คุยกับผู้ใช้:Miwako Sato

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จาก วิกิซอร์ซ

ยินดีต้อนรับสู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Miwako Sato สู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

เราขอแนะนำหน้าต่าง ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์แก่คุณดังนี้

อย่าลืมลงชื่อของคุณในหน้าอภิปรายด้วยการพิมพ์ --~~~~ ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานหรือเรื่องใด ๆ สามารถสอบถามหรือพูดคุยกันได้ที่หน้าเซ็นเตอร์พ้อยท์หรือดิสคอร์ด

ขอให้คุณมีความสุขในการมีส่วนร่วมกับวิกิซอร์ซ!

Hello Miwako Sato! Welcome to Thai Wikisource. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Central discussion. Have a nice day!

-- New user message (พูดคุย) 18:19, 27 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ของ ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล[แก้ไข]

https://en.m.wikisource.org/wiki/%27%27%27_His_Excellency_Mr._Sukavich_Rangsitpol_%27%27%27_the_directions_to_develop_quality_of_Thai_people_in_the_future

แปลมาจากภาษาอังกฤษครับ

Wikisource ภาษาอังกฤษไม่มีปัญหา ภาษาไทยไม่ได้หรือครับ

ขอทราบเหตุผลที่แจ้งลบครับ และเป็น บุคคลนี้หรือเปล่าครับ

https://en.m.wikiquote.org/wiki/Special:Contributions/G(x)

https://en.m.wikisource.org/wiki/Special:Contributions/G(x)

ภาษาอังกฤษได้ภาษาไทยไม่น่ามีปัญหานะครับเพราะเป็นงานของคนไทยครับ2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 20:27, 29 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ไปแจ้งลบในหน้าอังกฤษด้วยแล้ว --Miwako Sato (คุย) 22:30, 29 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]
เหตุผลอะไรครับที่แจ้งลบ 2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 23:52, 29 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]
https://th.m.wikisource.org/wiki/พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์_พ.ศ._๒๕๕๐ 2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 23:56, 29 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]
https://www.jstage.jst.go.jp/article/jcrdaen/1/1/1_KJ00006742072/_pdf

เอกสารที่ประเทศญี่ปุ่นเห็นคุณค่า และ Wikisource ภาษาอังกฤษยอมรับ ผมคิดว่าจะแปลเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทย

เพราะเป็นแนวทางศึกษาแบบ Happy Learning ครับ

ผมไม่แน่ใจว่าการกล่าวหาว่าเอกสารที่เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาของไทย ไม่มีคุณค่า และ ลบผิดกฎหมายเพราะเข้าข่าย นำเข้าข้อมูลเท็จครับ2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 00:13, 30 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

(ขออนุญาตตอบแทน) ที่แจ้งลบเพราะเอกสารพวกนี้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อุปมาเหมือนไปเปิดร้านอาหารในห้องสมุด ไปจอดเครื่องบินที่หัวลำโพงทำนองนั้น --Wedjet (คุย) 08:14, 3 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
(ขออนุญาตให้ข้อมูล) ที่ไปแจ้งลบ และ โดนลบในภาษาอังกฤษเพราะอ้างลิขสิทธิ์ ในประเทศไทย งานทั้งหมดทำในระหว่างอยู่ในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ปี 2537 ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถูกลบใน Wikisource เพราะ เรื่อง Copyrights
ในวิกิภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีการนำเข้าข้อมูลเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงจากหนังสือที่อ้างจากหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ที่ยอมรับว่าให้ข้อมูลผิดพลาดและลบจากสารบบของหนังสือพิมพ์ เขียนไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี 180.183.139.52 01:27, 17 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
  1. คืออธิบายหลายรอบแล้วนะคะว่า เขียนงานตอนเป็นรัฐมนตรี ไม่ได้แปลว่างั้นนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ค่ะ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ฮิลลารี คลินตัน เขียนหนังสือ Living History ตอนเป็นสมาชิกวุฒิสภา แปลว่าหนังสือนั้นไม่มีลิขสิทธิ์หรือเปล่า ก็เปล่า งานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทยมีตามที่ระบุในมาตรา 7 เท่านั้น คือ เป็นข่าวประจำวัน, เป็นเอกสารมหาชน (กฎหมาย, กฎ, คำพิพากษา ฯลฯ) เป็นต้น ถ้าไม่ใช่งานจำพวกนี้ ถึงแม้คนทำจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก็ไม่ปลอดลิขสิทธิ์ค่ะ
  2. ส่วนประเด็นบางกอกโพสต์อะไรเนี่ย ไม่มีใครพูดเรื่องนี้นะคะ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการมีหรือไม่มีลิขสิทธิ์ของงานที่ว่าด้วย คงไม่เสียเวลาตอบมากไปนี้แล้ว สวัสดีค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 03:09, 18 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

สุขวิช[แก้ไข]

ขอเรียนให้ทราบว่าบทความของตระกูลรังสิตพล (ทั้งบิดาและบุตรสาว) มีปัญหาอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ดูแลระบบกับผู้ใช้ในกลุ่มที่กล่าวถึงข้างต้น จนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้บันทึกรายการหุ่นเชิดไว้ที่หน้ารายงานหุ่นเชิด จึงขอให้ใช้ความอดทนในการพิจารณากับผู้ใช้กลุ่มดังกล่าวครับ ถ้าหากผมมีเวลาผมจะเข้าไปช่วยชี้แจงด้วยเพราะผมเองไม่เห็นว่าสุนทรพจน์ถือเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแบบเช่นที่มีการอ้างถึงครับ แต่เนื่องจากในขณะนี้ผมไม่มีเวลาแก้ต่างในประเด็นดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อทราบเพื่อดำเนินการต่อไปครับ

