คุยกับผู้ใช้:Nuwis1975

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จาก วิกิซอร์ซ

ยินดีต้อนรับสู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Nuwis1975 สู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

เราขอแนะนำหน้าต่าง ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์แก่คุณดังนี้

อย่าลืมลงชื่อของคุณในหน้าอภิปรายด้วยการพิมพ์ --~~~~ ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานหรือเรื่องใด ๆ สามารถสอบถามหรือพูดคุยกันได้ที่หน้าเซ็นเตอร์พ้อยท์หรือดิสคอร์ด

ขอให้คุณมีความสุขในการมีส่วนร่วมกับวิกิซอร์ซ!

Hello Nuwis1975! Welcome to Thai Wikisource. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Central discussion. Have a nice day!

-- New user message (คุย) 21:43, 1 มีนาคม 2562 (ICT)

มหาชาติ[แก้ไข]

สวัสดีครับ ต้องขอบคุณคุณ Nuwis1975 ที่ช่วยเหลือวิกิซอร์ซแต่งานเขียนที่สร้างมาซ้ำซ้อนกับการเทศมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ที่มีอยู่เดิมครับ นอกจากนี้ไม่ควรคัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมาลงในวิกิซอร์ซซึ่งจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ สามารถสอบถามได้ครับ --Geonuch (คุย) 10:01, 1 กันยายน 2562 (ICT)

ประชุมพงศาวดาร[แก้ไข]

ประชุมพงศาวดารของเดิมที่มีผู้ลงไว้ ไปคัดลอกมาจากที่ใดก็ไม่ทราบ ไม่ผ่านการตรวจสอบ ไม่ได้จัดรูปแบบ ไม่จัดบรรทัด อ่านไม่รู้เรื่อง ทั้งยังไม่มีอ้างอิง ไม่ลงแหล่งที่มา ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถใช้งานได้ พูดตามตรงว่า สภาพไม่ต่างจากขยะ

เมื่อนำมาตรวจสอบกับต้นฉบับ พบว่า อันที่ไปลอกมานั้น พิมพ์ผิดแทบทุกบรรทัด ซ้ำยังพิมพ์ตกพิมพ์หล่น มีข้อผิดพลาดเต็มไปหมด

นอกจากนี้ มีการวางรูปแบบวิกิซอร์ซใหม่ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน (ดูรายละเอียดที่ style guide)

ปัจจุบัน กำลังรื้อตรวจสอบและจัดรูปแบบโดยวิธีพิสูจน์อักษร อันที่ตรวจสอบแล้วคืออันที่ลงใหม่ไว้ในหน้าประชุมพงศาวดาร

และเมื่อมีอันที่พิสูจน์อักษรแล้ว อันที่ปราศจากไฟล์ต้นฉบับรองรับ สามารถถูกลบได้ตามนโยบายการลบ

เพราะฉะนั้น โปรดอย่าย้อนอันเก่าขึ้นมา และถ้าช่วยได้ ก็อัปโหลดต้นฉบับสแกนมาพิสูจน์อักษร จะดีกว่า

ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

--Bitterschoko (คุย) 21:45, 21 พฤษภาคม 2563 (+07) ...........................[ตอบกลับ]

เมื่อคุณยังไม่แน่ใจ ว่าคัดมาจากที่ใด ไม่ได้จัดรูปแบบ อ่านไม่รู้เรื่อง ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ คุณก็ไม่ควรไปลบ ไปซ่อนหน้า หรือใดๆ ออกไปหรือไม่ครับ เพราะบุคคลที่นำมาโพสต์ครั้งแรกนั้นคงมีข้อจำกัดอะไรบางอย่างที่ไม่สามารถ จัดรูปแบบให้สมบูรณ์แบบตามที่คุณต้องการ ก็เป็นไปได้ และถ้าจะบอกไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นขยะนั้น ผมว่า ไม่ถูกต้องเลย มันต้องสืบค้นหาความจริงก่อนจึงจะดีที่สุด

สิ่งที่ควรทำคือ ต้องไปดูตามที่เขาอ้างอิงหรือเขียนในคำนำ ว่าเป็นผลงานที่มาจากที่ใด

