ข้ามไปเนื้อหา

วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์

เพิ่มหัวข้อ
จาก วิกิซอร์ซ
เซ็นเตอร์พ้อยท์
เซ็นเตอร์พ้อยท์ คือหน้าอภิปรายสำหรับชุมชนวิกิซอร์ซ อย่าลังเลที่จะถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็น คุณสามารถเข้าร่วมการอภิปรายปัจจุบันหรือเริ่มการอภิปรายใหม่ คุณยังสามารถพบปะสมาชิกชุมชนได้ที่เซิร์ฟเวอร์ดิสคอร์ด ชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทย สำหรับการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด (ที่ไม่ใช่แค่โครงการภาษาไทย) กรุณาอภิปรายที่วิกิซอร์ซพหุภาษา ขณะนี้มีผู้ใช้ที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ 17 คน

Center Point is the community discussion page on Thai Wikisource.

การอภิปราย มกราคม 2564 — ปัจจุบัน

ปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทย

สวัสดีครับ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและการจัดการเนื้อหาต่อไปในอนาคต จึงขอเสนอให้ทำการปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทยต่อไปนี้

ปรับแต่งบางเนมสเปซให้เป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหา

มีความแตกต่างระหว่างคำสั่ง พิเศษ:ค้นหา ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาไทยและ Special:Search ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ โดยของวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษกำหนดให้เนมสเปซหลัก สถานีย่อย ผู้สร้างสรรค์ ดัชนีและงานแปลเป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับการสืบค้น ขณะที่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยมีเพียงแค่เนมสเปซหลักอย่างเดียว ผมเห็นว่าการปรับให้เนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหาของวิกิซอร์ซภาษาไทยให้เข้าถึงกลุ่มเนมสเปซเนื้อหาอื่นเช่นเดียวกับวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูลให้เป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ

ปรับแต่งเครื่องมือนำเข้า

ผู้ดูแลระบบวิกิซอร์ซสามารถใช้คำสั่ง พิเศษ:นำเข้า หน้า/เนื้อหาจากโครงการอื่น เช่น เมทาวิกิหรือคอมมอนส์ เพื่อย้ายเนื้อหาที่ผิดวัตถุประสงค์และรักษาประวัติรุ่นของหน้าไว้ ผมเสนอให้เพิ่มโครงการสำหรับเข้าถึงเครื่องมือนำเข้าดังนี้

  • วิกิซอร์ซพหุภาษา (multilingual Wikisource/oldwikisource)
  • วิกิพีเดียภาษาไทย
  • วิกิพจนานุกรมภาษาไทย
  • วิกิตำราภาษาไทย
  • วิกิคำคมภาษาไทย

ปรับแต่งการนับเนมสเปซเนื้อหา

จำนวนหน้าเนื้อหาทั้งหมด 7,826 หน้า เป็นการนับเฉพาะหน้าที่อยู่ในเนมสเปซหลักเท่านั้น ไม่ได้รวมหน้าในเนมสเปซเนื้อหาอื่นอย่างผู้สร้างสรรค์หรืองานแปลด้วย จึงทำให้สถิติของโครงการมีความคลาดเคลื่อน ผมจึงเสนอให้เพิ่มเนมสเปซผู้สร้างสรรค์และงานแปลเพื่อนับเป็นเนมสเปซเนื้อหาเช่นเดียวกับโครงการอื่นที่มีเนมสเปซทั้ง 2 นี้ครับ

ปรับแต่งหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้

magic word {{#Babel}} ยังไม่สามารถแสดงหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้ (babel) ได้เช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาไทยหรือโครงการอื่น เพื่อให้ magic word ทำงานได้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องแจ้งเปิดใช้งานหมวดหมู่ โดยผมขอยึดระดับขั้น (0-N) ตามวิกิพีเดียภาษาไทยเพื่อเป็นระเบียบเดียวกันครับ

ความเห็น

  1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 15:52, 31 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  2. เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 20:47, 31 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  3. เห็นด้วย --Bisdt (คุย) 11:58, 1 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
  4. เห็นด้วยPatsagorn Y. · T 19:51, 11 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
  5. เห็นด้วย --Bitterschoko (คุย) 14:11, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