ทั้งนี้ ขอเพิ่มเติมว่าแท้จริงแล้วในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ ผมได้แจ้งให้ขอลบไปครั้งหนึ่งแล้วเนื่องจากเหตุผลเดียวกันนี้ แต่พบว่ากลุ่มผู้ใช้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกลับหลีกเลี่ยงการตรวจจับโดยการสร้างบทความในหน้าอื่น ๆ ที่ชื่อไม่ตรงจากเดิมแต่เนื้อหาเหมือนเดิมด้วยครับ --G(x) (คุย) 12:58, 30 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

การรายงานเรื่องหุ่นเชิด บุคคลที่เข้าไปเขียนในหน้าทั้ง2 จะถูกรายงานและถูก บล็อก มีการนำเข้าข้อมูลเท็จในหน้าวิกิภาษาอังกฤษและ ภาษาไทยในหน้าของบิดา และ มีการตามไปขอลบ และ ให้ข้อมูลเท็จในวิกิ ภาษาฝรั่งเศส นอร์เวย์ และ เยอรมันของบุตรสาว 180.183.139.52 01:32, 17 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามลิขสิทธิ์[แก้ไข]

สวัสดีครับ ขอสอบถามว่าแบบนี้มีลิขสิทธิ์ไหมครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 17:41, 14 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@Horus: ทั้งตัวรูปและข้อความในรูป คิดว่าเข้า Commons:Template:PD-ineligible (คอมมอนส์) หรือ en:Template:PD-ineligible (วิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ) ค่ะ เพราะเป็นแค่การแจ้งข้อมูล (consists entirely of information that is common property and contains no original authorship) และไม่ได้อาศัยความสร้างสรรค์อะไรขนาดนั้นในการทำให้เกิดขึ้น (lacking creative input) --Miwako Sato (คุย) 18:06, 14 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขอรบกวนอีกครั้งครับ ไม่ทราบว่าจะมีแหล่งข้อมูลสำหรับกฎหมายที่ผ่านสภาไหมครับ พอดีอยากจัดทำรวบรวมกฎหมายแบบ en:w:List of acts of the 116th United States Congress ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 23:38, 17 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เมื่อก่อนเว็บรัฐสภามีเป็นหน้ารายการนะคะ เคยเข้าไปดูนานแล้ว มีข้อมูลไล่มาหมด (อย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วงก่อนที่สนธิ บุญฯ ยึดอำนาจ) แต่กลับเข้าไปดูวันนี้ หายเกลี้ยงและ (ตามที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว จำแนกตามชุดของสภา) เหลือแต่รายการตั้งแต่ประยุทธ์ยึดอำนาจเป็นต้นมา ดังนี้
สมัย สนช. ของประยุทธ์
สมัย ครม. ของประยุทธ์
  • ที่เป็นกฎหมายแล้ว: เข้า parliament.go.th > เลื่อนลงมาตรงหัวข้อ "ข้อมูลกฎหมาย" > คลิก "กฎหมายจำแนกตามยุครัฐบาล" (แต่จะมีข้อมูลยุคประยุทธ์ยุคเดียว)
    ที่ต้องให้เข้าแบบนี้ เพราะ parliament.go.th ตั้งค่าอะไรสักอย่างไว้ ทำให้ลงลิงก์ไปหน้าเฉพาะไม่ได้ จะขึ้นว่า "403 forbidden" ตลอด ลองลงลิงก์ผ่าน web cache หรือ web archive ก็ไม่ได้
  • ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของสภา: ค้น "ร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ระหวางพิจารณา" ในกูเกิล แล้วจะเจอลิงก์ไป parliament.go.th
สมัยก่อนหน้านั้น
มีหนังสือ "รวมกฎหมายประจำปี" เป็นไฟล์ pdf ของรัฐสภา เท่าที่ดูพบว่าเก่าสุดถึง พ.ศ. 2549 (เข้า parliament.go.th > ไปที่หัวข้อ "บริการข้อมูลกฎหมาย" ตรงแถบแดงที่ล่างสุดของหน้า หรือจะใช้การค้นหาในบราวเซอร์เอาก็ได้ เช่น กด ctrl+f > คลิกหัวข้อนั้นแล้วจะไปโผล่หน้า elaw > ไปที่ "รวมกฎหมายประจำปี" ตรงแถบสีฟ้าด้านซ้าย) ส่วนถ้าจะเอาเก่าแก่กว่านั้น ไม่แน่ใจว่า มีเอกสารหรือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ไหนบ้าง (นอกจากเว็บราชกิจจาฯ) อาจต้องค้นเอาจากหนังสือเป็นเล่ม เช่น พวก "ประชุมกฎหมายประจำศก"
--Miwako Sato (คุย) 01:22, 18 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามคำแปล[แก้ไข]

สวัสดีครับ ขอรบกวนถามเรื่องศัพท์ภาษาอังกฤษในดคีความ อย่างเช่น Military and Paramilitary Activities in and against Nicaragua (Nicaragua v. United States of America)

มีการใช้คำว่า Judgement บ้าง rule บ้าง decide บ้าง ไม่ทราบว่าครั้งใดที่นับเป็นคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือใช้แทนกันได้ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 01:06, 27 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

