พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕/๓ มีนาคม ๒๕๕๑

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


พระราชบัญญัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช ๒๔๘๕[1]




ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
(ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐
และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔)
อาทิตย์ทิพอาภา
ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๕
เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน


โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในราชอาณาจักร

จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

หมวด ๑ ความเบื้องต้น

หมวด ๒ การจัดตั้งและวัตถุประสงค์[2]

หมวด ๓ ทุนและเงินสำรอง[3]

หมวด ๔ คณะกรรมการ[4]

หมวด ๕ ผู้ว่าการ[5]

หมวด ๕ ทวิ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน[6]

หมวด ๖ การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ธปท.[7]

หมวด ๗ การป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ปฏิบัติหน้าที่[8]

หมวด ๘ การกำกับดูแล[9]

หมวด ๙ การบัญชี การตรวจสอบ การสอบบัญชี และการรายงาน[10]

หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ[11]


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี


พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๗[12]

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๕[13]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ได้ปรับปรุงและวางหลักเกณฑ์กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินสดสำรองไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้นแล้ว จึงควรยกเลิกหลักเกณฑ์ในกรณีเดียวกันที่กำหนดไว้เดิมตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ นั้นเสีย

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ พ.ศ. ๒๕๒๘[14]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือในทางการเงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพโดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤติการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในระบบสถาบันการเงิน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐[15]

มาตรา ๖ ในกรณีของหลักประกันที่กองทุนได้เรียกไว้ในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ถ้าคณะกรรมการจัดการกองทุนเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อรักษาความเป็นธรรมและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการจัดการองทุนจะสละหลักประกันดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหนี้อื่นของสถาบันการเงินนั้นได้รับเฉลี่ยหนี้ตามความเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดการกองทุนกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้

มาตรา ๖ ทวิ[16] ในกรณีที่กองทุนได้ประกันหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการก่อนหรือหลังคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ ให้ถือว่ากองทุนเป็นเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการนั้น

มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาใช้บังคับแก่การที่กองทุนขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินของสถาบันการเงินตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่สุจริตในกรณีที่สถาบันการเงินประสบปัญหา โดยการให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ดังกล่าว และโดยที่ในการเรียกหลักประกันในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินบางกรณี ทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบและมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้ในการให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินโดยรวมอันจะทำให้วิกฤตการณ์ของสถาบันการเงินในประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจเพิ่มฐานในการคำนวณเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่ง เพื่อให้กองทุนสามารถรับภาระการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๑[17]

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง จึงได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจในขณะนี้หลายประการ ซึ่งมาตรการแก้ไขประการหนึ่งคือการให้ความช่วยเหลือและการจัดการทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อเสริมสภาพความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่กองทุนและลดภาระทางการเงินที่รัฐจะต้องช่วยเหลือกองทุน และในขณะเดียวกันให้มีความโปร่งใสเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการลงทุนในประเทศต่อไป แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมากองทุนได้ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ในรูปการประกันและการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเงินในขณะนั้น ฉะนั้น เพื่อมิให้กองทุนต้องได้รับความเสียหายจากการดำเนินการช่วยเหลือดังกล่าว ประกอบกับกองทุนจำเป็นต้องสละหลักประกันที่ได้มาจากสถาบันการเงินเหล่านั้นตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่น ๆ จึงอาจเกิดปัญหาทำให้กองทุนไม่ได้รับชำระหนี้คืน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูฐานะของกองทุนตามมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองและให้มีหลักประกันที่กองทุนจะได้รับเงินที่ให้ความช่วยเหลือไปแล้วคืนมาในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินนั้นเสียตั้งแต่ในขณะนี้ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[18]

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ให้ใช้บังคับเมื่อกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลใช้บังคับ

มาตรา ๑๔ ให้กรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๕ ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนหกคนเสนอต่อรัฐมนตรีโดยให้พิจารณาคัดเลือกบุคคลคนหนึ่งจากบุคคลดังกล่าวเพื่อเสนอชื่อให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๘/๕ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การนับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยให้นับวาระการดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ เป็นวาระแรก

มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน หรือคณะกรรมการระบบการชำระเงิน ตามมาตรา ๒๘/๖ มาตรา ๒๘/๙ หรือมาตรา ๒๘/๑๑ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ตามลำดับ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการดังกล่าว แล้วแต่กรณีไปพลางก่อน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๗ ให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของปีที่ผู้ว่าการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ในกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง หรือลาออก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณากำหนดค่าชดเชยการเสียโอกาสจากข้อห้ามมิให้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๒๘/๒๐ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แก่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย และให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรา ๑๘ ให้มาตรา ๒๙ อัฏฐารส วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังคงใช้บังคับต่อไปแก่กรณีการประกันหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามบทบัญญัติดังกล่าวแก่สถาบันการเงินที่กระทำก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๙ ภายในระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากใช้บังคับ หากยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงินใช้บังคับ แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน อันอาจกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและเป็นกรณีที่ได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินอาจเสนอแนะแผน แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินนั้นต่อคณะกรรมการจัดการกองทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยต้องแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการตามแผน แนวทาง และวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิผลสูงสุดและเป็นไปอย่างเหมาะสม เมื่อคณะกรรมการจัดการกองทุนพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้ เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อแก้ไขฟื้นฟูสถาบันการเงินตามความจำเป็นเร่งด่วน (๑) ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินโดยมีหรือไม่มีประกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดการกองทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี (๒) ซื้อหรือเข้าถือหุ้นในสถาบันการเงิน (๓) ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงิน ในกรณีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจให้กู้ยืมเงินแก่กองทุน หรือรัฐบาลอาจค้ำประกันการกู้ยืมเงินของกองทุนก็ได้ ทั้งนี้ ให้กองทุนจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินการดังกล่าวแยกต่างหากจากบัญชีอื่น ให้รัฐบาลใช้คืนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้กู้ยืมตามวรรคสาม ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่กองทุน

มาตรา ๒๐ ให้บรรดาประกาศ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ที่ออกตามความในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ออกตามความในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่ และโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลาง ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน ตลอดจนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ เฉพาะที่จำเป็นในแต่ละด้าน ได้แก่ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร รวมทั้งกำหนดการป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ว่าการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีความโปร่งใสนอกจากนั้น สมควรกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินเป็นส่วนรวม กำหนดประเภทสินทรัพย์และเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงิน และการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตลอดจนให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มประเภทเงินสำรองและมีระบบการจัดทำบัญชี การตรวจสอบ และการรายงานที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและคล่องตัว นอกจากนี้ เมื่อมีกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากใช้บังคับแล้ว สมควรยกเลิกอำนาจของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินประสบวิกฤติทางการเงินอย่างร้ายแรง เพื่อให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินยุติบทบาทหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว โดยยังคงให้ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ต่อไป เพื่อชำระหนี้สินและภาระผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เสร็จสิ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๓๐/หน้า ๙๗๑/๕ พฤษภาคม ๒๔๘๕
  2. หมวด ๒ การจัดตั้งและวัตถุประสงค์ มาตรา ๕ ถึง มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  3. หมวด ๓ ทุนและเงินสำรอง มาตรา ๑๒ ถึง มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  4. หมวด ๔ คณะกรรมการ มาตรา ๑๗ ถึง มาตรา ๒๘/๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  5. หมวด ๕ ผู้ว่าการ มาตรา ๒๘/๑๓ ถึง มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  6. หมวด ๕ ทวิ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มาตรา ๒๙ ทวิ ถึง มาตรา ๒๙ เอกวีสติ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ พ.ศ. ๒๕๒๘
  7. หมวด ๖ การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ธปท. มาตรา ๓๐ ถึง มาตรา ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  8. หมวด ๗ การป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ปฏิบัติหน้าที่ มาตรา ๔๖ ถึง มาตรา ๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  9. หมวด ๘ การกำกับดูแล มาตรา ๔๙ ถึง มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  10. หมวด ๙ การบัญชี การตรวจสอบ การสอบบัญชี และการรายงาน มาตรา ๕๓ ถึง มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  11. หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๖๒ ถึง มาตรา ๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  12. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๑/ตอนที่ ๖๓/หน้า ๙๓๑/๑๐ ตุลาคม ๒๔๘๗
  13. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔/๓๐ เมษายน ๒๕๐๕
  14. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
  15. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๒๒/๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๐
  16. มาตรา ๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๑
  17. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๘/๗ พฤษภคม ๒๕๔๑
  18. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๒๒/๓ มีนาคม ๒๕๕๑



ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"