สอบถามลิขสิทธิ์

จากเอกสาร คำแปลอนุสัญญาเจนีวา (จัดพิมพ์ พ.ศ. 2542) ในคำนำครั้งที่ 1 ระบุว่า "คำแปลที่จัดพิมพ์นี้เป็นคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศ และมิได้มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำแต่อย่างใดจากต้นฉบับเดิม" แต่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาเดิมได้ ไม่ทราบว่าจะยึดถือข้อความนี้เพื่อระบุว่าเป็น {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} ได้ไหมครับ --Horus (คุย) 18:49, 14 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ในหน้าถัดมา ระบุว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542" แสดงว่า เป็นฉบับปรับปรุง ไม่ใช่ฉบับดั้งเดิมของ กต. แล้ว จึงไม่เข้า {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} นะครับ (อย่างไรก็ดี คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ข้อความเต็ม ๆ ว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542...แต่ยังคงคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศไว้" อ่านแล้วขัดแย้งในตัว บอกว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงของเดิมไว้ ไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไรแน่) --Bitterschoko (คุย) 13:57, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:22, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

แหล่งเอกสาร (คดียาไอซ์)

สวัสดีครับ ผมไปเจอไฟล์เรื่องคดียาไอซ์ แต่ดันมีลายน้ำ ถ้าใครเจอลิงก์ต้นฉบับก็ขอระบุด้วยครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:37, 21 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ปรับแต่งแถบด้านข้าง

สวัสดีครับ เนื่องจากแถบด้านข้างของวิกิซอร์ซภาษาไทยไม่ได้มีการปรับปรุงใหญ่มาตั้งแต่ปี 2549 โดยระหว่างตอนนั้นถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น การเพิ่มเนมสเปซดัชนี สถานีย่อย ฯลฯ ผมจึงจะเสนอปรับแต่งแถบด้านข้างให้อย่างน้อยมีลิงก์ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยขอแบ่งการอภิปรายเป็น 3 วาระ ดังนี้

วาระที่ 1: การเพิ่มและการแบ่งกลุ่มลิงก์

ลิงก์ที่จะเพิ่มมา มีอยู่ทั้งหมด 6 ลิงก์ คือ

  1. Central discussion - โยงมาทีเซ็นเตอร์พ้อยท์
  2. Subject index - โยงไปที่สถานีย่อย:สถานีย่อย
  3. Authors - โยงไปที่หมวดหมู่:ผู้สร้างสรรค์เรียงตามลำดับอักษร
  4. Random work - สุ่มงานในเนมสเปซหลัก
  5. Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
  6. Random transcription - สุ่มดัชนี

และเอาลิงก์ที่ซ้อนทับออก 1 ลิงก์ คือ "สุ่มหน้า" เนื่องจากซ้อนทับกับ Random work, Random author, และ Random transcription

ส่วนการแบ่งกลุ่มลิงก์ ผมได้คิดไว้เป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1: ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
หน้าหลัก
ศาลาประชาคม
เหตุการณ์ปัจจุบัน
Central discussion
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
Subject index
Authors
Random work
Random author
Random transcription
ความช่วยเหลือ
การบริจาค
แบบที่ 2: ลิงก์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่ม "หลัก"
หน้าหลัก
เหตุการณ์ปัจจุบัน
Central discussion
Random work
Random author
Random transcription
การบริจาค
กลุ่ม "มีส่วนร่วม"
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
ความช่วยเหลือ
ศาลาประชาคม
Subject index
Authors

--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

อภิปรายและลงคะแนน

  1. เห็นด้วย เลือกแบบ 1 ครับ และ  ความเห็น อาจไม่ต้องใส่ วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ในนั้นมีไว้รับข้อมูลข่าวสารจากทางเมทาวิกิมากกว่า ถ้าต้องการเข้าชมคิดว่ารวมในศาลาประชาคมก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 22:43, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

วาระที่ 2: แปล

วิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละชื่อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ ดังตัวอย่างข้างล่าง โดยทุกคนสามารถเสนอคำแปลเพิ่มได้--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ตัวอย่างการลงความเห็นและลงคะแนน

