ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์"
บรรทัดที่ 135: | บรรทัดที่ 135: | ||
#* '''แหล่งที่มา''' เข้าใจว่า งานที่จะใส่อะไรแบบนั้น จะมีแต่พวกที่ลงวารสาร (เช่น ราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นต้น) อาจจะสร้างช่องเพิ่มขึ้นเป็นช่องต่างหาก ใช้ชื่อประมาณ "journal" หรือ "วารสาร" ไหมคะ |
#* '''แหล่งที่มา''' เข้าใจว่า งานที่จะใส่อะไรแบบนั้น จะมีแต่พวกที่ลงวารสาร (เช่น ราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นต้น) อาจจะสร้างช่องเพิ่มขึ้นเป็นช่องต่างหาก ใช้ชื่อประมาณ "journal" หรือ "วารสาร" ไหมคะ |
||
#* '''ข้อเสนอเพิ่มเติม''' และไหน ๆ จะปรับปรุงดัชนีแล้ว ขอเสนอให้ทำรวดเดียวกันเลย คือ ดัชนีในหน้าภาษาอังกฤษ ได้ย้าย [[แม่แบบ:ดัชนีที่ผสานแล้ว]] ไปเป็นช่อง "Tranclusion status" ที่มีตัวเลือกไหลลงมาเป็น "fully transcluded", "not yet transcluded" ฯลฯ แล้ว แต่ของไทยยังต้องคอยเติมด้วยระบบอัตโนมืออยู่ จึงอยากให้เพิ่มช่องตรงเหมือนภาษาอังกฤษค่ะ |
#* '''ข้อเสนอเพิ่มเติม''' และไหน ๆ จะปรับปรุงดัชนีแล้ว ขอเสนอให้ทำรวดเดียวกันเลย คือ ดัชนีในหน้าภาษาอังกฤษ ได้ย้าย [[แม่แบบ:ดัชนีที่ผสานแล้ว]] ไปเป็นช่อง "Tranclusion status" ที่มีตัวเลือกไหลลงมาเป็น "fully transcluded", "not yet transcluded" ฯลฯ แล้ว แต่ของไทยยังต้องคอยเติมด้วยระบบอัตโนมืออยู่ จึงอยากให้เพิ่มช่องตรงเหมือนภาษาอังกฤษค่ะ |
||
เนื่องจากไม่มีความเห็นเพิ่มเติมมากว่า 1 เดือน ดังนั้นขอยึดตามความเห็นที่มีมาข้างต้นครับ --[[ผู้ใช้:Bebiezaza|Bebiezaza]] ([[คุยกับผู้ใช้:Bebiezaza|คุย]]) 21:09, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07) |
|||
== Subscribe to the This Month in Education newsletter - learn from others and share your stories == |
== Subscribe to the This Month in Education newsletter - learn from others and share your stories == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:10, 25 กุมภาพันธ์ 2565
← หน้าชุมชน | เซ็นเตอร์พ้อยท์ | กรุ → |
เซ็นเตอร์พ้อยท์ คือหน้าอภิปรายสำหรับชุมชนวิกิซอร์ซ อย่าลังเลที่จะถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็น คุณสามารถเข้าร่วมการอภิปรายปัจจุบันหรือเริ่มการอภิปรายใหม่ คุณยังสามารถพบปะสมาชิกชุมชนได้ที่เซิร์ฟเวอร์ดิสคอร์ด ชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทย สำหรับการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด (ที่ไม่ใช่แค่โครงการภาษาไทย) กรุณาอภิปรายที่วิกิซอร์ซพหุภาษา ขณะนี้มีผู้ใช้ที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ 23 คน
Center Point is the community discussion page on Thai Wikisource. |
การอภิปราย กรกฎาคม 2564 — ธันวาคม 2564
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับต่าง ๆ
เนื่องจากว่าระหว่างที่ผมกำลังนำเอกสาร "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28)" มานั้น ผมได้พบว่ามีเอกสารที่ใช้ชื่อเดียวกัน (หรือคล้ายกัน) อยู่หลายฉบับ เช่น ฉบับเมื่อปี 2551 ฉบับเมื่อปี 2553 และ ฉบับที่ใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ฉบับที่ 1 ที่ออกเมื่อปี 2563 ทำให้เวลาจะนำเอกสารมาลงในวิกิซอร์ซในอนาคตอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ ผมจึงมาขอความคิดเห็นว่าควรจะจัดการยังไงดีครับ --Bebiezaza (คุย) 00:52, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- ใส่วันที่ เหมือนที่ปรากฏการอ้างถึงใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 ค่ะ เช่น ข้อกำหนดตามหน้านั้น