เมื่อเราได้ไปนำมาเทียบเคียงกันแล้ว ก็จะทราบเองว่า บทความหรือพงศาวดารใดมาจากต้นฉบับใด และเชื่อว่า อาจจะมีการบันทึกกันมาหรือพิมพ์กันมาหลายฉบับแล้วก็เป็นไปได้

ซึ่งคำนำนั้น อาจจะมีการลงลายเซ็นต์และวันที่เอาไว้ด้วย ว่าเล่มนั้นพิมพ์เมื่อใด เป็นเล่มที่พิมพ์เพื่อแก้ไขสิ่งที่เป็นวิปลาส จากฉบับก่อนๆด้วยหรือไม่

ผมว่า คุณ ยังไม่ควรไปลบหรือซ่อนหน้าบทความเหล่านั้นเลย เพราะมันอาจจะกลายเป็นการแสดงเจตนาซ่อนเร้นอย่างใดอย่างนึงอยู่ก็ได้

เพราะเรื่องเหล่านี้เป็น พงศาวดาร เป็นประวัติศาสตร์ ดังนั้น ก็ควรจะต้องให้เกียรติคนที่นำมาโพสต์คนแรกก่อน เป็นสำคัญ ผมคิดแบบนั้น

ส่วนงานที่ผมได้แก้ไข ผมทำเฉพาะการจัดหน้า การแยกหัวข้อให้เป็นส่วนๆของเรื่อง เช่น คำนำ สารบัน เนื้อเรื่องส่วนต่างๆ และแก้ไขคำพิดพิมพ์ตกเล็กน้อยเท่านั้น

ไม่ได้แก้ไขทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่แก้ข้อความดั้งเดิมของผู้นำมาเผยแพร่ คนแรก แต่อย่างใด

ดังนั้น ขอความกรุณาอย่าเพิ่งซ่อนบทความทั้งหมดหรือเซ็นเซอร์ของเก่าและ เพิ่มของใหม่เข้ามาในงานเดิมของผู้โพสต์ท่านแรกได้หรือไม่

หากในมือของท่านมีพงศาวดารที่เป็นฉบับอื่นๆ ที่ท่านพินิจแล้วว่าไม่ตรงกัน ก็ขอความกรุณาให้ท่านสร้างเป็นบทความใหม่ต่างหากไปเลยได้หรือไม่

เพราะจะได้เป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในพงศาวดาร ในอดีตต่อไป และใช้เปรียบเทียบกันได้ ในฉบับที่แตกต่างกัน


ขอบพระคุณมากครับ


(ปล ผมไม่ทราบจริงๆว่า การจะคุยตอบคำถามจากแอดมินหรือ ผู้ใช้อื่นๆ ต้องกดปุ่มไหนเพื่อตอบกันโดยตรง ถ้าเป็นไปได้ช่วยบอกวิธีที่จะตอบคำถามจากแอดมินหรือผู้ใช้ ที่แจ้งเตือนเราด้วย จะขอบพระคุณมากๆ ครับ)


--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้  Nuwis1975 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:08, 21 May 2020‎

  1. การตอบคำถาม ตอบในหัวข้อนั้น ๆ (เช่นที่คุณตอบในหน้านี้) จะดีที่สุดครับ ส่วนการติดต่อแอดมิน สามารถติดต่อเป็นรายบุคคลตามรายชื่อนี้ หรือโพสต์ไว้ที่หน้ารวมก็ได้ครับ
  2. การตรวจสอบ หมายความถึง การใช้วิธีพิสูจน์อักษร ซึ่งปัจจุบันกำลังทำอยู่ และจะทะยอยลงอันที่เสร็จแล้วตามลำดับไปครับ
  3. รายละเอียดสั้น ๆ ของการพิสูจน์อักษร คือ เอาต้นฉบับสแกนมาตรวจกันเป็นหน้า ๆ ไป ดังเช่น หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๑) - ๒๔๗๒.pdf/12, หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๑) - ๒๔๗๒.pdf/13 ฯลฯ
  4. ตามที่ระบุไว้ในนโยบายการลบ วิกิซอร์ซไม่พึงมีเนื้อหาซ้ำซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีเนื้ออย่างเดียวกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งไม่มีที่มาที่ไป แต่อีกฉบับหนึ่งมี ฉบับหลังย่อมมีภาษีดีกว่า เพราะตรวจสอบได้ นำไปใช้อ้างอิงได้ ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับการให้เกียรติไม่ให้เกียรติครับ
  5. ส่วนข้อที่ขอให้นำของเก่ากลับมา (เช่น หน้าประชุมพงศาวดารเดิม) เห็นว่า ไม่ช้าก็เร็ว หน้านั้นก็ต้องได้รับการจัดระเบียบอยู่แล้วเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานอยู่แล้ว ก็สมควรจัดไปเสียเลย แต่ถ้าคุณประสงค์จะดูเนื้อหาในกลุ่มประชุมพงศาวดาร ยังสามารถเข้าดูได้ที่ หมวดหมู่:ประชุมพงศาวดาร ครับ
--Bitterschoko (คุย) 22:33, 21 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