  1. สมมติชื่อแปล 1
    1. เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
    2. ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  2. สมมติชื่อแปล 2
    1. ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Central discussion

  1. เซ็นเตอร์พ้อยท์
    1. เป็นกลาง อาจไม่ค่อยสื่อความหมายให้ผู้อ่านทราบว่าคืออะไร แต่จะใช้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:46, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Subject index

  1. สารบัญสถานีย่อย
  2. สถานีกลาง
  3. สถานีย่อย
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:53, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Authors

  1. รายชื่อผู้สร้างสรรค์
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Random work

  1. สุ่มงาน
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Random author

  1. สุ่มผู้สร้างสรรค์
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Random transcription

  1. สุ่มดัชนี
    1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

วาระที่ 3: ลิงก์อื่น ๆ ที่ต้องการใส่เพิ่มเติม

วิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละข้อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ คล้ายกับตัวอย่างในวาระที่ 2 โดยทุกคนสามารถเสนอเพิ่มได้ --Bebiezaza (คุย) 23:22, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

สรุป

  1. การแบ่งกลุ่มลิงก์จะใช้แบบแรก คือ ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
  2. อาจมีการนำลิงก์วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบันออกในอนาคต ไว้เปิดอภิปรายใหม่ทีหลัง
  3. การแปลชื่อส่วนใหม่ จะเป็นดังนี้
    1. Central discussion - เซ็นเตอร์พ้อยท์
    2. Subject index - สถานีย่อย
    3. Authors - รายชื่อผู้สร้างสรรค์
    4. Random work - สุ่มงาน
    5. Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
    6. Random transcription - สุ่มดัชนี
  4. ไม่มีการเพิ่มลิงก์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างบน

และขอปิดการอภิปรายตรงนี้ครับ พร้อมกับปรับแก้แถบข้างทันที --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติ

สวัสดีครับ เนื่องจากระหว่างการเขียนการอภิปรายการปรับแต่งแถบด้านข้าง ผมได้สังเกตเห็นว่าเวลาย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) กับการย่อหน้าอัตโนมัตินั้นถอยเข้ามาไม่เท่ากัน ดังภาพด้านขวา

ผมจึงจะสอบถามความเห็นว่า จะปรับการย่อหน้าอัตโนมัติให้เข้ามาเท่ากับการย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) ไหมครับ? และจะมีผลกระทบกับเนื้อหาในวิกิซอร์ซมากเพียงใด? --Bebiezaza (คุย) 00:16, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

มีหลายหน้าที่จัดย่อหน้าด้วยรูปแบบอื่นผสมกับย่อหน้าอัตโนมัติ เช่น ใช้ตารางสลับกับย่อหน้าอัตโนมัติ โดยตั้ง style ให้เยื้องเข้าไปเท่ากับย่อหน้าอัตโนมัติ หรือใช้ แม่แบบ:ช่องว่าง ฯลฯ หน้าจำพวกเอกสารเก่า เอกสารโบราณ หรือต้องการรักษารูปแบบต้นฉบับ มีการใช้วิธีเหล่านี้ ฉะนั้น ถ้าย่อหน้าอัตโนมัติเปลี่ยน ก็จะทำให้ย่อหน้าทั้งหมดซิกแซ็กกัน หรือเสียรูปแบบ แต่อาจจะลองเปลี่ยนดูก่อนก็ได้ค่ะ แบบว่าถ้าไม่เวิร์กก็เปลี่ยนกลับ --Miwako Sato (คุย) 12:53, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
สรุป: ไม่แก้ไขการจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติครับ เนื่องจากอาจทำให้หน้าอาจเสียรูปแบบได้ เช่นในหน้าคุยก็ได้มีการใช้ย่อหน้าอัตโนมัติเยื้องกับย่อหน้าที่ใช้เครื่องหมายทวิภาค --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

ผมไปเจอฉบับแปลของสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง โดยไม่ทราบปีที่เผยแพร่ครั้งแรก แต่คิดว่าน่าจะก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ค่อนข้างแน่นอน ใครมีข้อมูลตรงนี้ไหมครับ --Horus (คุย) 17:08, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