ก็จะเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" (แต่ในชื่อหน้าคงต้องย่อตามสมควรค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 02:30, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เพิ่งเห็นหน้า "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อาจย่อประมาณนั้นก็ได้ค่ะ (ที่จริงน่าจะมีคำว่า "พระราชกำหนด" อะไรสักหน่อย แต่ดูแล้วน่าจะไม่พอ เพราะชื่อเต็ม ๆ คือ "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อ่านเสร็จต้องปาดเหงื่อ 😓) --Miwako Sato (คุย) 02:59, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย สำหรับฉบับที่อ้างถึงข้างบน ผมย่อให้เป็น ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 2564 ครับ และถ้าไม่มีแสดงความเห็นเพิ่มเติมภายใน 2 วัน ผมจะขอปิดการอภิปรายนี้ครับ --Bebiezaza (คุย) 09:35, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)
- นโยบายว่า ชื่อหน้าก็คือชื่องาน ถ้าชื่อยาว ให้ทอนด้วยไปยาล ดังนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ตัดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นไปด้วยไปยาลเลยดีกว่าจะแปลงชื่อเป็นตัวย่อ เพราะการแปลงข้างต้น ชื่อยังยาวอยู่ และมีผลต่อการสร้างหน้าย่อย (โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่า งานในกลุ่มเดียวกัน ควรมีชื่อ pattern เดียวกัน และมีบางงานที่ต้องมีหน้าย่อย) จึงควรตัดสั้นอีก อีกอย่างหนึ่ง การแปลงเป็นตัวย่อดังกล่าว ทำให้ชื่อหน้าในวิกิซอร์ซลักลั่น (เช่น บางหน้าเป็น ก.ค. บางหน้าเป็น กรกฎาคม) โดยเป็นความลักลั่นที่ไม่ได้เกิดจากชื่อดั้งเดิม แต่เกิดจากการแปลงของผู้ใช้เอง
- ทีนี้ ควรตัดแบบใด ทีแรกมองว่า น่าจะตัดเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" แต่คิดไปคิดมา ตัด "แห่งพระราชกำหนดฯ" ออกไปเลย เป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" น่าจะดีกว่า เพราะ
- การคง "แห่งพระราชกำหนดฯ" ไว้ในลักษณะนี้ อาจทำให้เข้าใจว่า "(ฉบับที่ 27)" ขยาย "พระราชกำหนด และชื่อแบบที่คงไว้ ก็ยังยาวพอสมควร
- ในชื่อโดยทั่วไป ก็ไม่อ้างถึงกฎหมายแม่ (พระราชกำหนด) เช่น ใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 เอง ก็เรียกแค่ "ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔" เป็นต้น แสดงว่า ส่วนพระราชกำหนดสามารถตัดทอนได้
- จึงเสนอความเห็นมาเพื่อลองพิจารณาดูค่ะ --Miwako Sato (คุย) 14:34, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เรียบร้อย ตามความเห็นข้างบนครับ --Bebiezaza (คุย) 17:14, 29 สิงหาคม 2564 (+07)
- ใส่วันที่ เหมือนที่ปรากฏการอ้างถึงใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 ค่ะ เช่น ข้อกำหนดตามหน้านั้น ก็จะเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" (แต่ในชื่อหน้าคงต้องย่อตามสมควรค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 02:30, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
เตรียมการใช้งานหน้าหลักที่ออกแบบใหม่
สวัสดีครับ หลังจากที่ดองโครงงานการออกแบบหน้าหลักใหม่ไว้นาน ตอนนี้ผมพร้อมที่จะนำหน้าหลักที่ได้ออกแบบใหม่มาใช้งานจริงแล้วครับ โดยรูปแบบปัจจุบันสามารถดูได้ที่นี่ และสามารถลงคะแนนได้ที่ด้านล่าง สำหรับหลังจากใช้จริงแล้วจะมีการปรับปรุงแยกมอดูลเพื่อให้เพิ่มข้อมูลที่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งรองรับหน้าจอแบบโทรศัพท์มือถือ --Bebiezaza (คุย) 02:01, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)
ความเห็น และลงคะแนน
