนโยบายอยู่แล้ว ไม่มีอะไรใหม่ (นอกจากนี้ เมื่อก่อนผู้ดูแลระบบก็ลบหน้าทำนองนี้ออกเป็นระยะ ๆ จะถือเป็นแนวปฏิบัติแล้วก็ได้) จึงคิดว่าไม่มีอะไรให้อภิปรายครับ แต่จะเปิดอภิปรายก็ได้ตามที่แต่ละท่านเห็นสมควรครับ --Bitterschoko (คุย) 03:43, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

อภิปรายเกี่ยวกับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน

[แก้ไข]

สวัสดีครับ สำหรับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ผมคิดว่าเป็นชื่อที่สื่อความหมายไม่ตรงกับเนื้อหาในหน้า จึงคิดว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิกิซอร์ซ:ข่าวสารจากส่วนกลาง แทน และนำลิงก์ที่ไปยังหน้านี้ออกจากแถบด้านข้างออก โดยนำลิงก์ไปไว้ในหน้า วิกิซอร์ซ:ศาลาประชาคม ส่วน "ส่วนประกอบ" แทนครับ --Bebiezaza (คุย) 02:13, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น

[แก้ไข]
  1. เท่าที่ดูใน en:Wikisource:News ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นข่าวสารจากส่วนกลางอย่างเดียว เพราะมีให้ชุมชนเขียน newsletter ให้กันเองก็ได้ คิดว่าชื่อควรจะรวมกิจกรรมแบบนี้ด้วยครับ เช่น "ข่าวสาร", "จดหมายข่าว" ฯลฯ --Horus (คุย) 11:26, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ในเมื่อเป็นหน้าให้ชุมชนเขียนข่าวได้ ก็ตามนั้นครับ (strikethrough ส่วนที่ตัดออกจากชื่อจากข้างบนเรียบร้อย) --Bebiezaza (คุย) 15:19, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

checkY เรียบร้อย ปิดการอภิปรายครับ --Bebiezaza (คุย) 23:41, 27 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

แก้ไขนโยบายการลบ

[แก้ไข]