เท่าที่ค้นข้อมูล ได้ความดังนี้ครับ
  1. ฉบับที่คุณ Horus เอามาลง มีชื่อว่า "ฉบับภาษาทันสมัย" (ตามเว็บนี้) เป็นฉบับที่ "วิภา ดาวมณี กตัญญู ดิเรกวุฒิกุล และจร โสภณศิริ" edit จากฉบับเดิม และจะต้องพิมพ์หลัง พ.ศ. 2541 (เพราะมีระบุในนั้นเองว่า ฉบับ edit เกิดจากการที่คนบ่นว่า ฉบับพิมพ์ซ้ำใน พ.ศ. 2541 อ่านยาก)
  2. ฉบับเดิมข้างต้นน่าจะได้แก่ ฉบับของชมรมหนังสืออุดมทัศน์ (มีในเว็บ มธ. แต่ต้องเป็นสมาชิก จึงจะโหลดได้) ความแตกต่างระหว่างฉบับภาษาทันสมัยกับฉบับในเว็บ มธ. เช่น
    • ฉบับภาษาทันสมัยว่า "ปีศาจตนหนึ่ง ปีศาจแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
    • ฉบับในเว็บ มธ. ว่า "ภูตผีตนหนึ่ง ภูตผีแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
  3. ฉบับในเว็บ มธ. ไม่มีปีที่พิมพ์ (เว็บลงว่า ม.ป.ป. ในตัวเล่มก็ไม่มีปี+คนแปล) ค้นกูเกิลก็ไม่เจอ เจอแต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้ามตามประกาศ มท. ใน พ.ศ. 2523 แสดงว่า อย่างน้อยฉบับนี้ก็มีแล้วใน พ.ศ. 2523 เนื่องจากข้อมูลมีเท่านี้ ถ้าจะเอาฉบับนี้มาลงได้ คงต้องรอพ้น พ.ศ. 2573 (เพื่อให้เกิน 50 ปี)
--Bitterschoko (คุย) 18:03, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
คือผมค่อนข้างแน่ใจว่ามีกล่าวถึงในบทความ 6 ตุลาต่าง ๆ แล้ว ([1]) คิดว่าถ้าจะให้แน่ใจอาจจะไว้ลงหลังปี 2569 ครับ --Horus (คุย) 18:23, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอความเห็นกับการออกแบบหน้าหลักใหม่

สวัสดีครับ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้ออกแบบหน้าหลักขึ้นมาใหม่ จนได้แบบออกมาทั้งการแสดงผลบนเดสก์ท็อปและการแสดงผลบนมือถือแล้ว

สำหรับหน้าต่าง ๆ มีดังนี้

จึงขอนำเรื่องมาอภิปรายเพื่อขอความเห็นเพิ่มเติมครับ --Bebiezaza (คุย) 23:03, 24 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ส่วนสำหรับการการนำหน้าที่ออกแบบไว้มาปรับใช้จะเปิดอภิปรายอีกครั้งภายหลังครับ --Bebiezaza (คุย) 18:00, 25 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ความเห็น