คำตอบ
  1. "judgment" ปกติใช้ "คำพิพากษา"
  2. "ruling" ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ ใช้ "คำวินิจฉัยชี้ขาด" ส่วนศาลรัฐธรรมนูญเอาไปเรียกย่อ ๆ ว่า "คำวินิจฉัย" เช่น Constitutional Court Ruling No. 5/2563 = คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2563
  3. "decision" ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ ใช้ "คำวินิจฉัย" (ต่างจาก "คำวินิจฉัยชี้ขาด" ตรงที่ "ชี้ขาด" คือ มีผลให้จบเรื่อง จบคดี, ส่วน "คำวินิจฉัย" เฉย ๆ อาจเป็นวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ ในคดี หรืออาจเป็นชี้ขาดคดีเลยก็ได้)
  4. เพราะฉะนั้น คุณอาจแปล (1) judgment ว่า คำพิพากษา, (2) to judge/adjudicate/adjudge ฯลฯ ว่า พิพากษา, (3) ruling ว่า คำวินิจฉัยชี้ขาด, (4) to rule ว่า วินิจฉัยชี้ขาด, (5) decision ว่า คำวินิจฉัย, และ (6) to decide ว่า วินิจฉัย
    แต่โปรดดูความหมายอีกที ใช่ว่าจะแปลด้วยถ้อยคำดังกล่าวได้ทุกกรณี เช่น
    • "adjudged incompetent" ในภาษาไทยมักใช้ว่า "(ศาล)สั่งให้(เป็นคน)ไร้ความสามารถ" (ไม่ได้ใช้ว่า "พิพากษา")
    • และบางทีจะเจอ decision เป็นเอกสารประเภทที่ระบบไทยเรียกกันทั่วไปว่า "คำสั่ง" (เช่น decision on the request, ระบบไทยมักเรียกว่า "คำสั่งคำร้อง/คำร้องขอ", แต่ถ้าจะแปลโดยอาศัยศัพท์บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยคำร้อง/คำร้องขอ" ก็อาจจะได้อยู่ แล้วแต่ผู้แปลจะเห็นสมควร)
  5. นอกจากนี้ ได้ดูคำแปลคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (คดีปราสาทพระวิหาร) ที่รัฐบาลไทย (เข้าใจว่า กระทรวงการต่างประเทศ) แปลไว้ พบว่า ใช้ศัพท์ดังนี้
    • judgment คำพิพากษา
    • to adjudge พิพากษา
    • to declare ชี้ขาด (เช่น "May it please the Court to adjudge and declare..." เขาแปลว่า "ขอประทานศาลได้โปรดพิพากษาและชี้ขาด...")
    • to decide ชี้ขาด (เช่น "to decide this question..." เขาแปลว่า "เพื่อที่จะชี้ขาดปัญหา...[ข้อนี้]")
    • แต่ decision ว่า คำวินิจฉัย
    • to find
      1. วินิจฉัย (เช่น "found that it had jurisdiction" เขาแปลว่า "วินิจฉัยว่า ศาลมีอำนาจ") // โดยนัยนี้ finding อาจแปลว่า คำวินิจฉัย
      2. ลงความเห็น (เช่น "the Court, by nine votes to three, finds that..." เขาแปลว่า "ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่า...")
    • to adjudicate พิจารณาพิพากษา
    • to pronounce พิพากษาชี้ขาด (เช่น "refrained from pronouncing on that claim" เขาแปลว่า "ละเว้นจากการพิพากษาชี้ขาดในข้อเรียกร้องนั้น")
    • application คำร้อง (โดยเฉพาะ คำร้องเริ่มคดี หรือคำร้องตั้งต้นคดี เพราะคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะเริ่มด้วยการยื่น application) // โดยนัยนี้ applicant = ผู้ร้อง
    • memorial คำฟ้อง
    • counter-memorial คำให้การแก้ฟ้อง
    • reply คำตอบแก้ (หมายถึง คำตอบที่มีต่อ counter-memorial)
    • pleading คำคู่ความ
    • objection คำคัดค้าน
    • order คำสั่ง
    • to file/to present ยื่น
    • to submit เสนอ
    • แต่ submission ว่า คำแถลงสรุป (เช่น "the following submissions were presented by the Parties" เขาแปลว่า "คู่ความได้ยื่นคำแถลงสรุปดังต่อไปนี้")
    • indication คำชี้แจง (เช่น "M. Suon Bonn gave brief indications relating to poitns of fact" เขาแปลว่า "นายซวน บอน ให้คำชี้แจงโดยสังเขปเกี่ยวกับข้อเท็จจริง")
    • claim ข้อเรียกร้อง
    • separate opinion ความเห็นต่างหาก
    • dissenting opinion ความเห็นแย้ง
      ฯลฯ
  6. อีกคำที่พบบ่อย คือ to hold ซึ่ง Dictionary.com นิยามว่า (1) to decide legally; (2) to think, to believe - เช่น "the court holds that..." อาจแปลว่า "ศาลพิพากษาว่า..." / "ศาลวินิจฉัยว่า..." / "ศาลเห็นว่า..." ฯลฯ (แล้วแต่จะเข้ากับกรณี)
    --Miwako Sato (คุย) 04:52, 27 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ว่าแต่ "พิพากษา" กับ "วินิจฉัย" มันต่างกันยังไง มีผู้ (อาจารย์ มธ. ท่านนึง) เคยอธิบายว่า "วินิจฉัย" มักใช้แก่ประเด็น เช่น วินิจฉัยประเด็นว่า กฎหมายนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ, วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดี, วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฯลฯ ส่วน "พิพากษา" มักใช้แก่ภาพรวม เช่น พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด, พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย, พิพากษาให้เพิกถอนกฎ ฯลฯ --Miwako Sato (คุย) 04:59, 27 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
จากคดีตัวอย่าง ผมแปลเองว่ามีคำพิพากษาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1984 ว่าศาลมีอำนาจพิจารณาคดี แต่มันทะแม่ง ๆ เพราะพิพากษาว่าศาลมีอำนาจเท่านั้นหรือ และมีคำวินิจฉัยในวันที่ 27 มิถุนายน 1986 (ใช้คำว่า delivered its Judgement) แต่แปลเป็นวินิจฉัยตามบทความอื่นของศาลยุติธรรม ขอสอบถามว่าเห็นว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ --Horus (คุย) 12:56, 27 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
  1. มีคำพิพากษาหลายฉบับในคดีเดียวได้ค่ะ อย่างเช่น คดีปราสาทพระวิหารของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลก็พิพากษาขั้นแรกเลยว่า ศาลมีอำนาจ แล้วค่อยเข้าสู่การต่อสู้อย่างเต็มที่ ไปพิพากษาเนื้อหากันอีกที, คำพิพากษาอันแรกนั้นเรียกว่า "preliminary judgment" (คำพิพากษาเบื้องต้น/ขั้นต้น) อยู่ในชั้นที่เรียกว่า "preliminary objection" (การคัดค้านเบื้องต้น) ที่เขาเรียก "คำพิพากษา" เลย คงเพราะมีผลให้คดีจบได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีอำนาจ ก็คือไม่ได้ไปต่อ แยกย้ายกันกลับบ้านตอนนั้นได้เลย, ส่วนคำพิพากษาอันหลัง (ที่พิพากษาในเนื้อหาของคดี) เรียกว่า "judgment on merits" (คำพิพากษาตามรูปคดี/คำพิพากษาในเนื้อคดี) - ดังนั้น เวลาที่ไปดูแฟ้มคดีพระวิหาร จึงจะเห็น judgment อยู่ 2 อัน คือ อันเบื้องต้น (26 May 1961) กับอันที่ลงในเนื้อคดี (15 June 1962)
  2. ศาลไทยก็คล้าย ๆ กัน เพียงแต่คำตัดสินเบื้องต้นอาจออกมาในรูปอื่นต่างจากคำตัดสินในเนื้อคดี เช่น คดี ต. 22/2562 ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า สิ่งแรกเลยที่ศาลต้องพิจารณา คือ ตัวศาลเองมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาหรือเปล่า ก็เห็นว่า มีอำนาจ โดยออกความเห็นในรูป "คำสั่ง" เสร็จแล้วก็ไปลงเนื้อคดีกัน จนตัดสินเนื้อคดีด้วย "คำวินิจฉัย"
--Miwako Sato (คุย) 22:19, 27 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