- เห็นด้วย --Miwako Sato (คุย) 14:07, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย ดูดีขึ้นกว่าอันเก่าครับ —นคเรศ (คุย) 02:17, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย – Patsagorn Y. · T 10:11, 20 ธันวาคม 2564 (+07)
เริ่มใช้งาน
ตอนนี้หน้าหลักที่ออกแบบใหม่ได้ใช้งานบนหน้าหลักแล้ว ถือว่าการอภิปรายนี้เสร็จสมบูรณ์ ตัวหน้าหลักยังต้องมีการปรับมอดูลต่าง ๆ เพื่อให้เพิ่มเนื้อหาได้ง่ายขึ้น พร้อมขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถร่วมเพิ่มงานขึ้นแสดงได้ --Bebiezaza (คุย) 01:00, 25 ธันวาคม 2564 (+07)
ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (28 พฤศจิกายน 2564)
สวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ผิดลิขสิทธิ์แล้ว ผมได้ค้นพบว่ามีหน้าอรรถกถาที่มาจาก 84000.org เพิ่มเติมในหน้าแม่แบบ "พระสุตตันตปิฎกและอรรถกถา" นี้ โดยถึงปัจจุบัน ผมได้ตรวจสอบด้วยมือไปแล้ว 479 หน้า และค้นพบว่าเนื้อหาทั้งหมดก็มาจาก 84000.org เช่นกัน และยังมีอีกประมาณ 250 หน้าที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้โดยไม่ต้องตรวจสอบด้วยมือต่อไป
- เหตุผลในการลบครั้งนี้
- WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์: ค้นหาเจอว่ามาจาก https://84000.org/ โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า และถ้าจะนับเว็บนี้เป็นต้นฉบับ ก็ต้องถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่
- ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ
- หน้าอรรถกถาที่เหลือในแม่แบบที่กล่าวมาข้างต้น
Bebiezaza (คุย) 13:39, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
ความเห็น
- ความเห็น ไม่ทราบว่าเว็บไซต์นี้ใครคือผู้เขียนหรือมีลิขสิทธิ์แบบเต็มหรือเปล่าครับ ทั้ง ๆ ที่บางส่วนอ้างมาจากหนังสือที่เผยแพร่เป็นธรรมทาน บางอย่างอาจเป็นสาธารณสมบัติโดยเฉพาะบทสวดกับพระไตรปิฎก —นคเรศ (คุย) 14:07, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- ตอบ เท่าที่ผมหาได้ เว็บไซต์นี้ไม่มีข้อมูลลิขสิทธิ์ใด ๆ เลยครับ จึงไม่สามารถระบุสถานะลิขสิทธิ์ได้
- ส่วนพระไตรปิฎกบางฉบับที่เผยแพร่เป็นธรรมทานนั้น อ้างตามเหตุผลที่มีในการรับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ก็คือบางแหล่งได้มีการเขียนไว้ว่า "เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานเท่านั้น...ห้ามจำหน่าย" (อ้างอิง) ซึ่งไม่ผ่านวิกิซอร์ซ:นโยบายลิขสิทธิ์#เนื้อหาเสรี ทำให้ไม่สามารถรับงานไว้ได้ --Bebiezaza (คุย) 15:08, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- พระไตรปิฎกก็มีลิขสิทธิ์ได้ค่ะ เพราะเป็นงานแปลจากภาษาบาลี ฉบับแปลแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง: สารานุกรมไทยฯ) ยังไม่เกิน 50 ปีเลย (ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 19, 20, 23 ที่ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล, งานที่ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์, งานที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐ มีอายุลิขสิทธิ์ 50 ปีนับแต่สร้างสรรค์/เผยแพร่ครั้งแรก) ขนาดฉบับที่เก่าแก่สุดยังไม่เกิน 50 ปีเลย จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงฉบับถัด ๆ ลงมา
- ส่วนการที่เว็บไซต์อนุญาตให้เผยแพร่เป็นธรรมทาน ถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และจำกัดห้ามจำหน่าย ก็เอามาลงไม่ได้ เพราะไม่เสรี แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ถึงจะจำกัดหรือไม่จำกัดการจำหน่าย ก็ไม่มีผลเป็นการปลอดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีอำนาจประกาศอะไรเกี่ยวกับลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