เสนอให้แก้ไข วิกิซอร์ซ:นโยบายการลบ ดังนี้

เดิม ใหม่ เหตุผล
ปรับปรุง
ท6 – ละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่ (1) เนื้อหาที่ปรากฏชัดและพิสูจน์ชัดว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ (2) หน้าผู้สร้างสรรค์ที่ผลงานยังมีลิขสิทธิ์อยู่ ท6 – ละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่ (1) เนื้อหาที่ปรากฏชัดและพิสูจน์ชัดว่าละเมิดลิขสิทธิ์ (2) หน้าที่เคยถูกลบเพราะละเมิดลิขสิทธิ์ (3) หน้าผู้สร้างสรรค์ที่ผลงานทั้งหมดของเขายังมีลิขสิทธิ์อยู่ และไม่มีส่วนอื่นที่ทำให้หน้าผู้สร้างสรรค์นั้นสามารถดำรงอยู่ได้ ปรับปรุงโดยอิงหน้าอังกฤษ แต่เพิ่มข้อความ "และไม่มีส่วนอื่นที่ทำให้หน้าผู้สร้างสรรค์นั้นสามารถดำรงอยู่ได้" เข้ามา เพราะบางทีผลงานของบุคคลยังมีลิขสิทธิ์ แต่มีงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นและไม่มีลิขสิทธิ์ สามารถลิสต์ไว้ในหน้าผู้สร้างสรรค์ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้สร้างสรรค์:วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ท8 – หมวดหมู่ที่อิงตัวบุคคล ได้แก่ หมวดหมู่ผลงานของบุคคล (เป็นต้นว่า "งานเขียนของ ก", "ร้อยกรองของ ข" ฯลฯ) เว้นแต่เป็นกรณีที่ชื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ยุคสมัย การปกครอง ฯลฯ (เป็นต้นว่า "รัฐบาลของ ค", "รัชสมัยของ ง" ฯลฯ) ม2 – หมวดหมู่ที่อิงตัวบุคคล เช่น หมวดหมู่ผลงานของบุคคล (เป็นต้นว่า "งานเขียนของ ก", "ร้อยกรองของ ข" ฯลฯ) แต่กรณีที่ชื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ยุคสมัย การปกครอง ฯลฯ (เป็นต้นว่า "รัฐบาลของ ค", "รัชสมัยของ ง" ฯลฯ) ไม่เข้าข่ายที่จะลบทันทีตามข้อนี้
  1. เปลี่ยนรหัส เพื่อแยกกลุ่มเป็นเหตุผลสำหรับหมวดหมู่
  2. ปรับปรุงโดยอิงหน้าอังกฤษ
  3. เหตุผลของข้อนี้ คือ ปัจจุบันใช้หน้าอื่นแทนแล้ว เช่น ผู้สร้างสรรค์, สถานีย่อย ฯลฯ
บ3 – ไม่ระบุข้อมูล ได้แก่ งานที่ไม่ลงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (ถ้ามี) บ3 – ไม่ระบุข้อมูล ได้แก่ งานที่ไม่ลงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ได้พยายามสืบค้นข้อมูลดังกล่าวแล้ว และได้ติดต่อผู้ใช้ที่เพิ่มเนื้อหานั้นเข้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ข้อมูลเช่นนั้น
  1. ปรับปรุงโดยอิงหน้าอังกฤษ
  2. เราควรกำหนดเวลาที่จะรอการตอบกลับจากผู้ใช้ด้วยหรือไม่? (เช่น ถ้าเขาไม่ตอบเกินเจ็ดวัน การแจ้งลบด้วยเหตุผลนี้และการลบทันทีด้วยเหตุผลนี้จึงจะเกิดขึ้นได้)
เพิ่มใหม่
ไม่มี ม1 – หมวดหมู่ว่าง
  1. เป็นเหตุการณ์ที่พบบ่อย แต่ยังไม่มีหัวข้อรองรับ
  2. ใช้ชื่อ ม1 เพราะจะได้เป็นระเบียบเดียวกันกับในโครงการอื่น
ไม่มี (รหัสเดิมเป็นเหตุผลอื่น) ท8 – งานที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ เช่น งานที่ไม่เสร็จสมบูรณ์และถูกทิ้งไว้เกินหกเดือน หรือหน้าร่างที่ไม่พัฒนาต่อเกินหกเดือน นำมาจากนโยบายวิกิพีเดียไทย
ไม่มี บ4 – ไม่สามารถกำหนดลิขสิทธิ์ได้ เช่น งานที่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ายังมีลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ ปัจจุบันมีงานประเภทนี้อยู่มากมายในวิกิซอร์ซไทย และเป็นงานที่เราไม่ควรจะเก็บไว้ เพราะไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ได้

ตามที่ผู้ดูแลระบบเคยระบุไว้ใน คุยเรื่องวิกิซอร์ซ:นโยบายการลบ หลังจากอภิปรายครบ 14 วันและไม่มีการคัดค้านแล้ว จะไปแก้ไขหน้านโยบายการลบนะคะ ขอบพระคุณค่ะ --Miwako Sato (คุย) 06:20, 30 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