  1. ส่วน ประกาศ คิดว่าไม่จำเป็น (เพราะเป็นเรื่องภายในและอาจยังไม่เหมาะกับผู้ใช้ใหม่) และส่วน งานใหม่ที่น่าสนใจ อาจจะเพิ่มเป็น 2 งาน เพื่อนำเสนองานที่ proofread 1 งาน และงานแปล 1 งาน ครับ --Horus (คุย) 05:47, 26 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
    เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
  2. มีความเห็นดังนี้ครับ
    1. เห็นพ้องกับคุณ Horus ตามข้างต้นครับ และการที่มี section งานแปล จะทำให้บุคคลทั่วไปรับทราบว่า แปลมาลงก็ได้ (นอกเหนือไปจากลงงานต้นฉบับ) ก็น่าจะทำให้วิกิซอร์ซคึกคักขึ้น
    2. ถ้าเพิ่ม section ที่เชิญชวนให้คนมาทำงานใน วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม ก็จะดีครับ (ดังที่หน้าอังกฤษมี "Current Collaborations" หรือหน้าฝรั่งเศสมี "Mission 7500") section นี้จะมีประโยชน์ คือ อาจช่วยดึงดูดคน และพอมีคนมาทำเพิ่มขึ้น ก็อาจช่วยให้วิกิซอร์ซเป็นมาตรฐานไวขึ้น (เพราะไฟล์ส่วนใหญ่ที่อัปโหลด เป็นต้นฉบับของหน้ามากมายที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มาตรฐาน และหลาย ๆ หน้าปล่อยทิ้งไว้มาเกินกว่าทศวรรษ) นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้วิกิซอร์ซไทยกลายเป็น hub ของเนื้อหาต้นฉบับที่เข้าถึงได้ง่าย (โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งน่าจะยังไม่มีในเมืองไทย เพราะเว็บส่วนใหญ่เน้นร้อยกรอง วรรณกรรม ฯลฯ และเข้าถึงยาก ต้องสมัคร ต้องอะไรต่าง ๆ)
    3. ใน section "สำรวจวิกิซอร์ซ" มีหลายหน้าควรลบ (เช่น หมวดหมู่:งานแบ่งตามที่มา ที่ใส่หมวดหมู่เป็นโรงพิมพ์ หน่วยงาน ฯลฯ) เพราะปัจจุบันใช้ "สถานีย่อย" (ตัวอย่างหน้าโรงพิมพ์ en:Portal:Oxford University Press) แต่เรื่องนี้ยังไม่สำคัญหรือเร่งร้อนในเวลานี้ ควรปล่อยไปก่อน เอ่ยถึงเผื่อเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงในอนาคต (และกันลืม) เฉย ๆ ครับ
    --Bitterschoko (คุย) 22:33, 28 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
    เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
    @Bitterschoko: สำหรับข้อ 2 สนใจที่จะแนะนำชื่อหัวข้อที่จะแสดงในหน้าหลักไหมครับ? --Bebiezaza (คุย) 01:03, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
    ขออภัยครับ ไม่มีชื่อใดเสนอครับ --Bitterschoko (คุย) 20:59, 3 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
  3. ความเห็นของ --YURi (คุย) 18:59, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
    1. เปลี่ยนทาง วิกิซอร์ซ:บทความที่ต้องการ ไปยัง วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม แล้วใช้ชื่อหัวข้อ "Current Collaborations" ว่า "งานที่ต้องการ" หรือ "งานที่ชวนให้คุณร่วมทำ", "งานที่คุณร่วมทำได้", "งานที่คุณร่วมสร้างสรรค์ได้" อะไรทำนองนี้ ดีไหมคะ
      ที่เสนอให้เปลี่ยนทาง เพราะจุดประสงค์ของทั้ง 2 หน้าก็เหมือนกัน คือ ต้องการให้คนมาร่วมทำ แต่หน้าหลังมีดัชนี/ไฟล์เรียบร้อย และมีความเคลื่อนไหว (อัปเดต) เป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้สนใจสามารถเริ่มทำได้ทันที ขณะที่หน้าแรกเป็นรายชื่อเปล่า ๆ และแทบจะไม่อัปเดตเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ ทั้งสองหน้าจะเป็นคนละหน้า แต่ภาษาไทยเราก็บริหารจัดการในท้องถิ่นเราได้ตามเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่กระทบกระเทือนกัน
      สำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ ผมเลือกใช้ "งานที่คุณร่วมทำได้" นะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
    2. งานแปล ทำเป็นรายชื่อ ดีไหมคะ โดยใช้หัวข้อว่า "งานแปลใหม่" เฉย ๆ แล้วแบบ มีลิงก์ไปหน้ารายชื่อ (เหมือนในหัวข้อ "งานใหม่")
      1. เหตุผล เพราะงานแปล น่าจะมีมาเรื่อย ๆ แต่ถ้าลงไว้อันเดียว ก็จะเป็นจุดที่แช่ไว้ ไม่ค่อยอัปเดต (แบบ คนอาจกลัวว่า ฉันเปลี่ยนได้ไหม ถึงเวลาเปลี่ยนได้หรือยัง เพราะเราก็ไม่ได้ข้อกำหนดเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าทำเป็นรายชื่อ มันก็จะไหลไปตามลำดับเก่าใหม่ และทำให้คนทั่วไปรู้ว่า มีความเคลื่อนไหวอยู่นะ)
      2. ได้ลองสร้าง วิกิซอร์ซ:งานแปล/งานใหม่ ซึ่งยังเป็นรายชื่อคร่าว ๆ แต่ว่าจะลองสร้างแม่แบบเพื่อแสดงข้อมูลบางอย่าง เช่น ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม, ภาษาดั้งเดิม, ปี ฯลฯ (คล้าย ๆ ในหน้า วิกิซอร์ซ:งาน/2564) ค่ะ แม่แบบน่าจะทำให้การเพิ่มงานแปลสะดวกขึ้น
        เห็นด้วย และผมจะเพิ่มลิงก์ไปยังหน้าดังกล่าวสำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ด้วยนะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (18 มิถุนายน 2564)