- ส่วนอรรถกถาที่จะลบในคราวนี้ ได้ข้อมูล (จาก สารานุกรมไทยฯ เหมือนกัน) ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาจุฬาฯ พิมพ์ครั้งแรก 2534 ซึ่งยังไม่เกิน 50 ปี
- พระไตรปิฎกที่เป็นบาลีแท้ ๆ เลย ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเกิดมานานแล้วกว่า 2500 ปี ลิขสิทธิ์จะเกิดได้เฉพาะงานแปลเท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 09:17, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- แต่สิ่งที่ลบไปแล้วและกำลังจะลบนั้นคือพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เขียนในภาษาไทย ซึ่งแปลมาจากภาษาบาลีอีกที และอายุงานยังไม่ถึง 50 ปี จึงเข้าข่ายตามที่คุณ Miwako Sato ได้เขียนมาก่อนหน้านี้ ยกเว้นว่าคุณจะสามารถหาหลักฐานได้ว่ามีพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับที่ตีพิมพ์ก่อนปี พ.ศ. 2515 (เลื่อนขึ้นหนึ่งปี เนื่องจากตอนนี้ท้ายปีพ.ศ. 2564 แล้ว) มาหักล้างได้ โดยถ้ามีเอกสารต้นฉบับเพื่อมาใช้พิสูจน์อักษรด้วยจะยิ่งดี --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)
คะแนน
- เห็นด้วย ได้ข้อมูลจากสารานุกรมไทยฯ ว่า อรรถกถา ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งแรก 2534 ยังไม่เกิน 50 ปี แม้แต่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกก็ยังไม่หมดลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งหลัง ๆ จึงย่อมมีลิขสิทธิ์อยู่เช่นกัน --Miwako Sato (คุย) 16:16, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- ไม่เห็นด้วย งานที่ตีพิมพ์ซ้ำจากเนื้อหาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (พระไตรปิฎก) ไม่ทำให้เกิดลิขสิทธิ์ขึ้นใหม่ ยกเว้นงานแปล ควรดูเป็นกรณีไป ส่วนเรื่องภาษาบาลี อภิปรายในหัวข้อถัดไป --Octahedron80 (คุย) 09:34, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- ตอบตามข้างบนใน timestamp เดียวกัน --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย พระไตรปิฎกที่เสนอแจ้งลบไม่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาและลิขสิทธิ์ จึงเห็นว่าสมควรที่จะทำการลบครับ --Geonuch (คุย) 08:47, 17 มกราคม 2565 (+07)
สรุป
ตามที่ได้มีการอภิปรายมาข้างต้น สรุปว่าลบครับ และอาจมีการตั้งการอภิปรายเฉพาะกิจสำหรับงานในด้านนี้ต่อไป --Bebiezaza (คุย) 20:36, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)
ภาษาบาลีอักษรไทย
ผมเห็นคุณ [Geonuch] ลบพระไตรปิฎกจำนวนมาก ด้วยเหตุผลว่าละเมิดลิขสิทธิ์ อยากทราบว่าภาษาบาลีมีมาแล้ว 2500 กว่าปี มันไปละเมิดลิขสิทธิ์ใครหรือครับ ถ้าเป็นงานแปลที่ไม่เกิน 50 ปี ก็เห็นด้วยที่จะลบ ถ้านานกว่านั้นไม่มีลิขสิทธิ์ครับ ถึงแม้จะมีการตีพิมพ์ใหม่ลิขสิทธิ์ก็ไม่กลับมา --Octahedron80 (คุย) 14:11, 14 ธันวาคม 2564 (+07)
- อันที่จริง งานภาษาบาลีล้วน ๆ มันลบได้ด้วยเหตุผลว่า ไม่ใช่ภาษาไทย (ถึงแม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) เพราะควรไปอยู่ในวิกิซอร์ซที่เกี่ยวข้อง (ดังเช่นที่ปัจจุบันมีวิกิซอร์ซสันสกฤต, เทวนาครี อะไรต่าง ๆ) เรื่องนี้มีนโยบายอยู่แล้วค่ะ (วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร) แม้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษก็ลบพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีอักษรโรมันล้วน ๆ ทิ้งหมดแล้ว เหลือแต่คำแปลที่เป็นภาษาอังกฤษ ดูใน en:Category:Buddhism เป็นต้น --Miwako Sato (คุย) 15:30, 14 ธันวาคม 2564 (+07)