  1. เห็นด้วย เกณฑ์ ท6, ม2, บ3, ม1 และ บ4 ใหม่
     ความเห็น ขอออกความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
    1. เรื่องการรอผู้ใช้ระบุข้อมูลแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (บ3) อาจจะกำหนดไว้ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ว่า ก่อนจะนำมาลงต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ และถ้าไม่ระบุภายใน ... วัน ก็จะถูกลบทันที หรือถ้าใจดีก็อาจจะทำเป็นสคริปต์หรือบอตสำหรับแจ้งเตือนพฤติการณ์เหล่านี้ด้วยก็ได้
    2. เรื่องงานที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ คิดว่าไม่จำเป็นต้องนำเกณฑ์นี้มาจากวิกิพีเดียภาษาไทย เพราะอาจมีกรณีที่นำงานมาลงแล้ว 50% แต่ผู้เขียนเกิดถอดใจขึ้นมา จะลบงานนั้นออกไปก็คิดว่ามากเกินไปหน่อย อีกทั้งในวิกิซอร์ซไม่ใช่งานที่ต้องร่างก่อน แค่คัดลอกข้อความจากต้นฉบับบวกกับใส่โค้ดและตกแต่งบ้างเท่านั้น
    3. เกณฑ์ บ4 อาจจะกำหนดไปด้วยก็ได้ว่า ผู้เขียนมีหน้าที่ต้องกำหนดสถานะลิขสิทธิ์ได้ ถ้าไม่ได้ก็ถูกลบภายใน ... วัน และถ้าทำผิดซ้ำซากก็เป็นเหตุให้บล็อกได้ ครับ
    --Horus (คุย) 09:02, 30 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  2. เห็นด้วย ตามความเห็นคุณ Horus ครับ --Bebiezaza (คุย) 23:42, 14 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

@Miwako Sato: สนใจรับเกียรติเป็นคนแก้นโยบายการลบเลยมั้ยครับ? เพราะเปิดการอภิปรายมา 3 เดือนแล้ว --Bebiezaza (คุย) 13:02, 6 กันยายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณค่ะ ลืมแล้ว 555 ได้แก้ไขแล้วค่ะ (ส่วนเรื่องเวลาใน บ3 ไม่ได้ใส่ลงไป เพราะไม่มีการอภิปรายเพิ่มเติม และผู้ดูแลระบบก็สามารถใช้ดุลพินิจได้อยู่แล้วค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 17:22, 6 กันยายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

การอภิปราย กรกฎาคม 2564 — ธันวาคม 2564

[แก้ไข]

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับต่าง ๆ

[แก้ไข]

เนื่องจากว่าระหว่างที่ผมกำลังนำเอกสาร "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28)" มานั้น ผมได้พบว่ามีเอกสารที่ใช้ชื่อเดียวกัน (หรือคล้ายกัน) อยู่หลายฉบับ เช่น ฉบับเมื่อปี 2551 ฉบับเมื่อปี 2553 และ ฉบับที่ใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ฉบับที่ 1 ที่ออกเมื่อปี 2563 ทำให้เวลาจะนำเอกสารมาลงในวิกิซอร์ซในอนาคตอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ ผมจึงมาขอความคิดเห็นว่าควรจะจัดการยังไงดีครับ --Bebiezaza (คุย) 00:52, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ใส่วันที่ เหมือนที่ปรากฏการอ้างถึงใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 ค่ะ เช่น ข้อกำหนดตามหน้านั้น ก็จะเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" (แต่ในชื่อหน้าคงต้องย่อตามสมควรค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 02:30, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
เพิ่งเห็นหน้า "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อาจย่อประมาณนั้นก็ได้ค่ะ (ที่จริงน่าจะมีคำว่า "พระราชกำหนด" อะไรสักหน่อย แต่ดูแล้วน่าจะไม่พอ เพราะชื่อเต็ม ๆ คือ "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อ่านเสร็จต้องปาดเหงื่อ 😓) --Miwako Sato (คุย) 02:59, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
เห็นด้วย สำหรับฉบับที่อ้างถึงข้างบน ผมย่อให้เป็น ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 2564 ครับ และถ้าไม่มีแสดงความเห็นเพิ่มเติมภายใน 2 วัน ผมจะขอปิดการอภิปรายนี้ครับ --Bebiezaza (คุย) 09:35, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  1. นโยบายว่า ชื่อหน้าก็คือชื่องาน ถ้าชื่อยาว ให้ทอนด้วยไปยาล ดังนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ตัดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นไปด้วยไปยาลเลยดีกว่าจะแปลงชื่อเป็นตัวย่อ เพราะการแปลงข้างต้น ชื่อยังยาวอยู่ และมีผลต่อการสร้างหน้าย่อย (โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่า งานในกลุ่มเดียวกัน ควรมีชื่อ pattern เดียวกัน และมีบางงานที่ต้องมีหน้าย่อย) จึงควรตัดสั้นอีก อีกอย่างหนึ่ง การแปลงเป็นตัวย่อดังกล่าว ทำให้ชื่อหน้าในวิกิซอร์ซลักลั่น (เช่น บางหน้าเป็น ก.ค. บางหน้าเป็น กรกฎาคม) โดยเป็นความลักลั่นที่ไม่ได้เกิดจากชื่อดั้งเดิม แต่เกิดจากการแปลงของผู้ใช้เอง
  2. ทีนี้ ควรตัดแบบใด ทีแรกมองว่า น่าจะตัดเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" แต่คิดไปคิดมา ตัด "แห่งพระราชกำหนดฯ" ออกไปเลย เป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" น่าจะดีกว่า เพราะ
    1. การคง "แห่งพระราชกำหนดฯ" ไว้ในลักษณะนี้ อาจทำให้เข้าใจว่า "(ฉบับที่ 27)" ขยาย "พระราชกำหนด และชื่อแบบที่คงไว้ ก็ยังยาวพอสมควร
    2. ในชื่อโดยทั่วไป ก็ไม่อ้างถึงกฎหมายแม่ (พระราชกำหนด) เช่น ใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 เอง ก็เรียกแค่ "ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔" เป็นต้น แสดงว่า ส่วนพระราชกำหนดสามารถตัดทอนได้
จึงเสนอความเห็นมาเพื่อลองพิจารณาดูค่ะ --Miwako Sato (คุย) 14:34, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
checkY เรียบร้อย ตามความเห็นข้างบนครับ --Bebiezaza (คุย) 17:14, 29 สิงหาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เตรียมการใช้งานหน้าหลักที่ออกแบบใหม่