...................................


ประชุมพงศาวดาร ภาค 51 นั้น คุณเขียนหน้าขึ้นมาใหม่เลยนี่นา หาประวัติของเก่าไม่เจอเลย เปรียบเทียบไม่ได้เลย หากลบทิ้งของเก่าไป แล้วมันจะใช้เปรียบเทียบ สืบค้น ว่าฉบับไหนน่าเชื่อถือกว่ากันได้อย่างไร ครับ?

เพราะถ้าผู้เขียนคนแรก นำมาจากฉบับอื่น ซึ่งมันมีอยู่จริงๆ แล้วเราจะไปบอกว่า เขานำพงศาวดารนั้นมาจากที่ใด มาลงเอาไว้ก็ไม่รู้ เราจะเปรียบเทียบว่า มันไม่ถูกต้องได้อย่างไร? เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ผมเชื่อว่า ผูเขียนหน้าคนแรกอาจจะใช้วิธีการสแกนเป็นตัวหนังสือ ซึ่งไม่ใช่เป็นไฟล์ภาพ เขาอาจจะใช้เครื่องมือสแกนขนาดพกพา แล้วสแกนเป็นตัวหนังสือจากทุกๆหน้าของพงศาวดารก็ได้ เขาจึงได้สร้างหน้าแบบง่ายๆ เหมือนก๊อปแล้ว วาง โดยไมได้จัดหน้า หรือรูปแบบอะไรแบบนั้น ซึ่งเขาอาจจะเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาอ่านภายหลังได้จัดหน้า จัดรูปแบบหัวข้อให้ต่อไป แบบนั้นก็ได้นะครับ...

เพราะว่าในวิกิซอร์ซนี้นั้น เขายังมีการบันทึกประวัติ เอาไว้ทุกครั้งที่มีการแก้ไข ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาจากผู้ใช้คนใด ที่แก้ไข เขาจะบันทึกเอาไว้ทุกครั้ง มิใช่หรือครับ? คอนเซปท์นี้มันมีไว้ตรวจสอบผู้ใชทุกคนอยู่แล้ว เนื่องจากมันสามารถแก้ไข้ได้เองอย่างอิสระ แต่เมื่อมีข้อมูจริง ก็คงจะไม่มีใครกล้าเข้าไปไปแก้ไขอีก เพราะมันถูกต้องแล้วนั่นเอง ซึ่งมันสามารถเปรียบเทียบกันได้อยู่แล้ว ผู้ใช้คนปัจจุบันแก้ไขเอาไว้อย่างไร ต่างจากผู้ใช้คนที่สร้างหน้าเอาไว้อย่างไร

การลบผู้ใช้คนแรกอกไป เท่ากับ่าไปทำลายต้นตอของงข้อมูล ซึ่ง ผู้ใช้รายอื่นๆเขาสามารถใช้วิจารณญาณได้ว่า จะเชื่อในข้อมูลใด ใช่หรือไม่ครับ? ถ้าพงศาวดารมันมาจากคนละเล่ม ยังไงๆก็ไม่ควรไปลบเล่มดั้งเดิมแต่แรกออกไป แล้วเอาเล่มที่ตัวเองต้องการเข้ามาแทนครับ ควรจะใช้วิธีสร้างหน้าใหม่ เพื่อให้คนได้เข้ามาศึกษาและเปรียบเทียบ ของแต่ละฉบับว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มากกว่าการแจ้งลบหรือลบ หรือซ่อนหน้าดั้งเดิมนั้นไปเสีย