- จริงอยู่ภาษาบาลีก็ควรจะไปอยู่วิกิซอร์ซภาษาบาลี แต่วิกิซอร์ซภาษาบาลียังไม่มีไงครับ อีกประการหนึ่ง หากมีขึ้นมาจริง ๆ คงเขียนกันมั่วมาก เพราะภาษาบาลีเขียนได้ด้วยอักษรหลายแบบ หรืออาจจะโดนจำกัดให้เขียนด้วยอักษรโรมันอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ภาษาบาลีอักษรไทยไม่มีที่อยู่ แต่ทว่าภาษาบาลีอักษรไทย มีใช้แต่ในประเทศไทยและใช้ควบคู่กับภาษาไทย (บางคาถาถูกแต่งขึ้นในไทยเท่านั้น เช่น ชินบัญชร) วิกิซอร์ซภาษาไทยจึงควรอนุโลมให้บันทึกภาษาบาลีอักษรไทยได้ (ในตอนนี้) --Octahedron80 (คุย) 09:08, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- สำหรับงานภาษาบาลี วิกิซอร์ซจะรับไว้ที่วิกิซอร์ซพหุภาษาครับ สำหรับงานภาษาบาลีอักษรไทย ผมได้ไปถามที่ Scriptorium ที่ฝั่งนั้น และในดิสคอร์ดกลางของวิกิซอร์ซแล้ว(เนื้อหาที่คุยกันในดิสคอร์ด) ถ้าหมดอายุลิขสิทธิ์แล้วเขารับงานไว้ได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 19:42, 16 ธันวาคม 2564 (+07)
- พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทย ทั้ง 45 เล่ม ตอนนี้มีอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษากลุ่มภาษาบาลีแล้วครับ โดยเป็นรุ่นเดียวกันกับที่คุณ Miwako Sato ได้แนะนำไว้ในเซ็นเตอร์พ้อยท์เมื่อปีที่แล้ว --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)
แตกประเด็นออกมาเพิ่มเติม: พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทยควรจะใส่ไว้ในวิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคมและ "สถานีย่อย:พระไตรปิฎก" หรือไม่? --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)
- หน้าความร่วมมือ ส่วนตัวมองว่า จะลงไว้ ก็ไม่เป็นไร เพราะที่นี่เป็นจุดศูนย์รวมของคนรู้ภาษา/อักษรไทย ย่อมเป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์ว่า มีงานที่ชวนให้คนรู้ภาษา/อักษรไทยไปทำ
- ส่วนสถานีย่อย ส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะต้องใส่ไว้ เพราะ (1) สถานีย่อยเอาไว้รวมลิงก์เกี่ยวกับงานที่มี (หรือจะมี) ในวิกิซอร์ซไทย และ (2) มีฟังก์ชันอื่นให้ใช้ คือ ลิงก์ข้ามภาษาผ่านวิกิสนเทศ ตัวอย่างเช่น "สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ไทย" กับ "en:Portal:History of Thailand" มองว่า น่าจะลิงก์ข้ามภาษาในลักษณะนี้มากกว่า จะเอามาใส่ไว้ในภาษาไทย
- ความเห็น
- เรื่องลบพระไตรปิฎก เห็นว่าคุณ Bebiezaza ได้ลงลิงก์การอภิปรายก่อนหน้าซึ่งผมได้ตั้งเรื่องเสนอเกี่ยวกับเหตุผลที่ได้ทำการลบอยู่ครับ
- เรื่องงานที่ใช้ภาษาบาลีอักษรไทย ผมเห็นว่าควรอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษา ถ้าจะอยู่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยก็อาจเป็นงานที่ทำการแปลเนื้อหาจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย (เช่น ใน mul เป็น "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..." พอมาใน thws เขียนเป็น "พระผู้มีพระภาคเจ้า..." ประมาณนี้) อย่างไรก็ตาม ถ้าชุมชนจะยกเว้นว่างานเขียนที่ใช้อักษรไทยหรือผลิตขึ้นในประเทศไทยจะเก็บในวิกิซอร์ซภาษาไทย คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:40, 18 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีอักษรไทย ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎกก็อย่างเช่น บทสวดมนต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้แต่งคือใคร และแต่งเมื่อใด (กลายเป็น PD) พบได้มากมายในหนังสือสวดมนต์ของพระสงฆ์ ก็น่าจะเอาลงไปที่ วิกิซอร์ซพหุภาษา ได้อยู่มั้ง --Octahedron80 (คุย) 07:41, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ก็คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นครับ --Bebiezaza (คุย) 