[แก้ไข]

สวัสดีครับ หลังจากที่ดองโครงงานการออกแบบหน้าหลักใหม่ไว้นาน ตอนนี้ผมพร้อมที่จะนำหน้าหลักที่ได้ออกแบบใหม่มาใช้งานจริงแล้วครับ โดยรูปแบบปัจจุบันสามารถดูได้ที่นี่ และสามารถลงคะแนนได้ที่ด้านล่าง สำหรับหลังจากใช้จริงแล้วจะมีการปรับปรุงแยกมอดูลเพื่อให้เพิ่มข้อมูลที่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งรองรับหน้าจอแบบโทรศัพท์มือถือ --Bebiezaza (คุย) 02:01, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น และลงคะแนน

[แก้ไข]

เริ่มใช้งาน

[แก้ไข]

ตอนนี้หน้าหลักที่ออกแบบใหม่ได้ใช้งานบนหน้าหลักแล้ว ถือว่าการอภิปรายนี้เสร็จสมบูรณ์ ตัวหน้าหลักยังต้องมีการปรับมอดูลต่าง ๆ เพื่อให้เพิ่มเนื้อหาได้ง่ายขึ้น พร้อมขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถร่วมเพิ่มงานขึ้นแสดงได้ --Bebiezaza (คุย) 01:00, 25 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (28 พฤศจิกายน 2564)

[แก้ไข]

สวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ผิดลิขสิทธิ์แล้ว ผมได้ค้นพบว่ามีหน้าอรรถกถาที่มาจาก 84000.org เพิ่มเติมในหน้าแม่แบบ "พระสุตตันตปิฎกและอรรถกถา" นี้ โดยถึงปัจจุบัน ผมได้ตรวจสอบด้วยมือไปแล้ว 479 หน้า และค้นพบว่าเนื้อหาทั้งหมดก็มาจาก 84000.org เช่นกัน และยังมีอีกประมาณ 250 หน้าที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้โดยไม่ต้องตรวจสอบด้วยมือต่อไป

เหตุผลในการลบครั้งนี้
  • WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์: ค้นหาเจอว่ามาจาก https://84000.org/ โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า และถ้าจะนับเว็บนี้เป็นต้นฉบับ ก็ต้องถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่
ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ
  • หน้าอรรถกถาที่เหลือในแม่แบบที่กล่าวมาข้างต้น