งานของจิตร[แก้ไข]

ขอสอบถามครับ จิตร ภูมิศักดิ์เสียชีวิตไปเมื่อปี 2509 แล้ว ไม่ทราบว่างานที่สำนักพิมพ์เอามาพิมพ์ในปี 2550 จะยังติดลิขสิทธิ์หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 02:03, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

  1. ตามกฎหมายไทย ถ้าตายเกิน 50 ปี ก็คือหมดลิขสิทธิ์ และกลายเป็นสาธารณสมบัติค่ะ แต่ฉบับพิมพ์ใหม่อาจมีอย่างอื่นที่ติดลิขสิทธิ์อยู่ เช่น ภาพประกอบ, บทนำหรือคำนำของบรรณาธิการ ฯลฯ
  2. ถ้าคุณมีไฟล์สแกนมา (ถึงแม้จะเป็นฉบับ 2550) และจะทำแบบ proofreading คุณอาจตัดส่วนที่ติดลิขสิทธิ์ในไฟล์ออกก่อน แล้วค่อยอัปไฟล์มาทำ proofreading ก็ได้ ใช้ได้เหมือนกันค่ะ แบบที่ฝรั่งทำในหน้า en:Page:Pentagon-Papers-Part I.djvu/128 เป็นต้น (โดยมี en:Template:Image removed ไว้แปะแทนรูปที่ตัดออก, หรือ en:Template:Text removed ในกรณีที่เป็นข้อความ)
--Miwako Sato (คุย) 07:13, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ขอทราบคำแนะนำเรื่องการอัปโหลดไฟล์ได้ไหมครับ ผมควรจะ print screen แล้วอัปโหลดไฟล์ทีละหน้า หรือมีวิธีอื่นที่ทุ่นแรงมากกว่านั้นครับ --Horus (คุย) 20:43, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
@Horus:
  1. มีไฟล์ pdf ของโฉมหน้าศักดินาไทย (ไฟล์แบบหนังสือตัวต้นเลย) สามารถอัปโหลดให้ได้นะคะ แต่คงต้องตัดส่วนที่มีลิขสิทธิ์ออก หรือคุณจะรับไปตัดเองก็ได้ หรือจะให้ตัดให้ก็ได้ค่ะ
  2. ถ้าคุณจะตัดเอง มันมีเว็บที่ช่วยจัดการ pdf นะคะ เช่น organize pdf อัปขึ้นเว็บนี้ แล้วสามารถจัดการเป็นรายหน้าได้ โดยตัดทิ้ง กลับด้าน สลับหน้า ฯลฯ ได้หมด
--Miwako Sato (คุย) 21:10, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ผมกำลังจะอัปโหลดแล้วแต่ขอถามอีกทีครับ 1. ถ้าอัปไฟล์ pdf ไปแล้วมันจะแยกหน้าอย่างไรต่อไปครับ แยกในคอมมอนส์โดยอัตโนมัติเลยหรือเปล่า 2. มีส่วนอื่นนอกจากปกหน้า ปกหลัง ถ้อยแถลงสำนักกพิมพ์ บทความของธรรมเกียรติตรงไหนที่ติดลิขสิทธิ์หรือไม่ครับ พวกรูปต่าง ๆ มีรูปไหนติดลิขสิทธิ์หรือเปล่า --Horus (คุย) 21:21, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
@Horus:
  1. แยกหน้า หมายถึง แยกหน้าอย่างไรคะ 555
  2. สำหรับการตัด บางทีอาจจะแค่ตัดหน้าออกไปจากไฟล์ แบบ remove ออกไปเฉย ๆ ก็ได้มั้งคะ อาจไม่ต้องแทรกหน้าหรือข้อความระบุถึงการตัดเข้ามาแบบฝรั่งใน Pentagon-Papers ข้างต้นนั้นก็ได้
  3. ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ปี 2550 ของศรีปัญญา จะมีรูปเขียนด้วยดินสออยู่รูปหนึ่ง อยู่ตอนต้นเล่ม (ที่คาบบุหรี่) ไม่รู้เขียนเมื่อไร อาจจะตัดออกไปเพื่อตัดปัญหาก็ได้ค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 21:49, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