ส่วนการจัดรูปแบบหน้าใหม่นั้นที่คุณกำลังแก้ไขให้สวยงามขึ้นอยู่นั้น ผมไม่ติดใจอะไรๆนะครับ เพราะคิดว่ามันอาจจะทำอกสารให้ดูดี อ่านง่ายขึ้น แต่ถ้าเนื้อหามันไปคนละทางกัน โดยไม่สามารถเปรียบเทียบกับของเดิมได้ ล่ะก็ ผมว่า หลายๆคนจะเริ่มคาใจว่า นี่อาจจะเป็นการกำลังปิดบังประวัติศาสตร์อะไรอยู่หรือไม่ และเป็นเจตนาที่ต้องการให้รับรู้ในประวัติศาสตร์เฉพาะที่เขียนขึ้นใหม่ หรือเมื่อใดๆก็ตามหรือไม่? เพื่อให้รู้เฉพาะที่ผู้เขียนใหม่ต้องการให้ทราบเท่านั้น ซึ่งมันอาจจะทำให้คนอื่นคิดไปต่างๆนานาแบบนั้นได้ โดยเฉพาะ เจ้าของหน้าบทความที่เขาสร้างเอาไว้ เขาอาจจะแปลกใจมากๆก็ได้หรือไม่อย่างไร ที่บทความของเขาถูกแก้ไขอย่างมากหรือถูกลบไปแล้วมีอันใหม่มาแทน เป็นต้น นั่นเอง

ผมขอเสนอว่า ถ้าคุณมีพงศาวดาร ที่มันเป็นฉบับที่ต่างกัน เนื้อหาต่างกัน หรือใกล้เคียงกัน ก็ดี ผมขอเสนอว่า ให้คุณสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อบันทึกฉบับนั้นไว้ดีกว่า ครับ อย่าได้ลบของคนเก่าที่เขาสร้างหน้าเอาไว้เลย เพื่อประโยชน์ของคนที่จะเรียนรู้ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงมากกว่า หรือไม่?

ส่วนที่ว่า วิกิซอร์ชจะบอกว่าเป็นงานซ้ำซ้อนกันหรือไม่ อันนี้ผมว่า ไม่ซ้ำซ้อนอย่างแน่นอน เพราะ มันมาจาคนละฉบับบกัน มิใช่หรือ หรือแม้ชื่อจะเหมือนหรือคล้ายกัน แต่คุณก็กล่าวว่า เนื้อหามันไม่เหมือนกัน ไม่มีอ้างอิง ไม่มีที่มา ฯลฯ อย่างนั้นมิใช่หรือ ดังนั้น มันจะเรียกว่า เป็นบทความหรือเนื้อหาที่มีความซ้ำซ้อนกัน ก็คงจะไม่ถูกต้องเท่าใดนัก อย่างนั้นหรือไม่?

ขอบคุณครับ

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้  Nuwis1975 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:09, 21 May 2020‎0‎