Bebiezaza (คุย) 13:39, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็น

[แก้ไข]
  1.  ความเห็น ไม่ทราบว่าเว็บไซต์นี้ใครคือผู้เขียนหรือมีลิขสิทธิ์แบบเต็มหรือเปล่าครับ ทั้ง ๆ ที่บางส่วนอ้างมาจากหนังสือที่เผยแพร่เป็นธรรมทาน บางอย่างอาจเป็นสาธารณสมบัติโดยเฉพาะบทสวดกับพระไตรปิฎก —นคเรศ (คุย) 14:07, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ตอบ เท่าที่ผมหาได้ เว็บไซต์นี้ไม่มีข้อมูลลิขสิทธิ์ใด ๆ เลยครับ จึงไม่สามารถระบุสถานะลิขสิทธิ์ได้
    ส่วนพระไตรปิฎกบางฉบับที่เผยแพร่เป็นธรรมทานนั้น อ้างตามเหตุผลที่มีในการรับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ก็คือบางแหล่งได้มีการเขียนไว้ว่า "เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานเท่านั้น...ห้ามจำหน่าย" (อ้างอิง) ซึ่งไม่ผ่านวิกิซอร์ซ:นโยบายลิขสิทธิ์#เนื้อหาเสรี ทำให้ไม่สามารถรับงานไว้ได้ --Bebiezaza (คุย) 15:08, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    1. พระไตรปิฎกก็มีลิขสิทธิ์ได้ค่ะ เพราะเป็นงานแปลจากภาษาบาลี ฉบับแปลแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง: สารานุกรมไทยฯ) ยังไม่เกิน 50 ปีเลย (ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 19, 20, 23 ที่ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล, งานที่ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์, งานที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐ มีอายุลิขสิทธิ์ 50 ปีนับแต่สร้างสรรค์/เผยแพร่ครั้งแรก) ขนาดฉบับที่เก่าแก่สุดยังไม่เกิน 50 ปีเลย จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงฉบับถัด ๆ ลงมา
    2. ส่วนการที่เว็บไซต์อนุญาตให้เผยแพร่เป็นธรรมทาน ถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และจำกัดห้ามจำหน่าย ก็เอามาลงไม่ได้ เพราะไม่เสรี แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ถึงจะจำกัดหรือไม่จำกัดการจำหน่าย ก็ไม่มีผลเป็นการปลอดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีอำนาจประกาศอะไรเกี่ยวกับลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
    3. ส่วนอรรถกถาที่จะลบในคราวนี้ ได้ข้อมูล (จาก สารานุกรมไทยฯ เหมือนกัน) ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาจุฬาฯ พิมพ์ครั้งแรก 2534 ซึ่งยังไม่เกิน 50 ปี
    --Miwako Sato (คุย) 15:50, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    พระไตรปิฎกที่เป็นบาลีแท้ ๆ เลย ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเกิดมานานแล้วกว่า 2500 ปี ลิขสิทธิ์จะเกิดได้เฉพาะงานแปลเท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 09:17, 15 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    แต่สิ่งที่ลบไปแล้วและกำลังจะลบนั้นคือพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เขียนในภาษาไทย ซึ่งแปลมาจากภาษาบาลีอีกที และอายุงานยังไม่ถึง 50 ปี จึงเข้าข่ายตามที่คุณ Miwako Sato ได้เขียนมาก่อนหน้านี้ ยกเว้นว่าคุณจะสามารถหาหลักฐานได้ว่ามีพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับที่ตีพิมพ์ก่อนปี พ.ศ. 2515 (เลื่อนขึ้นหนึ่งปี เนื่องจากตอนนี้ท้ายปีพ.ศ. 2564 แล้ว) มาหักล้างได้ โดยถ้ามีเอกสารต้นฉบับเพื่อมาใช้พิสูจน์อักษรด้วยจะยิ่งดี --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