แยกหน้าหมายถึง เวลาอัปโหลดไปมันจะแยกเป็นหน้า ๆ แล้วใส่เลขหน้าให้อัตโนมัติไหมครับ เช่น หน้าแรก จะมีวงเล็บหน้า 1 ให้ หน้าสอง มีวงเล็บหน้า 2 ให้ ฯลฯ หรือต้องดำเนินการเอง ตรงนี้ผมไม่ทราบขั้นตอนครับ --Horus (คุย) 22:07, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เข้าใจว่าคงจะหมายถึงการใส่เลขหน้า ปกติมีอธิบายที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร แต่ขออธิบายเพิ่มเติม โดยยก ไฟล์:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf เป็นตัวอย่าง (เพราะเป็นงานที่ยาวระดับหนึ่ง แต่หน้าเดียวจบ น่าจะดูเข้าใจง่าย) ดังนี้

  1. พอเราอัปโหลดที่คอมมอนส์ได้เป็น >> ไฟล์:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf
  2. เราก็กลับมาที่วิกิซอร์ซไทย มาสร้างดัชนี (ชื่อเดียวกับไฟล์นั้น) คือ >> ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf
  3. ตอนสร้างดัชนี ก็จะมีให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงหน้าที่จะให้แสดง อยู่ในช่อง "หน้า"
    1. ในช่องนั้น เราต้องกรอก "รายการหน้า" เป็นรูปแบบ pagelist (อ่านรายละเอียดที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี)
    2. เมื่อก่อนมันจะขึ้นโค้ดให้อัตโนมัติ แต่หลัง ๆ มีการปรับแก้อะไรสักอย่าง มันก็ไม่ขึ้นแล้ว แต่สามารถก็อปเอาจากหน้า วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี ก็ได้ค่ะ
    3. อาจเข้าใจง่ายขึ้น ถ้าคลิกดู ช่อง "หน้า" ใน ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf แล้วเทียบกับหน้าที่ปรากฏด้านซ้ายใน "สนทนากับผู้ร้ายปล้น"
    4. ถ้าต้องการหน้าเป็นเลขไทย อาจจะต้องกรอกกันเหนื่อยหน่อย แบบที่เห็นใน "ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้นฯ" นั้น เพราะดัชนีวิกิซอร์ซไทยยังรองรับแค่เลขอารบิก กับเลขโรมัน (ตามที่ระบุไว้ใน วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี ตอนที่เกี่ยวกับ "หน้า") แต่ถ้าคุณไม่ได้แคร์ว่า เลขหน้าจะต้องเป็นเลขไทย เลขอารบิก อะไรขนาดนั้น คุณอาจจะปล่อยเป็นเลขอารบิกไปก็ได้ ก็จะย่นเวลาในการทำ pagelist (เช่น ถ้าหน้า 1 บนกระดาษ เริ่มที่หน้า 10 ของไฟล์ คุณจะแค่กรอก 10 = 1 แล้วมันก็จะ run 2, 3, 4 ฯลฯ ต่อไปโดยอัตโนมัติ, แต่ถ้าต้องการเลขไทย คุณจะต้องกรอก 10 = ๑, 11 = ๒, 12 = ๓ ฯลฯ ต่อ ๆ กันไป)
  4. พอทำดัชนีเสร็จแล้ว ก็สร้างหน้า เช่น
    หน้า:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf/1
    หน้า:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf/2,
    ฯลฯ จนจบ
  5. พอทำหน้าเสร็จแล้ว ก็ผสานหน้าทั้งหมดเข้ากับหน้าหลัก ก็กลายเป็น "สนทนากับผู้ร้ายปล้น" - วิธีผสาน มีอธิบายอยู่ใน วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#การผสาน (แต่ปกติ ก็อปโค้ดจากหน้าอื่นมาดัดแปลงเอา อาจง่ายกว่าการนั่งอ่านวิธียืดยาว)
  6. เรื่องอีกอย่างที่ต้องระมัดระวังเวลาทำ "หน้า" คือ หน้าต่าง ๆ จะผสานต่อกันไปเป็นบรรทัดเดียว ดังนั้น ถ้าขึ้นหน้าใหม่ แล้วเป็นย่อหน้าใหม่ ตรงก้นหน้าเดิมต้องใส่ {{ไม่ปฏิบัติการ}} (หรือ {{nop}}) เพื่อบังคับให้หน้าใหม่ขึ้นเป็นย่อหน้า - อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดูตัวอย่างที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#วิธีใช้ปลีกย่อย