ชื่อหัวข้อใหม่ที่จะใช้ก่อนได้รับความเห็นพ้องจากชุมชน: ประกาศการจะลบหน้าจำนวนมาก

สวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่ได้รับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ไปจำนวน 7,103 หน้าแล้วนั้น ผมได้ตรวจเช็คเพิ่มเติม และลบหน้าเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่เป็นทางตันต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 800 หน้า และยังไม่มีท่าทีว่าจะหมดเร็ว ๆ นี้ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้

เหตุผลที่ตั้งการอภิปรายนี้

หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตันที่ผมลบไปก่อนหน้านี้กว่า 800 หน้า ผมได้ตรวจเช็คแต่ละหน้าต่อจากทางตันไปอย่างละเอียดแล้วพบว่าส่วนมากจะโดนลบเพราะวิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564) รองลงมาคือถูกแจ้งลบเพราะ ท6 และลบการก่อกวน และท้ายสุดคือหน้าที่ไม่เคยถูกสร้าง ทำให้ผมคิดว่าการลบต่อจากนี้ไม่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วเพื่อความรวดเร็ว รวมถึงโรงเรียนผมจะเปิดเทอมเร็ว ๆ นี้ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทีละหน้าและลบหน้าทั้งวันแบบที่ผมได้ทำในปัจจุบัน

เหตุผลในการลบครั้งนี้

  1. เพื่อจัดการหน้าต่าง ๆ ที่ซอยยิบย่อยมากแต่ใช้การไม่ได้ ซึ่งทำให้การแสดงจำนวนหน้าในหน้าแรกมีมากเกินจริง
    • ในอดีตอาจเป็นหน้าที่ใช้การได้ แต่อาจถูกลบเพราะเหตุผลตามที่อธิบายก่อนหน้า
  2. เพื่อลบหน้านำทางต่าง ๆ ที่เป็นทางตันเพราะการแจ้งลบก่อนหน้านี้ เช่น พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ - เถราปทาน - ๑. พุทธวรรค
  3. การย่อยหน้าควรใช้ "ทับ" แทนการใช้ "ขีด" ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่อ่านอยู่เป็นหน้าย่อยของหน้าใดบ้าง
  4. รวมเหตุผลการลบต่าง ๆ เข้ามาเป็นเหตุผลเดียวกัน คือโยงมาที่การอภิปรายนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมแบ่งเหตุผลในการลบหน้าเป็น
    1. หน้าที่เกี่ยวข้องกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564)
    2. อ1 - หน้าสุดทางไม่ได้ใช้: ข้อมูลอื่น ๆ

ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ

  • หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตัน โดยไม่ต้องตรวจดูว่าลิงก์แดงทุกลิงก์ในหน้านั้นถูกลบด้วยเหตุใด หรือเคยมีการสร้างไปหรือยัง
  • หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่มีลิงก์ที่ยังใช้ได้อยู่ จะมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์รายหน้าอีกที เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บ 84000.org หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ซึ่งถ้าลบหน้าพวกนี้จนหน้านำทางที่เกี่ยวข้องเป็นทางตันก็จะเข้ากับข้อข้างบน