คะแนน

[แก้ไข]
  • เห็นด้วย ได้ข้อมูลจากสารานุกรมไทยฯ ว่า อรรถกถา ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งแรก 2534 ยังไม่เกิน 50 ปี แม้แต่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกก็ยังไม่หมดลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งหลัง ๆ จึงย่อมมีลิขสิทธิ์อยู่เช่นกัน --Miwako Sato (คุย) 16:16, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  • ไม่เห็นด้วย งานที่ตีพิมพ์ซ้ำจากเนื้อหาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (พระไตรปิฎก) ไม่ทำให้เกิดลิขสิทธิ์ขึ้นใหม่ ยกเว้นงานแปล ควรดูเป็นกรณีไป ส่วนเรื่องภาษาบาลี อภิปรายในหัวข้อถัดไป --Octahedron80 (คุย) 09:34, 15 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
     ตอบตามข้างบนใน timestamp เดียวกัน --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
  • เห็นด้วย พระไตรปิฎกที่เสนอแจ้งลบไม่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาและลิขสิทธิ์ จึงเห็นว่าสมควรที่จะทำการลบครับ --Geonuch (คุย) 08:47, 17 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

สรุป

[แก้ไข]

ตามที่ได้มีการอภิปรายมาข้างต้น สรุปว่าลบครับ และอาจมีการตั้งการอภิปรายเฉพาะกิจสำหรับงานในด้านนี้ต่อไป --Bebiezaza (คุย) 20:36, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ภาษาบาลีอักษรไทย

[แก้ไข]

ผมเห็นคุณ [Geonuch] ลบพระไตรปิฎกจำนวนมาก ด้วยเหตุผลว่าละเมิดลิขสิทธิ์ อยากทราบว่าภาษาบาลีมีมาแล้ว 2500 กว่าปี มันไปละเมิดลิขสิทธิ์ใครหรือครับ ถ้าเป็นงานแปลที่ไม่เกิน 50 ปี ก็เห็นด้วยที่จะลบ ถ้านานกว่านั้นไม่มีลิขสิทธิ์ครับ ถึงแม้จะมีการตีพิมพ์ใหม่ลิขสิทธิ์ก็ไม่กลับมา --Octahedron80 (คุย) 14:11, 14 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

อันที่จริง งานภาษาบาลีล้วน ๆ มันลบได้ด้วยเหตุผลว่า ไม่ใช่ภาษาไทย (ถึงแม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) เพราะควรไปอยู่ในวิกิซอร์ซที่เกี่ยวข้อง (ดังเช่นที่ปัจจุบันมีวิกิซอร์ซสันสกฤต, เทวนาครี อะไรต่าง ๆ) เรื่องนี้มีนโยบายอยู่แล้วค่ะ (วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร) แม้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษก็ลบพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีอักษรโรมันล้วน ๆ ทิ้งหมดแล้ว เหลือแต่คำแปลที่เป็นภาษาอังกฤษ ดูใน en:Category:Buddhism เป็นต้น --Miwako Sato (คุย) 15:30, 14 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
จริงอยู่ภาษาบาลีก็ควรจะไปอยู่วิกิซอร์ซภาษาบาลี แต่วิกิซอร์ซภาษาบาลียังไม่มีไงครับ อีกประการหนึ่ง หากมีขึ้นมาจริง ๆ คงเขียนกันมั่วมาก เพราะภาษาบาลีเขียนได้ด้วยอักษรหลายแบบ หรืออาจจะโดนจำกัดให้เขียนด้วยอักษรโรมันอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ภาษาบาลีอักษรไทยไม่มีที่อยู่ แต่ทว่าภาษาบาลีอักษรไทย มีใช้แต่ในประเทศไทยและใช้ควบคู่กับภาษาไทย (บางคาถาถูกแต่งขึ้นในไทยเท่านั้น เช่น ชินบัญชร) วิกิซอร์ซภาษาไทยจึงควรอนุโลมให้บันทึกภาษาบาลีอักษรไทยได้ (ในตอนนี้) --Octahedron80 (คุย) 09:08, 15 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
สำหรับงานภาษาบาลี วิกิซอร์ซจะรับไว้ที่วิกิซอร์ซพหุภาษาครับ สำหรับงานภาษาบาลีอักษรไทย ผมได้ไปถามที่ Scriptorium ที่ฝั่งนั้น และในดิสคอร์ดกลางของวิกิซอร์ซแล้ว(เนื้อหาที่คุยกันในดิสคอร์ด) ถ้าหมดอายุลิขสิทธิ์แล้วเขารับงานไว้ได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 19:42, 16 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทย ทั้ง 45 เล่ม ตอนนี้มีอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษากลุ่มภาษาบาลีแล้วครับ โดยเป็นรุ่นเดียวกันกับที่คุณ Miwako Sato ได้แนะนำไว้ในเซ็นเตอร์พ้อยท์เมื่อปีที่แล้ว --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