  1. ของเก่ามิได้ถูกลบทิ้งครับ แต่ถูกเปลี่ยนทางไป ตาม วิธีใช้:หน้าเปลี่ยนทาง ซึ่งสามารถดูประวัติได้ในหน้าเปลี่ยนทางนั้นอยู่
  2. ส่วนเหตุผลที่ไม่ควรมี 2 หน้าซ้ำ เพราะถึงจะต่าง ก็ไม่ได้ต่างอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ที่ 2 ก็ว่าไปอย่าง แต่อันนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งเดียวกัน แต่ต่างกันที่ของเดิมพิมพ์ผิดพิมพ์ตกเป็นต้น เมื่อของเดิมไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่มีอะไรที่ทำให้ตรวจสอบได้ บางทียังถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามใจชอบ และยังมีข้อบกพร่องนานา ก็ไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องรักษาไว้
--Bitterschoko (คุย) 00:00, 22 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
  1. ที่ผ่านมางานเขียนส่วนใหญ่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยมีปัญหาค่อนข้างมากเพราะไม่มีการวางระเบียบในเรื่องรูปแบบ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ทำการสร้างและจัดรูปแบบขึ้นมาตามแบบของตนเองทำให้เกิดปัญหาตามที่คุณ Bitterschoko กล่าวไปข้างต้น (อ่านไม่รู้เรื่อง หาที่มาไม่เจอ ฯลฯ) แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ใช้หลายท่านช่วยกันวางระเบียบในการเขียนให้การสร้างงานต่าง ๆ มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเช่นเดียวกับโครงการวิกิซอร์ซภาษาอื่น ส่วนงานเขียนรุ่นเก่าก็ได้รับการเก็บกวาดโดยอาจมีการพิจารณาลบตามความจำเป็นซึ่งการลบหน้าใด ๆ เป็นไปตามนโยบายการลบครับ
  2. การมีแหล่งที่มาจะช่วยในการตรวจสอบว่าเนื้อหาที่นำมาลงในวิกิซอร์ซนั้นสอดคล้องกับนโยบายว่าสามารถลงในวิกิซอร์ซได้หรือไม่ครับ เคยมีกรณีที่ผู้ใช้ลงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธโดยไม่ระบุที่มาเป็นปี ๆ แต่มาสอบถามผู้ใช้ถึงที่มาในตอนหลังก็พบว่าเอามาจากเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ก็ไม่สามารถนำลงและต้องลบครับ นอกจากนี้ยังสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้อ่านว่างานเขียนนั้นสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ครับ ถ้าคุณ Nuwis1975 มีแหล่งที่มาหรือต้นฉบับอยู่แล้วก็นำมาใส่ไว้ในวิกิซอร์ซได้ครับ
  3. ในกรณีที่คุณ Nuwis1975 ต้องการยืนยันว่างานเขียนที่ถูกลบนั้นไม่ได้มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับงานเขียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแจ้งให้ทางผู้ดูแลระบบช่วยตรวจสอบเนื้อหาที่ถูกลบได้ครับ
  4. ในการสนทนาหรือแสดงความคิดเห็นเมื่อเสร็จแล้ว ให้ลงลายเซ็นโดยเขียน --~~~~ หรือกดปุ่ม ปิดท้ายครับ
--Geonuch (คุย) 13:07, 22 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถาม[แก้ไข]

ย้ายการอภิปรายจาก พูดคุย:สารบาน

@Nuwis1975: หน้านี้คือสารบานของอะไรครับ --Geonuch (คุย) 09:24, 21 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

..................

ขอโทษทีครับ เห็นข้อความได้สักพักแล้ว แต่ไม่รู้วิธีตอบกลับ พอดีกดแก้ไข ด้านหลังหัวข้อมันพามาตรงนี้ ก็เลยพิมพ์ตอบในที่นี้เลย เชื่อว่า แอดมินคงได้รับข้อความนี้

"สารบาน" นั้นมันเป็นหัวข้อที่อยู่ในเนื้อหาของ พงศาวดาร ภาค 11 ซึ่งผู้สร้างหน้าต้นฉบับเดิม เขาสร้างหน้าและเนื้อหาเอาไว้ครบถ้วนแบบนั้น เมื่อผมสนใจที่จะเข้าไปแก้ไข และจัดหน้าให้เขา ก็เลย ตั้งใจแยกให้เป็นส่วนๆ คล้ายหนังสือที่สุด เพราะว่าต้นฉบับเขาคงใช้วิธีก๊อปปี้ แล้ววางเอาเลยง่ายๆเนื่องจากว่าเนื้อหาคงมีความยาวหลายหน้ามากเขาคงจัดรูปแบบ เอกสารไม่ไหว นั่นเอง

ในส่วนพงศาวดาร ภาคที่ 11 เรื่อง พงษาวดาร เมืองหลวงพระบาง นั้น ก็เลยมีการแยกหน้าให้เป็น

  • คำนำ เรื่องพงษาวดาร เมืองหลวงพระบาง
  • อธิบายเรื่องหนังสือพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง
  • สารบาน
  • พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง
  • พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน (ภาคที่ ๕)
ดังนี้นี่เอง โดยหวังว่า ทั้งหมดนี้ มันคือเรื่องเดียวเดียว เพียงแต่ต้องการแยกให้คนกดอ่านไปที่ละหัวข้อง่ายขึ้นนั่นเอง

..............