ก็ประมาณนี้ค่ะ --Miwako Sato (คุย) 22:40, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับ งั้นเดี๋ยวลองอัปโหลดดูก่อน ถ้ามีปัญหาจะขอมาปรึกษาอีกทีครับ --Horus (คุย) 22:47, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สื่อรัฐบาล[แก้ไข]

ขอสอบถามว่าพวกสื่อมัลติมีเดียของรัฐบาลไทยทั้งหลายนี้เป็น PD-Thailand หมดเลยหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 00:04, 22 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ มีตามที่ลิสต์ไว้ใน แม่แบบ:PD-TH-exempt ค่ะ นอกนั้นก็เหมือนทั่วไปค่ะ (เช่น ถ้าเขายกให้เป็นสาธารณสมบัติ หรือถ้าเกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่ครั้งแรก ฯลฯ ดูกรณีนิติบุคคลใน แม่แบบ:ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย) --Miwako Sato (คุย) 06:42, 22 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ ลืมนึกถึงตรงนี้ไป --Horus (คุย) 14:22, 22 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

จดหมาย[แก้ไข]

สวัสดีครับ พวกจดหมายของเอกชน หรือแถลงการณ์มีวิธีดูหรือไม่ว่าแบบไหนมีลิขสิทธิ์ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 21:22, 24 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

┌─────────────────────────────────┘

เว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา (หน้า 11) ว่า งานที่จะมีลิขสิทธิ์ ต้องมีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ ซึ่งมีคนอธิบาย (หน้า 15) ว่า หมายถึง "การสร้างสรรค์ด้วยมันสมองของมนุษย์ที่จะต้องมีจิตใจและสติปัญญาโดยการใช้ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ จึงจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง" หรือ "ใช้ความวิริยะอุตสาหะ ใช้ความรู้ความสามารถและใช้วิจารณญาณ" เป็นต้น มีบทความเรื่องนี้อยู่ที่ en:Threshold of originality

โดยส่วนตัว เห็นว่า เอกสารสัตยาบันตามรูปข้างต้น ไม่มีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ (เป็นแค่ข้อความธรรมดา ๆ ไม่ได้สร้างสรรค์จากการกลั่นกรองหรือบีบเค้นทางสติปัญญา ความรู้ความสามารถ ฯลฯ อะไรขนาดนั้น) จึงไม่มีลิขสิทธิ์ค่ะ ส่วนงานอื่น ๆ คงต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป

หมายเหตุ: Commons:Threshold of originality วางแนวทางว่า ถ้าเป็นที่สงสัยว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่ ให้ถือว่ามีไว้ก่อน ("However, per precautionary principle, the image should be deleted if there's significant doubt that the image is not copyrighted")

--Miwako Sato (คุย) 00:31, 25 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามการเปลี่ยนแม่แบบหัวเรื่อง[แก้ไข]

ผมอยากทราบว่าทำไมต้องเปลี่ยนแม่แบบในดัชนี:รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐.pdf จาก

{{หรก|{{{pagenum}}}|๑๒๔|๔๗ ก|๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐}}

เป็น

{{หรส|4|น={{{pagenum}}}|ล=๑๒๔|ต=๔๗ ก|ว=๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐}}