18:49, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าต้นฉบับเป็นแต่ภาษาบาลี ก็เห็นว่าควรเป็นเช่นนั้นเหมือนกันค่ะ แต่ถ้าต้นฉบับมีภาษาบาลี+ไทย ก็อาจลงที่นี่ได้ (ดูเพิ่มเติมที่ วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร#ภาษา) เช่น เมื่อดูใน commons:Category:Buddhist prayer books from Thailand จะพบว่า มีต้นฉบับหลายอันที่ลงไว้ในไทยได้ --Miwako Sato (คุย) 21:08, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ก็คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นครับ --Bebiezaza (คุย) 18:49, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีอักษรไทย ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎกก็อย่างเช่น บทสวดมนต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้แต่งคือใคร และแต่งเมื่อใด (กลายเป็น PD) พบได้มากมายในหนังสือสวดมนต์ของพระสงฆ์ ก็น่าจะเอาลงไปที่ วิกิซอร์ซพหุภาษา ได้อยู่มั้ง --Octahedron80 (คุย) 07:41, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ความเห็น
การอภิปราย มกราคม 2565 — ปัจจุบัน
Wiki Loves Folklore is back!
โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย
You are humbly invited to participate in the Wiki Loves Folklore 2022 an international photography contest organized on Wikimedia Commons to document folklore and intangible cultural heritage from different regions, including, folk creative activities and many more. It is held every year from the 1st till the 28th of February.
You can help in enriching the folklore documentation on Commons from your region by taking photos, audios, videos, and submitting them in this commons contest.
You can also organize a local contest in your country and support us in translating the project pages to help us spread the word in your native language.
Feel free to contact us on our project Talk page if you need any assistance.
Kind regards,
Wiki loves Folklore International Team
--MediaWiki message delivery (คุย) 20:15, 9 มกราคม 2565 (+07)
- เรื่องนี้ควรอยู่ในวิกิซอร์ซ:ข่าวสารหรือไม่? --Bebiezaza (คุย) 14:57, 16 มกราคม 2565 (+07)
การปรับค่าข้อมูลในหน้าดัชนีที่เป็นปัญหา
สวัสดีครับ เนื่องจากช่อง "เล่ม" นั้น ในปัจจุบันเป็นช่องที่มีการใช้ผิดจุดประสงค์อยู่ โดยเท่าที่เห็นคือ
- ใช้ใส่แหล่งที่มาของเอกสารราชกิจจานุเบกษา เช่น ดัชนี:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐.pdf
- ใช้ใส่ฉบับต่าง ๆ ของเนื้อหาในชุดหนังสือนั้น ๆ เช่น ดัชนี:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf
ซึ่งเท่าที่ผมเห็นในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ อย่างหลังคือวิธีการใส่ที่ถูกต้อง ทำให้ที่ใส่แหล่งที่มาของเอกสารราชกิจจานุเบกษาก็ยังมีปัญหาอยู่ โดยมีวิธีที่คิดไว้อยู่ตอนนี้ 2 วิธี คือ
- ใส่ไว้กับช่อง "แหล่งที่มา" โดยต่อท้ายจาก string ประเภทไฟล์ที่มีอยู่แล้ว
- สร้างช่องแยกขึ้นมาใหม่ โดยในตอนนี้ผมยังไม่รู้ว่าจะตั้งชื่ออย่างไรไม่ให้ชนกับช่อง "แหล่งที่มา"
ต่อมาก็คือช่อง "เล่ม" นั้นมีชนกันอยู่สองที่ ก็คือช่อง "Volume" กับ "Volumes" โดยสองช่องนี้มีแผนที่จะแยกกันให้ถูกต้องอยู่แล้ว วางแผนแก้ไขโดยยกเลิกการใช้งานช่อง "เล่ม" อันเดิม แต่เก็บไว้เพื่อรอย้ายข้อมูลไปช่องที่เหมาะสม และช่องต่าง ๆ จะแปลใหม่ดังนี้
- "Volume" → "ฉบับที่"
- "Volumes" → "ชุดหนังสือ"
โดยทุกท่านสามารถแสดงความเห็นได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 14:57, 16 มกราคม 2565 (+07)