แต่ก็มีการแก้ไขใหม่ โดยผู้ใช้รายหนึ่ง มาซ่อนประชุมพงศาวดารเดิมให้ เปลี่ยนไปหมด ด้วยการให้แสดงพงศาวดารตามที่เขาต้องการและแก้ไขเอาไว้เท่านั้นน่ะ เมื่อก่อนเมื่พิมพ์ค้นหาคำว่า ประชุมพงศาวดาร เราจะเห็น พงศาวรดารทุกภาค ต้งแต่ภาค 1-82 แต่บัดนี้ถูกผู้ใช้คนนั้นซ่อนเอาไว้หมด แล้วให้เหตุผลว่า คนสร้างคนแรก ไม่มีการจัดระเบียบหน้า ไม่มีอ้างอิง ไม่มีการจัดรูปแบบ ซึ่งมันเหมือนงานขยะ แขาจึงจัดหน้าใหม่ แต่ที่สำคัญ ไม่รู้ทำไมเขาจึงตั้งค่าไม่สามารถให้ทำย้อนกลับหรือ ทำกลับได้ และบางบทความที่เจ้าของดั้งเดิมสร้างเอาไว้ ต้นฉบับก็ถูกลบไป แล้วมีต้นฉบับของเขาเข้ามาแทน คือ พงศาวดาร ภาค 51 ผมไม่ทราบนะครับว่า ของเดิมมันแตกต่างจากของใหม่อย่างไร? แต่ถ้ามันแตกต่างกันเพราะมันเป็นคนละฉบับละก็ ผมมีความเห็นว่า เขาควรสร้างหน้าพงสาวดารใหม่ขึ้นมา แต่ให้บอกว่าเป็นฉบับนั้น ฉบับนี้ แทนการเข้ามาสร้างเอกสารใหม่ในหน้าผู้สร้างเดิม ซึ่งผมเชื่อว่า ประชุมพงศาวดารชุดนี้ทั้งหมด มาจากผู้ใช้คนเดียวกันที่ได้สร้างหน้าพงศาวดารภาคต่างๆเอาไว้


ซึ่งเมื่อดูในประวัติแล้ว ก็เป็นจริงอย่างนั้น เพราะเขาใช้ไอพี เข้ามาสร้างหน้า พงศาวดาร เขาไม่ได้ล๊อกเข้ามาสร้างหน้า เราเลยไม่ทราบว่าเขาใช้ชื่อผู้ใช้อะไร แต่ประชุมพงศาวดาร ภาค 51 ดันกลายเป็นว่า ผู้สร้างหน้าที่เป็นเขานั้น ถูกแทนที่ด้วย ผู้สร้างหน้าคนใหม่ ซึ่งกำลังแก้ไขแล้ซ่อนรายละเอียดหน้าพงศาวดารทั้ง 81 ภาคนั้นอยู่ และทำตารางจัดให้แสดงแค่ไม่กี่ภาค เมื่อเราค้นหาคำว่า ประชุมพงศาวดาร ใน เว็บค้นหา ซึ่งทำให้รู้สึดแปลกใจอย่างยิ่ง และไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะผมคิดว่า เราควรให้ความเคารพในงานของผู้สร้างคนแรก

ส่วนงานจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรนั้น ก็ให้ไปกดเปรียบเทียบเอา ในส่วนของการแก้ไขหรือประวัติ เอาเองดีกว่า และถ้ามั่นใจว่ามันเป็นพงศาวดารคนละฉบับกัน หรือพิมพ์ครั้งที่ไม่ใช่ครั้งเดียวกัน หรือมีเนื้อหาที่ต่างกัน ก็ควรจะสร้างหน้าใหม่ขึ้นมาเองเลย จะดีที่สุด