แตกประเด็นออกมาเพิ่มเติม: พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทยควรจะใส่ไว้ในวิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคมและ "สถานีย่อย:พระไตรปิฎก" หรือไม่? --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

  1. หน้าความร่วมมือ ส่วนตัวมองว่า จะลงไว้ ก็ไม่เป็นไร เพราะที่นี่เป็นจุดศูนย์รวมของคนรู้ภาษา/อักษรไทย ย่อมเป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์ว่า มีงานที่ชวนให้คนรู้ภาษา/อักษรไทยไปทำ
  2. ส่วนสถานีย่อย ส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะต้องใส่ไว้ เพราะ (1) สถานีย่อยเอาไว้รวมลิงก์เกี่ยวกับงานที่มี (หรือจะมี) ในวิกิซอร์ซไทย และ (2) มีฟังก์ชันอื่นให้ใช้ คือ ลิงก์ข้ามภาษาผ่านวิกิสนเทศ ตัวอย่างเช่น "สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ไทย" กับ "en:Portal:History of Thailand" มองว่า น่าจะลิงก์ข้ามภาษาในลักษณะนี้มากกว่า จะเอามาใส่ไว้ในภาษาไทย
--Miwako Sato (คุย) 21:08, 22 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
 ความเห็น
  1. เรื่องลบพระไตรปิฎก เห็นว่าคุณ Bebiezaza ได้ลงลิงก์การอภิปรายก่อนหน้าซึ่งผมได้ตั้งเรื่องเสนอเกี่ยวกับเหตุผลที่ได้ทำการลบอยู่ครับ
  2. เรื่องงานที่ใช้ภาษาบาลีอักษรไทย ผมเห็นว่าควรอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษา ถ้าจะอยู่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยก็อาจเป็นงานที่ทำการแปลเนื้อหาจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย (เช่น ใน mul เป็น "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..." พอมาใน thws เขียนเป็น "พระผู้มีพระภาคเจ้า..." ประมาณนี้) อย่างไรก็ตาม ถ้าชุมชนจะยกเว้นว่างานเขียนที่ใช้อักษรไทยหรือผลิตขึ้นในประเทศไทยจะเก็บในวิกิซอร์ซภาษาไทย คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:40, 18 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีอักษรไทย ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎกก็อย่างเช่น บทสวดมนต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้แต่งคือใคร และแต่งเมื่อใด (กลายเป็น PD) พบได้มากมายในหนังสือสวดมนต์ของพระสงฆ์ ก็น่าจะเอาลงไปที่ วิกิซอร์ซพหุภาษา ได้อยู่มั้ง --Octahedron80 (คุย) 07:41, 22 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ก็คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นครับ --Bebiezaza (คุย) 18:49, 22 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
    ถ้าต้นฉบับเป็นแต่ภาษาบาลี ก็เห็นว่าควรเป็นเช่นนั้นเหมือนกันค่ะ แต่ถ้าต้นฉบับมีภาษาบาลี+ไทย ก็อาจลงที่นี่ได้ (ดูเพิ่มเติมที่ วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร#ภาษา) เช่น เมื่อดูใน commons:Category:Buddhist prayer books from Thailand จะพบว่า มีต้นฉบับหลายอันที่ลงไว้ในไทยได้ --Miwako Sato (คุย) 21:08, 22 ธันวาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]