Bebiezaza (คุย) 00:34, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ความเห็น

การแก้ไขหน้าวิกิซอร์ซคืออะไร

ผมได้แก้ไขหน้า วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร ในส่วน "ภาษา" แต่ไม่แน่ใจว่าต้องมีการรับรองจากประชาคมหรือไม่ เพราะหน้านั้นไม่ใช่นโยบาย และเนื้อความที่แก้ไขก็เป็นเพียงสรุปแนวปฏิบัติที่มีมาแล้ว ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิม

แต่ก็มาตั้งกระทู้นี้ อย่างน้อยก็เป็นการแจ้งถึงความเคลื่อนไหวที่ควรทราบกัน และท่านใดเห็นว่าจำเป็นต้องมีการรับรอง ก็โปรดพิจารณาตามสมควรครับ ขอบพระคุณครับ --Bitterschoko (คุย) 08:10, 5 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ไหน ๆ เปิดกระทู้แล้ว รวดคุยเรื่อง "เนื้อหาภาษาต่างประเทศเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีเนื้อหาภาษาไทยร่วมด้วย (เช่น งานที่เป็นภาษาบาลีล้วน ๆ แต่เขียนด้วยอักษรไทย)" ด้วยเลยสิครับ --Horus (คุย) 23:19, 5 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
ผมมาไตร่ตรองดู ผมอาจจะผิดเองที่เขียนว่า "ยังไม่มีแนวปฏิบัติ อาจต้องอภิปรายเพิ่มเติม" ที่จริงถ้าว่าตามนโยบาย ก็ไม่อาจรับงานนั้นไว้ได้ (เพราะไม่ใช่ภาษาไทย แม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) ตอนที่แก้หน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" ผมเกิดสงสัยขึ้นว่า มีแนวปฏิบัติให้รับไว้ได้หรือเปล่า เพราะมีหน้าทำนองนั้นอยู่พอสมควร (ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น หน้า "๖. ปฎิจฺจสมุปฺปาทวิภโงฺค-สัมโมหวิโนทนี") เลยเขียนไปอย่างนั้น อย่างไรก็ดี ผมได้แก้ไขหน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็เป็นนโยบายอยู่แล้ว ไม่มีอะไรใหม่ (นอกจากนี้ เมื่อก่อนผู้ดูแลระบบก็ลบหน้าทำนองนี้ออกเป็นระยะ ๆ จะถือเป็นแนวปฏิบัติแล้วก็ได้) จึงคิดว่าไม่มีอะไรให้อภิปรายครับ แต่จะเปิดอภิปรายก็ได้ตามที่แต่ละท่านเห็นสมควรครับ --Bitterschoko (คุย) 03:43, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

อภิปรายเกี่ยวกับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน

สวัสดีครับ สำหรับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ผมคิดว่าเป็นชื่อที่สื่อความหมายไม่ตรงกับเนื้อหาในหน้า จึงคิดว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิกิซอร์ซ:ข่าวสารจากส่วนกลาง แทน และนำลิงก์ที่ไปยังหน้านี้ออกจากแถบด้านข้างออก โดยนำลิงก์ไปไว้ในหน้า วิกิซอร์ซ:ศาลาประชาคม ส่วน "ส่วนประกอบ" แทนครับ --Bebiezaza (คุย) 02:13, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ความเห็น

  1. เท่าที่ดูใน en:Wikisource:News ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นข่าวสารจากส่วนกลางอย่างเดียว เพราะมีให้ชุมชนเขียน newsletter ให้กันเองก็ได้ คิดว่าชื่อควรจะรวมกิจกรรมแบบนี้ด้วยครับ เช่น "ข่าวสาร", "จดหมายข่าว" ฯลฯ --Horus (คุย) 11:26, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
    ในเมื่อเป็นหน้าให้ชุมชนเขียนข่าวได้ ก็ตามนั้นครับ (strikethrough ส่วนที่ตัดออกจากชื่อจากข้างบนเรียบร้อย) --Bebiezaza (คุย) 15:19, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