ด้วยครับ? เพราะทั้งคู่ก็ได้แสดงผลออกมาเหมือนกัน และจากการเช็คไฟล์ pdf ทุกหน้าแล้ว หัวกระดาษไม่มีการสลับฝั่งนะครับ --Bebiezaza (คุย) 13:43, 16 เมษายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เนื่องจากแม่แบบแสดงผลเหมือนกัน จึงคิดว่าควรรวมแม่แบบเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานโดยทั่วไป เดิมกะจะขอให้บอตเปลี่ยน หรก เป็น หรส แล้วจึงค่อยเปลี่ยนชื่อแม่แบบ หรส เป็น หรก แต่ก็ยังมิได้ทำ เพราะวุ่น ๆ กับการสอบอยู่ค่ะ (แต่ถ้าใครจะทำให้ ก็ไม่ขัดศรัทธาค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 16:13, 16 เมษายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ยังต้องการให้มีการเปลี่ยนแม่แบบจาก หรก เป็น หรส เพื่อรวมแม่แบบอยู๋หรือไม่ครับ? --Bebiezaza (คุย) 18:21, 12 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
โดยส่วนตัวก็ยังจะทำอยู่ค่ะ แบบ ถ้าปล่อยให้มันซ้ำซ้อน มันก็ไม่ดี ถ้าทำให้มันเข้าที่เข้าทาง ก็ย่อมมีแต่ผลดี เพียงแต่ไม่ได้เป็นวาระเร่งด่วน และช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเขียนอะไรที่ไหน แต่ถ้าว่างก็จะมาทยอยทำค่ะแน่นอนค่ะ (และก็ยังยืนยันคำเดิมว่า ถ้าใครจะทำให้ก่อน ก็ไม่ขัดศรัทธาค่ะ 555) --Miwako Sato (คุย) 18:53, 13 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
พอดีตอนนี้ผมกำลังขอสิทธิบอตในบัญชี ผู้ใช้:BebiezazaBot ที่วิกิซอร์ซ:บอตมาเพื่อแก้ไขขนาดใหญ่ที่ทำงานกึ่งอัตโนมัติอยู่ครับ และประเดิมงานแรกด้วยการเปลี่ยนแม่แบบข้างบนนี้น่ะครับ ซึ่งได้เริ่มไปบ้างแล้ว แต่ค่อย ๆ ทำไป เนื่องจากยังไม่ได้สิทธิ์บอตจริง ๆ เดี๋ยวจะดันหน้าเปลี่ยนแปลงล่าสุดหมดน่ะครับ 😅
ผมลองเช็คดูเบื้องต้น การเปลี่ยนแม่แบบจาก หรก → หรส มีประมาณ 700 หน้า และถ้ามีการเปลี่ยนชื่อแม่แบบ หรส → หรก อีก ก็จะต้องย้ายกันอีกประมาณ 2,000 หน้า (ไม่รวมที่ย้ายจาก หรก → หรส) ครับ
คำถามที่ยังไม่มีคนถาม: ทำไมไม่ใช้ GeonuchBot? ——→ คุณ Geonuch เคยบอกไว้ในเซิร์ฟเวอร์ดิสคอร์ดว่าช่วงนี้กำลังยุ่งกับเรื่องในชีวิตจริงอยู่ และยังมีงานค้างที่วิกิพีเดีย ผมจึงไม่อยากรบกวนมาก และในอนาคตอาจได้มีการแก้ไขกึ่งอัตโนมัติอีกเลยจะขอสิทธิ์บอตไว้เลยครับ --Bebiezaza (คุย) 19:29, 13 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
เปลี่ยนแม่แบบจาก หรก เป็น หรส เสร็จแล้วครับ และย้ายตัวหน้าแม่แบบ หรส ไปอยู่เป็น หรก เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ตามความต้องการเดิมคือต้องการให้ย้ายการใช้งานจากหรส เป็น หรก ด้วยหรือไม่ครับ? (แบบว่า เปลี่ยนตัวแม่แบบในหน้าในเนมสเปซ"หน้า:" น่ะครับ จาก {{หรส}} เป็น {{หรก}}) --Bebiezaza (คุย) 15:27, 27 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ตามข้างบนจะมีประมาณ 2,000 หน้า (ตามการประมาณของ AWB) ถ้าจะทำก็ให้บอตทำได้ครับ ไม่เกินความสามารถของบอต --Bebiezaza (คุย) 15:33, 27 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบพระคุณสำหรับทุกสิ่งค่ะ 🙏‍ ส่วนการเปลี่ยน "หรส" หรือ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ไปเป็นคำว่า "หรก" นั้น ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก เพราะ "หรส" และ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ก็เปลี่ยนทางไปยัง "หัวราชกิจจานุเบกษา" แล้ว ก็มีค่าเท่ากับการใช้ "หรก" ซึ่งเปลี่ยนทางไปยัง "หัวราชกิจจานุเบกษา" นั่นเอง แต่ถ้าคุณต้องการให้เป็นระเบียบเดียวกัน จะเปลี่ยนก็ได้ค่ะ ตามที่คุณเห็นสมควรเลยค่ะ --Miwako Sato (คุย) 19:52, 30 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
checkY เรียบร้อยทั้ง "หัวราชกิจจานุเบกษาขวา" "หัวราชกิจจานุเบกษาซ้าย" และ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ได้มารวมอยู่ใน "หัวราชกิจจานุเบกษา" แล้ว --Bebiezaza (คุย) 00:22, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามเรื่องลิขสิทธิ์เล็กน้อย[แก้ไข]

(อ้างถึงงานนี้) ถ้าร่างพระราชบัญญัติไม่เป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 แล้วร่างกฎหมายอื่น ๆ เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ จะไม่เป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยใช่มั้ยครับ? ผมอยากให้อธิบายตรงนี้เพิ่มเอาไว้ตัดสินใจครับ --Bebiezaza (คุย) 18:12, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ตามที่ปรากฏในหน้านั้นเอง ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ที่จริงเป็นรายงาน [ซึ่งมีชื่อยาวถึง 2–3 บรรทัดว่า "รายงานผลการดำเนินการ เรื่อง การเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอ ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)"] จึงเข้า (4) ของมาตรา 7 ค่ะ --Miwako Sato (คุย) 18:34, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
โอเคครับ พอดีผมไม่ได้อ่านชื่อเต็มของงานนั้น ส่วนร่างพระราชบัญญัติไม่นับเป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์เพราะว่ายังไม่ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายใช่มั้ยครับ?--Bebiezaza (คุย) 18:57, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ใช่ค่ะ ร่างกฎหมาย ≠ กฎหมาย จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 7 (แต่อาจหมดลิขสิทธิ์ด้วยเหตุผลอื่นได้ เช่น เก่าแก่เกิน 50 ปี) --Miwako Sato (คุย) 19:04, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
โอเค เข้าใจแล้วครับ--Bebiezaza (คุย) 19:11, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

โยงมาตรากฎหมาย[แก้ไข]

สวัสดีครับ พอดีมาสอบถามเรื่องที่ทำลิงก์มาตรา/วรรคในเอกสารกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญ

ตอนที่ผมมาตอนแรก ผมยึดกลุ่มหน้ารัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นพื้นฐาน ซึ่งจะมีแค่การตรึงมาตราให้เป็นลิงก์สำหรับทำสารบัญตรงส่วนแรกของหน้าเท่านั้น