ขอบคุณครับ

............. --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้  Nuwis1975 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:42, 21 May 2020‎

  1. ก็สร้างหน้าใหม่ตามที่คุณปรารถนาทุกประการอยู่แล้วไงครับ ส่วนหน้าเก่า ถ้าต้องการดูประวัติ ก็ดูได้ในประวัติของหน้าเปลี่ยนทาง ส่วนเหตุผลที่ไม่ควรมี 2 หน้าซ้ำ เพราะกล่าวไปแล้วว่า ถึงจะต่าง ก็ไม่ได้ต่างอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ที่ 2 ก็ว่าไปอย่าง แต่อันนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งเดียวกัน แต่ต่างกันที่ของเดิมพิมพ์ตกหล่นเท่านั้น เมื่อของเดิมไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่มีอะไรที่ทำให้ตรวจสอบได้ ซ้ำยังมีข้อบกพร่องนานา ก็ไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องรักษาไว้
  2. ส่วนหน้าสารบัญนี้ จำเป็นต้องลบทิ้ง เพราะ
    1. เมื่อเป็นสารบัญของประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 11 ก็จะต้องไปอยู่ในหน้าของประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 11 หรือถ้าจะแยก ก็ต้องทำเป็นหน้าย่อย ไม่พึงทำเป็นหน้าโดด ๆ เช่นนี้
    2. ไม่พึงมีหน้าใดชื่อ "สารบาน" โดด ๆ เพราะกำกวมเกินไป ดังจะเห็นได้จากที่มีงานอื่นหลงลิงก์มายังหน้านี้ เมื่อดูที่ What links here
    3. หน้าสารบัญนี้ไม่สามารถเปลี่ยนทางไปหน้าใดได้
--Bitterschoko (คุย) 23:54, 21 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

""""""""""""""""""""""""""""""


ผมได้เข้าไปตรวจสอบ เนื้อหา พงศาวดาร 11 ในส่วนของ ผู้สร้างหน้า พงศาวดารภาค 11 เมืองหลวงพระบาง แล้ว

ในเนื้อหาดั้งเดิมนั้น มีส่วนของคำว่า สารบาน และระบุหน้าในเรื่องราวแต่ละเรื่องเอาไว้ด้วย จริงๆ แต่เนื้อหาที่คุณ Bitterschoko ได้กระทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนเนื้อหา พงศาวดารเมืองหลวงพระบางนั้น กลับไม่มีข้อความหรือข้อมูลที่ สารบาน ในส่วนเอกสารเก่านั้นระบุเาไว้เลย มีการจัดเนื้อหาใหม่ด้วย ........................

ผมมีข้อสังเกตว่า
ในคำนำของ พงศาวดาร ภาคที่11 ที่ต้นฉบับนี้ เขาสร้างหน้าขึ้นมานั้น เขาลงท้ายคำนำด้วยคำว่า

สภานายก หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒

แต่ในส่วนที่คุณ Bitterschoko ได้เปลี่ยนแปลงใหม่ หรือแก้ไขใหม่ คุณเอา "พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน (ภาคที่ ๕)" ซึ่งในส่วนของคำนำนั้น ท้ายคำนำลงชื่อ

ดำรงราชานุภาพ หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๗ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐

ดังนั้น ส่วน สารบัน ที่เกิดขึ้นมาในนั้น อาจจะเป็นเพราะ มันเกิดขึ้นในฉบับ หลังๆ หรือไม่ คือ ฉบับบของคุณ ลงชื่อด้วย ดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ไว้ ปี 2460 ส่วนต้นฉบับ ที่เขาสร้างหน้าเอาไว้นั้น ออกจากสภานายก ลงวันที่เอาไว้ เมื่อปี 2462 คือน่าจะเป็นฉบับที่เกิดหลังจาก ฉบับของคุณ 2 ปี

แสดงว่า การจัดพิมพ์พงศาวดารนี้ มีการพิมพ์ขึ้นหลายครั้งหรือมีการปรับปรุงใดๆหรือไม่?

ขอคุณครับ

...........................