- ความเห็น
- ความเห็นของ --YURi (คุย) 16:54, 16 มกราคม 2565 (+07)
- Volumes สมัยที่แปล มีเดียวิกิ:Proofreadpage index template จำได้ว่า ตอนนั้นคุยกัน (กับคุณ Geonuch) ว่า มีบางคำที่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรแน่ ซึ่งจำเป็นจะต้องแก้ภายหลัง คำพวกนี้รวมถึง Volume/Volumes นี่แหละค่ะ ทีแรกเข้าใจว่า มันต่างกันแต่เอกพจน์กับพหูพจน์ ในภาษาไทยเลยใช้คำเดียวกัน แต่เมื่อใช้งานแล้วพบว่า มันละอย่างกันนะ แต่ก็ยังไม่ได้แก้ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณ Bebiezaza เสนอให้แก้ ก็เห็นชอบด้วย ส่วนควรใช้คำอะไรนั้น เห็นว่า ใช้คำอื่นดีกว่า "ฉบับที่" เช่น คำว่า "เล่ม" น่าจะดีกว่า เพราะสั้นกว่า และ "ฉบับที่" อาจเข้าใจผิดกับ "edition" ส่วน "ชุดหนังสือ" ที่จริงใช้สั้น ๆ ว่า "ชุด" น่าจะเพียงพอแล้วไหมคะ (หรือ "ชุดเล่ม"? ก็จะเข้ากับภาษาอังกฤษที่ "volume" เป็น "เล่ม" ส่วน "volumes" เป็น "ชุดเล่ม"?)
- แหล่งที่มา เข้าใจว่า งานที่จะใส่อะไรแบบนั้น จะมีแต่พวกที่ลงวารสาร (เช่น ราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นต้น) อาจจะสร้างช่องเพิ่มขึ้นเป็นช่องต่างหาก ใช้ชื่อประมาณ "journal" หรือ "วารสาร" ไหมคะ
- ข้อเสนอเพิ่มเติม และไหน ๆ จะปรับปรุงดัชนีแล้ว ขอเสนอให้ทำรวดเดียวกันเลย คือ ดัชนีในหน้าภาษาอังกฤษ ได้ย้าย แม่แบบ:ดัชนีที่ผสานแล้ว ไปเป็นช่อง "Tranclusion status" ที่มีตัวเลือกไหลลงมาเป็น "fully transcluded", "not yet transcluded" ฯลฯ แล้ว แต่ของไทยยังต้องคอยเติมด้วยระบบอัตโนมืออยู่ จึงอยากให้เพิ่มช่องตรงเหมือนภาษาอังกฤษค่ะ
เนื่องจากไม่มีความเห็นเพิ่มเติมมากว่า 1 เดือน ดังนั้นขอยึดตามความเห็นที่มีมาข้างต้นครับ --Bebiezaza (คุย) 21:09, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)
Subscribe to the This Month in Education newsletter - learn from others and share your stories
Dear community members,
Greetings from the EWOC Newsletter team and the education team at Wikimedia Foundation. We are very excited to share that we on tenth years of Education Newsletter (This Month in Education) invite you to join us by subscribing to the newsletter on your talk page or by sharing your activities in the upcoming newsletters. The Wikimedia Education newsletter is a monthly newsletter that collects articles written by community members using Wikimedia projects in education around the world, and it is published by the EWOC Newsletter team in collaboration with the Education team. These stories can bring you new ideas to try, valuable insights about the success and challenges of our community members in running education programs in their context.
If your affiliate/language project is developing its own education initiatives, please remember to take advantage of this newsletter to publish your stories with the wider movement that shares your passion for education. You can submit newsletter articles in your own language or submit bilingual articles for the education newsletter. For the month of January the deadline to submit articles is on the 20th January. We look forward to reading your stories.
Older versions of this newsletter can be found in the complete archive.
More information about the newsletter can be found at Education/Newsletter/About.
For more information, please contact spatnaikwikimedia.org.