ต่อมา ผมไปศึกษาแม่แบบ:กฎหมาย แล้วเจอว่าสามารถมีการเชื่อมโยงมาตราด้วยกันภายในด้วย ผมจึงนำมาปรับใช้ครับ ซึ่งระหว่างทำไปผมก็เจอกับปัญหาที่ว่าจะโยงข้ามหมวดไม่ได้ เพราะเป็นคนละหน้า ผมเลยละไว้ไม่ใส่ลิงก์เหมือนเดิม แต่ผมก็ดันทุรังทำต่อจนเสร็จ ได้มาเป็นกลุ่มหน้ารัฐธรรมนูญปี 2550 ครับ

ตอนนี้มาพิสูจน์อักษรรัฐธรรมนูญปี 40 ผมก็เห็นคุณมาเอาลิงก์ออกหมด เลยจะยกเรื่องมาคุยครับ

ในความคิดเห็นผม ผมคิดว่าที่เชื่อมโยงมาตราด้วยกันภายในนั้น เอาออกก็ได้ครับ เพราะเจอปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่คิดว่าการตรึงหมวดและมาตราที่มีไว้ทำสารบัญในแต่ละหน้าคิดว่าควรจะเก็บไว้นะครับ จะได้อำนวยความสะดวกคนที่ยังไม่ค่อยรู้กฎหมาย หรือคนที่อยู่ในโทรศัพท์ครับ ส่วนการทำสารบัญอาจมาทีหลังก็ได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 00:12, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

  1. ที่เอาลิงก์ภายในออก เพราะอย่างที่เม้นต์ไป คือ
    1. มาตราหรือวรรคส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ไกลกันนัก เลยไม่จำเป็นขนาดนั้น
    2. การใส่ลิงก์เยอะ ๆ จะทำให้เกิดการ distract (มีคำอธิบายอยู่ใน en:Wikisource:Wikilinks#Overlinking) ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อผู้อ่าน
    3. มันย่อยเกิน กับการที่ต้องใส่โค้ดเป็นรายบรรทัด โดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้น ซึ่งมันไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทั่วไป กล่าวคือ เวลาคนเห็นมันย่อยขนาดนั้น คนก็ไม่ค่อยอยากมาร่วมทำ (เห็นได้จากที่หลาย ๆ คนผ่านเข้ามาทำรัฐธรรมนูญ ทำได้ 2–3 หน้าก็ทิ้งไป)
  2. ส่วนที่เอาลิงก์สารบัญออก เพราะถึงแม้มันจะไม่ย่อยขนาดลิงก์ภายใน และมันก็มีประโยชน์อยู่ แต่คิดว่าผู้ใช้ทั่วไปคงขี้เกียจทำ 555 ก็เลยเอาออกค่ะ แต่ที่จริงก็ไม่ควรไปคิดแทนใครเขา เพราะฉะนั้น สักครู่จะไปเอาลิงก์สารบัญคืนตามเดิมค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 04:58, 7 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เชิญร่วมลงความเห็นการอภิปราย[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมมาเชิญคุณร่วมลงความเห็นเรื่อง วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์#ประกาศการจะลบหน้าจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ที่คุณตั้งเรื่องไว้ตอนแรกครับ --Bebiezaza (คุย) 23:55, 12 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

งานกำหนดปีผิดหรือไม่?[แก้ไข]

งาน แจ้งความกรมอักษรพิมพการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1249(1) ได้มีการเขียนปีทั้งแบบจ.ศ. และพ.ศ. ผิดไปหรือไม่? เพราะตามที่เขียนไว้ตอนนี้จะทำให้งาน แจ้งความกรมอักษรพิมพการ ลงวันที่ 18 มีนาคม จ.ศ. 1249(2) ซึ่งได้มีการเขียนลงในราชกิจจานุเบกษาก่อนมีวันที่ลงวันที่อยู่หลังจาก (1) ทั้งที่ (1) ลงไว้ในเล่ม 5 แผ่นที่ 39 แต่ (2) ลงในเล่ม 4 แผ่นที่ 48 และบนเว็บราชกิจจานุเบกษาใส่วันที่ของ (1) ไว้เป็นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2431 --Bebiezaza (คุย) 14:58, 18 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

เพิ่งเห็นหลังจากพิมพ์เสร็จว่าได้แก้ไขแล้วครับ ขอบคุณครับ --Bebiezaza (คุย) 15:02, 18 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

สวัสดีครับ[แก้ไข]

คำว่า ตุหวัน จริงๆก็มาจากคำว่า ตวน มลายูอักษรรูมีว่า tuan

เช่น ตนกูโน ลูกของ ตุหวันมันโซ หรือ ตนกูมันโซ หรือ ตุหวันสนิปากแดง/ตวนสนิปากแดง มันมีอยู่แล้วในเนื้อหาประชุมพงศาวดาร @Miwako Sato Adisak69 (คุย) 22:42, 4 มกราคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]

@Adisak69: มันเป็นคำในเนื้อเรื่อง (ดังที่เห็นอยู่ในหน้า ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 2 (2457)/เรื่องที่ 4) เราต้องไว้ตามต้นฉบับค่ะ ไปแก้ไม่ได้ เพราะหน้านั้นมีไว้ค้นคำ ถ้าคุณไปแก้คำ มันก็ค้นไม่ได้ --Miwako Sato (คุย) 23:00, 4 มกราคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]