จะขอ อ้างอิงเนื้อความ ดังที่ปรากฎใน ฉบับปี 2462 อธิบายหนังสือพงศาวดาร เมืองหลวงพระบาง เอาไว้ดังนี้

อธิบายเรื่องหนังสือพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง

การเลือกเรื่องหนังสือพิมพ์แจกในงานศพพระยาดัษกรปลาศ ข้าพเจ้าได้ตั้งใจค้นหาเรื่องทางเมืองหลวงพระบาง ด้วยเห็นว่าจะสมกับประวัติของพระยาดัษกรปลาศยิ่งกว่าหนังสือเรื่องอื่น พเอิญในหอพระสมุด ฯ มีเรื่องพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่ายังไม่ได้เคยพิมพ์มาแต่ก่อน จึงได้เลือกให้พิมพ์เปนประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๑ สำหรับแจกในงานศพพระยาดัษกรปลาศ หนังสือพงษาวดารเมืองหลวงพระบางฉบับนี้ ตามเนื้อเรื่องแสดงว่าเปนหนังสือแต่งถวายเมื่อในรัชกาลที่ ๕ แต่ใครจะเปนผู้แต่งหาทราบไม่

หอพระสมุด ฯ ได้ต้นฉบับมาจากอาลักษณฉบับ ๑ จากกระทรวงมหาดไทยฉบับ ๑ เรื่องข้างตอนต้นเห็นได้ว่าเก็บความจากพงษาวดารล้านช้าง ฉบับที่พิมพ์ในประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑ นั้นเอง ฉบับนั้นเปนภาษาชาวหลวงพระบาง ฉบับนี้เอามาแต่งเสียใหม่ ให้เปนภาษาชาวกรุงเทพ ฯ อ่านเข้าใจง่ายขึ้น แลแต่งเรื่องพงษาวดารเพิ่มเติมต่อลงมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ แต่ความตอนต้นฉบับนี้ผู้แต่งแก้ไขศักราช

(๑๑)
เลอะเทอะวิปลาศจากฉบับเดิมมาก ข้าพเจ้าได้พยายามสอบแก้เข้าหาฉบับเดิม ซึ่งเห็นว่าจะเปนหลักฐานถูกต้องหลายแห่ง แต่เวลาชำระน้อย เกรงจะสอบไม่ทั่วถึง ฤๅถูกต้องได้ทีเดียว หนังสือพงษาวดารทางนี้เรียกชื่อต่าง ๆ กันหลายอย่าง เรียกว่า พงษาวดารล้านช้างบ้าง
พงษาวดารกรุงศรีสัตนาคนหุตบ้าง
พงษาวดารเมืองหลวงพระบางบ้าง
พงษาวดารเมืองเวียงจันท์บ้าง

...

(๑๓)
เรื่องพงษาวดารที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ข้างตอนต้นที่จริงเปน พงษาวดารกรุงศรีสัตนาคนหุต ฤๅลานช้างรวมกันมาจน น่า ๓๕ จึงแยกไปเปน พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง
เพราะเหตุที่มีเจ้าเวียงจันท์ขึ้นต่างหากอิกก๊ก ๑ อาณาเขตรแยกกันดังกล่าวมาแล้ว

ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราษีทักษิณานุปทา ซึ่งนายใหญ่โรหิตเสถียร ได้บำเพ็ญในการปลงศพสนองคุณ นายพันเอก พระยาดัษกรปลาศ ( ทองอยู่ โรหิตเสถียร ) ผู้บิดา ด้วยความกตัญญูกตเวที แลได้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้แพร่หลาย เชื่อว่าท่านทั้งหลายผู้ที่ได้อ่านสมุดเล่มนี้ จะพอใจแลอนุโมทนาด้วยทั่วกัน


สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒
. --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้  Nuwis1975 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:57, 22 May 2020‎

คนละฉบับกันครับ พงศาวดารลาว หลวงพระบาง ฯลฯ มีฉบับที่ลงในภาค 1, ภาค 5, ภาค 11 ฯลฯ ฉบับภาค 11 อยู่ในหน้า ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๑ ยังไม่ได้ไปแตะไปต้องอะไรครับ --Bitterschoko (คุย) 15:37, 22 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]